ประสบการณ์วิชาการฟังเพื่อการบำบัด


เตรียมความพร้อมให้คำปรึกษาเพื่อนด้วยเทคนิคที่เรียนมาอย่างไร?

เตรียมตัวโดยการเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมรับแรงกระแทกทางอารมณ์ เปิดหัวใจให้พร้อมรับฟังสิ่งต่างๆที่จะผ่านเข้ามาในเซลล์สมองและความคิดอย่างไม่อคติ  ใช้เทคนิค 7 types of listening skill โดยเฉพาะส่วน empathetic listening หรือ ฟังอย่างไรให้เข้าไปถึงจิตใต้สำนึก เศร้า เสียใจ ผิดหวัง และดึงตนเองกลับมาให้แข็งแกร่งเพื่อจะซัพพอร์ตเพื่อนได้ - (หยดน้ำตาทองคำ) เอาใจเขามาใส่ใจเรา เรียนรู้เทคนิคหูขวาหาเรื่อง เพื่อป้องกันและระวังคำพูดที่เป็นอาจจะเป็นดาบสองคมของตนเอง

แนวทางช่วยให้เพื่อนเรามีภูมิคุ้มกันคือ?

ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันทางจิตใจเพื่อนโดยการแสดงความรักความอ่อนโยนผ่านลักษณะท่าทางและการสัมผัส ( Body language 55%) รวมถึงการพูดวรรคทองคำ ซึ่งเป็นการพูดประโยคเพียงแค่ไม่กี่ประโยค ที่มีเนื้อหากินใจ ก่อให้เพื่อนเกิด self-esteem และแรงฮึดสู้ในการใช้ชีวิตต่อไป

แล้วถ้าหากในกรณีเรากระตุ้นให้เพื่อนเครียดเพราะคิดว่าเราเก่งกว่า?

     แสดงให้เพื่อนเห็นถึงมุมมองที่แตกต่างจากที่เพื่อนคิดอยู่(*ไม่ใช่การบังคับ) เช่น Mind set ของเพื่อนคือเราเก่งกว่า เพื่อนเครียด สู้ไม่ได้ เปลี่ยนเป็น ทำอย่างไรถึงจะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นได้

     มองที่ตัวเองเป็นหลัก ทุกคนมีความเก่งเป็นของตนเอง เพียงแค่เพื่อนมองในมุมมองเดียวที่เห็นว่าเราเก่ง แต่แท้ที่จริงแล้ว มันก็มีอีกหลายมุมมองที่เพื่อนก็เก่งเหมือนกัน แต่กลับมองไม่เห็น หรืออาจจะมองเห็นแต่ไม่ให้ความสำคัญ โดยส่วนตัวแล้วผมถือคติที่ว่า ในโลกใบนี้ไม่มีคำว่าเก่งกับไม่เก่ง มีแต่คำว่า รู้กับไม่รู้ ถ้าไม่รู้ก็เพียงแค่ศึกษาเพิ่มเติมให้รู้ อะไรที่รู้ก็พัฒนาให้รู้มากยิ่งขึ้น

      ซึ่งการเปลี่ยน Mind set ดังที่กล่าวข้างต้น อาจจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงจุดที่เราด้อยกว่าเพื่อน แสดงความพยายามของเราที่จะทำมันให้ดีขึ้นโดยไม่เปรียบเทียบกับเพื่อน ทำจนเก่ง ให้เพื่อนรู้โดยนัยว่าไม่มีอะไรที่ยากเกินความสามารถ และที่สำคัญ เพื่อนจะได้รู้ว่าการบั่นทอนจิตใจตนเองผ่านการเปรียบเทียบนั้นคือสิ่งทำให้เกิดแรงผลักดันเชิงลบ ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ที่แท้จริง

 

วิชานี้ได้ฝึกทักษะการฟังหลายๆรูปแบบ ได้รับเทคนิคที่น่าสนใจในการพัฒนาต่อในชีวิตประจำวันมากมายโดยเทคนิคที่ทำให้ผมเกิดทักษะการรับฟังที่ดีมากที่สุดสามอันดับแรกคือ

1. เทคนิคสุจิปุลิ

ความน่าสนใจคือเทคนิคนี้ทำให้การฟังของผมไม่ใช่เพียงแค่การฟัง แต่คือการฟังแบบลึกซึ้งและเป็นวงจร เริ่มจากฟังแบบผิวเผินแต่ฟังให้มาก คือสุ เมื่อฟังมากแล้วก็ต้องควบคุมจิตใจให้คิดตาม คือจิ เมื่อเกิดกระบวนการคิดก็ต้องเกิดคำถาม คือปุ และเมื่อได้คำตอบก็บันทึกเพื่อเป็นการแสดงผลของการฟัง คือลิ รวมกันเป็น สุ-จิ-ปุ-ลิ

2.เทคนิค Emphaty Listening

เทคนิคนี้ส่วนตัวคิดเป็นเทคนิคขั้นสูง เพราะจะต้องฟังอย่างมีสติและนำใจดำดิ่งสู่ความรู้สึกสีดำของผู้อื่น แต่ต้องข้ามผ่านมาให้ได้และทำให้เขาดีขึ้นในเวลาต่อมา ซึ่งความยากนี้เองส่งผลให้ผมรู้สึกว่าการพัฒนาทางด้านทักษะการฟังของตนเองได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว

3.เทคนิคหูตาใจรับฟัง

เทคนิคนี้จะทำให้ผมได้เกิดการสะท้อนความคิดและความรู้สึกจากการพูดของผู้คน มีการจับอารมณ์ต่างๆและเชื่อมโยงเรื่องราวของการเล่ากับความรู้สึกของตนเอง ทำให้เกิดความเห็นอกเห็น ที่สำคัญ Keyword ของเทคนิคนี้ที่ทำให้ผมเกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นคือ“เอาใจเขามาใส่ใจเรา”

สังเกตตนเอง?

ส่วนตัวมองว่าคลาสนี้เป็นคลาสที่ ”เล่นกับจิตใจผู้เรียน” มีการเร้าอารมณ์ให้ถึง Peak point เกือบจะทุกครั้งที่เรียน ส่งผลให้อารมณ์ภายในเกิดการกระตุ้นให้ไม่นิ่งตลอดเวลา เศร้าก็เศร้าที่สุด สุขที่สุขที่สุด ซึ่งการกระทำนี้ส่งผลให้ตัวผมเองจากแต่ก่อนเมื่อได้ฟังเรื่องราวของผู้อื่นที่เศร้า เสียใจ ผมจะมีอารมณ์ร่วมด้วยและไม่สามารถเอาตนเองออกจากจุดนั้นได้เป็นเวลาค่อนข้างนาน ทำให้ตอนนี้มีพื้นอารมณ์ที่แข็งแรงขึ้น รู้จักการรับรู้ข้อมูลด้วยใจและปล่อยวางสิ่งต่างๆลงไว้ ณ ที่แห่งนั้น  สามารถรับฟังเรื่องราวด้านลบของผู้อื่นโดยไม่เก็บมาคิดตามภายหลังได้ดีขึ้นด้วย

 

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณผู้ร่วมชั้นทุกคนที่ทำให้ผมรู้สึกว่าห้องเรียนนี้คือพื้นที่ปลอดภัย สามารถพูดคุยได้อย่างไม่มีเส้นกั้นและอคติ ที่สำคัญที่สุด ขอบคุณคลาสนี้ที่เปลี่ยนความหลากหลายของสีโทนมืดที่ปนกันในใจของผมให้กลายเป็น สีขาวตุ่นแซมทองอ่อนเสมอมา…

 

พีระยุทธ สะอาดเอี่ยม

นักศึกษาคณะกายภาพบำบัด สาขากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

                        

หมายเลขบันทึก: 710747เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2022 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2022 01:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท