การสอนภาษาอังกฤษด้วยกิจกรรมมวยไทย ( Teaching English with Muay Thai)


การสอนภาษาอังกฤษด้วยกิจกรรมมวยไทยเป็นการบูรณาการศาสตร์ศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เป็น กิจกรรมการสอนแบบ Active Learning

ปัจจุบันการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึงความหลากหลายของวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษจะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น ได้เรียนรู้ถึงความแตกต่างด้านภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณีความคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง มีเจตคติที่ดีและสื่อสารได้ นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆได้ง่าย และกว้างขึ้น มีวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต 

 

          ภาษาอังกฤษนั้นจะมีสาระการเรียนรู้ที่ประกอบไปด้วย 1.ภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยมีสี่ทักษะคือ การฟัง พูดอ่านและเขียน การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น 2. ภาษาและวัฒนธรรม คือใช้ภาษาอังกฤษตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษและวัฒนธรรมไทยและนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม3.ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ใช้ภาษาอังกฤษเชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้อื่นเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้และเปิดโลกทัศน์ของตน 4.ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก ใช้ภาษาอังกฤษทั้งในและนอกห้องเรียน ชุมชนและสังคมใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการศึกษาต่อ ประกอบอาชีพแลการเรียนรู้กับสังคมโลก (กระทรวงศึกษาธิการ :1-2)

 

 มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทย มวยไทยใช้ทั้งกายและใจ สำหรับการต่อสู้ที่ใช้ร่างกายเป็นอาวุธ โดยเป็นที่รู้จักว่าเป็น "นวอาวุธ" ซึ่งประกอบด้วยการโจมตีจากร่างกายทั้ง หมัด, ศอก, เข่า และเท้า หากมีการเตรียมพร้อมด้านร่างกายดี มวยไทยยังเป็นการออกกำลังกายที่ดีอีกด้วย นานมากแล้วก่อนที่ผู้เขียนได้บูรณาการมวยไทย (Integration )กับการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  เนื่องจากมีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมภาษาอังกฤษให้หน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกัน(Peace Corps) และกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (English Resources Information Center :ERIC )พบว่ามีอาสาสมัครชาวต่างประเทศสนใจเรียนมวยไทยมาก แต่ไม่ค่อยมีหน่วยงานใดจัดการเรียนการสอนมวยไทยเป็นภาษาอังกฤษ  

ผู้เขียนเองเป็นครูภาษาอังกฤษได้เรียนรู้การสอนมวยไทยจากสมาคมครูมวยไทยโดยผ่านการเป็นครูมวยไทยระดับขั้น 12 ของสมาคมครูมวยไทย ผู้เขียนได้บูรณาการการสอนภาษาอังกฤษกับมวยไทยโดยให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง อวัยวะต่างๆของร่างกาย (Parts of body) ทำให้นักเรียนที่เป็นชั้นประถมศึกษาได้เคลื่อนไหว ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วย กิจกรรมที่นักเรียนต้องเรียนรู้คือ อวัยวะต่างๆในร่างกายเช่นมือ ก็จะเรียกว่า hand ศอกเราเรียกว่า elbow  เข่าเราเรียกว่า knee แต่เมื่อเราเตะ ในมวยไทยไม่ได้เตะแบบฟุตบอล เราใช้แข้งเตะ ซึ่งแข้งเราเรียกว่า shin ส่วนเท้าเราสามารถใช้ถีบหรือเตะ เท้าเราเรียกว่า foot ถ้าสองเท้าก็ เป็น feet ก่อนที่จะสอนมวยเป็นภาษาอังกฤษได้มีการเตรียมความพร้อมของร่างกายที่เรียกว่า warm up ก่อน โดยเริ่มจากการบริหารคอ คือ neck มาหมุนไหล่ คือ shoulder หมุนเอว คือ waist หมุนเข่า (knee)และเท้า (foot)ต่อไปจนเสร็จ  ถ้านักเรียนสนใจเพิ่มอาจสอนเรื่องการ warm up ร่างกายโดยการไหว้ครู เป็นโอกาสให้ครูได้สอนเรื่องความกตัญญู การเคารพครูอาจารย์ ท่าไหว้ครูแต่ละท่ายังเชื่อมโยงไปกับการบูรณาการเรื่องของวรรณคดีไทยเช่น ท่าลับหอกโมขศักดิ์และท่าพระรามแผงศรจากเรื่องวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ  ถึงตอนนี้ชาวต่างประเทศสนใจสามารถอ่านเรื่อง รามายณะ(Ramayana)ภาคภาษาอังกฤษได้ ทุกครั้งที่สอนผู้สอนชาวต่างประเทศมักมีคำถามเรื่องเกี่ยวกับชื่อต่างๆของแม่ไม้มวยไทยเสมอ ในส่วนของนักเรียนประถมศึกษา ผู้เขียนสอนโดยเริ่มจาก อันดับแรกจะสอนนักเรียนจดมวย หรือทำท่ายืนมวย นอกจากนี้ยังสอนท่าเดินมวยไปข้างหน้าและเดินถอยหลังด้วย   

การสอนภาษาอังกฤษด้วยกิจกรรมมวยไทยสำหรับการสอนใช้อาวุธเพื่อการต่อสู้มีดังนี้

1. การต่อย (Punching) ครูจะสอนโดยให้นักเรียนต่อยไปข้างหน้าเรียกว่าหมัดตรง ต่อยแบบเสยขึ้นมาเรียกว่า หมัดงัด ต่อยไปข้างๆเรียกว่าหมัดตวัด ต่อยขึ้นไปกระหม่อมคู่ต่อสู้เรียกว่าหมัดโขก และสุดท้ายคือการกระโดดต่อย 

 

          2. การศอก (Elbowing) ครูจะสอนให้นักเรียนศอกไปตรงๆเรียกว่า ศอกตรง  ถ้าศอกขึ้นมาตรงๆเรียกว่า ศอกงัด ศอกไปข้างหลังเรียกว่า ศอกกลับ และสุดท้ายจะเป็นกระโดดศอก 

 

 

                                                        นักเรียนกระโดดศอก

3. การเข่า (Kneeing) ครูสอนนักเรียน เข่าไปข้างหน้าเรียกว่าเข่าตรง เข่าไปข้างๆเรียกว่า เข่าข้าง และสุดท้ายก็จะเป็นกระโดดเข่า 

 

          4. การเตะ (Kicking) เราคนไทยบางคนยังเข้าใจผิดคิดว่าการเตะใช้เท้าแบบเตะฟุตบอล แต่จริงๆแล้วการเตะของมวยไทย โดยปกติใช้หน้าแข้ง (shin)เตะ  จะเรียนจากการสอนเตะตรง เตะข้าง และกระโดดเตะ (jumping kick)

          5. การถีบ (Shoving with foot) ครูจะสอนนักเรียนโดยการถีบตรงคือถีบไปด้านหน้าตรงๆ ถีบข้างคือถีบไปด้านข้าง และกระโดดถีบ 

ในภาพท่าถีบที่เป็นแม่ไม้มวยไทยคือท่าวิรุฬหกกลับ

สรุปคือการสอนภาษาอังกฤษด้วยกิจกรรมมวยไทย ต้องให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ได้เรียนรู้แบบเป็น Active Learning กิจกรรมขั้นสุดท้ายอาจให้นักเรียนดูรูปภาพและเติมคำศัพท์ภาษาอังกฤษในรูปภาพก็ได้ว่าเป็นอวัยวะใด หรืออาจให้นักเรียนแข่งกัน 2 ทีม โดยให้เพื่อนนักเรียนอาสาสมัครไปยืนหน้าห้อง 2 คน ครูผู้สอนให้นักเรียนแต่ละทีมแข่งกันเอาคำศัพท์ที่เตรียมไว้ไปติดบนอวัยวะของอาสาสมัคร ทีมใดเสร็จก่อนและถูกต้องที่สุดทีมนั้นจะเป็นผู้ชนะในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนครูควรมีโอกาสได้ออกแบบกระบวนการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับนักเรียนของตนเอง หน่วยงานต้นสังกัดเช่นกระทรวงศึกษาธิการควรสนับสนุนให้ครูอยู่กับการสอนนักเรียนได้ออกแบบพัฒนาการเรียนการสอนของชั้นเรียนตนเองอย่างสม่ำเสมอมากกว่าจะให้ครูไปทำกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอนเช่นพัสดุ การทำผลงานวิชาการที่ไม่ได้พัฒนานักเรียน การอบรมงานการเงิน งานธุรการ    เป็นต้น การสอนภาษาอังกฤษด้วยกิจกรรมมวยไทยจะเป็นการเรียนการสอนที่นักเรียนสนุกสนานกับการเรียนได้ฝึกภาษาอังกฤษ ได้ออกกำลังกาย ได้เรียนรู้ ได้ศึกษาและอนุรักษ์ศิลปะการต่อสู้ของไทยซึ่งเป็นศิลปะประจำชาติ ในอนาคตมวยไทยอาจจะเป็นกีฬาที่แข่งในระดับโอลิมปิก ซึ่งในปัจจุบันชาวต่างประเทศเข้ามาเรียนมวยไทยเป็นจำนวนมาก  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้วยมวยไทยอาจเป็นอาชีพสำหรับการสอนมวยไทยให้ชาวต่างประเทศในอนาคต เช่นที่ภูเก็ตที่มียิมมวยไทยจำนวนมาก แต่เสียดายเจ้าของเป็นชาวต่างประเทศแต่จ้างคนไทยเป็นลูกจ้าง  เป็นไปได้ไหมในอนาคตอาชีพการสอนมวยหรือยิมมวยไทยจะเป็นของคนไทยเป็นอาชีพสงวนไว้ให้คนไทยเท่านั้น ถ้ารัฐบาลสนใจประเด็นนี้จะมีเม็ดเงินมหาศาลเข้าสู่ประเทศไทย 

อ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ  (2551 ) ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 

ขอบคุณ 

          คณบดีและผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร

          อาจารย์ชินวุธ ศิริสัมพันธ์ นายกสมาคมครูมวยไทยและครูมวยทุกๆๆท่านที่สอนผู้เขียน

20220112142608.pdf



ความเห็น (2)
  1. “… แต่ไม่ค่อยมีหน่วยงานใดจัดการเรียนการสอนมวยไทยเป็นภาษาอังกฤษ …” why is this an issue? Do Japanese teach Karate in English? Do Korean teach Taekwondo in English? think Muay Thai is best promoted in Thai. Those Farangs who appreciate the art will learn Thai and Muay Thai.

  2. The English title is a bit awkward. I think ‘Teaching English with Muay Thai’ would mean the same but easier to say.

“… แต่ไม่ค่อยมีหน่วยงานใดจัดการเรียนการสอนมวยไทยเป็นภาษาอังกฤษ …” why is this an issue? Do Japanese teach Karate in English? Do Korean teach Taekwondo in English? think Muay Thai is best promoted in Thai. Those Farangs who appreciate the art will learn Thai and Muay Thai.
2.Answer: I teach Thai students and I would like to motivate Thai students learn English why I use English in my class. 2. I changed my title . Thanks.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท