การเปิดประเทศช่วงโควิดขาลง


การเปิดประเทศช่วงโควิดขาลง

2 ธันวาคม 2565

: ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น)[1]

 

ยกเลิก ศบค.และให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565

ประเทศไทยอยู่ภายใต้กฎหมายพิเศษภายใต้การนำของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นานถึง 2 ปี 6 เดือน ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19 มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 ซึ่ง ศบค. และครม. มีมติให้ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวม 19 ครั้งถึงวันที่ 30 กันยายน 2565[2] 

สถานการณ์โควิดไทยดีขึ้น มีการติดเชื้อไปแล้วคาดว่าถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด[3] ยอดฉีดวัคซีนสะสม (28 กุมภาพันธ์ 2564-24 กันยายน 2565) [4] รวม 143,266,311 โดส ใน 77 จังหวัด เมื่อ 23 กันยายน 2565 ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) มีมติให้ยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั่วประเทศ และยุบ ศบค.[5] และ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขยกเลิกโควิด-19 จากการเป็นโรคติดต่ออันตราย และกำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดประเทศแล้ว

มีการเสนอควรหยุดยาทานฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) [6] รักษาผู้ป่วยโควิด ให้ใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ (MoInupiravir) และเริ่มฉีดวัคซีน ”เด็ก 6 เดือนถึง 4 ปี“[7] เริ่มตั้งแต่ 12 ตุลาคม 2565 สำหรับบุคคลทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงยังมีวัคซีนเข็มกระตุ้น ประชาชนทั่วๆ ไปยังคงมีการเฝ้าระวังอยู่ต่อไป โควิดยังไม่หายไปไหน การตรวจ ATK การใส่หน้ากาก วัคซีนโดยเฉพาะเข็มกระตุ้น วัคซีนโควิดเด็ก ยังจำเป็นอยู่ ยังคงรณรงค์รับวัคซีนอยู่ ซึ่งวัคซีนทางเลือกมีตลอด การเข้าถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น และยาของชาวบ้านทั่วไปย้งมีปกติ เพื่อลดความเสี่ยง นอกจากนี้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เปิดตัวผลิตภัณฑ์[8] “สเปรย์พ่นจมูก” (ไม่ใช่วัคซีน) ดักจับและยับยั้งโควิด-19 ทางกายภาพเริ่มใช้ 1 ตุลาคม 2565 

ยังปรากฏข่าวการตายจากโควิดในบ้าน ที่พักอาศัยอยู่ ทั้งในคนวัยแรงงานปกติ หรือในคนกลุ่มเสี่ยง 608[9] หรือ ผู้ป่วยติดเตียง การระวังข่าวปลอมโควิดที่จะสร้างความปั่นป่วนไม่มั่นใจให้แก่ประชาชน เช่นข่าวปลอมว่า ให้งดจัดเทศกาลปีใหม่ 2566[10] เพราะพบโควิดสายพันธุ์ใหม่ หรือ มีการปล่อยข่าวยาผีบอก หรือ เสนอโฆษณาเกินจริงสเปรย์ล้างจมูก[11] อ้างฆ่า โควิด-ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ ในส่วนสวัสดิการขวัญกำลังใจของบุคลากรด่านหน้า[12] บุคลากรวิชาชีพทางการแพทย์ ค่าเสี่ยงภัยโควิด[13] ยังมีความจำเป็นของรัฐ

 

6 สาเหตุหลักที่คนติดโควิดเพิ่ม คือ[14] 

(1) น่าจะเป็นจากการมีกิจกรรมที่ใกล้ชิดกันมากขึ้น บวกกับการผ่อนคลายการใส่หน้ากาก (2) ยังไม่เห็นว่ามีกลายพันธุ์ไวรัสใหม่ทำให้เกิดการระบาด จากข้อมูลศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก (สนับสนุนจาก WHO) BA.5 ยังเป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุด รองลงมาเป็น BA.4 และมี BA.2.75 ปนมาประมาณ 5% (ข้อมูล จนถึงต้นเดือน พ.ย.) แต่ยังคงต้องติดตามการเปลี่ยนสายพันธุ์ไปอีก (3) คนที่ติดในรอบนี้บางคนเคยติดโควิดมาก่อนในระลอกที่มี ไวรัส delta หรือ omicron BA.2 ระบาด รอบนี้ติดซ้ำ ซึ่งพบคนที่ติดซ้ำรอบนี้ประมาณ 8% คาดว่าจะมีการติดเชื้อซ้ำๆ ได้อีก (4) จับตาการกลายพันธุ์ของ BA.5 เป็น BQ.1 ซึ่งอาจจะลดการตอบสนองต่อ EVUSHELD คาดว่าอีกซักพักอาจจะเห็น BQ.1 เพิ่มขึ้นในประเทศ แต่ขึ้นช้าๆ แนวโน้มอาจจะเห็นการระบาดของไวรัสหลายสายพันธุ์พร้อมกัน แต่อาการมักไม่รุนแรงในคนที่ยังมีภูมิจากวัคซีน (5) จากที่ได้มีโอกาสตรวจระดับภูมิคุ้มกันในงานวิจัย พบว่าคนที่ฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายเกินหกเดือนบางคน ภูมิตกลงอาจจะไม่พอป้องกัน ไวรัสสายพันธุ์ BA.5 ดังนั้นคนสูงอายุที่มีความเสี่ยงโรครุนแรงน่าจะต้องรีบไปกระตุ้น เพื่อป้องกันอาการหนัก โดยเฉพาะก่อนปีใหม่ที่การระบาดมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น (6) รอบนี้คนติดที่ไม่ได้มาตรวจอาจจะมีจำนวนมาก เนื่องจากตรวจได้เองที่บ้านกับรักษาตามอาการได้เอง คนที่อาการรุนแรงจะยังไม่มีจำนวนมาก แต่จะค่อยสูงขึ้นช้าๆ มีโอกาสเตียงแน่นในบางโรงพยาบาล

 

การกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น”

ข้อมูลศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (7 ตุลาคม 2565)ว่า[15] การวิวัฒนาการของโควิด-19 ต่างสายพันธุ์ที่มาบรรจบกัน (convergent evolution) เราเริ่มเห็นหลายตำแหน่งของการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ในอดีต “รีไซเคิล” มาใช้ใหม่ในสายพันธุ์ที่เพิ่งอุบัติขึ้นทั้ง 4 สายพันธุ์ BQ.1.1, BA.2.3.20, BA.2.75.2, และ XBB[16] ที่กลายพันธุ์มาจากบรรพบุรุษโอไมครอนที่ต่างกลุ่มกัน มีกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิม “อู่ฮั่น” ถึงกว่า 100 ตำแหน่ง คาดว่าจะระบาดเข้ามาแทนที่ BA.5 ในสิ้นปีนี้หรือต้นปี 2566 และพบว่า สายพันธุ์ XBB[17] ดื้อต่อภูมิคุ้มกันกว่าทุกสายพันธุ์

 

สถานการณ์ปัจจุบันโควิด-19 ไทยเข้าสู่ระลอก 6 

องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้เปลี่ยนชื่อเรียกไวรัสโควิดกลายพันธุ์ จากเดิมที่เรียกตามชื่อประเทศเป็นอักษรกรีก เพื่อลดการกล่าวโทษประเทศที่พบครั้งแรก สรุปการระบาดโควิดตั้งแต่แรกถึงปัจจุบัน[18] ได้ 6 ระลอก/ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เป็นสายพันธุ์ S (Serine) หรือ สายพันธุ์อู่ฮั่น ช่วงปี 2563 ระบาดครั้งที่ 2 เป็นสายพันธุ์ GH (Histidine) ปลายปี 2563-ต้นปี 2564 ระบาดครั้งที่ 3 เป็นสายพันธุ์ Alpha ต้นปี 2564 ระบาดครั้งที่ 4 เป็นสายพันธุ์ Delta กลาง-ปลายปี 2564 ระบาดครั้งที่ 5[19] เป็นสายพันธุ์ Omicron ต้นปี 2565 ระบาดครั้งที่ 6[20] เป็นสายพันธุ์ Omicron BA.5 กลางปี 2565 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2565) เป็นสายพันธุ์ Omicron ที่แพร่เร็ว[21] สถิติการติดเชื้อสูงถึงวันละหมื่นเศษ 

ข่าวการระบาดสายพันธุ์ใหม่โควิด (Delta, Omicron, Deltacron) ที่ดื้อหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันสูง ยังมีอยู่ตลอด เช่น สายพันธุ์ BQ.1, XBB, XBC (เดลตาครอน[22] โควิดลูกผสม พบที่ฟิลิปปินส์) เป็นต้น ที่น่าเป็นห่วงคือพบว่า โควิด-19 จากคนไปติดสัตว์ได้[23]

 

ภาวะลองโควิด (Long COVID)

สถานการณ์โควิดในระยะหลังๆ เช่นในคนที่ติดเชื้อซ้ำ เป็นภาวะที่คนเคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจนหายแล้ว แต่ยังคงมีอาการที่เหมือนขณะที่ติดเชื้อ เรียก “ภาวะลองโควิด” (Long COVID) สหรัฐอเมริกามียอด “ลองโควิด” สูงถึงหนึ่งในสาม[24] ชาวยุโรปอย่างน้อย 17 ล้านคน[25] ส่วนไทยคาดว่ามียอดหลายแสนคน[26] อาการลองโควิดที่พบ ได้แก่ อ่อนเพลียง่าย หายใจลำบาก สมองล้า สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ สับสน หลงลืม เครียด รวมไปถึงหดหู่ซึมเศร้า เป็นต้น ยอดผู้ป่วยโควิดยังพุ่ง ข่าวการระบาดทั่วโลกยังมีอยู่ (พฤศจิกายน 2565) เช่น ยอดโควิดญี่ปุ่น[27] ยังเป็นที่กังวล ยังพุ่งสูง จีนมียอดผู้ป่วยโควิด[28] ทะลุ 3 หมื่น และนโยบายล็อกดาวน์ซีโร่โควิดทำให้มีการประท้วงรัฐบาลจีนอย่างหนัก

ภาวะ “ลองโควิด” หรือ Post-COVID Syndrome[29] เป็นภาวะที่เกิดจากการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเกิดตั้งแต่เริ่มเป็น COVID-19 ต่อเนื่องเป็นระยะยาว หรืออาจจะเกิดขึ้นภายหลังที่หายจากอาการทั้งหมดแล้ว อาจมีอาการคล้ายๆ เดิมที่เคยเป็นตอนที่ติดเชื้อโควิด-19 อยู่ หรืออาจจะเป็นอาการใหม่ที่ไม่เคยเป็นตอนที่ติดเชื้อเลยก็ได้ แน่นอนว่าผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนักต้องนอนโรงพยาบาลนานๆ อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวมากกว่า แต่อาการ “ลองโควิด” นี้ก็ยังสามารถเกิดได้ในผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้อย หรือแทบไม่มีอาการเลยก็ได้ โดยอาการที่เกิดขึ้นนั้นอาจยาวนานได้ถึง 3 เดือนขึ้นไป

 

ผลกระทบโควิดทำให้คนเกิดภาวะเนือยนิ่ง

ดร.วริศ วงศ์พิพิธ อาจารย์สาขาสุขศึกษาและพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (28 ตุลาคม 2565) เตือนว่า[30] ทางหลักวิชาการแล้วหมายถึง พฤติกรรมที่เป็นการนั่งเอนหลัง หรือการนอนอยู่บนเตียง ขณะที่ตื่นนอนอยู่ รวมไปถึง ภาวะที่ต้นขาอยู่ขนานกับพื้นขณะที่ตื่นนอน ซึ่งพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้เป็นพฤติกรรมหรือเป็นกิจกรรมที่ ร่างกายมีการใช้พลังงานที่ค่อนข้างต่ำกว่าปกติ คนไทยเป็นกันมาก เป็นผลพวงในช่วงเวลาโควิด 2 ปีที่ผ่านมา คือทำให้ผู้คนทุกช่วงวัยมีการใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีการใช้ชีวิตแบบ “ติดที่ ติดโต๊ะ ติดจอ” ซึ่งทำให้ไม่ได้ขยับเขยื้อนร่างกายเป็นเวลานานๆ จนทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “เนือยนิ่ง” มากขึ้น คนทำงานออฟฟิศก็เปลี่ยนไปทำงานบ้าน (WFH) ได้ มีพฤติกรรมการทำงานที่เปลี่ยนไป

 

สถานการณ์เศรษฐกิจไทยช่วงโควิดขาลง

แม้จะเชื่อว่าโควิดขาลง และการเฝ้าระวังยังจำเป็นเพื่อป้องการติดเชื้อเพิ่ม ช่วงนี้ตัวเลขว่างงานต่ำสุด นับแต่โควิดระบาด ถือเป็นปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้น[31]แม้ว่าข้อมูลเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 6.8% ในขณะที่ก่อนโควิด-19 (ปี 2562) เงินเฟ้อไม่ถึง 2%[32] ราคาผักเพิ่มขึ้นมากแม้กระทั่งผักทั่วไปอย่างผักกาดหอม และปัญหาไม่อยู่เฉพาะราคาอาหารแต่สร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ เช่น ต้องเพิ่มเงินเดือนพนักงาน

กทม.เริ่มฟื้นจากโควิด ไซต์งานก่อสร้างเปิด-คนกลับมาเดินทาง มีผลต่อนักลงทุน ความเสี่ยงต่อการลงทุน โพล ม.กรุงเทพ (13 กันยายน 2565) [33] เผยคนไทยตั้งใจเป็นเจ้าของธุรกิจหลังโควิด แต่ไม่กล้าเพราะทุนไม่พอ ความเห็นต่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายจะทำให้อยากเริ่มต้นธุรกิจใหม่มากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.5 ทำให้อยากเริ่มต้นธุรกิจใหม่ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 39.5 ทำให้อยากเริ่มต้นธุรกิจใหม่ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด 

ด้านการท่องเที่ยว เอกชนเรียกร้องรัฐขยายต่ออายุมาตรการ “เราเที่ยวด้วยกัน” เพื่อหนุนการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวจากโควิด เชื่อว่า จะเป็นประโยชน์กับธุรกิจโรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอย่างมาก มีการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวจะทะลุ 10 ล้านคน สร้างรายได้มากกว่า 2 แสนล้านบาท[34] เพราะรายได้ GDP หลักของไทยคือ การท่องเที่ยว แต่ช่วงที่ผ่านมาจีนปิดประเทศตามนโยบายซีโร่โควิด ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวจีน (ประมาณปีละ 11 ล้านคน) หายไปมาก ให้การท่องเที่ยวหลังโควิดกระจายไปเมืองรอง ไทยจัดประชุมรัฐมนตรี SME วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม “เอเปก” ที่ภูเก็ต (9-10 กันยายน 2565) [35] เร่งฟื้นฟูหลังพิษโควิด เร่งฟื้นฟูผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจากผลกระทบโควิด19 ผ่านการเข้าถึงเงินทุน ปรับตัวสู่ดิจิทัลและ BCG Model

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ประเมินว่า (12 กันยายน 2565) [36] จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศในปี 2565 จะอยู่ที่ 188.1 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวราว 7.2 แสนล้านบาท ในช่วงเวลากว่า 2 ปีที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงด้านการเดินทางอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยวจะเห็นนักท่องเที่ยวมีความกระตือรือร้นออกเดินทางไปสำรวจจุดหมายปลายทางใหม่ๆ กระจายตัวออกไปยังพื้นที่อื่นๆ อย่างต่อเนื่อง โดยไม่กระจุกตัวอยู่แค่แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังเท่านั้น ซึ่งเทรนด์ที่เกิดขึ้นนี้ช่วยให้คนในท้องถิ่นสร้างรายได้เพิ่มจากการเป็นผู้ให้บริการที่พัก และช่วยให้สามารถรับมือกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น 

 

APEC โอกาสทองของไทยพลิกฟื้นเศรษฐกิจจากโควิด

โควิดเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เศรษฐกิจทั้งโลกตกต่ำ ข้อมูลเงินเฟ้อ 6.8%[37] ณ เดือนสิงหาคม 2565 ในขณะที่ก่อนโควิด-19 เงินเฟ้อไม่ถึง 2% เริ่มเดินหน้าขับเคลื่อนฟื้นเศรษฐกิจตามปกติ ด้วยหวังว่าเศรษฐกิจไทยซึ่งกำลังฟื้นตัวต่อเนื่อง จะคืนสู่ระดับช่วงก่อนโควิดภายในสิ้นปี 2565-ต้นปีหน้า 2566[38]

การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC) ครั้งที่ 29 (18-19 พฤศจิกายน 2565) ถือเป็นเวทีโอกาสทองของไทย การส่งออกขยายตัวโต 7.8%[39] คนว่างงานลดลงเหลือ 4.91 แสน[40] นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตามปกติ แต่อย่าลืมการ์ดป้องกันโควิดไว้ก่อน และในขณะเดียวกันมีการดำเนินนโยบายสวัสดิการประชารัฐช่วยเหลือประชาชน ทั้งโครงการคนละครึ่ง และ การลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) [41] รวมยอดสูงถึง 21.4 ล้าน

 

สตง.ยังเป็นห่วงการทุจริต ชำแหละโครงการเงินกู้แก้โควิด “1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” 

ข่าวจากสำนักข่าวอิศรานี้น่าสนใจ[42] เพราะในรอบปีที่ผ่านมามีการใช้งบประมาณในการควบคุมป้องกันโควิดเป็นจำนวนมาก ในพื้นที่ 3,000 ตำบล ระยะเวลาการดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564-31 ธันวาคม 2564 หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ใช้งบประมาณเงินกู้ดำเนินงานโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 9,373.09 ล้านบาท กำหนดช่วงระยะเวลาการตรวจสอบตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2564-26 สิงหาคม 2565 เพราะผลการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงาน พบว่า โครงการยังไม่สัมฤทธิ์ผล ยังไม่มีการวัดผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจและสังคมในปีที่ 2 ในข้อมูลจากระบบ Project Based Management: PBM 

 

การดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่รัฐยังห่วงเช็คบิลการทุจริตจากกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่างๆ โดยเฉพาะการตรวจสอบท้องถิ่น อปท. นี่คือผลงานการดำเนินการของรัฐในช่วง “โควิดขาลง” หวังว่าหน่วยตรวจสอบทั้งหลายคงได้ผลงานจาก อปท.ไปเป็นรางวัล เพราะ อปท.มีมากถึง 7 พันแห่งต้องเจอข้อผิดพลาดบกพร่องแน่นอน


 

[1]Phachern Thammasarangkoon & Watcharin Unarine, ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น), บทความพิเศษ, สยามรัฐออนไลน์, 2 ธันวาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/404354 

[2]ยุบ ศบค. ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุมโควิด-19 ตั้งแต่ 1 ต.ค., BBC Thai, 23 กันยายน 2565, https://www.bbc.com/thai/articles/c3gmre7gppjo

[3]คาดประชากรไทยติดโควิดไปแล้ว 70% เมื่อรวมกับที่ฉีดวัคซีนไปแล้วทำให้คนส่วนใหญ่มีภูมิต้านทาน ดู 'หมอยง' คาดคนไทย 70%ติดโควิดแล้ว ชี้ต้องวางแผนปีหน้าจะเอาอย่างไรเรื่องวัคซีน, ไทยโพสต์, 10 พฤศจิกายน 2565, 12:26 น., https://www.thaipost.net/covid-19-news/260197/

[4]ทั่วประเทศฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว 143,266,311 โดส, ไทยโพสต์, 25 กันยายน 2565, 16:01 น., https://www.thaipost.net/covid-19-news/229184/ & ข้อมูลถึงวันที่ 10 มีนาคม 2565 ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อรวม 451,055,496 ราย เสียชีวิตสะสม 6,042,475 ราย ทั่วโลกฉีดวัคซีนรวมกันแล้ว 4,422,205,338 โดส ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทยมีผู้ป่วยสะสม 3,111,857 ราย เสียชีวิตสะสม 23,512 ราย โดยฉีดวัคซีนรวมกันกว่า 125,370,801 โดส (อ้างจาก ประชาไทย) 

[5]ยุบ ศบค. ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุมโควิด-19 ตั้งแต่ 1 ต.ค., BBC Thai, 23 กันยายน 2565, อ้างแล้ว

[6]เอาแล้ว นักไวรัสวิทยายกผลวิจัยล่าสุดชี้ยาฟาวิพิราเวียร์ไม่ควรใช้รักษาผู้ป่วยโควิด19, ไทยโพสต์, 8 กันยายน 2565, https://www.thaipost.net/covid-19-news/216855/ 

[7]รบ.ชวนผู้ปกครองพาบุตรหลาน 6 เดือน-4 ปี รับวัคซีนป้องกันโควิด, สยามรัฐออนไลน์, 16 ตุลาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/391303 & หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท 0816.4/ว 3959 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เรื่อง ขอให้เร่งรัดการฉีดวัคซีนโควิด 19 วัคซีนไฟเซอร์ ฝาสีแดง สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 4 ปี  

[8]5 ภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), องค์การเภสัชกรรม และ บริษัทไฮไบโอไซ จำกัด (บริษัทย่อย ใน บมจ.โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล) ร่วมพัฒนานวัตกรรมจนสามารถผลักดันงานวิจัยและพัฒนา จนเป็นผลิตภัณฑ์ "สเปรย์พ่นจมูก" ที่มีคุณสมบัติดักจับและยับยั้งเชื้อ โควิด-19 ทางกายภาพบริเวณ โพรงจมูก ภายใต้ แบรนด์เวลล์ โควิแทรป แอนติโคฟ นาซอล สเปรย์ สำเร็จได้ในที่สุด และได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว ดู วางขายแล้ว "สเปรย์พ่นจมูก" ช่วยดักจับและยับยั้งเชื้อ โควิด-19 ยาวนาน 6 ชม., คมชัดลึก, 30 กันยายน 2565, https://www.komchadluek.net/covid-19/covid-19-updated/531695& เปิดโฉม สเปรย์พ่นจมูกดักจับยับยั้งโควิด-19 วางขาย 1 ต.ค.นี้, ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล, 26 กันยายน 2565, 18:20 น., https://www.thansettakij.com/health/health/541753

[9]กลุ่ม608ยิ่งอันตราย "อนุทิน" กราบวิงวอนฉีดวัคซีนให้ครบ 4 เข็ม, สยามรัฐออนไลน์, 1 ธันวาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/404058 & 3เข็มไม่พอ สธ.เคาะคนไทยต้องฉีดวัคซีน 4 เข็มสู้ “โควิด”, เดลินิวส์, 28 พฤศจิกายน 2565, https://www.dailynews.co.th/news/1730663/

[10]กรมควบคุมโรค โต้ข่าวปลอม รบ.งดจัดเทศกาลปีใหม่ เพราะพบโควิดสายพันธุ์ใหม่, สยามรัฐออนไลน์, 27 พฤศจิกายน 2565, https://siamrath.co.th/n/402830 จะได้ฉลองปีใหม่ไหม “หมอยง” มีคำตอบหลังป่วยโควิดพุ่ง, สยามรัฐออนไลน์, 29 พฤศจิกายน 2565, https://siamrath.co.th/n/403303

[11]อย. พบการแอบแฝงโฆษณาสเปรย์ล้างจมูกยับยั้งหรือฆ่าเชื้อไวรัส บิดเบือนสรรพคุณผลิตภัณฑ์ สร้างความเข้าใจผิดให้ผู้บริโภค, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.), 17 พฤศจิกายน 2565, https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2372

[12]อานิสงส์ “โควิด-19” มท.1 ลงนาม “เหตุพิเศษ” สั่งบรรจุย้อนหลัง “ไม่ต้องสอบ” นักรบโควิดท้องถิ่นเป็น ขรก.ประจำ, โดยผู้จัดการออนไลน์, 3 ตุลาคม 2565, 16:44, https://mgronline.com/politics/detail/9650000094882 

[13]สธ.จ่อเคาะตัวเลขเพิ่ม “ค่าตอบแทน” ทุกวิชาชีพ พร้อมแจงค่าเสี่ยงภัยโควิด, สยามรัฐออนไลน์, 22 พฤศจิกายน 2565, https://siamrath.co.th/n/401375

[14]‘หมอจุฬาฯ’ เผย 6 สาเหตุหลัก ช่วงนี้คนติดโควิดเพิ่มขึ้นเพราะอะไร, เดลินิวส์, 18 พฤศจิกายน 2565, https://www.dailynews.co.th/news/1697120/  & เช็คเลย "กรมควบคุมโรค" แนะ 4 ข้อลดเสี่ยงโควิด, สยามรัฐออนไลน์, 1 ธันวาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/404024 

[15]"ระบาด"ปลายปีนี้ "ศูนย์จีโนมฯ"จับตา"ไวรัสโควิด" 4 สายพันธุ์ย่อย คาดมาแทนที่ "BA.5", สยามรัฐออนไลน์, 7 ตุลาคม 2565, 09:31 น., https://siamrath.co.th/n/388894 & 'หมอยง'ชี้อาการโควิดเปลี่ยนไปจากเดิม 8 ข้อ, สยามรัฐออนไลน์, 10 ตุลาคม 2565, 08:05 น., https://siamrath.co.th/n/389623 

[16]โควิดสายพันธุ์ XBB คืออะไร แพร่ระบาดเร็วแค่ไหน วัคซีนเอาอยู่หรือไม่ เช็คเลยที่นี่มีคำตอบ หมอเฉลิมชัยเผย Moderna กำลังจะเป็นบริษัทแรกที่ได้จดทะเบียนวัคซีนเจนเนอเรชั่น 2 ที่อังกฤษ, ฐานเศรษฐกิจ, 14 ตุลาคม 2565, https://www.thansettakij.com/health/health/543769

[17]'ดร.อนันต์' ชี้โควิด 'XBB - BQ.1.1' ผสมกันจะหนีภูมิคุ้มกัน-ติดเชื้อได้สูงขึ้น, สยามรัฐออนไลน์, 19 ตุลาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/392090

[18]ลำดับเหตุการณ์จำนวนครั้งที่โควิดระบาด ดู การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย (วิกิพีเดีย) & โควิด-19: ลำดับเหตุการณ์ แผนที่ อินโฟกราฟิก ยอดติดเชื้อ-เสียชีวิตในไทยและทั่วโลก, BBC Thai, 31 มีนาคม 2563, ปรับปรุงแล้ว 2 มีนาคม 2565, https://www.bbc.com/thai/thailand-52090088 & ย้อนเหตุการณ์สำคัญ 2 ปี COVID-19 (ธ.ค. 2562 - ธ.ค. 2564), ประชาไท, 10 มีนาคม 2565, https://prachatai.com/journal/2022/03/97618 

[19]โควิด-19: สธ.ประกาศไทยเข้าสู่การระบาดระลอกที่ 5 ยกระดับเตือนภัย, bbc thai, 6 มกราคม 2565, https://www.bbc.com/thai/thailand-59890726 & นพ.ยง ชี้ไทยเข้าสู่การระบาดโควิด-19 ระลอก 5 แล้ว หลังยอดผู้ติดเชื้อกลับมาพุ่งหลังปีใหม่, สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ), 7 มกราคม 2565, 10:44 น., https://www.ryt9.com/s/iq01/3287322 & ถอดรหัสโควิดไทย ติดเชื้อรายใหม่ทะลุวันละหมื่น น่าวิตกจริงหรือ, สำนักข่าวอิศรา, 7 กุมภาพันธ์ 2565, 16:02 น., https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/106397-isranews-covid-a-4.html & ข่าว สธ.ย้ำทุกจังหวัดยังคงการแจ้งเตือนภัยโควิดระดับ 4 งดรวมกลุ่ม ไปที่เสี่ยง เพื่อลดการติดเชื้อ, 21 กุมภาพันธ์ 2565 'หมอโอภาส' เตือนโควิดโอไมครอนรุนแรงน้อย แต่ไม่อ่อนโยนกับทุกคน, สยามรัฐออนไลน์, 29 พฤศจิกายน 2565, https://siamrath.co.th/n/403407 

[20]โควิดระลอก 6 สายพันธุ์ BA.5 แพทย์เตือนระบาดหนักและติดเชื้อง่ายกว่าเดิม คาดปลายเดือนพีคสุด, workpointTODAY, 14 กรกฎาคม 2565, https://workpointtoday.com/covid19-580/ & "หมอยง" ชี้โควิดระบาดรอบนี้ นับเป็นระลอก 6 ยังไม่พีคสุด แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ, Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ, 14 กรกฎาคม 2565, https://www.hfocus.org/content/2022/07/25500 & เตรียมรับมือ "โควิด19" รอบใหม่ เข้าสู่โรคประจำฤดูกาล แนวโน้มติดเชื้อสูง, คมชัดลึก, 8 พฤศจิกายน 2565, https://www.komchadluek.net/covid-19/covid-19-updated/535746

[21]โอไมครอน (Omicron) คือ เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 (ซาร์สโควี 2) ที่กลายพันธุ์ไปจากเดิมมากที่สุด ซึ่งพันธุกรรมของโอไมครอน กลายพันธุ์ไปมากถึง 50 ตำแหน่ง จุดเด่นของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน คือ น่ากังวล มีการแพร่เชื้อได้เร็ว (High transmissibility) กว่าสายพันธุ์อื่น 5 เท่า สามารถแพร่เชื้อได้ไวกว่า ตัวไวรัสมีความสามารถที่จะหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ ดูบทความใน โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพ, 2564 ดู ตีระฆังเตือน “หมอธีระ” เผยผลวิจัยสหรัฐฯ ยืนยันเรื่องการดื้อต่อภูมิคุ้มกัน, สยามรัฐออนไลน์, 29 พฤศจิกายน 2565, https://siamrath.co.th/n/403314 & จับตาติดเชื้อรุนแรงหรือไม่? ปีหน้าคาดทั่วโลกเจอโควิดโอมิครอนรุ่น 3, TNN, 28 พฤศจิกายน 2565, 10:25 น., https://www.tnnthailand.com/news/covid19/131802/?utm_source=Lineidol&utm_medium=message&utm_campaign=Lineidols & เตรียมรับศึก "โควิด" ระลอกใหม่?, เรื่องใหญ่วันนี้ EP 71, PPTVHD36, 29 พฤศจิกายน 2565, https://youtu.be/n8Wha766qy4

[22]ศูนย์จีโนมทางการแพทย์เปิดข้อมูลชี้ชัด เดลตาครอนเกิดขึ้นไม่ง่าย-แทบไม่มีโอกาสเข้ามาครองส่วนแบ่งตลาดผู้ติดเชื้อโควิดในไทยแน่, สยามรัฐออนไลน์, 1 ธันวาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/403949

[23]น่าเป็นห่วง "ดร.อนันต์" ระบุไวรัสโควิด-19 กระโดดจากคนไปติดสัตว์หลายชนิด, สยามรัฐออนไลน์, 10 พฤศจิกายน 2565, https://siamrath.co.th/n/398141

[24]พบ 1 ใน 3 เป็น "Long COVID"! "หมอธีระ"โพสต์ผลสำรวจสหรัฐฯ หลังติดเชื้อโควิด, สยามรัฐออนไลน์, 6 ตุลาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/388533

[25]“ฮู” สุดห่วง “ชาวยุโรป 17 ล.คน” เผชิญ “ลองโควิด”, สยามรัฐออนไลน์, 15 กันยายน 2565, https://siamrath.co.th/n/382822

[26]คาดไทยเจอภาวะ 'ลองโควิด' หลายแสนคน บี้รัฐเร่งให้ความรู้ประชาชน, ไทยโพสต์, 5 กันยายน 2565, https://www.thaipost.net/covid-19-news/214435/

[27]ญี่ปุ่นเผยยอดผู้ป่วยโควิด-19 พักฟื้นที่บ้านทะลุ 5 แสนรายครั้งแรก, สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ), 15 กุมภาพันธ์ 2565, 15:14 น., https://www.ryt9.com/s/iq47/3297644 & ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ทั่วประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ 68,894 คนในวันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน, NHK, 13 พฤศจิกายน 2565, 17:48 น., https://www3.nhk.or.jp/nhkworld/th/news/396294/

[28]ดู “มังกร” ล็อกดาวน์ “เซี่ยงไฮ้” คุม “โควิด” อาละวาดหนัก, สยามรัฐออนไลน์, 13 ตุลาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/390671 & จีนสาหัส วันเดียวติดโควิดทะลุ 31,000 คน “สูงเป็นประวัติการณ์” ทั้งที่ล็อกดาวน์, ข่าวสด, 24 พฤศจิกายน 2565, https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_7381234 & ประท้วงจีน : เจ้าหน้าที่ตำรวจจีนตรึงกำลังแน่นหลังผู้ประท้วงปักหลักชุมนุมหลายวัน, BBC Thai, 29 พฤศจิกายน 2565, https://www.bbc.com/thai/international-63790191

[29]โพสต์โควิด (Post – COVID 19 Condition) หรือ ลองโควิด (Long COVID) เป็นภาวะหรืออาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโควิด-19 หลังจากได้รับเชื้อนาน 4 สัปดาห์ไปจนถึง 12 สัปดาห์ขึ้นไป (รพ.กรุงเทพ)

Long COVID หรือ Long-haul COVID (หรือที่เรียกว่ากลุ่มอาการหลังโควิด-19, ภาวะหลังโควิด-19, ผลที่ตามมาภายหลังเฉียบพลันของ COVID-19 (PASC : post-acute sequelae of COVID-19) หรือกลุ่มอาการโควิดเรื้อรัง (CCS : chronic COVID syndrome) เป็นอาการที่มีระยะนาน เป็น ปัญหาสุขภาพในระยะที่ยังคงมีอยู่หรือปรากฏขึ้นหลังจากช่วงพักฟื้นโดยทั่วไปของ COVID-19 แม้ว่าการศึกษาเกี่ยวกับ Long COVID กำลังดำเนินการอยู่ แต่ ณ เดือนพฤษภาคม 2565 ไม่มีความเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับคำจำกัดความของคำนี้ Long COVID ได้รับการอธิบายว่ามีศักยภาพ ส่งผลต่อระบบอวัยวะเกือบทุกระบบ ทำให้เกิดภาวะต่อไป (ผลสืบเนื่อง) รวมถึงความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาทและระบบประสาทผิดปกติ ความผิดปกติทางสุขภาพจิต ความผิดปกติของการเผาผลาญ ความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร (วิกิพีเดีย)

[30]‘พิษตกค้าง’ โควิดซา ‘ภัยเนือยนิ่ง’ ร้ายจริง‘ ร้ายน่ากลัว’, เดลินิวส์, 28 ตุลาคม 2565, https://www.dailynews.co.th/articles/1620599/ 

[31]สถานการณ์ว่างงานของไทยดีขึ้นต่อเนื่อง สอดคล้องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สำนักงานสถิติเผยข้อมูล ก.ค. 65 มีผู้ว่างงาน 5.14 แสนคนต่ำที่สุดนับแต่เกิดการแพร่ระบาดโควิด19, ข่าวทำเนียบรัฐบาล thaigov, 17 กันยายน 2565, https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/59359

[32]ดู เงินเฟ้อเดือนสิงหาคมพุ่ง 7.86% พาณิชย์ฟันธงผ่านจุดสูงสุดแล้ว, บทความพิเศษ โดย ศัลยา ประชาชาติ, มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 9 - 15 กันยายน 2565, เผยแพร่วันที่ 13 กันยายน 2565, https://www.matichonweekly.com/column/article_600848 & เทียบสถานการณ์เงินเฟ้อในออสเตรเลีย เงินเฟ้อในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 6.8% เทียบกับช่วงก่อนโควิดที่เงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่า 2% ดู กะหล่ำหัวละ 250 บาท เงินเฟ้อในออสเตรเลียอาจยังไม่ถึงจุดพีค แม้ราคาผักผลไม้จะเริ่มลดลงบ้างแล้ว โดย สกุลชัย เก่งอนันตานนท์, theStandard, 6 ตุลาคม 2565, https://thestandard.co/australia-inflation/ 

[33]โพลเผยคนไทยตั้งใจเป็นเจ้าของธุรกิจหลังโควิด แต่ไม่กล้าเพราะทุนไม่พอ, ไทยโพสต์, 13 กันยายน 2565, 6:51 น., https://www.thaipost.net/economy-news/220427/ & รบ.หนุนธุรกิจสตาร์ทอัพเต็มสูบ คาดกระตุ้นเงินลงทุนเพิ่มกว่า 320,000 ล., สยามรัฐออนไลน์, 16 ตุลาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/391301 & โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ เดินหน้าผลักดันไทยสู่ฐานการผลิตรถ EV ในภูมิภาค, สยามรัฐออนไลน์, 2 ธันวาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/404264 

[34]ดู การเปลี่ยนแปลงภาคการท่องเที่ยวไทยกับก้าวต่อไปหลังเปิดประเทศ, BOT​ พระสยาม Magazine ฉบับที่ 3/256​​​​​​5 (กรกฎาคม - กันยายน)​​​​​ หน้า 34-37, https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Documents/PhraSiam0365/BOTMAG3-65.pdf & เอกชนวอนรัฐขยาย “เราเที่ยวด้วยกัน” หนุนท่องเที่ยวฟื้นตัวจากโควิด, ไทยโพสต์, 19 กันยายน 2565, https://www.thaipost.net/economy-news/224821/ & “ททท.” ฉลองนักท่องเที่ยวทะลุ 10 ล้านคน หนุนเม็ดเงินสะพัด 1.33 ล้านล้าน, ข่าวหุ้น, 1 ธันวาคม 2565, https://www.kaohoon.com/news/574078 

[35]จังหวัดภูเก็ต ประกาศความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC SME 5-10 กันยายน นี้, สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 16 สิงหาคม 2565, https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220816162249667

[36]ดู ttb analytics มองไทยเที่ยวไทยยอดพุ่งครึ่งปีหลัง คาดทั้งปีโต 161.7%, ttbbank, 23 มิถุนายน 2565, https://www.ttbbank.com/th/newsroom/detail/halfyear-travel-2565 & ttb คาดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาปี 2566 อยู่ที่ 18.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 9.5 ล้านคนในปี 2565 ดู TTB มองศก.ไทยปี 66 โต 3.7% อานิสงส์ท่องเที่ยว-บริโภคเอกชนฟื้น, สำนักข่าว efinancethai, 27 กันยายน  2565, https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?release=y&ref=M&id=c3NKQ2JaMVJRRVE9  

[37]เงินเฟ้อในออสเตรเลีย เดือนสิงหาคมอยู่ที่ 6.8% เทียบกับช่วงก่อนโควิดที่เงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่า 2% ดู กะหล่ำหัวละ 250 บาท เงินเฟ้อในออสเตรเลียอาจยังไม่ถึงจุดพีค แม้ราคาผักผลไม้จะเริ่มลดลงบ้างแล้ว โดย สกุลชัย เก่งอนันตานนท์, theStandard, 6 ตุลาคม 2565, อ้างแล้ว

[38]“จุรินทร์” จับมือสภาอุตสาหกรรมเปิดงาน Agro FEX อีสาน 2022 ที่โคราช กระตุ้น ศก.คาดสร้างเงินไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท, สยามรัฐออนไลน์, 1 ธันวาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/404075 

[39]ส่งออกไทย ก.ย. โต 7.8% ต่อเนื่องเดือนที่ 19 คาดทั้งปีโตเกินเป้า 4%, ประชาชาติธุรกิจ, 26 ตุลาคม 2565, https://www.prachachat.net/economy/news-1098242#:~:text=จุรินทร์เผย,ออก%209%20เดือนโต%2010.6%25   

[40]นายกฯ พอใจ อัตราว่างงานไตรมาส 3 ของไทย ลดเหลือ 4.91 แสนคน, ไทยรัฐออนไลน์, 5 พฤศจิกายน 2565, https://www.thairath.co.th/news/politic/2545278 

[41]ยอดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแตะ 21.4 ล้านคน ประเมินคนผ่านเกณฑ์มากกว่าครั้งก่อนพิษโควิดทำให้จนลง, สยามรัฐออนไลน์, 17 ตุลาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/391559

[42]สตง.ชำแหละ '1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย' ใช้เงินกู้แก้โควิด 9.3 พันล้าน ยังไม่สัมฤทธิ์ผล, สำนักข่าวอิศรา, 29 ตุลาคม 2565, 16:18 น., https://www.isranews.org/article/isranews/113208-inves09-236.html 

หมายเลขบันทึก: 710748เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2022 02:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2022 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท