ทำไมต้องปลดล็อกท้องถิ่น : กระจายอำนาจเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด (3)


ทำไมต้องปลดล็อกท้องถิ่น : กระจายอำนาจเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด (3)

18 พฤษภาคม 2565

: ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น)

 

กระแสการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นเป็นประเด็นชูหาเสียงของพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย หรือฝ่ายเสรีนิยม หรือฝ่ายเสรีประชาธิปไตย (Liberal) ในขณะที่เสียงฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังไม่มี หากจะมีบ้างก็เป็นในเรื่องของความมั่นคง การแบ่งแยกรัฐเป็นรัฐอิสระ ซึ่งไม่อยู่ในความหมายนิยามของการกระจายอำนาจ

 

เปิดประเด็น “สมุดปกขาว” ข้อเสนอนโยบายภาคประชน ถึงผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. (The Active, 16 พฤษภาคม 2565)

“ฐิติกร สังข์แก้ว” นักวิจัยเครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย (TPD) ในฐานะตัวแทนทีมนักวิชาการร่างสมุดปกขาว กล่าวถึงที่มาที่ไปของสมุดปกขาวว่า เนื่องจาก กทม. ไม่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ตั้งแต่ปี 2556 ระหว่างนั้นสังคมเกิดการพลวัต และโจทย์ท้าท้ายใหม่ๆ ขึ้นมากมาย โดยเฉพาะโควิด-19 ที่ทำให้ปัญหา ช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ยิ่งทวีความสลับซับซ้อน เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศจัดการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ทำให้ผู้สมัครหลายคนชูนโยบายแข่งขันกันในหลากหลายประเด็น ด้วยเหตุนี้เครือข่ายปลุกกรุงเทพฯ จึงร่วมกับไทยพีบีเอส จัดเวทีฟังเสียงกรุงเทพฯ มา 5 เวที ต่อเนื่อง ได้แก่ เมืองน่าอยู่ เมืองปลอดภัย เมืองทันสมัย เมืองเป็นธรรม เมืองสร้างสรรค์ นำมาสู่เวทีสุดท้าย เมืองมีส่วนร่วม เพื่อให้ความต้องการ ภาพฝัน ของประชาชนที่มีความซับซ้อน ถูกเพิ่มเติมเข้าไปเป็นนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ นอกเหนือจากแผนยุทธศาสตร์พัฒนากรุงเทพฯ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580) ซึ่งก่อนหน้านี้มีแคมเปญรณรงค์ “ขอคนละชื่อปลดล็อกท้องถิ่น” และ แคมเปญ We”re all voters โดยกลุ่มเสรีประชาธิปไตยก้าวหน้า 

เมื่อก่อนนั้นแกนนำท้องถิ่น (อ้างจากเฟซบุ๊ก บรรณ แก้วฉ่ำ, 1 มิถุนายน 2562) ได้เสนอ “สภาการปกครองท้องถิ่นแห่งชาติ” บรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญแล้วฉบับ อ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรโณ แต่เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะกรรมการบริหารท้องถิ่นแห่งชาติ" เรียกชื่อใหม่ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” (อปท.) ว่า “องค์กรบริหารท้องถิ่น” (อบท.) ไม่เป็นกระทรวง แต่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ถูกคว่ำไป สำหรับ “จังหวัดจัดการตนเอง” ต้องยกร่าง พรบ.แต่ละจังหวัด ในครั้งนี้จะขอให้ ส.ส.ช่วยเสนอ

 

รวมทัศนะหลากความเห็นสนับสนุน

“การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด” เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบ “ระดับบน” (Upper Tier) รูปแบบหนึ่ง อาจเรียกชื่อได้ต่างๆ เช่น เรียกว่า “จังหวัดจัดการตนเอง” หรือ “เชียงใหม่มหานคร” ตามร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริการราชการเชียงใหม่มหานคร ที่มีผู้เสนอกันมานานร่วม 10 ปีแล้ว (2555) โดยมีต้นแบบคือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดภูเก็ต เป็นต้น

ด้วยหลักปรัชญา เพื่อให้แต่ละจังหวัดมีอำนาจเต็มในการบริหารพื้นที่และท้องถิ่นของตนเอง และทำการศึกษาให้เป็นแหล่งสร้างทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ เพื่อทำให้เกิดความเท่าเทียบกันในทางโอกาสทุกๆ ด้านแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัด

(1) จำได้ว่านี่เป็นนโยบายเรียกร้องหนึ่งของ กปปส. แต่ตอนนี้ได้เลือนหายไปไหน หรือว่าจะให้เหตุผลค้าน

(2) ต้องให้ราชการส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นตัวแทนราชการส่วนกลางออกจากจังหวัด หรือถ่ายโอนภารกิจให้แก่ท้องถิ่นต่อไป รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายการคลังเพื่อให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการแสวงการายได้มากขึ้น ลดเงินอุดหนุนจากรัฐให้น้อยลง มิใช่เจตนาประสงค์จะทำลายล้างระบบผู้ว่าราชการจังหวัดจากส่วนกลางออกจากระบบคู่ขนานในจังหวัดทุกจังหวัด ให้เหลือเพียงหัวหน้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงอย่างเดียว หรือมิใช่ให้เกิดพื้นที่อิสระขึ้นในราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐอิสระ เพราะนี่คือ “การปกครองท้องถิ่น” ประเทศไทยก็ยังคงเป็นรัฐเดี่ยว (Unitary State) อยู่เหมือนเดิม ประเทศไทยไม่ได้เป็นสหพันธรัฐ (Federal State) แต่อย่างใด

(3) ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีรูปแบบการปกครองท้องถิ่นเต็มพื้นที่ทั้งจังหวัด โดยทำในจังหวัดที่พร้อมก่อน เพราะ อปท.ต่างๆ ในพื้นที่มีการทุจริต ยังโกงกันอยู่มาก ต้องใจเย็นๆ แก้กฎหมายตามขั้นตอนตามเหตุผลข้อ (2) ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 77

(4) หน้าที่หลักผู้ว่าราชการจังหวัดปัจจุบัน ในกรณีเร่งด่วนฉุกเฉินสาธารณภัย เช่น เอาถุงยังชีพน้ำดื่ม ไปแจกจ่ายประชาชนยามน้ำแล้งน้ำท่วม แต่กรณีปัญหาเรื้อรังในพื้นที่ เช่น ปัญหามลพิษพอลลูชั่นจากโรงงานระบายน้ำเสียทิ้ง ผู้ว่าฯ จะไม่ทันการ เพราะกว่าจะทราบปัญหาต้องใช้เวลา เนื่องจากมิใช่คนในพื้นที่ ต้องเสียเวลาศึกษา และตรวจสอบเสียก่อน การตรวจสอบอาจล่าช้าไม่ทันการได้ เป็นต้น

(5) หากมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ เหมือนเช่น กทม.ต้องยกเลิกผู้ว่าราชการจังหวัด และ อบจ. ด้วย เพราะจะซ้ำซ้อนกัน เนื่องจาก ผวจ.เดิม คือราชการบริหารส่วนภูมิภาค อบจ.ก็คือราชการบริหารส่วนท้องถิ่น กทม.และ ผู้ว่าราชการ กทม.คือราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ดังนั้นควรยุบเลิก อบจ. และต้องยุบหรือเปลี่ยนลดอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดเดิมลง กล่าวคือ ในมิติของการปกครองแบบ “รัฐเดี่ยว” ต้องเข้าใจในระบบและแยกส่วนกันให้ได้

(6) ผู้ว่าราชการจังหวัดเดิมไม่ใช่ตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง แต่เป็นตำแหน่งที่มาจากการแต่งตั้งข้าราชการประจำ เห็นได้ชัดเจนในกรณีของผู้ว่าฯ กทม.มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร (ผวจ.กทม.) เหมือนเช่นจังหวัดอื่น เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ, ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เป็นต้น เพราะที่จริง กรณี กทม.เอาชื่อตำแหน่งราชการส่วนภูมิภาคมาใช้ในราชการส่วนท้องถิ่น จึงผิดพลาดคลาดเคลื่อนมาตั้งแต่ พ.ร.บ.กทม. พ.ศ.2518 มาจนถึง พ.ร.บ.กทม.2528 ในปัจจุบัน ที่ถูกต้องเรียกชื่อว่า “นายกเทศมนตรีกรุงเทพ” กทม.เป็นทบวงการเมืองมีฐานะเป็นราชการส่วนท้องถิ่นนครหลวง มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.) ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน และ มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) มาจากเลือกตั้ง ทำนองเดียวกับ นายก อบจ.และ ส.อบจ.(หรือ สจ.เดิม)

(7) เหตุผลว่า การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น “การแบ่งแยกประเทศ” จึงไม่ถูกต้อง เพราะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดก็เหมือนกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทุกประการ เนื่องจากเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งเท่านั้น มิเช่นนั้น กทม. ก็ต้องเป็นราชอาณาจักรที่แบ่งแยกไป

(8) ในมุมกลับ ต้องบอกข้อเสียว่ามีอะไรบ้าง มีเหตุผลมาหักล้าง คัดค้านการปกครองท้องถิ่นรูปแบบ “จังหวัดที่ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด” ซึ่งเรียกว่า “จังหวัดจัดการตนเอง”

(9) เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ทดลองในจังหวัดที่มีความพร้อมไปก่อน เรียกว่า การปกครองท้องถิ่นแบบ “จังหวัดจัดการตนเอง” โดยรวมเอาหน่วยงาน อบจ. และ ราชการส่วนภูมิภาค (ศาลากลางจังหวัด) เข้าด้วยกัน

(10) วัฒนธรรมสถาปนาโดยรัฐ เช่น จีน เกาหลีเหนือ จะยากต่อการทำ soft power แร็ปเตอร์มิลลิ หลุดออกจากระบบอุปถัมภ์ไทยไปแล้ว จึงเผยเกิด soft power ข้าวเหนียวมะม่วงได้

 

ข้ออ้างที่ไม่ต้องมีผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ

(1) ในต่างประเทศ บางประเทศไม่มีราชการส่วนภูมิภาค บางประเทศมีราชการส่วนกลาง มหานคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เท่านั้น

(2) ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 กำหนดให้กระจายอำนาจ กระจายความเจริญ งบประมาณ สู่ต่างจังหวัด ไม่ใช่กระจุกในเมือง ลดความซ้ำซ้อนเชิงโครงสร้าง

(3) แต่ยังจำเป็นต้องมีภารกิจด้านความมั่นคง รักษาความสงบ การคลังแห่งชาติ โดยราชการส่วนกลางอยู่ เอาภารกิจงานตำรวจบางอย่างมาอยู่กับท้องถิ่นได้

(4) อปท.ทุกรูปแบบดีหมด อยู่ที่คนมีความพร้อมหรือความคิดที่ดีต่อองค์กร​ ชาติ​ บ้านเมืองเพียงใด​ ปัญหาที่เกิดปัจจุบัน​ เพราะตัวเราตัวเขา และองค์กร​ ยังขาดความพร้อมทางความคิดและความรับผิดชอบต่อส่วนรวม​

(5) ผู้นำต้องมาจากประชาชนเลือก ไม่ใช่ส่วนกลางส่งลงมา เพราะคนใช้ท้องถิ่นทำงานคือประชาชน

(6) หากเอาแบบอเมริกา นายอำเภอ (Sheriff) ก็จะมาจากการเลือกตั้ง และไทยต้องเปลี่ยนรูปแบบเป็น อปท.

(7) ในระยะเริ่มแรก ยากที่จะใช้กับทุกจังหวัด แต่เป็นไปได้บางจังหวัดที่มีศักยภาพสูงทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม ที่จะมีผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของประชาชน

(8) ทุกตำบลยังอยู่ อำเภอยังอยู่ ทุกจังหวัดที่มีความพร้อมก่อนต้องทำได้ ซึ่งบางจังหวัดได้นำร่องศึกษามาแล้ว

(9) ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งหรือองค์กร แต่ปัญหาอยู่ที่คนที่ครองตำแหน่งบริหารขององค์กรนั้นๆ

(10) หากจะให้ดี ต้องปรับปรุง “​ระบบ​กำนัน​ผู้ใหญ่บ้าน​” เสียใหม่ให้ดีก่อน และเอา สว. แต่งตั้ง 250 คน ออกไปก่อน แต่คนสูญเสียอำนาจคงออกมาต่อต้านกัน ก็ต้องมีการชี้แจง ทำความเข้าใจ และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

(11) ในขณะที่มีคนอีกกลุ่มหนึ่งเรียกร้องให้ยกเลิก ท้องถิ่น ด้วยข้อหาเดิมๆ คือ ทุจริต อิทธิพล แต่อีกฝ่ายเรียกร้องให้ยกเลิกนายอำเภอ และผู้ว่าราชการจังหวัด สรุปทั้งสองสิ่งนี้จะมีอยู่ต่อไป แต่ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น ลดจุดเสียออกตรากฎหมายแยก “หน้าที่และอำนาจ” จากกันให้ชัดเจน แต่ด้วยปัญหาลูกไม้ของมหาดไทย และปัญหาพรรคการเมืองที่ยิ่งใหญ่คือ พรรคข้าราชการ ย่อมมีอุปสรรค ต้องมีแผน มีขั้นตอนในการดำเนินการ และการเยียวยาแก้ไข การใช้พลังเรียกร้องแก้ไขแบบปัจจุบันทันด่วนย่อมไม่ได้ผล เพราะมีผู้ได้รับผลกระทบ

(12) หากผู้มีอำนาจเห็นว่า การมีผู้ว่าราชการจังหวัด มีนายอำเภอ แล้วทำให้ไม่มีนักการเมืองทุจริต หรือทุจริตน้อยกว่า เพราะ “ส่วนกลางส่วนภูมิภาค” เป็นศูนย์รวมอำนาจที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน ก็ควรแก้ไขปรับปรุง “หน้าที่และอำนาจ” เช่นเดียวกับข้อ (11) ดังกล่าวได้

(13) ปัจจุบัน หน้าที่ของผู้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอก็คือ มากล่าวเปิดงาน ตัดริบบิ้น และขอการสนับสนุนจาก อปท. เช่น ขอเงินอุดหนุน ขอให้ส่งบุคลากรรำบวงสรวง เป็น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานพิธีการ งานรัฐพิธี งานออกอีเว้นต์ แรลลี่ เดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน โบวลิ่งการกุศล (งานโชว์ออฟ งานนิทรรศการ เอาหน้าฯ) เพราะงานหลักสำคัญอื่นๆ อปท.ทำไปหมดแล้ว

(14) ต้องให้คนในพื้นที่จังหวัดนั้นๆ บริหารกันเอง เพราะเขารู้จักภูมิสังคม บริบทในจังหวัดนั้นๆ ดี ผู้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดจึงต้องมาจากการเลือกตั้ง

(15) ผลลัพธ์ที่ได้ คือ เป็นจุดสร้างจิตสำนึกที่ดีแก่ข้าราชการ การแก่งแย่งตำแหน่งของข้าราชการจะลดน้อยลง ส่วยลดลง การทุจริตลดลง การบริการประชาชนดีขึ้น

(16) คนชนบทบ้านนอกฝัน อยากมีรถไฟฟ้า​ ที่บ้านเกิด อยากให้บ้านเกิดของตนได้พัฒนาตามที่ตนเองวาดฝันอยากได้ มิใช่อยากได้อะไรก็นั่งรอรัฐบาลส่วนกลาง ไม่สามารถสร้างฝันตนเองได้เลย เช่น รถไฟความเร็วสูง

(17) กาลเวลาสมัยได้เปลี่ยนแปลงไป สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กรุงเทพมหานคร การพัฒนาคือ การเปลี่ยนแปลงจากรัฐเทวสิทธิ์ (Devine Right) หรือ “ระบอบฟิวดัล” (Feudalism) ในตะวันตก ไปสู่ชาติรัฐ (Nation State) ในยุคล่าอาณานิคม และมาสู่รัฐสมัยใหม่ (Modern State) ในปัจจุบัน ไปสู่ “นวัตกรรมสิ่งแปลกใหม่” (New Innovation) และที่ต้องดีกว่าเดิมๆ โดยเฉพาะเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งของไทย (Soft Power) 

(18) ศูนย์ช่วยเหลือประชาชน อปท. เริ่มตั้งแล้ว เพื่อสนับสนุน ศจพ.มท.แก้คนจนให้หมดไปภายใน วันที่ 30 กันยายน 2565 นี้ แม้ว่าจะเป็นนโยบายเพ้อฝัน เป็นจริงยาก มีป้ายเยอะแยะ ศูนย์นั่นศูนย์นี่ติดกันเต็มไปหมด ซึ่งแม้รัฐบาลจะเน้นที่ “ศูนย์ดำรงธรรม” (ศดธ.) เพื่อปฏิบัติงาน ให้เป็นรูปธรรม ทำให้มีผลงานปีละหลายแสนเรื่อง แต่ก็คือผลงานของท้องถิ่นผู้ปฏิบัติงานทั้งสิ้น การมอบหมายภารกิจให้ อปท.จะหมดสิ้นไป หากมีการปรับปรุงงาน หรือการปรับบทบาท “หน้าที่และอำนาจ” ของราชการบริหารส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ให้น้อยลง หรือให้เหมาะสม ไม่แย่งงานกันทำ แล้วกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมากที่สุด ผลที่สุดการพัฒนาในมิติต่างๆ ของประเทศก็อยู่แค่เอื้อม

 

อ้างอิง


กฎหมาย
การพ้นจากตำแหน่งของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนัน เมื่อมีการยกฐานะท้องถิ่นเป็นเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนคร เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี, ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 693/2558, http://web.krisdika.go.th/data/news/news11702.pdf

ข่าว

“พลังท้องถิ่นไท” ผนึก “พรรคเล็ก” ชง “ร่างพ.ร.บ.การพนัน” ฉบับแก้ไข ผลักดัน “พนันออนไลน์-หวยใต้ดินถูกกม.”, สยามรัฐออนไลน์, 18 พฤษภาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/349102 

“อานันท์” ยกประวัติศาสตร์พฤษภาคม 2535 ให้คนรุ่นหลังใช้เป็นบทเรียน ดึงคนไทยออกจากหลุมมืด, สยามรัฐออนไลน์, 17 พฤษภาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/348801

“ปิยบุตร” ปลุกยุติ “รัฐราชการรวมศูนย์” เชื่อทุกฝ่ายเอาด้วย, สยามรัฐออนไลน์, 17 พฤษภาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/348808

“ปิยบุตร” ยันไม่ได้ยกเลิกกำนัน-ผญบ. แต่อาจปรับเป็นพนักงานราชการท้องถิ่น, topnews, 17 พฤษภาคม 2565, 17:05, https://www.topnews.co.th/news/317403?fbclid=IwAR3di8j58pHSzYPfZZBKvFoNizG6UNqebmR0sKOXLzJIWiadunmgrU5-2_w#l3beruvxkryb1upel2 

เปิด “สมุดปกขาว” ข้อเสนอนโยบายภาคประชน ถึงผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม., The Active, 16 พฤษภาคม 2565, https://theactive.net/news/socialmovement-20220516/?fbclid=IwAR3jBcgFxYT5GGQbi1_5c4IPfMBpgqFWOuNFSR5rkj-zfT9oaR4_36PcW1Y

สะเทือนก้าวไกล! 'กำนัน-ผญบ.' ฮึ่มแล้ว หลัง 'ธนาธร' เสนอยุบทิ้ง, ไทยโพสต์, 6 พฤษภาคม 2565, 14:06, https://www.thaipost.net/hi-light/136516/ 

ดันโละผู้ว่าฯ-นายอำเภอ สะเทือนทั้งบาง, เมืองไทย 360 องศา, ผู้จัดการออนไลน์, 6 พฤษภาคม 2565, 02:56, https://mgronline.com/politics/detail/9650000042877 

พระมหากรุณาธิคุณ โครงการน้ำบาดาลขนาดใหญ่ พสกนิกรชื่นใจ-เปี่ยมสุข มีน้ำใช้อย่างยั่งยืน, มติชน, 4 พฤษภาคม 2565, 11:41, https://www.matichon.co.th/court-news/news_3324195 

“คณะก้าวหน้า” ปลุกยกเลิก” นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน” ชี้มีเทศบาล อบต. ทำหน้าที่อยู่แล้ว, สยามรัฐออนไลน์, 3 พฤษภาคม 2565, https://siamrath.co.th/n/344829 

“ผมไม่ได้ฝันไกลเกินกว่าสิ่งที่มนุษย์เคยทำมา” ความหวังในท้องถิ่นและบทเรียนการเมืองของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ โดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย, the101, 2 พฤษภาคม 2565, https://www.the101.world/thanathorn-juangroongruangkit-interview/ 

“ศึกษาธิการจังหวัด-ภาค” นัดรวมพลังทั่ว ปท. ต้านถูกยุบจันทร์ที่ 2 พ.ค.นี้, สำนักข่าวการศึกษา, 2 พฤษภาคม 2565,  https://www.edunewssiam.com/th/articles/264897-จันทร์ที่-2-พ.ค.นี้-“ศึกษาธิการจังหวัด-ภาค”-นัดรวมพลังทั่ว-ปท.-ต้านถูกยุบ 

ทำไมต้องปลดล็อกท้องถิ่น : บทความวิชาการ/ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น), สยามรัฐออนไลน์, 29 เมษายน 2565, https://siamrath.co.th/n/343670 & https://www.gotoknow.org/posts/702469 

ปลดล็อกท้องถิ่น : 'ธนาธร-พริษฐ์' ปลุกใจร่วมคนละชื่อ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีชาตินี้, มติชนสุดสัปดาห์, 24 เมษายน 2565, https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_546125 

ธนาธรออนทัวร์ ปลดล๊อกท้องถิ่น คิดไปข้างหน้ากับธนาธร ออนทัวร์ เจียงใหม่, ยูทูบ, 22 เม.ย. 2565, https://youtu.be/Lc2F1TY1Jco 

“มหาดไทย” จ่อรื้อ พ.ร.บ.ภาษีป้าย อัตราใหม่เก็บเพิ่มหลายเท่าตัว, มติชน, 12 เมษายน 2565, 12:32 น, https://www.matichon.co.th/economy/news_3285642 

แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาต้องระเบิดจากข้างใน หนุนใช้ “การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ (ABE)” สร้าง “อนาคต”
การศึกษาเสมอภาค แต่จะเกิดได้จริงต้องมีเอกภาพ ลดการรวมศูนย์อำนาจแบบแตกกระจาย, 10 เมษายน 2565, https://www.eef.or.th/news-abe-070422/ 

เขย่าหลักการกระจายอำนาจ, รวมกฎหมายท้องถิ่นถอยหลังรวมศูนย์, เฟสบุ๊คยูทูบ, “Jomquan” (จอมขวัญ), 6 เมษายน 2565

ศจพ.: ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, 3 เมษายน 2565, https://www.gotoknow.org/posts/700659 

ปิยบุตรกาง13ข้อปลดล็อกท้องถิ่น ลั่นใน 2ปี ครม.ต้องทำแผนยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค, มติชน, 1 เมษายน 2565, 17:43 น., https://www.matichon.co.th/politics/news_3266200 

อ.จุฬาฯ ชี้ 8 ตราบาปโดยรัฐส่วนกลาง ฉุดรั้งท้องถิ่น ทำกระจายอำนาจ ย่ำอยู่กับที่, มติชน, 1 เมษายน 2565, 19:46 น, https://www.matichon.co.th/politics/news_3266513 

ครม. ยื้อ “ร่างกม.สุราก้าวหน้า” ส่งต่อ ก.คลัง พิจารณาต่อ, สยามรัฐออนไลน์, 29 มีนาคม 2565,
https://siamrath.co.th/n/335475 

คลังลุยรีดภาษีที่ดิน100% “แลนด์ลอร์ด” แห่ปลูกกล้วย มะม่วง “เสนา”ผุดลานจอดรถกลางเมือง, มติชน, 27 มีนาคม 2565, https://www.matichon.co.th/economy/news_3255698 

“ธนาธร” ท้าเคลียร์ผู้ว่าฯสมุทรปราการต่อหน้า ประชาชน ปมเบรก “คณะก้าวหน้า” อบรมครูเทศบาล “เก่ง” ท้าขับออก, 26 มีนาคม 2565, https://mgronline.com/politics/detail/9650000029583 

อำนาจประชาชน 65 Ep.1 - กระจายอำนาจ กระจายถึงไหน, โดย Jomquan, ยูทูบ, 9 มีนาคม 2565, https://youtu.be/IK3dpsIo5Qg 

TDRI เสนอยกระดับท้องถิ่น กระจายอำนาจสู่ “จังหวัดจัดการตนเอง”, สำนักข่าวอิศรา, 29 มีนาคม 2559, http://www.isranews.org/thaireform/thaireform-news/item/45866-tdri_45866.html#.Vvo3XaycYHY.twitter

 

หมายเหตุบทความนี้ ตีพิมพ์ในสยามรัฐออนไลน์, เรื่อง “ทำไมต้องปลดล็อกท้องถิ่น : กระจายอำนาจเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด”, 3 มิถุนายน 2565, 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท