วิจัยพฤติกรรมศาสตร์การศึกษา


 

วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๖ มีการประชุมคณะอนุกรรมการ สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.)     วาระที่นำสู่บันทึกนี้คือ “ผลงานวิจัย เครื่องมือและมาตรการด้านพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการปรับปรุงข้อมูลตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์นักเรียนที่ได้รับทุนเสมอภาค”   โดยทีมวิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์ มข.   นำโดย รศ. ดร. ภูมิสิทธิ์ มหาสุวีระชัย 

ฟังแล้ว กระจ่างแจ้งในความเป็น wicked problem ของการได้ข้อมูลที่แม่นยำในระบบการศึกษา     ที่ต้องการนักวิจัยเชิงพฤติกรรม มาช่วยไขความลับดังในผลงานวิจัยนี้   

โจทย์วิจัยมาจากความต้องการตรวจสอบผลกระทบของทุนเสมอภาค ที่ให้เงินช่วยเหลือเด็กนักเรียนจากครอบครัวยากจนพิเศษ    ว่าช่วยเพิ่มอัตรามาเรียนหรือไม่   เมื่อเอาตัวเลขพื้นฐานการมาโรงเรียนของโรงเรียนที่มีเด็กเหล่านี้ พบว่าเป็นตัวเลขร้อยละ ๙๗   นักวิจัยไหวทัน ว่าตัวเลขนี้ต้องมีการตรวจสอบความแม่นยำ    

จึงมีการออกแบบเพื่อตรวจสอบความแม่นยำของตัวเลขการมาโรงเรียนของนักเรียน ในโรงเรียนที่มีเด็กยากจนพิเศษจำนวนมาก   และพบว่าตัวเลขจริงอยู่ที่ประมาณร้อยละ ๗๕    มีการค้นพบแรงจูงใจให้ครูรายงานไม่ตรง ว่า (๑) เพื่อช่วยศิษย์ ให้ยังคงได้รับทุนเสมอภาค   เพราะเกณฑ์ของการได้รับทุนต่อเนื่องคือต้องมาเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียน   และ (๒) เพื่อให้โรงเรียนดูดี   

หากจะตีความว่าผลงานวิจัยนี้ สะท้อน V – values = ค่านิยม ของครูไทย ในเรื่องความซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา    จะเป็นการตีความที่ถูกหรือผิด

วิจารณ์ พานิช

๑๐ มี.ค. ๖๖

 

 

หมายเลขบันทึก: 712126เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2023 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2023 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท