PTOT220 ทักษาการรับฟังเพื่อการบำบัด


สิ่งที่เราจะเตรียมความพร้อมก่อนการให้คำปรึกษาเพื่อน

  • เตรียมร่างกายและจิตใจของตัวเองให้พร้อม มั่นใจว่าเราจะสามารถรับฟังเรื่องราวของเพื่อนได้ ไม่เก็บเรื่องราวของเพื่อนมาทำให้เราเครียดหรือคิดมากเอง
  • เตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเล่าเรื่องราว เช่น ไม่ควรอยู่ในสถานที่ที่มีคนเยอะ มีเสียงพูดคุยเสียงดัง ไม่คับแคบ มืด หรือไม่ทำให้บรรยากาศนั้นตึงเครียดจนเกินไป

 

จะใช้เทคนิคใดบ้างที่เคยเรียนรู้มา

  • เทคนิคหูตาใจรับฟัง
  • เทคนิคการสังเกตโทนเสียง
  • เทคนิคการสังเกตnonverbal communication เช่น การเคลื่อนไหว ภาษาตา สีหน้า อารมณ์
  • ฟังแบบ respect และ empathy ไม่ตัดสินไปก่อน
  • ฟังแบบจับประเด็นแล้วคิดไตร่ตรองตาม
  • ถามคำถามที่ช่วยให้คนที่มาเล่าให้เราฟัง สามารถคิดวิธีแก้ปัญหา/ทางออกสำหรับตัวเองได้
     

     กระบวนการที่ช่วยให้เพื่อนมีภูมิคุ้มกันทางจิตใจ หากเราเป็นตัวกระตุ้นให้เพื่อนเครียดเพราะเพื่อนคิดว่าเราเรียนเก่งกว่าเพื่อน แต่เพื่อนต้องการให้เราช่วยจัดการปัญหาทางการเงิน

     อย่างแรกคือพูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดของเพื่อน ที่คิดว่าเราเรียนเก่งกว่า ดูและสังเกตุว่าทำไมและเพราะอะไรถึงทำให้คิดแบบนี้จนถึงขั้นเก็บมาเครียด จากนั้นพูดคุยถึงปัญหาของเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา ถามคำถามที่ให้เพื่อนคิดทางแก้/ทางออกของปัญหาของตัวเองได้ จากนั้นชวนเพื่อนทำmeta model ที่จะช่วยทำให้เราคิดไตร่ตรองอย่างเป็นระบบ ทั้งเรื่องเครียดเรื่องเรียน และเรื่องการเงิน เนื่องจากส่วนของเรื่องการเงินนั้น เราไม่มีข้อมูลหรือความรู้ที่เพียงพอที่จะช่วยเพื่อนแก้ปัญหาได้ ที่เราทำได้คือทำให้เพื่อนของเราคิดด้วยตัวเอง ว่าตัวเองนั้นสามารถรับมือ จัดการเกี่ยวกับเรื่องการเงินนั้นได้มากแค่ไหน ถ้าไม่สามารถจัดการได้ ควรปรึกษาคนที่สามารถช่วยเรื่องนี้หรือมีความรู้ หรือพูดคุยกับบุคคลที่ให้เงินเราโดยตรง
 

 

ในวิชานี้เราได้ฝึกอะไรบ้าง

     1.ฝึกการสังเกตคำพูดที่แสดงออกเพียงแค่7% แต่โทนเสียง และภาษากายนั้นแสดงออกถึง38% และ55%ตามลำดับ

     2.ฝึกการรับฟังอย่างมีสติ ไม่ตัดสินไปก่อนที่จะฟัง และรับฟังอย่างempathy ฟังเพื่อที่จะช่วยเหลือเค้าจริงๆ

     3.ฝึกการจับใจความในสิ่งที่ได้ฟัง

     4.ฝึกการตั้งคำถามที่ช่วยให้ผู้พูดได้คิดทางแก้ปัญหาของตัวเองได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากปัญหาของใคร ปัญหาของคนนั้น เราไม่ได้รับรู้รายละเอียดของปัญหาที่เค้าเจอ

     5.ฝึกProductive Meeting ในบทบาทของceo ได้ฝึกการฟังเพื่อนร่วมทีมและสรุปออกมาให้ครอบคลุมทุกประเด็นและฝึกการมอบหมายงานให้ตรงกับหน้าที่และความสามารถของเพื่อนร่วมทีม

     6.ได้ฝึกการพูดหน้าชั้นเรียน

     7.ได้ฝึกการหายใจและการผ่อนคลายความตึงเครียดของร่างกาย

 

เทคนิคที่ทำให้เราเกิดการรับฟังได้ดีที่สุด

1.เทคนิคการฟังแบบใช้หู ตา ใจ รับฟัง ทำให้เราสามารถจับประเด็นที่งที่เค้าตั้งใจเล่า และปัญหาที่แท้จริงได้

2.เทคนิคการถามคำถาม เนื่องจากเป็นการถามคำถามเค้าเพื่อให้เค้าคิดทางออกของตัวเองได้ เพราะสิ่งที่เราแนะนำเค้าไป เป็นสิ่งที่เราคิดว่าดี แต่มันอาจจะดีแค่สำหรับตัวเอง แต่ไม่เวิคสำหรับตัวเค้า ดังนั้นการที่มห้เค้าคิดทางออกได้ด้วยตัวเองจะมีประสิทธิภาพมากกว่า

3. เทคนิคการสังเกตnonverbal communication เนื่องจากภาษากายนั้นแสดงออกถึง55% การสังเกตภาษากายนั้นช่วยให้เรารู้ว่าเค้ารู้สึกอย่างไรจริงๆ เนื่องจากคำพูดเราสามารถพูดโกหกกันได้ แต่ภาษากายนั้นหลอกได้ยาก ทำให้เราเข้าใจถึงปัญหาของเค้าได้จริงๆ

หมายเลขบันทึก: 710741เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2022 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ธันวาคม 2022 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท