Deep Listening


ข้อที่ 1. 

          สิ่งที่เราจะเตรียมความพร้อมก่อนการให้คำปรึกษาเพื่อนคือการทำให้ตัวเองมีสติและสมาธิก่อน ใจเราไม่ได้โฟกัสไปกับสิ่งอื่นเพราะจะทำให้เราไม่ได้ใช้หัวใจในการฟังเพื่อน การฟังที่ดีคือเราจะต้องใช้หูตาใจรับฟัง

โดยมีการใช้เทคนิค 7 types Listening skills และสุจิปุริร่วมด้วย

  • 7 types Listening skills
  1. Informational (Concept) = จับประเด็นของข้อมูล
  2. Discriminative = ฟังแล้วแยกแยะข้อมูลว่าจริงหรือไม่จริง โดยการสังเกตแววตา น้ำเสียง ตำที่พูด
  3. Biased (Selective) = การตัดสินเองเลย เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
  4. Sympathetic (Emotional) = ความรู้สึกสงสาร ซึ่งบางทีก็ร้องไห้ตาม
  5. Comprehensive = ภาษาที่ใช้
  6. Critical (Analysis + Solution) =
  7. Empathetic (Therapeutic) = มีอารมณ์ร่วมแต่เราต้องเข้มแข็งให้เร็วและช่วยทำให้เขาหาย เป็นสิ่งสำคัญที่เราควรมี
  • เทคนิค สุจิปุริ
  • สุ = ตั้งใจฟังด้วยหัวใจ
  • จิ = คิดตาม
  • ปุ = ตั้งคำถาม
  • ริ = จดบันทึก

          เทคนิคและกระบวนการที่เราช่วยเพื่อนให้มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจได้ทักษะแก้ไขปัญหาชีวิตได้อย่างยั่งยืน ถ้าเราเป็นตัวกระตุ้นให้เพื่อนเครียดเพราะเพื่อนคิดว่าเราเรียนเก่งกว่า แต่เพื่อนต้องการให้เราช่วยจัดการความกังวลทางการเงิน

สิ่งแรกคือการเข้าไปพูดคุยกับเพื่อน โดยใช้เทคนิคหูตาใจรับฟัง

  1. สะท้อนคิด อาจใช้คำถาม มีอะไรที่ ผม/ฉันสามารถช่วยคุณได้บ้าง? อะไรที่คุณจำเป็นต้องทำตอนนี้? ฉันจะช่วยคุณอย่างไรให้เต็มที่?
  2. เงียบจับประเด็น ทวนซ้ำ
  3. สะท้อนความรู้สึก อาจใช้คำถามเช่น คุณรู้สึก… คุณทำ…เสมอ  คุณต้องการ…อธิบายเหตุการณ์นี้   คุณไม่เคย…โดยไม่ตำหนิโทษตัวเอง ให้เขาลองเล่าในสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น
  4. พูดเนื้อหาที่เชื่อความรู้สึก “เห็นอกเห็นใจ”
  5. “เอาใจเขามาใส่ใจเรา”  จับอารมณ์บวกร่วมกับคิดครบระบบโดยใช้ META Model ตามรูปด้านล่างนี้


 

ข้อที่ 2. ในวิชานี้ เราได้ฝึกอะไรไปบ้าง

  • น้ำเสียงในการพูดมีหลายชนิด ทั้ง Funny vs Serious, Formal vs Casual, Respectful vs Irreverent
  • การนำเสนออย่างไรให้เป็นที่จดจำ โดยคนฟังจะจับ words ของเราได้ 7% โทนเสียง 38% และที่สำคัญคือ Body 55%
  • พูดอย่างไรให้ไม่ไปกระทบจิตใจของผู้ฟัง เช่น จากไม่ได้ ไม่รู้ อย่าทำ แต่… เป็นได้ซิ เรียนรู้ดู ลองทำดูและ หรือ สู้ๆน่ะ เป็นสู้ๆน่ะ เป็นกำลังใจให้เพื่อนเสมอ
  • การประชุมให้มีประสิทธิภาพใช้กฎ 20/50 คือตั้งใจประชุมแก้ปัญหาภายในเวลา 20 นาทีโดยอย่าเงียบอย่าบ่น หมดเวลาที่ 50 นาที
  • กฎ 21/90 คิดดีขยันฝึกนิสัยเป็นคนใหม่ใน 21 วัน ก่อนที่จะหมดเวลาเพราะเราจะขี้เกียจใน 90 วัน

เทคนิคที่ทำให้เราได้เกิดทักษะการรับฟังได้ดีขึ้นมากที่สุดในสามอันดับแรก

  1. เทคนิค NVC (Non-verbal Communication) :อวัจนะภาษา โดยสังเกตภาษากาย อารมณ์สีหน้าท่าทาง การเคลื่อนไหวของผู้พูด ภาษาเสียง ลักษณะภายนอก ตา การสัมผัส เวลาบริบท วัฒนธรรมบริบทรอยสักหรือเครื่องประดับ และสิ่งแวดล้อม
  2. เทคนิคการใช้หูตาใจรับฟัง ซึ่งไม่เพิกเฉย แกล้งฟัง หรือเลือกฟัง โดยจะต้องมีการสะท้อนความคิด ความรู้สึก ความเห็นออกเห็นใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา
  3. เทคนิคการฟังอย่างไม่มีการ Biased คือการตัดสินเองเลยโดยดูแค่ลักษณะท่าทางภายนอกของเขา ไม่ได้ตั้งใจฟังเขา หรือฟังแบบผ่านๆ

        หลังจากที่ได้เรียนในวิชาการฟังเพื่อการบำบัดนี้ ทำให้ดิฉันสามารถพัฒนาทักษะการฟังของตัวเองให้ดีขึ้นสามารถจับประเด็นได้ จากที่เมื่อก่อนไม่สามารถที่จะจับประเด็นหลักๆได้ อีกทั้งยังได้ฝึกให้ตัวเองมีอารมณ์ร่วมคิดบวก ซึ่งเมื่อก่อนเวลาที่ดิฉันฟังเรื่องที่เศร้าๆก็จะมีอารมณ์ร่วมและร้องไห้ตาม แต่หลังจากได้ฝึกให้ตัวเองมีEmphaty มากขึ้นนั้น เวลาฟังเราก็มีอารมณ์ร่วมแต่ก็ต้องทำให้ตัวเองเข้มแข็งและช่วยเหลือเขาให้ได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่เป็นเรา ขอแค่เราพยายาม ซึ่งการที่ตัวเราจะมีสิ่งเหล่านี้ได้เราก็ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน ฝึกบ่อยๆอย่างน้อย21 ครั้ง และฝึกต่อไปอีก 90 ครั้งเพื่อให้มีทักษะนี้

 

จัดทำโดย : 6423032 ฮูดาซามีลา ดาโอ๊ะ

หมายเลขบันทึก: 710744เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2022 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ธันวาคม 2022 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท