Work life balance กลับมุมอีกด้านในการป้องกัน


“อัตราการเสียชีวิตของวัยทำงานเสียชีวิตจาก “อุบัติเหตุ มะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด…สูง”

      ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติประเทศไทย มีวัยแรงงาน 37.61 ล้านคน หากคนกลุ่มนี้มีสุขภาพดี จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ แต่จากสภาพแวดล้อมในการทำงาน การดำเนินชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน ทำให้คนวัยทำงาน ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสูง พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข เผยวัยทำงานเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ มะเร็ง และโรคหัวใจและหลอดเลือด สูง รวมทั้งมีปัญหาความเครียดจากป่วยโรคเรื้อรัง หนี้สิน และวัยทำงานเป็นกำลังหลักในการหาเลี้ยงครอบครัว และถือเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศอีกด้วย

     จากสถิติและข้อมูลดังกล่าวที่ได้กล่าวไปข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการสร้างเสริมและส่งเสริมสุขภาพของคนในวัยทำงาน หรือการจัดการต่อความเครียดหรือปัญหาของคนในวัยทำงานที่อาจโดนมองข้ามไป

โดยจากการฟังบรรยายในหัวข้อ Work life balance สามารถถอดบทเรียนได้ ดังนี้

และจากการฟังบรรยายในหัวข้อ พยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ  สามารถถอดบทเรียนได้ ดังนี้

     จากทั้งสองเรื่องทำให้ได้เห็นทั้งปัญหาและแนวทางการป้องกันสามารถนำความรู้จากทั้งสองเรื่องมา Integrative กันได้ จากมุมมองของดิฉัน นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัย มหิดล มองว่า ปัญหาการทำงานหรือการเรียน หรือการทำอะไรที่มากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การดำเนินชีวิต ก็จะมีกระบวนการแก้ไขปัญหาหรือการจัดการความเครียด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหรือการดำเนินชีวิตมากนัก เช่น เรียนรู้ถึงกระบวนการจัดการความเครียด ปัญหาที่เข้ามา balance สิ่งต่าง ๆ ให้เหมาะสมตามความพึงพอใจของตนเองอย่างไม่ส่งผลต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิต ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา หากมองในมุมนโยบายหรือรัฐบาลก็ควรที่จะมีนโยบาย เช่น อาจะเริ่มต้นจากชุมชนที่่อาศัยอยู่โดยเรียนรู้จาก พยาบาลชุมชน หรืออสม. ที่มีบทบาทและถือเป็นจุดเล็กๆที่มีพลังที่ยิ่งใหญ่ เป็นด่านหหน้าที่จะกระจายความรู้ คงไว้ซึ่งความรู้ในชุมชน เพื่อส่งเสริมและป้องกันปัญหาดังกล่าวให้แก่วัยทำงานที่ถือเป็นประชากรส่วนมากในประเทศอีกด้วย นอกจากนี้นักกิจกรรมบำบัดรวมถึงสหวิชาชีพต่าง ๆ ก็สามารถมีส่วนร่วมในการช่วยส่งเสริมหรือป้องกันปัญหานี้ได้ นักกิจกรรมบำบัดอาจเข้ามามีส่วนช่วยในการให้คำปรึกษาหรือช่วยปรับ routine ได้ในบางส่วน และในกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดนั้นสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการปฏิบัตินกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด ดังนี้

Hazard risk —-> Avoid

Hazard risk : หากเกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบในวงกว้างอาจทำให้ผู้รับบริการเกิดโรค หรือเป็นความเสี่ยงขั้นรุนแรงต่อการเกิดโรค ที่นักกิจกรรมบำบัดจะต้องรับมือกับต่อผู้รับบริการ ซึ่งก่อนที่จะไปถึงขั้นนั้นก็สามารถป้องกันความเสี่ยงนี้ได้โดยการ หลีกเลี่ยง สิ่งที่จะเกิดขึ้น (Avoid) เช่น ป้องกันหรือส่งเสริมการทำกิจกรรมที่มีความหมาย ช่วยปรับ routine ให้สมดุลมากขึ้น รวมถึงให้คำปรึกษาต่าง ๆ 

Operational risk —-> Modify

Operational risk : เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการทางกิจกรรมบำบัด ที่อาจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในการทำกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด ก็จะต้องดูความเหมาะสมและมีการปรับเปลี่ยนเพื่อลดความเสี่ยงในกระบวนการทางเทคโนโลยีนี้ให้เพื่อตรงตามความต้องการและบริบทของผู้รับบริการ (Modify)

Strategic risk —-> Retain, Exploit

Strategic risk : เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎระเบียบ สภาพแวดล้อม สังคมที่ขัดขวางหรือทำให้เกิดปัญหาที่ผู้รับบริการกำลังเผชิญกับปัญหาการทำงานนี้ ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวจะแก้ไขได้ยาก โดยจะต้องการป้องกันความเสี่ยงด้านนี้ที่จะเกิดขึ้น และเพื่อคงไว้เพื่อความที่เป็นประโยชน์แก่ผู้รับบริการในการทำงาน และเริ่มต้นด้วยการฝึก ปรับเปลี่ยนจากตัวผู้รับบริการเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบที่ขัดขวางมากยิ่งขึ้น (Retain to Exploit)

     สุดท้ายนี้จากการฟังบรรยายและได้ถอดบทเรียนมานี้สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตตนเอง คือ ทำให้ได้ย้อนมองตัวเองว่าทำงานหนักไปหรือเรียนหนักเกินไปไหม ควรที่จะมีการปรับเปลี่ยนหรือป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นไม่ให้เป็นผลกระทบในวงกว้างต่อสุขภาพ และการดำเนินชีวิต นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้กับวิชาชีพทางพยาบาลที่เรียกว่า พยาบาลชุมชน ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนซึ่งเป็นสิ่งที่น่าประทับใจมาก ได้ฟังประสบการณ์จากการเล่าถึง วิชาชีพพยาบาลชุมชนที่ได้แพร่กระจายไปจนเป็นที่รู้จัก ก็มีความอยากที่จะนำมาใช้กับวิชาชีพกิจกรรมบำบัดของตนเองให้เป็นที่รู้จักของคนในประเทศมากยิ่งขึ้น รวมถึงได้เห็นถึงหน้าที่ในการปฏิบัติงานของพยาบาลมากยิ่งขึ้นก็ทำให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้นในการปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพ ที่จะมีการทำงานที่ไม่ซ้อนทับกัน นอกจากนี้การส่งเสริมรวมถึงผลกระทบของปัญหาการทำงานการใช้ชีวิตต่าง ๆ ก็ยังสามารถนำมาใช้วิเคราะห์หรือเป็นความรู้ในโครงงานที่จะจัดทำขึ้น ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการป้องกันและส่งเสริม รวมถึงสาเหตุของปัญหาในผู้สูงอายุที่อาจเป็นผลมาจากวัยทำงาน และชัดมากคือการทำงานด้วยสหวิชาชีพที่จะทำให้เห็นภาพการจัดทำโครงการมากยิ่งขึ้น ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้และต่อยอดในวิชาชีพกิจกรรมบำบัด และนำความรู้ที่ได้มาเป็นความรู้เพื่อปรับประยุกต์ใช้ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้คนรอบข้างอย่างสูงที่สุด

Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. วัยแรงงานเสียชีวิตจาก ‘อุบัติเหตุ มะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด’ สูง [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2016/04/12092

College of Occupational Therapists of Ontario. 2563. “Managing Risks in Occupational Therapy Practice” [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.coto.org/docs/default-source/prep-modules/2020-prep-managing-risks-in-occupational-therapy-practice-(english).pdf?sfvrsn=f2ac6756_2

                                                                                            6423008 พัชรพร ผ่องผล

หมายเลขบันทึก: 710438เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2022 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2022 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท