เข้าระบบ
สมัครสมาชิก
หน้าแรก
สมาชิก
วราพร แสงสมพร
สมุด
เรียนรู้KM
เล่าเรื่องให้ได้ดี
วราพร แสงสมพร
สมุด
บันทึก
อนุทิน
ความเห็น
ติดต่อ
เล่าเรื่องให้ได้ดี
การใช้เรื่องเล่าจะช่วยให้เข้าใจเรื่องซับซ้อนมากกว่าบรรยาย
เล่าอย่างไรให้ได้ดี
พวกเราทุกคนคุ้นเคยกับเรื่องเล่ามาตั้งแต่ยังเด็กเล็ก ได้ยินเรื่องเล่านิทานจากแม่ก่อนนอน เรื่องเล่าจากนิทานอีสปจะแฝงข้อคิด และสติเตือนใจเรามากมาย คุณครูเล่านิทานทำให้เราเห็นภาพ สามารถผูกเรื่องเข้าไปอยู่ในความทรงจำมากกว่าคุณครูสอนอธิบายบนกระดานดำ เรื่องเล่าในอดีตเป็นข้อพิสูจน์ว่าการใช้เรื่องเล่าจะเป็นการช่วยให้เข้าใจเรื่องซับซ้อนมากกว่าการบรรยาย โดยปกติเราสามารถเล่าเรื่องราวอย่างอัตโนมัติเมื่อมีอะไรมากระตุ้น แต่เมื่อมีคนมากำหนดหัวข้อให้เล่า ทำให้หยุดคิดแล้วลำดับเรื่องราวใหม่ ถ้าคนถูกฝึกให้พูดบ่อยๆ ก็จะมีทักษะเชื่อมโยงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามก็อยากนำบทเรียนของผู้ฟังมาบอกเล่าให้กับผู้เล่าว่าจะเล่าอย่างให้ได้ดี
· ต้องชัดเจนในจุดประสงค์ เช่นจะเล่าให้เกิดวามบันเทิง เกิดความขบขัน จะเล่าให้เกิดความเป็นพวกพ้อง ให้เกิดความแตกแยก เล่าให้ผู้ฟังได้สติ เป็นต้น ในเรื่องการจัดการความรู้ แน่นอนเราอยากให้ผู้ฟังเข้าไปอยู่ร่วมในความคิด เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องราว เกิดการคิด พิจารณา ไตร่ตรอง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดการสร้างความรู้เข้าไปฝังในตัวผู้ฟัง
· การเล่าเป็นเรื่องราว เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงจะดึงดูดผู้ฟังให้สนใจมากกว่าการพูดเป็นเชิงอธิบายในรายละเอียดที่เป็นนามธรรม
· การเล่าจากประสบการณ์ที่เป็นจริงดีกว่าการนำเสนอในแนวคิด เพราะจะช่วยลดความขัดแย้งในเรื่องความถูกต้อง
· เรื่องที่เล่า ควรประเมินก่อนว่าพูดไปแล้วผู้ฟังจะเข้าใจได้ง่ายหรือไม่ ควรมีภาพหรือสื่ออื่นมาช่วยหรือไม่ เพื่อให้ผู้ฟังเกาะติดไปตลอดเรื่อง
· การเล่าเรื่องที่เป็นความสำเร็จ ดีกว่าเรื่องล้มเหลว เพราะเป็นคำตอบมากกว่าไปวินิจฉัยหาแนวทางอื่นอีก การบอกเล่าเรื่องที่จบลงด้วยความสุขจะทำให้มีการปล่อยสาร dopamine เข้าไปในสมองส่วนที่อยู่ใน cortex เกิดความพร้อมที่จะคิดเรื่องใหม่ๆให้กับตัวเอง
· ขณะที่เล่า สังเกตผู้ฟัง ถ้ากำลังจะเอาใจออกห่าง ลองใช้คำถามกระตุ้นว่าถ้าเป็นเขาในสถานการณ์นี้จะทำอย่างไร เป็นการดึงให้เขาเข้ามาอยู่ในความคิดอีก
· ขณะที่เล่า ถ้ามีคนมาช่วยเล่าในเรื่องเดียวกันที่เป็นส่วนเกิดขึ้นกับเขาแล้วเกิดผลอย่างไร ยิ่งมีจำนวนหลากหลายมุมมอง ก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดการตัดสินเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตนเอง ผลักดันให้ผู้ฟังสร้างเรื่องใหม่ด้วยตนเอง เกิดการวางแผนนำไปใช้ในงานของตน
· ภายหลังเล่าจบ เปิดโอกาสให้ผู้ฟังตัดสินใจเองว่าเรื่องราวที่ฟังมามีความหมายอย่างไรต่องานของเขา มากกว่าการสรุปแล้วสั่งการให้ไปปฏิบัติ
เขียนใน
GotoKnow
โดย
วราพร แสงสมพร
ใน
เรียนรู้KM
คำสำคัญ (Tags):
#ศิริราช
หมายเลขบันทึก: 7097
เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2005 15:49 น. (
)
แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:18 น. (
)
สัญญาอนุญาต:
จำนวนที่อ่าน
ความเห็น
ไม่มีความเห็น
หน้าแรก
สมาชิก
วราพร แสงสมพร
สมุด
เรียนรู้KM
เล่าเรื่องให้ได้ดี
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID
@gotoknow
สงวนลิขสิทธิ์ © 2005-2025 บจก. ปิยะวัฒนา
และผู้เขียนเนื้อหาทุกท่าน
นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย