เมื่อใจของครูอยู่ที่นักเรียน


 

บันทึกนี้ได้แรงบันดาลใจจากการเข้าร่วมวง online PLC coaching    นิทรรศการครูต้นเรื่อง ออนไลน์ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๕ (๑)    ที่เสียงสะท้อนคิด (reflection) ช่วงครึ่งชั่วโมงสุดท้าย (เริ่มจาก เวลา 3:36:00) มีพลังมาก

สะท้อนให้เห็นว่า เมื่อใจของครูอยู่ที่นักเรียน การทำหน้าที่ครูจะมีพลัง    ทำให้มีพลังสร้างสรรค์ขับดันมาจากภายใน    สู่การทำหน้าที่ครูที่ส่งคุณค่าต่อชีวิตศิษย์    ดังกรณีที่ครูโรงเรียนบ้านกู้กูที่ภูเก็ต สามารถตามตัวนักเรียนที่หลุดออกจากระบบ กลับมาเรียนต่อจนจบชั้น และไปเรียนต่อโรงเรียนอื่น   นักเรียนผู้นั้นยังติดต่อครูด้วยความรู้สึกรู้คุณมาจนบัดนี้   

ยังมีกรณีกระบวนการ PLC ในโรงเรียน และ coaching ที่ครูบางท่านได้รับ    จนทำให้ครูเปลี่ยนใจตัวเอง ที่เรียกว่าเกิด transformation   กลายเป็นครูคนใหม่ที่รอคำตอบจากนักเรียนได้  และฟังนักเรียนเป็น    หนุนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบเรียนรู้เชิงรุก  และเรียนรู้ระดับเชื่อมโยง         

เมื่อใจของครูอยู่ที่นักเรียน วง PLC ก็จดจ่ออยู่ที่พฤติกรรมและการเรียนรู้ของนักเรียน    เป็น PLC ของการตั้งเป้า ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้ และประเมินเพื่อหนุนการเรียนรู้ของนักเรียน    พร้อมๆ กันกับการเรียนรู้ของกลุ่มครู    เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ที่เรียกว่า experiential learning   ที่ผมกล่าวไว้ในนาทีที่ 27 ถึงนาทีที่ 38     อธิบาย Kolb’s Experiential Learning Cycle     

วิจารณ์ พานิช

๒๘ พ.ค. ๖๕

 

หมายเลขบันทึก: 703299เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2022 17:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2022 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท