PTOT220 ทักษาการรับฟังเพื่อการบำบัด



         การเตรียมพร้อมก่อนที่จะให้คำปรึกษาแก่เพื่อนนั่นคือ การเตรียมใจของตัวเราเองนั้นให้เป็นกลาง ไม่คิดแทนเพื่อนที่เราต้องให้คำปรึกษา และไม่ปล่อยให้เพื่อนต้องหาทางออกเอง ปล่อยใจให้เป็นกลาง ใช้”ใจ”ฟัง และ ให้คำปรึกษาอย่างเป็นธรรมชาติ เข้าใจความรู้สึกที่เพื่อนต้องเผชิญมา เหมือนเข้าไปนั่งอยู่ในใจของเขา รวมทั้งต้องเข้มแข็ง เพื่อให้เพื่อนเข็มแข็งขึ้น 
         เทคนิคที่จะนำมาเลือกใช้สำหรับการให้คำปรึกษานั้นได้แก่ 7 types listening skills หรือทักษะการฟัง 7ประการ ที่ถือเป็นพื้นฐานของการฟังที่ดี เราควรที่จะเลือกใช้การฟังในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ตามแต่สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ในสถานการณ์นี้ ในฐานะผู้ให้คำปรึกษา เราเลือกที่จะใช้ การฟังในรูปแบบ Empathetic หรือ การฟังแบบเห็นอกเห็นใจ และ การฟังเพื่อการจับประเด็น หรือ Informational รวมทั้งเทคนิคการเปลี่ยนคำพูด ตามการสื่อสารเชิงบำบัด เช่น จากคำว่า สู้สู้นะ เป็น สู้สู้ นะ เป็นกำลังใจให้เพื่อนเสมอ นอกจากนี้การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทางการเงิน ยังเป็นส่วนสำคัญ ที่จะส่งเสริมให่เห็นถึงทางออกที่มากยิ่งขึ้น โดยเราจะไม่ลงมือช่วยทำทั้งหมด แต่จะคอยให้ข้อมูลที่สำคัญ และ คำแนะนำที่ดีแก่เพื่อน เพื่อให้เกิดความสามารถอย่างแท้จริง ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในภายภาคหน้า
        กระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้เพื่อนมีภูมิคุ้มกันทางจิต และได้ทักษะแก้ไขปัญหาชีวิตอย่างยั่งยืน คือ การรู้จักถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริง โดยการที่จะหาถึงต้นตอของปัญหานั้น สามารถใช้หลักการ พีระมิด Meta model ( What - Why - How - What ) รวมทั้ง การทำ model ก้างปลา และสิ่งสำคัญต่อมานั้นคือ การลงมือปฏิบัติให้หายเครียด โดย สมองจะหายเครียดถ้าลงมือปฏิบัติ 1 เรื่อง 20 รอบ

         สิ่งสำคัญที่ได้ฝึกจากรายวิชานี้ นั่นคือการฟังที่มากกว่าการฟัง กล่าวคือการฟังนั้นไม่ได้มีแต่เพียงการนั่งฟังเท่านั้น แต่การฟังยังประกอบด้วยองค์ประกอบหลายๆอย่าง ทั้งบริบทสังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งตัวผู้ฟังเอง นอกจากนี้ การรับฟังที่ดีนั้นไม่ใช่เพียงแต่การนั่งฟังเฉยๆ แต่การรับฟังที่ดียังรวมไปถึง เข้าใจในสิ่งที่เขาเผชิญมารวมทั้งการให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาที่มีประโยชน์ต่อเขาในภายภาคหน้า นอกจากนี้การฟังยังประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่เกี่ยวกับเรื่องของ ภาษาพูดน้ำเสียง และ ภาษากายที่ซึ่งมีความสำคัญถึง55% โดย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สังคมภายนอก หรือ โรงเรียนไม่ได้มีการจัดการสอนแต่สิ่งเหล่านี้กลับเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เรานำสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และ เกี่ยวข้องกับการเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่ดีอย่างมาก นอกจากนี้ในรายวิชานี้ ยังฝึก ให้รู้จักถึงการรับมือกับความเครียด รวมถึงการหาต้นตอ สาเหตุของความเครียด และ วิธีการจัดการกับปัญหาดังกล่าว โดยฝึก และ เน้นย้ำให้สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองไม่ใช่เพียงแต่ การขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเท่านั้น รวมทั้งการฝึกทักษะของความเป็นผู้นำการบริหารจัดการของกลุ่มคนการจัดประชุมที่มีประสิทธิภาพ และการเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดี รวมถึงสิ่งสำคัญสำหรับการเป็นนักศึกษาคือ การวางแผน การจัดการตารางเวลาให้มี ความbalance ระหว่างการศึกษาและการใช้ชีวิตส่วนตัว
         3 อันดับเทคนิคที่ทำให้เกิดทักษะการรับฟังได้ดีมากที่สุด ได้แก่ 1.เทคนิคการใช้ หูตาใจ รับฟัง 2.เทคนิค NVC or Non Verbal Communication 3.เทคนิค สุ-จิ-ปุ-ลิ การฟังแบบ Empathetic เป็นการฟังที่พัฒนาได้มากขึ้น โดย เมื่อมีเพื่อนมาขอคำปรึกษาจากเรา หรือมาเล่าเรื่องราวความไม่สบายใจที่ประสบพบเจอมา ในอดีตเราในฐานะผู้ฟังจะมีความรู้สึกร่วมไปกับผู้พูดเป็นอย่างมากทำให้เกิดการแสดงอารมณ์ทั้งโกรธ หรือ เศร้าตามแต่เรื่องราวที่ผู้พูดออกมา โดยขาดการคิดวิเคราะห์ และ ความเห็นอกเห็นใจอย่างแท้จริง โดยอารมณ์ที่มี หรือความรู้สึกที่มีส่วนใหญ่ในการรับฟังนั้นคือ อารมณ์ร่วมที่มีต่อผู้พูด แต่ในปัจจุบันเมื่อมีคนมาปรึกษาไม่ว่า จะเป็นเพื่อน หรือคนในครอบครัว ก็ตามเรามีการฟังแบบเห็นอกเห็นใจมากยิ่งขึ้น โดยเรามีความเข้มแข็ง และสามารถฟังอย่างเข้าใจได้มากขึ้น ทำให้การระบายเรื่องราวต่างๆกับเรา ได้มากกว่าการระบาย แต่ยังได้ถึงแนวทางที่จะสามารถนำไปแก้ไขปัญหาต่างๆได้ โดยตัวเราเองเปรียบเสมือนคนกลางที่รับฟังไม่รู้สึกร่วมไปกับผู้พูดจนเกินไป แต่กลับเป็นผู้รับฟังที่มีความสุขุมฟังอย่างตั้งใจและ เข้าใจ เหมือนเข้าไปนั่งในใจเขา รวมทั้งฟังแบบไม่ตัดสินเขา 

 

ผู้เขียน : 6423027 ศตคุณ ศิวะเสน
 

หมายเลขบันทึก: 710750เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2022 07:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2022 07:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท