ความสำคัญของการให้และรับข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)


        ช่วงเวลาที่ผ่านมาทำให้ผมได้เห็นค่อนข้างชัดเจนว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) นั้นมีความสำคัญต่อชีวิตค่อนข้างมาก ทั้งนี้เนื่องจากชีวิตเป็นระบบที่เปิด (Open System) เป็นระบบที่ปรับเปลี่ยน (Adaptive System) ไปตามสภาวะที่แวดล้อม   ข้อมูลย้อนกลับ จึงเป็น Input  ที่สำคัญสำหรับชีวิต

        จริงๆ แล้ว ผมชอบใช้คำว่า ข้อมูลสะท้อนกลับ  มากกว่า เพื่อเน้นให้เห็นว่ามันคือเสียงสะท้อนที่ย้อนกลับมาอันเป็นผลมาจากการกระทำของเรา ในเรื่องนี้ผมมีประเด็นที่เห็นว่าสำคัญสองเรื่อง คือ

        ประเด็นแรกเป็นเรื่องท่าทีที่เรามีต่อเสียงสะท้อนกลับนี้  ถ้าเราเป็นคนที่พร้อมรับเฉพาะแต่ข่าวดี  และมีอาการทุกครั้งที่ได้รับ Feedback ที่ไม่ถูกใจ  ในที่สุดผู้ที่หวังดีก็จะค่อยๆ หายไป  เพราะไม่กล้าให้ข้อมูลที่แท้จริง  เมื่อใดก็ตามที่เสียง (ข้อมูล) รอบข้างมีแต่ดีกับดีเท่านั้น ให้ลองหมั่นสังเกตดูว่า Feedback  ที่ได้รับอยู่นั้น มันเป็นของแท้หรือของเทียม

        ประเด็นที่สอง เป็นการมองไปที่ตัวคุณภาพของ Feedback เราต้องเข้าใจว่าคนทุกคนนั้นไม่ใช่ว่าจะมีคุณสมบัติที่สามารถให้ Feedback ได้เสมอไป  มันก็คงเหมือนกับพื้นผิวของวัตถุที่ไม่ใช่ว่าทุกชนิดจะสามารถสะท้อนแสงได้เสมอไป  หากภายในใจเรายังเต็มไปด้วยอคติ (Bias)  Feedback ทั้งหลายก็ไม่น่าจะออกมาจากเรา  เพราะใจเรายังไม่ใสพอที่จะสะท้อนสิ่งที่เป็นจริงออกไปได้

        จะเห็นได้ว่าเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและอันตรายพอๆ กัน ทั้งทางด้านผู้รับสาร (รับ Feedback)  และผู้ส่งสาร (ให้ Feedback) ...ผมคงต้องรอฟัง Feedback จากท่านก่อนที่จะเขียนตอนต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #feedback#open_system#living_system
หมายเลขบันทึก: 70836เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2007 13:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

หากภายในใจเรายังเต็มไปด้วยอคติ (Bias)  Feedback ทั้งหลายก็ไม่น่าจะออกมาจากเรา 

เสมือนว่าเป็น หลุมดำทางความคิด 2.คิดอคติ

วิชิต

ขอขอบพระคุณอาจารย์ประพนธ์...

  • เรื่อง Feedback หรือข้อมูลสะท้อนกลับ... ทำให้นึกถึงคำกล่าวที่ว่า "ยิ่งสูง ยิ่งหนาว"

คนเรายิ่งสูง... ยิ่งได้ยินแต่คำเชิงบวก หรือ yes มากขึ้นเรื่อยๆ

  • ตัวอย่างนี้พบบ่อยในสังคมที่มีลักษณะแนวดิ่งสูง โดยเฉพาะสังคมที่เน้นการบังคับบัญชา

เมื่อขาด Feedback... ข้อใดข้อหนึ่ง (หรือหลายข้อ) ต่อไปนี้...

  • (1). ขาดครูบาอาจารย์ หรือกัลยาณมิตรมาแนะนำ ตักเตือน (source of feedback)
  • (2). ใจมันปิด ไม่รับฟัง (blockage of feedback)
  • (3). หรือแวดล้อมไปด้วยมิตรประจบ สอพลอ (delusion of feedback)

คนเรามีโรคกลุ่มอาหารหนึ่งที่คนไข้ไม่รู้สึก "เจ็บ"...

เรียน อ.ดร.ประพนธ์ ค่ะ...

  • โดยธรรมชาติของคนที่อยากปรับปรุงหรือพัฒนาตัวเองมักจะใจกว้าง...เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นย้อนกลับอยู่แล้ว..ยิ่งมี..ยิ่งชอบ.ยิ่งปรับปรุง..ยิ่งดี...ดีขึ้น..และดีขึ้น....ดังนั้นคนกลุ่มนี้จะไม่ค่อยมีคำติ
  • ในมุมกลับกัน..คนที่คิดว่าตนดี...ตนเก่ง..ตนแน่..ตนถูก..ก็ไม่คิดที่จะรับฟังคำป้อนกลับจากคนอื่นๆ...เป็นฝ่ายว่า(เขา)อย่างเดียว...ไม่ฟังใคร..กลุ่มนี้ต่อให้ใครcomment..ก็ปิดหูปิดตาอยู่แล้ว...ถ้าอาวุโสหน่อยยิ่งยากส์...ถ้ามีชื่อเสียงยิ่งยากส์ใหญ่...แต่ถ้าเป็นเด็กๆยังพอบังคับให้เอามือที่อุดหูออกฟังได้บ้าง...
  • ...สำหรับดิฉัน...ก่อนcomment..จะดูก่อนว่า...มันเป็นหน้าที่เราที่ต้องcomment หรือเปล่า...ถ้าไม่ใช่...เขาเป็นญาติเราหรือเปล่า...ถ้าไม่ใช่...ฉันจะนับให้โอกาสเขาพลาดได้ 2 ครั้ง ครั้งที่3 commentเท่าที่จำเป็น...หลังจากนั้น..หันหลังให้กันค่ะ...ไม่งั้นเปลืองน้ำลาย...เปลืองแรงเปล่าๆค่ะ...เอาแรงไปทำอย่างอื่นเกิดประโยชน์กว่า....
ความที่ใจยังไม่ใสพอที่จะสะท้อนความจริงออกมา เป็นสิ่งอันตรายต่อการพัฒนางาน  พัฒนาคน  พัฒนาหน่วยงาน    เพราะถ้าใจยังไม่ใสพอก็จะมีแต่ความขุ่นมัว 
ดิฉันพยายามประเมินตัวเองและอยากได้สิ่งที่ส่วนที่เกี่ยวข้องให้เราพัฒนาโดยต้องตั้งใจก่อนว่าเรารับได้ทั้งบวกและลบค่ะ     เจอคนที่ไม่อยากฟังเรื่องที่ถูกตำหนิมามากก็ต้องทำใจค่ะเพราะคนบางคนอาจจะภาคภูมิใจในตัวเองโดยรับไม่ได้กับคำที่ตำหนิ    ต้องหาวิธีที่จะสื่อสารค่ะ    สวัสดีปีใหม่ค่ะ   
  •      การรับข้อมูลสะท้อนกลับ ในส่วนตัว ผมคิดว่าขึ้นกับแต่ละบุคคลครับ ที่สามารถรับข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ แล้วแปลงมาให้ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงได้มากน้อยเพียงใด เราคงไม่ปฏิเสธว่า แวดล้อมตัวเราเองมีทั้งคนที่ชอบพอเรา และคนที่อาจจะไม่พอใจตัวเราปะปนกันอยู่ คนที่ชอบพอกัน ส่วนใหญ่คงพูดจาในเรื่องราวที่ค่อนข้างบวก หรืออาจจะไม่บวกก็ตาม ส่วนคนที่ไม่ชอบพอกัน ส่วนใหญ่คงมักเป็นภาพติดลบซะมากกว่า ข้อมูลเหล่านี้มีการใส่จริตและสีสันต่างๆเข้าไปตามอารมณ์ของผู้พูดและสถานการณ์ที่พูดคุยกันในขณะนั้น การที่เราได้รับฟังต่อๆกันมา เรื่องราวหลายอย่างอาจผิดเพี้ยนกันออกไปบ้างพอประมาณ
  • สิ่งสำคัญที่สุดคงอยู่ที่ตัวกรอง (Filter) ของเราครับ ว่าจะเลือกกรองเฉพาะข้อมูลที่บวก แล้วภูมิอก ภูมิใจที่คนมีกล่าวขวัญถึง หรือ กรองข้อมูลที่เป็นลบ แล้วกลุ้มอกกลุ้มใจที่คนสรรเสริญ
  • ตัวกรองข้อมูลของเรา เป็นการเลือกที่จะรับฟังเฉพาะข้อมูลบางสิ่งบางอย่างที่อยากจะได้ยิน และไม่รับฟังข้อมูลบางอย่างที่ไม่อยากจะได้ยิน
  • ความบกพร่องของตัวกรอง จะทำให้คนบางคนไม่ได้ยินเสียงเตือนด้วยความเป็นห่วงของคนรอบข้าง และหลงระเริงไปกับเสียงชมเชยจากคนประจบสอพลอรอบตัว
  • ปัญหาจึงน่าจะอยู่ที่ เราจะมีวิธีการอย่างไร ในการปรับปรุงตัวกรองข้อมูล ซึ่งอยู่ภายในใจของเรา ในการรับฟังข้อมูลที่ได้ยินมา แล้วกรองข้อมูลเหล่านั้นได้ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงที่สุด  หากทำได้ เราก็จะเข้าใจในทุกสถานการณ์ที่เผชิญอยู่และสามารถตอบสนองหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นธรรม หากทำไม่ได้ ก็ไม่แตกต่างจากการเลือกที่จะปิดหูปิดตาตัวเองครับ
  • คนที่มีตัวกรองข้อมูลบกพร่อง ในเรื่องเดียวกันอาจเข้าใจได้แตกต่างจากความจริงไปคนละทาง ซึ่งคงไม่ต้องพูดถึงวิธีการแก้ปัญหานะครับ ว่าจะไปคนละทิศเพียงใด
  • นี่จึงน่าจะเป็นสิ่งที่ตอบได้ว่า ทำไมคนบางคน แม้จะฟังคนพูดคนเดียวกัน แต่ทำไมเข้าใจกันไปคนละทิศครับ

hi!This was a really superb theme!

I come from roma, I was fortunate to come cross your topic in wordpress

Also I get a lot in your topic really thank your very much i will come later

hi I was luck to search your subject in bing

your post is exceptional

I obtain much in your Topics really thanks very much

btw the theme of you site is really brilliant

where can find it

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท