ชีวิตที่พอเพียง  4541. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  ๒๐๙. เก็บเกี่ยวกระบวนการ 


 

โครงการ TSQP ที่ริเริ่มโดยผู้จัดการ กสศ. คนก่อน นพ. สุภกร บัวสาย เมื่อ ๕ ปีที่แล้ว    สร้างผลลัพธ์มากมายหลากหลายด้าน    สำหรับให้เก็บเกี่ยว เอามาแปรรูปให้เป็นทุนปัญญา (intellectual capital)  และทุนสังคม (social capital) สำหรับขับเคลื่อนการเปลี่ยนขาด (transform) ระบบการศึกษาไทยต่อไป

สิ่งที่เก็บเกี่ยว ทั้งแตกต่างและเหมือน กับการเก็บเกี่ยวข้าวจากการทำนา     เหมือนตรงที่ต้องเอามา นวด และสี ให้เป็นข้าวสาร และหุงเสียก่อน จึงจะพร้อมบริโภค    สิ่งที่เก็บเกี่ยวได้จาก TSQP ก็ต้องนำมา “จัดการความรู้”  และ “ตกผลึกหลักการ” (abstract conceptualization) เสียก่อน จึงจะนำไปใช้ประโยชน์ได้   

ส่วนที่ต่างคือ การทำนาเก็บเกี่ยวผลผลิตคือข้าวเป็นหลัก   แต่ TSQP เก็บเกี่ยวกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ครูจัดให้แก่นักเรียนเป็นหลัก    กระบวนการส่วนใหญ่เป็นนามธรรม ไม่เป็นรูปธรรมอย่างผลผลิตข้าว   

การเก็บเกี่ยวกระบวนการที่ดีที่สุดคือให้คนนอกที่มีความรู้และช่างสังเกตเข้าไปสังเกตชั้นเรียน    และซักถามข้อสงสัยจากครู และบางส่วนอาจถามนักเรียน   แต่วิธีนี้ต้องลงแรงและทุนมาก    จึงมีวิธีเก็บเกี่ยวจากตัวครูเองเป็นผู้เล่า    ในวง DE, Online PLC และวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างวงปิดโครงการ TSQP เมื่อวันที่ ๑ - ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๖  ที่ได้เล่าไปแล้ว   

นอกจากเก็บเกี่ยวกระบวนการ เน้นที่วิธีการจัดการเรียนการสอน แล้ว   ต้องเก็บเกี่ยวข้อมูลหลักฐาน (evidence) ว่าวิธีการหรือกระบวนการที่ว่าดีนั้น ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนเป็นอย่างไร   นักเรียนพัฒนาขึ้นอย่างไร พัฒนาครบด้าน (holistic - VASK) ไหม   

วิจารณ์ พานิช 

๒ ก.ค. ๖๖   เพิ่มเติม ๒๘ ก.ค. ๖๖  

    

หมายเลขบันทึก: 714205เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2023 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2023 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท