ศจพ.: ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


ศจพ.: ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3 เมษายน 2565

ข่าวให้ อปท.ตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นงานใหม่ ให้ อปท. ส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำศูนย์ประสานงานรับเรื่องที่อำเภอฯ 
ศจพ. คือ ศูนย์อำนวยการของคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ให้ อปท. มีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาความยากจน หรือไม่ อย่างไร เพราะปลัด มท. ประกาศว่าจะให้คนทัองถิ่นขจัดความยากจน โดย "ตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชน"  จะไม่มีคนยากจนอีกต่อไปภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 นี้ 

ศจพ. ซึ่งมีเป้าหมายคือ “การแก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้าแต่ละครัวเรือน” หรือ “การตัดเสื้อให้พอดีตัว” โดยให้ทุกจังหวัดใช้ข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform) หรือ TPMAP เป็นฐานข้อมูลในการขับเคลื่อน ซึ่งในปี 65 มีคนจนเป้าหมายในระบบ จำนวน 1,025,782 คน 

โดยนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย (9 มีนาคม 2565) ได้เน้นย้ำในการสร้างความเข้าใจกับศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกระดับว่า ““ความยากจน” คือ ความเดือดร้อนของประชาชนในทุกเรื่องที่ประชาชนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้” ซึ่งเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำในตอนนี้ อันถือเป็น “กระดุมเม็ดแรก” คือ ต้องสำรวจผู้ได้รับความเดือดร้อนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายให้ครบ โดยกรมการปกครองได้พัฒนาระบบ Thai QM เป็นเครื่องมือให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในพื้นที่ภายใต้การกำกับดูแลของนายอำเภอ ใช้สำรวจปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ไม่ได้จำกัดเพียงแค่มิติด้านรายได้เท่านั้น แต่ครอบคลุม “ความเดือดร้อนทุกเรื่อง” เช่น บ้านที่อยู่อาศัยไม่มีทะเบียนบ้าน ปัญหายาเสพติด เงินกู้นอกระบบ การไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกิน หรือไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอในฐานะนายกรัฐมนตรีในพื้นที่ต้องเป็นแม่ทัพในการขับเคลื่อนการศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้บรรลุเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อน 

ที่มา

คำสั่งเดิม ศจพ.ขึ้นตรงกับ กอ.รมน. ต่อมา ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 347/2563 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ให้ขึ้นตรงต่อตัวนายกรัฐมนตรี ซึ่งยังคงต้องผ่าน กอ.รมน.เหมือนเดิม

ตามมติคณะกรรมการขจัดความยากจนฯ (ศจพ.) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 คำสั่ง ศจพ. ทึ่ 1/2564 ลงวันที่ 8 เมษายน 2564 ลงนามโดย รองนายกรัฐมนตรีประวิตร วงษ์สุวรรณ โดยคณะกรรมการตามโครงสร้างฯ สามารถเบิกค่าเบี้ยประชุมได้ และโครงสร้างคณะกรรมการฯ ดังกล่าว ไม่มีบุคลากรอื่นของ อปท. นอกจาก ตัวนายก อปท. กับ ปลัด อปท. 

กลไกการดำเนินงานตั้งแต่ระดับนโยบายถึงระดับปฏิบัติในพื้นที่ ได้แก่ ระดับจังหวัด ผ่านศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด (ศจพ.จ.) ระดับอำเภอ ผ่านศูนย์อำนวยการปฏิบัติการฯ อำเภอ (ศจพ.อ.) และระดับปฏิบัติการ ผ่านทีมปฏิบัติการฯ ในระดับพื้นที่ (ทีมตำบล) 

ต่อไปในการแก้ไขการกระจายอำนาจ มิใช่การให้ อปท.เป็น กระโถน รับเรื่อง และเป็นมือไม้ทำงานให้แก่ราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค อปท. ถูกครอบโดยรัฐบาลที่ไม่จริงใจ ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 หมวด 14 การปกครองท้องถิ่น เรื่องนี้ต้นเรื่องมาจาก ชุดความคิดที่ผิดของรัฐบาลตามหลักการกระจายอำนาจ ซึ่งไม่ยุติธรรมกับ อปท. โดยเฉพาะ ประชาชน และตัวแทนประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้งมา 

รวมวิพากษ์ความเห็นจาก FB @8 มีนาคม 2565
(1) หน่วยงานต่างๆ ที่สั่งงาน อปท. มา ให้ยุบเลิกหรือ ให้โอนคน โอนงบประมาณ มาขึ้นกับ อปท.
(2) ถ้ามีงบประมาณลงมา อปท.ต้องทำได้ทุกอย่าง 
(3) นี่จะสรุปว่า ถ้าประชาชน ยังจนอยู่ความผิดอยู่ที่ อปท.ใช่ไหม 
(4) หรือจะเหมาว่าการแก้ไขความยากจน (กขคจ.) ก็คือ 
การพัฒนาคุณภาพชีวิตรวมในทุกเรื่องเหรอ จะเหมารวมได้ไหม คงไม่ได้ เพราะต้องมีนิยาม มีความหมายที่เฉพาะตามกฎหมายเท่านั้น
(5) นึ่คือ คิดอะไรไม่ออกบอกท้องถิ่น งานไหนที่เขาทำไม่สำเร็จจะโอนมาท้องถิ่น แล้วบอกว่าท้องถิ่นไม่มีศักยภาพ
(6) คนท้องถิ่นลองอดใจฟังสักนิด ฟังแนวทางการแก้จน ของมหาดไทยแบบยาวๆ ว่าจะทำได้จริงหรือไม่ ก็ต้องลองทำดู ไทม์ไลน์ คือ ก.ย. นี้ จะมีการตรวจเช็คข้อมูลคนจนทั้งระบบผ่าน TPMAP คือการนำคนจนไม่จริง ออกจากระบบ นำข้อมูลคนจนจริงเข้าสู่ระบบ ส่วนการแก้ปัญหา ต้องอาศัยทุกภาคส่วน อปท. ต้องไปตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย เจ้าภาพหลักงานนี้ กรมพัฒนาชุมชน โดยมีทีมทำงานระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด เน้นการช่วยเหลือเป็นครอบครัวไป ช่วยกันตามหน้าที่ และศักยภาพที่จะทำได้ ดีกว่า เกี่ยงงาน หากคน อปท. ไม่ยอมทำงาน ต่อไป อปท.ก็จะหมดความสำคัญ ส่วนเรื่องไม่ยอมรับการอยู่ภายใต้อำนาจมหาดไทย เป็นอีกเรื่อง แต่พี่น้อง คนในท้องถิ่นเรา ต้องได้รับการแก้ปัญหาเหล่านี้
(7) สารพัดศูนย์มีแล้วที่ อปท. แต่ จนท.ศูนย์มีคนเดียว เห็นบิ๊กพูดสั่งมาว่า จะมีการตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนตำบล อันนี้ไม่รู้ว่าจริงเท็จแค่ไหนแต่ถ้าเป็นจริง คือตอนนี้ท้องถิ่นไม่รู้ว่ามันมีศูนย์อะไรบ้างในท้องถิ่น

ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนศูนย์ดำรงธรรมศูนย์ร้องเรียนร้องทุกข์ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ศูนย์ อปพร.

จำไม่ได้ว่าศูนย์อะไรยังไงบ้าง แต่มีคนคนเดียวทำงาน นอกนั้นตั้งไว้เป็นตุ๊กตา หุ่นเชิด หุ่นไล่กา คณะกรรมการมีกี่คณะและใครทำหน้าที่อะไรยังไงบ้างแทบจะไม่มีใครรู้อำนาจหน้าที่ตนเอง แต่เท่าที่เห็น งานทั้งหมดเหล่านั่น โยนมาที่ท้องถิ่นหมด ศูนย์ระดับไหนใหญ่แค่ไหน ขนาดร้องเรียนไปสำนักนายก สุดท้ายก็มาจบที่ท้องถิ่น เพราะฉะนั้นศูนย์อะไรต่างๆ เหล่านั้นทุกศูนย์ ยุบ รวมกันเป็นศูนย์เดียวกันเถอะ จะได้มีกรรมการชุดเดียว จะได้ทำงานจุดเดียว ไม่ต้องโยนจากสูงลงมาต่ำ เหมือนโยนลูกบอลขึ้นฟ้า แล้วตกกระแทกหน้าคนโยน มันเสียเวลาในการช่วยเหลือประชาชนข้อสำคัญที่สุดโอนงบประมาณมาให้ด้วย 

อย่าดีแต่สั่ง อย่าดีแต่คิดอย่าดีแต่เสนอเพื่อเอาหน้า หาตัวชี้วัดสวยงาม ทำประเมินแทบตาเหลือก แต่เท่าที่ดู ความก้าวหน้าในท้องถิ่นไม่มีอะไรเลย บอกเลย ท้องถิ่นเหนื่อย เหนื่อยทำตามพวกดีแต่คิด ดีแต่พูด แต่ไม่ช่วยอะไรเลย ตอนนี้ไม่ต้องเฉพาะศูนย์ต่างๆ นั่นหรอก ท้องถิ่นเป็นหน่วยรวม รับใช้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ไปแล้ว นึกว่าทาสในเรือนเบี้ย @วราภรณ์
คือมีศูนย์ของทุกหน่วยงานแล้วใน อปท. ต่อไปคือ ศูนย์กำจัดคนจน ต่อไปคนจนจะหมดไป เพราะคนจนตายหมด
พมจ.มาแล้ว นี่ พช.จะมาอีก
(8) คนคิดอยู่กระทรวงในหอคอยงาช้าง คนทำคือ อปท.แต่ไม่ยอมกระจายอำนาจ
(9) ท้องถิ่นรับเอาหมด แต่ละคนทำงานหลายหน้าที่ เงินเดือนน้อย หน่วยตรวจสอบเยอะ ทำงานไม่ทันห้วงเวลาก็ว่า เวลาทำงานแปดชั่วโมงแทบจะไม่มีเวลาไปทำธุระส่วนตัวได้
(10) ยิ่งเยอะก็ยิ่งยุ่ง มีแค่หนึ่งเดียวดีสุด เป็นศูนย์กลางการกระจุกอำนาจ
(11) ยังขาดอีก 1. ศูนย์บริการผู้พิการ 2. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร  (เจ้งไปแล้ว) 3. ศูนย์พัฒนาครอบครัว (เงียบไปแล้ว) 4. ศูนย์ยุติธรรมตำบล (กำลังจะเจ้ง)ฯลฯ น่าจะยุบรวมเป็นศูนย์เดียวก็ควรจะใช้ชื่อว่า... "ศูนย์รวมความปัญญาอ่อนในกระบวนการคิดของรัฐบาลกลางในระดับท้องถิ่น" @ป.วัฒน์
แต่ ศูนย์อะไรก็ใช้ไม่ได้ ขนาดคนในองค์กร หากมองว่าจะขัดผลประโยชน์ยังโดนรังแกเลย
(12) ต่างกรมต่างกระทรวง แย่ง ตั้งขึ้นมาเอาผลงาน ศูนย์เขาให้เราทำ ผลงานเราแต่เขาไปเอาหน้า ให้เครดิตสักนิดไม่คิดมี
(13) ใหม่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ตั้งให้นายกเป็นประธาน ให้มีศูนย์เยอะแยะไปหมดแล้วให้รายงานผลการดำเนินงานทุกไตรมาสอีกต่างหากในแต่ละศูนย์
(14) เขาเรียกกระจายงานแต่ไม่กระจายเงินและอำนาจ เพราะกลัวเสียอำนาจ ใช้งานท้องถิ่นทำภายใต้ MOU ที่ อปท.ไม่ได้คิด แล้วเหยียบเอาผลงานไปทุกอย่างที่เป็นอยู่ เพราะ เราอยู่ภายใต้กำกับของมหาดไทย ปัญหาอยู่ที่สังกัด อปท.ไม่มี กรม สถ.ไม่ใช่เจ้าสังกัด
(15) ให้แต่งาน อปท. เงิน&คน ไม่มีมา ทีอำเภอจ้างคนไปล้นเลย โครงการ 15000
(16) แปลกแต่จริงนะ มีแต่สั่งให้ทำนะ แต่พอดีความผิดขึ้นมา สตง. ปปช.เตรียมซ้ำเติมตลอดเวลา ด้วยคำว่า ไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ
(17) หรือว่าจริงที่บ่นๆ กันปัญหาหาไม่ใช่อยู่ที่นโยบายหรือโครงการ เพราะ อปท.พร้อมทำ มันเป็นบทบาทที่ควรทำ แต่ปัญหามันอยู่ที่คนสั่งมากกว่า คนไม่ชอบขี้หน้าคนสั่งมากกว่า เพราะขาดความเชื่อถือ เช่น ตั้งแต่มีอำนาจไม่พัฒนา อปท.ตรงไหนเลย มีแต่จะเอาจาก อปท.
(18) หนังสือมาก็งงๆ กันอยู่ว่าศูนย์เก่าก็มีจะตั้งใหม่อีกทำไม เป็นแบบนี้นี่เอง ไม่น่ารอดเป็นนโยบายขายฝัน ทุกวันนี้ บาง อบต.ก็แทบจะไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนพนักงานแล้ว
(19) แต่ก่อนบอก ไม่มีหน้าที่ คิดได้อย่างไร อปท.จะเงินมาจากไหน ตั้งงบประมาณไว้แต่ละปี รัฐก็จัดสรรให้ไม่เต็มไม่มีอำนาจ แต่ความจริงให้แค่หน้าที่ทำงานสั่งทำโน้นนี้นั่น ทุกอย่าง พอมีปัญหา คนสั่งไม่รู้ไม่ชี้ สตง. ปปช. เตรียมซ้ำเติมกระทืบซ้ำ แบบนี้มันคืออะไร ใช่คุณรู้ทุกอย่างท้องถิ่นทำได้ ทำไมไม่มอบอำนาจให้เขาทำแบบสบายใจ กฎหมายต้องเขียนว่าให้ท้องถิ่นสามารถทำได้ทุกอย่าง ที่ไม่ขัดกฎหมายในการบริหารราชการแบบรัฐๆ หนึ่งได้ ให้ความอิสระ แต่เป็นแบบนี้รับรองประชาติจะเจริญเร็วกว่านี้เป็น แบบญี่ปุ่น แล้วไม่ต้องมาตามเล่นงานข้อหาไม่มีหน้าที่ ถ้าเป็นแบบนี้ใครเขาอยากจะทำมอบแต่งานเงินก็ไม่เพิ่มให้แถมยังต้องระวังโดนเช็คบิลตามทีหลัง โถน่าสงสารท้องถิ่นจัง เป็นหน่วยเดียวที่ใกล้แก้ไขปัญหาได้เร็ว ฉับไวและตรงจุด ทำงานได้ดี แต่ไม่ใครเห็นความดีโดยเฉพาะรัฐบาลนี้
(20) หลักการดี ไม่ต้องสั่ง แต่ไม่มีงบ ไม่มีคน บาง อบต. ทำอยู่แบบนี้ก่อนที่จะมีคำสั่งตั้งศูนย์แล้ว (คือไม่ต้องมีศูนย์)
ช่วยให้คนมีอาชีพ มีรายได้ มีงานทำ ท้องถิ่นก็เจริญ ถ้าเราต่างคนต่างผลักปัญหาบอกว่าไม่ใช่ เรื่องของเรา อบต. คงทำได้แค่กินเงินเดือนกันไป
(21) ไม่ต้องรอให้สั่ง บาง อปท.เหมือนหุ่นยนต์ ต้องโปรแกรมก่อนถึงจะทำ 
ผู้บริหาร บาง อปท.ทำตัวเหมือนผู้กำกับดูแลเป็นผู้บังคับบัญชา บาง อบต.ไม่เคยรอคำสั่งให้ทำ ทำในสิ่งที่คิดว่าจะต้องให้ตำบลเจริญ
ชาวบ้านอยู่ดีมีสุข เพราะมันคือหน้าที่ และจิตสำนึก ไม่เคยกลัวสตง. และหน่วยตรวจสอบ ถ้าเราตั้งมั่นบนความสุจริตและถูกต้องเพื่อส่วนรวม ประเภทกลัวแล้วไม่ทำอะไร  ไล่ไปที่อื่นหมด
(22) มองต่างมุม อปท.มีหน้าที่สร้างความเจริญในท้องถิ่นของตนเอง ในทุกมิติ สาธารณูปโภคพื้นฐาน และคุณภาพชีวิต เชื่อว่าทั้งผู้บริหารและข้าราชการ ล้วนอยากเห็นความเจริญและประชาชนในชุมชนของตนเองมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การทำงานมีหลายลักษณะ ด้านส่งเสริมอาชีพ ก็อยู่ในภารกิจของ อปท. การทำตลาด เพื่อให้คนค้าขายก็ใช่ วันนี้โลกเปลี่ยน อปท. ทำได้หลายอย่างถ้าเรามีจิตสำนึกที่ดี
อปท.ทำเองไม่ต้องรอนโยบายส่วนกลาง และการแก้ปัญหาความยากจน ไม่มีสูตรตายตัว เป็นไปตามพื้นที่ เป็นการหาเสียงของนักการเมืองท้องถิ่นด้วยเพื่อสร้างความเจริญ และให้ชาวบ้าน ได้รับโอกาสจากหน้าที่ของผู้อาสามาบริหารและใช้เงินหลวงที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า
(23) ที่จริงมันควรเป็นของ พม. อปท.แย่งงานเขามาทำอีกแล้ว เราช่วยได้บางครั้งบางคราวจะให้ทำจนหายจนคงไม่ได้ กระทรวงเกษตรก็มีเศรษฐกิจพอเพียง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนกว่า
(24) เลอะเทอะไปกันใหญ่ ไม่ส่งเสริมความก้าวหน้าของของข้าราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งกดขี่ ใช้งานแทนส่วนกลาง เกือบทุกเรื่อง
(25) ลองกระจายงบเพื่อขับเคลื่อนงานตามสภาพพื้นที่ให้ดีๆ อปท.มีหน้าที่แก้จน แต่ มท.ไม่มีหน้าที่สั่งให้ อปท.ตั้งศูนย์แก้จน การรวมพลังกันทำย่อมมีพลังและเป็นเรื่องที่ดีกว่าการแจกเงินแบบไร้สาระ
(26) คิดได้แค่นี้จริงๆ เหรอ ตอนนี้มีหนังสือ ให้ อปท.สำรวจร้านค้าที่ลงทะเบียนคนละครึ่ง งงสุดๆ ให้งานจัดเก็บออกสำรวจ คิดได้ไง มีแต่งานเพิ่ม ไร้ความเจริญก้าวหน้า ในตำแหน่ง ยุบส่วนภูมิภาคเสียเถอะ
(27) คน อปท.หลายคนเป็นหนี้ มีหนี้สินมาก แล้วจะไปแก้จน แก้ปัญหาให้คนอื่นอย่างไร
(28) คนจนจะหมดได้ไง บัตรผู้มีรายได้น้อยเต็มประเทศขนาดนี้ ตั้ง 13 ล้านคน
(29) หลายอำเภอส่งหนังสือมาทางไลน์และเร่งให้ดำเนินการ แล้วเร่งให้ส่งสำเนาคำสั่งและแผนแบบด่วนๆ จะมีหนังสือจากจังหวัด อำเภอ สั่งการ อปท. ตามมาให้ถือปฏิบัติ แล้วให้รายงานข้อมูล เป็นรายเดือน


เหตุผล
(1) ถ้า อปท.ใดทำได้ จะ "อัศจรรย์มาก" และถ้าทำไม่ได้ตามกำหนดคนสั่งการมา ตามระดับชั้นขึ้นไปต้องรับผิดชอบ เอาแบบนี้ไหม เดิมพันกันเลย
(2) ถ้าทำได้ประเทศไทยคงเป็นประเทศที่รวยอันดับหนึ่งของโลก ไปนานแล้ว เพราะแก้ปัญหาได้ แต่คงไม่ใช่ยุคนี้ 
(3) รัฐบาลควรแก้ไขการบริหารประเทศตนเองก่อนให้เรียบร้อย มิใช่ "มีแต่กู้" เคยคิดหาเงินไปใช้หนี้เก่าให้หมดไปบ้างไหม 
(4) การจะสนอง การจะเกษียนหนังสือลงมาให้ผู้ปฏิบัติน่าจะคิดใช้สมองวิเคราะห์ให้มากกว่านี้
(5) รัฐบาลยังเอาตัวไม่รอด คนสั่งการก็มีหนี้ คนรับสนองนโยบายก็มีหนี้ รวมถึงผู้ปฏิบัติยังยากจนอยู่ ปัญหาตัวเองยังแก้ไม่ได้ มันจะไปแก้ให้ใครได้ ต่อให้เอาระดับเทพ ระดับพรหม หรือพระอินทร์ลงมายังแก้ยังไม่ได้เลย 
(6) หากนักการเมืองทุกระดับ ข้าราชการทุกระดับ ไม่มีการใช้เงินแลกซื้อตำแหน่งเข้ามา ไม่มีการเรียกรับผลประโยชน์ต่างๆ ทุกตำแหน่งทุกคน ทำงานตามหน้าที่ ตามอุดมการณ์ ตามค่าตอบแทน ตามระเบียบ กฎหมายอย่างเคร่งครัด และที่สุดคือการไม่โลภ ไม่อยากมี ไม่อยากได้ เกินฐานะ ของตนตามความสามารถอันถูกต้อง แค่นี้ประเทศก็ "รวย"แล้ว
(7) และควรแก้ปัญหา "การทุจริตของนักการเมืองและราชการทุกองค์กร"ให้ได้เสียก่อน ต่อให้มีอำนาจในมือทุกเรื่องก็แก้ปัญหาไม่ได้
@จ่าโด่ง

ว่าด้วยการบูรณาการ (Integrated) "ทีมแก้จน" 

ข่าวว่า ไปบูรณาการกันเป็นทีมในหน้าที่พี่เลี้ยงกันหมดแล้วให้  อปท.ขึ้นชก

คงจะมีบ้างแหละ "พี่เลี้ยง" บางคนที่จะเข้ามาเม้นด่าผมใต้โพสต์นี้ ว่า ผมไม่คิดถึงประโยชน์ที่จะเกิดกับประชาชนจากโครงการแก้จนไม่รู้จักคำว่าบูรณาการ
ตอนนี้ เขาไปนั่งบูรณาการกันในหน้าที่ "ทีมพี่เลี้ยง" กันหมดแล้ว
มีนายก อบต.ก๊อบไลน์ส่งให้ผมดูทีมพี่เลี้ยง กำลังตามจิกงานจากนายก อบต.สั่งให้ชกซ้ายชกขวา อยู่ล่างเวทีสั่งให้ทำงานให้รายงาน
เวทีแก้จน ที่ให้ อปท.(ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไม่ได้สังกัด มท.)ขึ้นชก แต่หน่วยงานราชการในสังกัด มท.ไปเป็นทีมพี่เลี้ยง ตามนโยบายสร้างภาพหวังผลคะแนนนิยมให้ฝ่ายการเมืองด้วยเหตุใกล้เลือกตั้ง ที่ มท.รับเอาหน้า ส่วนงานส่งให้ทีมพี่เลี้ยง โยนใส่ อปท.
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งขึ้นมาเพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่น ทำตามนโยบายที่ประชาชนในท้องถิ่นคิดให้  ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อสนองนโยบายที่ส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคคิดให้ @บรรณ แก้วฉ่ำ 31 มีนาคม 2565
 

วิพากษ์ความเห็น 2 เมษายน 2565
(1) ข้าราชการบางคนเขาทำเพราะเขามีบทบาท อำนาจ หน้าที่ และมีจิตสำนึก มองเห็นว่าอาจเกิดประโยชน์ต่อประชาชนบ้าง ไม่จำเป็นต้องสังกัดหน่วยงานไหนองค์กรไหนหรอก เขาลงพื้นที่เหน็ดเหนื่อยเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อทางราชการควรให้กำลังใจกันและสร้างการร่วมมือกันดีกว่า มือไม่พายอย่าเอาปากราน้ำ
(2) คำว่าอาจเกิดประโยชน์ไม่ควรพูด ต้องเกิดประโยชน์ถึงทำไม่ใช่อาจเกิดเพราะก่อนทำต้องคิดวางแผนมาก่อนและต้องมาจากความต้องการของประชาชนจริงๆ
(3) กำลังว่าจำพวกที่มือไม่พาย คอยสั่งให้ท้องถิ่นพาย นั่งกระดิกขาเอาหน้าสั่งให้ อปท.พายอยู่ฝ่ายเดียว หากตัวคุณไม่ได้ประพฤติเห็นแก่ตัวอย่างนั้น คนอื่นอย่าเพิ่งร้อนตัว
(4) ศูนย์ ช่วยเหลือ ตามระเบียบช่วยเหลือ สมัย ปลัด มท.เป็น อธิบดี ก็ มีจะให้ตั้ง อีกและ ไม่มีที่แขวนป้ายแล้ว เห็น บางจังหวัด ใครไม่ตั้งศูนย์ตามสั่ง จะไม่พิจารณา งบ  พมจ. ที่ เคยให้ พวกคนยากไร้ พิการ สรุป แล้ว ทำเพื่อประชาชน ยังไง วะเนี่ย CI HI โควิท เป็นคนป่วยใน ตีเป็นสถานพยาบาล หมอ จ้อทีวี ดูแลหมด แต่ จังหวัด อำเภอ ท้องถิ่น จังหวัด โดนหมอชี้นำ รพ. เกี่ยง ให้ ท้องถิ่นจ่ายค่าอาหารแทน ทั้งที่ สปสช. มีงบ อาหารให้คนป่วยวันละ 400 อ้าง ขี้เกียจวิ่งส่งเลือกเบิกแต่ค่าตอบแทน กับที่เป็นรายได้ หน่วยงาน ไม่เคยถาม ท้องถิ่นมีงบไหม แค่ใช้ดูแลกักเสี่ยงสูง กับเยียวยาก็แทบหมดงบ ไม่มี หน่วยไหนให้งบยังจะมาให้ไปทำงานแทน อ้างมติคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดอ่านอำนาจ ไม่เห็น มีให้อำนาจ สั่งใช้งบหน่วยอื่นได้ งบจังหวัด ก็ ได้มากลับไม่ใช้
(5) หลายอย่างที่ อปท.ต้องทำแทน หน่วยงานส่วนกลาง เหตุผล คือ ประชาชน แต่หลายครั้งๆ หลายรอบ ท่านๆ เขาก็ ถือโอกาส ใช้พี่น้องประชาชนเป็นตัวประกัน อปท.เลยต้องยอม จนท่านๆ เขา เกือบจะทำอะไร ที่เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน จะไม่เป็นกันแล้ว นอกจากทวงถามรายงาน

(6) ตอนนี้เกือบทุกๆ หน่วยงานราชการแล้วที่สั่งให้ท้องถิ่นทำและรายงาน
(7) ก็มันเป็นแบบนี้มาตั้งนานแล้วท้องถิ่นสังกัดกระทรวงมหาดไทยแต่ตั้งกรม ดังนั้นกรมการปกครองจึงเป็นพี่ใหญ่ นโยบายต่างไปที่ลงมาไม่เคยเห็นฝ่ายปกครอง (กำนันผู้ใหญ่บ้าน) เขาก็ทำงานของเขาไป ไม่เห็นบูรณาการร่วมกันกับท้องถิ่นเท่าใดนัก อาจจะมีบ้างบางท้องที่  ปัญหาจึงมีมากมายและอาจจะเป็นการเข้าใจที่ยาก หากท้องถิ่นโตมากขึ้น เช่นเทศบาลเมือง เทศบาลนคร จะไม่มีกำนันผู้ใหญ่บ้านแต่ปัจจุบันเทศบาลตำบลยังมีกำนันและผู้ใหญ่บ้าน หากเห็นแก่ส่วนรวม ควรร่วมกันทำงาน และจะเป็นพี่เลี้ยงหรืออย่างใดนั้น ก็ไม่ควรทำ เพราะ อปท. ไม่ใช่ขี้ไก่ ที่ใครจะมาชี้ นู่นนั่น นี่ ไน่ อย่างน้อยก็มีความรู้ความสามารถที่จะช่วยกันทำตามนโยบายของกระทรวงได้เช่นกัน นโยบายก็คือนโยบาย จะทำได้สำเร็จตามนโยบายนั้นก็เป็นอีกเรื่อง ผลสำเร็จจะตามมานั้น กี่เปอร์เซ็นต์ ขอให้ทำก่อนเถอะ คน อปท.บางคนเป็นหนี้มาตั้งแต่อายุ 40 ตอนนี้อายุ 68 ยังเป็นหนี้อยู่เลย รอไปก่อน ยังมองไม่เห็นทางเห็นมีแต่ทางอีกหลายเส้นทางทึ่รัฐให้ประชาชนเป็นหนี้
(8) โยนงานแต่ไม่โยนเงิน ถ่ายโอนบุคลากรจากกรมและกระทรวงอื่นมาท้องถิ่น ส่งคนมาให้แต่ไม่ตัดโอนเงินเดือนและสวัสดิการต่างมาให้ท้องถิ่น ทำให้ท้องถิ่นแบกภาระ ค่าใช้จ่ายประจำเพิ่มขึ้น แน่จริงเอาคนมา เอาเงินมาด้วยมันจึงเกิดความสมดุลใน หลักการของงาน และหลักการของการเงิน เงินน้อย เนื้องานมากขึ้น นี่แหละ "รัฐรวมศูนย์"
(9) เขาวางแผนไว้แล้ว ถ้าประชาชนยังจน มันคือความรับผิดชอบของท้องถิ่น ที่ไม่ยอมทำงานตามนโยบายเร่งด่วน
(10) ถึงเวลาหรือยัง ที่หน่วยงาน อปท.ทั่วประเทศจะช่วยกัน ส่งเสริมให้เกิดการปกครองโดยคนท้องถิ่นเองเพื่อคนท้องถิ่น แบบ กทม.กันจริงๆ มันควรจะเป็นอย่างนั้นตั้งนานแล้ว แต่องคาพยพทั้งหลายมีแต่พูดๆ และพูด ไม่มีความพร้อมอะไรเลยจริงๆ ถ้าผลประโยชน์สมใจก็เงียบ มันขจัดปัญหาความยากจนตรงไหน ขนาดข้อมูลที่ได้มายังไม่ตรงกับความเป็นจริง ข้อมูลบอกตกเกณฑ์ จปฐ. แต่ภาพที่เห็นฐานะจัดว่าดี

ลองอ่านนี่แก้ขัด
ซักซ้อมเตรียมความพร้อมกันแล้วยัง ทั้ง 2 เรื่อง
เรื่องแรก วิธีการขึ้นเงินรางวัล หลังจากหวยออกในวันนี้
เรื่องที่สอง ในวันที่ 30 กันยายน 2565 คนไทยทั้งประเทศจะหายจนแล้ว
โดยเฉพาะเรื่องที่สอง น้ำตาจะไหล อยู่มาจะ 8 ปี จนใกล้จะยุบสภาเลือกตั้งใหม่แล้ว ประยุทธ กับ มหาดไทย จึงได้เริ่มคิด ที่จะแก้จนให้ประชาชนแล้ว
ผมนี่คิดหนักมากว่า หลังจาก  30 ก.ย. 2565 นี้ เมื่อประเทศนี้ไม่มีคนจนจะต้องวางตัวในสังคมอย่างไรดี ตื่นเต้น ไม่แพ้กับอาการของคนถูกรางวัลที่ 1 แล้วจะต้องไปขึ้นเงิน @บรรณ แก้วฉ่ำ 15 มีนาคม 2565

(11) บางคนว่าจะแก้จนให้ชาวบ้าน ผ่านมา 7-8 ปีชาวบ้านยังจนเหมือนเดิม พอใกล้เลือกตั้งงวดนี้สงสัยของจะขึ้น จะแก้จนภายในกันยายนนี้ มันน่าจริงๆ
(12) ให้รัฐแจกบ้านละ 2 ล้าน เลิกจน หนี้ครัวเรือนเดียวนี้รากหญ้า ครอบครัวละเป็นล้านแล้วมั้ง
(13) ให้ท้องถิ่น รับผิดชอบงาน พวกท่าน ก็เบิกเอา เบิกเอา เขาว่ากันว่าทำงานเหนื่อยจัง ใครๆ ก็สั่งท้องถิ่น เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง รับใช้ทุกหน่วยงาน
(14) ชาตินี้คงไม่มีโอกาสได้เห็น อปท.ทั่วไทย เข้มแข็งแบบ กทม.หรือเมืองพัทยา ตราบใดที่นักการเมืองท้องถิ่นและข้าราชการ อปท.ยังคิดว่าตนเองสังกัดมหาดไทย
(15) การแก้ไขความจนตามนโยบายของรัฐ เขาแก้ไขที่ ตัวเลข GDP แต่ไม่ได้แก้ไขความจนที่ตัวประชาชน เมื่อไหร่ที่ปรับนิด เสริมหน่อย ให้ ตัวเลข GDP รายครัวเรือนผ่าน ก็สมดังนโยบายแก้ไขความยากจน ถ้าเปรียบเทียบเชิงอุปมาแล้ว "ตราบใดที่ยาบ้ายังมีขาย ตราบนั้นความยากจนก็จะมีให้เห็น"

(16) โคตรไร้สาระปัญญาอ่อน ลูกเมียน้อย แค่อยากแก้ปัญหาจริงก็เอาเงินใส่มือให้คนจนตรงๆ จะสร้างอาชีพเพิ่มทักษะก็หาตลาดรองรับ ที่ดินในมือนายทุนผูกขาดเอามาปฏิรูปสร้างโอกาสให้ทั่วถึงไม่ใช่โง่ใช้มนุษย์เงินเดือนมหาดไทยทำข้อมูล สร้างเรื่องของบปัญญาอ่อนเพื่อแก้ตัวเลขในระบบโชว์นายกโง่ๆ
(17) ก็ไม่แปลก หมู่บ้านละล้าน คืนหมดยัง ส่วน อบต. เทศบาล หมู่บ้านละแสน ปัจจุบัน แสนสาหัส นโยบายกู้เหมือนเดิม คนไม่มีวินัย นโยบายใดๆ ก็ไร้ผล คนกลุ่มเดิม (ไม่รวมถึงคนทำโครงการที่มีวินัย) หมู่บ้านละแสน สตง.เคยบอกว่าเจ้าของเงินยังไม่สนใจจะติดตามเลย
(18) ยุบท้องถิ่นไปอยู่กับภูมิภาคหมดเรื่องหมดราวไปเลย หมดศรัทธา รำคาญ
(19) ทัองถิ่น เป็นทุกศูนย์ของทุกหน่วยงาน เป็น จพง.โดยตำแหน่งของทุกกระทรวงโดยไม่รู้ตัว
(20) คำชวนอปท. ไม่สังกัด กระทรวงมหาดไทย ไม่สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ไม่สังกัดจังหวัด ไม่สังกัดอำเภอ ทำงาน อปท.ใดก็สังกัด อปท. นั้นมาตั้งแต่เริ่มต้นมี อปท. ตาม พรบ.จัดตั้ง

(21) กนกที่ปกคอเสื้อเครื่องแบบ อปท.อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ระบบการปกครองของไทยยังไม่พร้อมที่จะเป็นการปกครองแบบกระจายอำนาจเต็มรูปแบบเหมือนญี่ปุ่น เอาตรงๆ นะถ้าปล่อยให้ปกครองกันเองก็พอจะดูออกว่าจะเหลวขนาดไหน ปล่อยให้หาคนมาทำงานในหน่วยงานเองมีการทุจริต ใช้อำนาจในทางที่ผิดของผู้บริหารฯลฯ
(22) ท้องถิ่นพร้อมนานแล้ว เหลือ แต่คนความคิดล้าหลัง ที่ยังอยากถอยหลังแบบเดิม ไม่ยอมปล่อยอำนาจให้สักที แต่ยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแล ของกรมส่งเสริมฯ กระทรวงมหาดไทย ยังรอการถ่ายโอนอำนาจเต็มรูปแบบภายหลังที่ อปท.ได้รับการยอมรับจาก ประชาชน
(23) คนท้องถิ่นบางคนยังมองว่า อปท.ยังไม่สมควรเป็นอิสระเลย เอาง่ายๆ เรื่องการคัดสรร ข้าราชการ พนักงานของ อปท. ยังมีการทุจริตขนาดนั้น กรมจึงจัดการสอบให้เพื่อให้ได้การยอมรับจาก ประชาชน แต่กรมดำเนินการเองตอนนี้ก็ไม่โปร่งใสอยู่ดี
(24) อย่างน้อยควรให้มีการยอมรับข้าราชการท้องถิ่นให้มากกว่าแต่ก่อน เหมือนข้าราชการอื่นๆ เมื่อคนใน อปท.ได้รับการยอมรับ ส่วนราชการอื่นก็จะได้โอนพนักงานมาสังกัด ไม่ว่า รร.ของ สพฐ. รพ.สต. 
หรือแม้กระทั้งตำรวจ รวมไปถึงหน่วยงานในพื้นที่อื่นๆ ที่เกี่ยวกับประชาชน รอเวลาถ่ายโอนแน่นอน แต่ข่าวก็หนาหูอยู่ในเรื่อง กสถ.จัดสอบ ขนาดครู สพฐ. เขายังให้ สำนักงานเขตพื้นที่ภายในจังหวัดจัดสอบเองเลย ซึ่งแต่ละจังหวัด อาจมีหลายสำนักงานเขต มีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนโรงเรียน ในจังหวัดนั้นๆ ทุกหน่วยงานก็ยอมรับได้ การยอมรับขึ้นอยู่กับการปฏิบัติหน้าที่ที่ซื่อตรงมากกว่า
(25) แยกแยะให้ได้ ระหว่างคำว่า "กำกับดูแล" กับ "สังกัด" ถ้า กำกับดูแล ก็จะไม่ได้สังกัด แต่ถ้าสังกัด ก็ไม่ใช่กำกับดูแล "สังกัด" จะเป็นเรื่องสายบังคับบัญชา หัวหน้าหน่วยงานต้นสังกัดจะอยู่ในฐานะผู้บังคับบัญชา ถ้า อปท.สังกัด มท.สังกัด กรมส่งเสริมฯ ฐานะของ นายก อปท.ก็เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ รมว.มท.ของ ปลัด มท.ของ อธิบดีกรม เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้ว่า ของนายอำเภอ เข้าใจว่า นายก อปท.เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้ว่า/นายอำเภอหรือ

(26) ยืนยันว่า ไม่ได้สังกัด ถ้าเป็นข้าราชการท้องถิ่นต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ลองไปเปิดค้นตำรา หลักการปกครองท้องถิ่น คน อปท.อาจได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ให้เป็นอนุกรรมการพิจารณาคัดเลือก อปท.ที่บริหารราชการดีเด่น ระดับประเทศ 3 ปี เฉพาะที่เข้ารอบสุดท้าย ออกตรวจพื้นที่ เจอป้ายหน้า อบต.เขียนว่า สังกัดกรมส่งเสริมฯ กระทรวงมหาดไทย คณะอนุกรรมการให้ตกรอบหมด แม้ในสภาผู้แทนราษฎร ชุดนี้แต่งตั้งให้เป็นกรรมาธิการ, อนุกรรมาธิการ, ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ ที่เกี่ยวกับท้องถิ่น รวมแล้ว 17 คณะ ต้องอ่านค้นตำราเพื่อทำงานมากกว่าสมัยเรียน ตำราทุกเล่มตรงกันในเรื่องหลักปกครองท้องถิ่นทั้งของไทย และต่างประเทศ คือ อปท.จะไม่สังกัด หรือขึ้นกับราชการส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค ประเด็นนี้เป็นสาระสำคัญของความเป็นท้องถิ่น หากสังกัดเมื่อไหร่ก็จะกลายเป็นราชการส่วนภูมิภาคทันที
(27) ปัญหาบุคลากร อะไรที่ทำได้ก็ทำ อะไรที่เป็นการเพิ่มงานให้ลูกน้องก็ ทำหนังสือตอบว่าลูกน้องไม่พอ
(28) เห็นใจกับทุกหน่วยงานราชการทั้งท้องถิ่นและท้องที่ที่ต้องทำงานเพื่อสนองนโยบายส่วนบนคงจะขจัดยากจนความเหลื่อมล้ำยากเพราะว่าทุกหน่วยคืนเบี้ยเติมเต็มให้กับส่วนบนมิใช่ประชาชน
(29) ให้อปท.ทำข้างบนคิดว่าอปท.ทำได้ทุกเรื่อง การแก้จน ส่วนภูมิภาค ส่วนกลางนั่งรอรับรายงานกลับมา ประชาชนคงจะหายจนได้อย่างไร เพราะส่วนกลางนั่งเฉยๆ ไม่มาลุยด้วย
(30) ตอนนี้นักพัฒนาชุมชน อปท. ศูนย์ขจัดความยากจนอำเภอ บังคับให้ อปท. ปรับปรุงซ่อมแซมบ้านผู้ตก TPmap ด้านความเป็นอยู่ โดยใช้งบ อปท.เอง แล้วต้องให้แล้วเสร็จภายใน ก.ค. 2565 นี้ อำนาจหน้าที่ในการสงเคราะห์ประชาชน ในภาวะปกติที่ไม่มีเหตุเภทภัย ก็ยังกำกวม กระบวนการวิธีงบประมาณตั้งแต่แผน ข้อบัญญัติ ปีงบนี้ก็ไม่ได้ตั้งไว้ อปท.ใดทำไม่ได้ก็จะเรียกไปชี้แจงวันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2565 นี้ ใครช่วยแนะนำวิทยายุทธ์ในการต่อสู้กับพวกนี้หน่อย วันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2565 จะถึงนี้จะขึ้นเวทีชกแล้ว
ราชการส่วนภูมิภาคมาแล้วก็พร้อมไป ไม่มียึดโยงกับประชาชน

 

อ้างอิง

30 ก.ย. 65 ‘คนจนจะหมดไป’ มหาดไทย ประกาศแล้ว, 3 มีนาคม 2565, 
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52173 
"ปลัด มหาดไทย" ขีดเส้น 30 ก.ย. 65 "คนจนจะหมดไป", คมชัดลึก, 4 มีนาคม 2565, https://www.komchadluek.net/news/507431 
ศธ.เดินเครื่องแก้หนี้ครู กว่า 9 แสนคน ยอดหนี้พุ่งกว่า 1.4 ล้านล้านบาท "ตรีนุช" กำชับเขตพื้นที่ฯ เข้ม คำนวณเงินเหลือร้อยละ 30 ก่อนปล่อยกู้ เตรียมหารือคณะกรรมการจังหวัด 9 มี.ค.นี้, ThaiPBS, 8 มีนาคม 2565, 
https://news.thaipbs.or.th/content/313419 

 

หมายเลขบันทึก: 700659เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2022 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2022 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

I think, in the final analysis when local governments are true independent and democratic, councils would be ‘the one-stop shops’ for everything local people may bring up. But they may not necessarily be the prime responsible agency for solving the issues. They may be only intermediaries connecting responsible agencies (higher regional or national offices). However, they need to be more than just ‘receptionists’ (as noted by ‘(7) สารพัดศูนย์มีแล้วที่ อปท. แต่ จนท.ศูนย์มีคนเดียว’) but ‘ ambassadors’ who are savvy with both local and national mechanisms, and trustworthy ‘persona’ for local people.

We are talking ‘ideal’ local administrators, aren’t we?

Yes, we are not talking only the ‘ideal’ local administrators, but we are talking the ‘practical’ local administrators too.Indeed, somebody makes abuse on the ideology democracy that makes anybody so confused, just we call in the Thai sense that he/she is the ‘Sa-lim’.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท