สวัสดีปีใหม่ กับบทความ ปรัชญาในการพัฒนา


"คนที่มีคุณภาพกับคนที่มีคุณธรรมแบบไหนที่เรียกว่าคนดี"

     จากวันหยุดยาวถึงเวลาที่ต้องปัดฝุ่นทำความสะอาดบ้านเสียทีแล้ว หลังจากละทิ้งภาระหน้าที่มานาน ขณะที่ปัดกวาดอยู่ก็ฉงนใจว่ากล่องอะไรสุมกันอยู่ที่มุมห้อง

     ใครนะมาตั้งอะไรตรงนี้ ด้วยความอยากรู้ว่ามีอะไรในนั้นก็เลยเปิดกล่องออก "โถเอ่ย! หนังสือของเราเอง(ไม่ใช่หรอกครับ มันเป็นหนังสือที่ผมยืมเพื่อนมาอ่านสมัยเรียนด้วยกัน)นานมากแล้วที่ไม่ได้คืน เพื่อนคนนั้นก็คงลืมไปแล้วเช่นกัน ฮึๆๆ"

      ผมเรียนคนละสาขากับเพื่อนแต่ด้วยความที่เราสนิทกันก็จะมานั่งคุยกันยามว่างจากการเล่าเรียนเสร็จตอนเย็น เพื่อนคนนี้เป็นลูกหลานของ "พี่สืบ" เนื่องจากเรียนอยู่คณะวนศาสตร์ ทุกภาคเรียนต้องออกพื้นที่ต่างจังหวัด(เข้าป่าดีๆๆละครับ)

     จำได้ว่าตอนนั้นขอยืมหนังสือเพื่อนมาอ่าน เนื่องจากประทับใจเนื้อความ และปัจจุบันก็ยังประทับใจไม่เสื่อมคลาย เพื่อนผมต้องเรียนวิชานี้เพราะต้องพบปะผู้คนมากมายตั้งแต่ผู้ว่าฯจังหวัด  ยันชาวบ้านในพื้นที่

     ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงผู้คนมากที่สุดอาจารย์ที่คณะจึงบรรจุวิชานี้เป็นวิชาบังคับที่นิสิตนักศึกษาทุกคนที่ต้องลงพื้นต้องเรียนวิชานี้ให้ผ่านก่อน จึงอยากถ่ายทอดบทความบางช่วงบางตอนที่ผมประทับใจและนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตการทำงานปัจจุบัน

     เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านอื่นๆกันบ้างนะครับ การพัฒนาคนในฐานะที่คนเป็นทั้งเครื่องมือและจุดหมายสุดท้ายของการพัฒนามีหลักการ 3 ประการตามที่ UNESCO ระบุไว้ได้แก่

     1.คนจะต้องได้รับประโยชน์จากการพัฒนา เป้าหมายหลักของการพัฒนาจะต้องไม่กำหนดว่าเป็นการพัฒนาเพื่อการพัฒนา หรือเน้นพัฒนาวัตถุ แต่จะต้องปรับปรุง "ความเป็นอยู่" ของคนส่วนใหญ่ด้วย

     2.การพัฒนาไม่ใช่การเพียงการเพิ่ม "ความยุติธรรม" ให้มีมากขึ้นเท่านั้น แต่จะต้องเกิดผลที่ชัดเจนตามหลักการของความเที่ยงธรรม คือการแบ่งสรรผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีและเสียสละเพื่อสังคม เน้นช่วยคนที่กำลังเดือดร้อนมากที่สุดก่อน

     3.ผลจากการพัฒนาจะต้องให้คนได้รับประโยชน์เป็นอันดับแรก การพัฒนาต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อความก้าวหน้าของคนทั้งด้านน้ำใจ ศีลธรรมและวัตถุ คนจะต้องเข้ามามี "ส่วนร่วม" ในชุมชนมากขึ้น องค์ประกอบของการพัฒนาคน "จะต้องเน้นให้คนมีคุณภาพและคุณธรรมเป็นสำคัญ

    "คนที่มีคุณภาพ" คือ คนที่มีความรู้ความสามารถทำงานสิ่งใดก็บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลิตผลมาก คุณภาพดี เสียค่าใช้จ่ายน้อย เสียเวลาน้อย การวัดคุณภาพมักจะวัดจากผลสำเร็จทางวัตถุป็นส่วนใหญ่ ผู้ที่มีคุณภาพส่วนใหญ่มุ่งความสำเร็จทางวัตถุ แต่เนื่องจากความต้องการทางวัตถุไม่จบสิ้น ดังนั้นผู้ที่มีความต้องการทางวัตถุจึงไม่รู้จักพอแต่จะเพิ่มมากขึ้นๆจนหาขอบเขตไม่ได้ ส่วน

    "คนที่มีคุณธรรม" คือ คนที่ยึดมั่นในความดี ความซื่อสัตย์สุจริต ความยุติธรรม ความพอดี ความพอเหมาะ ความอดทนอดกลั้น ขยันหมั่นเพียร และรู้จักรับผิดชอบต่อส่วนรวม การวัดคุณธรรมส่วนใหญ่จะวัดด้วยจิตใจหรือจากความประพฤติ ผู้ที่มีคุณธรรมจึงไม่เน้นความสำเร็จทางวัตถุแต่ให้ความสำคัญของจิตใจที่รู้จักจำกัดขอบเขตของความต้องการของตนเอง

      สรุปได้ว่า "การพัฒนาสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาต่างๆๆ แต่ต้องถือเป็นเป้าหมายรอง เพราะการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในเชิงวัตถุนั้นเป็นสิ่งที่เห็นได้ง่ายและใช้เวลาน้อยกว่าการพัฒนาคน สิ่งแวดล้อมอาจมีสภาพดีขึ้นเมื่อได้รับการพัฒนาแต่ไม่จำเป็นต้องส่งผลต่อการพัฒนาคน ดังนั้น จึงควรคำนึงถึงการพัฒนาคนเป็นหลักพร้อมกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมไปด้วย"

หมายเลขบันทึก: 70679เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2007 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

พุทธศาสนาพูดถึงการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวมตามหลักไตรสิกขา โดยพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ กาย จิต สังคม และปัญญา โดยปัญญาเป็นปัจจัยสำคัญ ถ้ามีปัญญาเห็นถูกต้องแล้ว ก็จะละเว้นการเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา เป็นคนมีคุณธรรม

ทุกสิ่งถ้าหากเริ่มที่ตัวเราและคนในครอบครัวก็จะทำให้สามารถทำสิ่งอื่นๆได้คะ
เป็นบันทึกที่มีประโยชน์สำหรับงานพัฒนามากๆ ค่ะ ขอบคุณมากนะคะ
  • ขอบคุณครับสำหรับกำลังใจที่ทุกท่าน คอยติดตามและเป็นกำลังใจให้เสมอมา ขอบคุณครับ.

ต้องดูว่าคนดีในการตีความด้านศาสนาหรือสังคมแต่สรุปรวมแล้วคนดีควรมีคุณภาพและคุณะรรมประกอบกัน เป็นบทความที่ดีนะครับ แล้วจะติดตามต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท