ชีวิตที่พอเพียง 4230. Annecy : 3. PMAC 2023 - ความเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม  ความหลากหลายทางชีวภาพ  และปัญหาเร่งด่วนด้านสุขภาพ 


 

หัวข้อย่อยที่ ๑ : Addressing the nexus of climate change, environment, biodiversity, and health emergencies   มุ่งทำความเข้าใจและสื่อสารความเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  สภาพแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และปัญหาเร่งด่วนด้านสุขภาพ     หน่วยงานแกนนำจัดการประชุมหัวข้อย่อยนี้คือ SIGHTกับ FHI  360   

ศาสตราจารย์ Peter Friberg แห่ง SIGHT(Swedish Institute for Global Health Transformation) ประเทศสวีเดน    เข้ามาร่วมงานกับ PMAC มาร่วมสิบปี    และเรียกร้องให้เอาใจใส่เรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับสุขภาพของผู้คนมาตลอด    มาได้โอกาสในปี 2023 ที่ PMAC จะจับเรื่องนี้    อ่านจากเว็บไซต์ของ SIGHT   องค์กรอิสระนี้ น่าจะได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศสวีเดน    เพื่อให้ประเทศสวีเดนทำหน้าที่เป็นผู้นำขับเคลื่อน SDG 2030 ด้านสุขภาพ (SDG 3)   แต่เมื่อผมถามท่านเรื่องการสนับสนุนจากรัฐบาล ท่านบอกว่าได้น้อยมาก   ด้วยปัจจัยทางการเมือง

 FHI  360(Family Health International) เป็น เอ็นจีโอ ระดับโลกที่มีฐานอยู่ในสหรัฐอเมริกา    เข้าไปอ่านเว็บไซต์คร่าวๆ แล้ว ผมจับความได้ว่า เขาเน้นทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาสุขภาพผ่านปัจจัยที่เกี่ยวข้องสารพัดด้าน    เขามีพนักงานถึง ๔ พันคนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก   

หัวข้อย่อยที่ ๑  พัฒนาโดยใช้หลักการ Doughnut Economics ที่เสนอโดย Kate Raworth    ให้เปลี่ยนกระบวนทัศน์จากมุ่งสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ  ไปเป็นมุ่งสร้างความมั่นคงยั่งยืน    ซึ่งเราจะเห็นว่า วาทกรรมในสื่อต่างๆ ยังคงยึดมั่นในเป้าหมายการเติบโตอย่างชัดเจน   โมเดลของ Doughnut Economics แสดงในรูป

 

Chart, sunburst chartDescription automatically generated

ผมจับความว่า สื่อที่ชัดเจนคือ หากโลกยังยึดมั่นในการเติบโต  มนุษย์ชาติจะพบกับหายนะในระยะยาว    ต้องหันกลับมายึดมั่นความมั่นคงยั่งยืน   มนุษยชาติและโลกจึงจะปลอดภัยในระยะยาว    ผมจึงขอเสนอว่า หากจะให้ PMAC 2023 ก่อผลกระทบต่อโลกได้อย่างแท้จริง    ต้องร่วมกันพัฒนา composite index จาก Doughnut Model    ให้ประเทศต่างๆ ใช้แทน จีดีพี   โดยอาจเรียกชื่อว่า CBDI – Composite Balanced Development Index   โดยต้องพัฒนาวิธีเก็บข้อมูลและสูตรคำนวณที่ง่าย ไม่ซับซ้อนเกินไป     

ทำให้ผมนึกถึงคำเรียกร้องของท่านพุทธทาส ให้นำศีลธรรมกลับมา   เพื่อไม่ให้โลกาวินาศ     ตอนนี้เราต้องเรียกร้องความสมดุลในการพัฒนา           

ผมได้เรียนรู้จากการประชุมว่า ตาม Doughnut Model เราต้องช่วยกันให้โลกอยู่ในพื้นที่โดนัทสีเขียว    ลดแรงดึงออกและแรงดึงเข้า    โดยแรงดึงออกคือปัจจัยที่จะทำให้ระบบนิเวศเสื่อม   แรงดึงเข้าคือปัจจัยที่จะทำให้ระบบสังคมเสื่อม   

วิจารณ์ พานิช

๒๑ พ.ค. ๖๕

บนเครื่องบิน  ออสเตรียนแอร์ไลน์   เที่ยวบิน OS 25   กลับบ้าน   

 

หมายเลขบันทึก: 702911เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2022 19:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2022 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท