ชีวิตที่พอเพียง  4393. Personalized Health Care ที่ทุกคนเข้าถึงได้


 

การดูแลสุขภาพจำเพาะบุคคล (Personalized Health Care - PHC) น่าจะมีหลายแบบ   ที่เหมาะสมต่อสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศ    ไม่จำเป็นต้องเดินตามอย่างโลกตะวันตก ดังตัวอย่าง (๑)       

PHC ที่มักพูดถึงกันเน้นใช้เทคโนโลยีช่วยตรวจหาความเสี่ยงทางพันธุกรรมต่อการเกิดโรค เช่นโรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  ไขมันในเลือดสูง  มะเร็งบางชนิด    ที่เรียกว่า Genomic Medicine   ซึ่งมีแนวโน้มจะสิ้นเปลืองมาก    เสียเงินให้ต่างประเทศมาก    ยากที่จะให้ทุกคนเข้าถึงได้   

ประเทศไทยเราจึงน่าจะใช้ PHC แบบพอเพียง    ไม่ต้องเสียเงินค่าเทคโนโลยีมากเกินไป    แต่ใช้การจัดระบบ PHC – Personalized Health Care ด้วย PHC – Primary Health Care (บริการสุขภาพปฐมภูมิ)    โดยแทนที่จะใช้การตรวจสอบกรองทาง จีโนมิก    ก็ใช้วิธีซักประวัติอย่างง่ายๆ ที่บุคลกรระดับผู้ช่วย หรือ อสม. ก็ทำได้    

เป็น Personalized Health Care ที่เน้นใช้ระบบสุขภาพปฐมภูมิ  ระบบสุขภาพชุมชน  ระบบสุขภาพครอบครัว    ใช้มิติของความเป็นมนุษย์  และมิติของความรู้สมัยใหม่ ผสานกันในการให้การบริบาลและการดูแล   เน้น Personalized Health Care ในมิติของการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค    ไม่รอให้เป็นโรคเสียก่อนจึงดำเนินการแก้ไข    เป็น lifelong personalized health care   คือดำเนินการตลอดชีวิต ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จนถึงเชิงตะกอน   

เมื่อเทคโนโลยีใดมีราคาที่เหมาะสม เราก็เอามาใช้อย่างรู้เท่าทัน   และไม่ปล่อยให้เทคโนโลยีผสานกับความโลภเพื่อกำไร   มาทำลายระบบสุขภาพปฐมภูมิ ระบบสุขภาพชุมชน ระบบสุขภาพครอบครัว

ในฐานะนายกสภา สบช.    ผมคิดว่าเป็นโอกาสของ สบช. ที่จะทำงานพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจำเพาะบุคคล ในมิติของระบบสุขภาพปฐมภูมิ   ในลักษณะที่ทำให้ระบบนี้มีการเรียนรู้และปรับตัวอยู่ตลอดเวลา 

วิจารณ์ พานิช

๓๑ ม.ค. ๖๕

 

 

 

 

 

                   

 

หมายเลขบันทึก: 711500เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2023 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2023 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I think an online/social media health promotion program using sensors on phones or (low cost) smart bands/watches could kick up a health trend that clear the way for many other programs.

Taking ‘Fitbit’ as a case study. Fitbit provides incentives to live ‘actively’, motivational/emotional [SMS/Notification] prompts to stay active, community forum to stay engaged, and ‘prestige’ of being active. [Albeit, at relative high cost for low-income people in many countries.]

Perhaps, a low/non profit group could do that with appropriate emotional styles and tools for Thais.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท