บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมกับภาวะซึมเศร้า


ภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นได้บ่อยในนักศึกษาที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา สาเหตุที่เกิดมาจากหลายปัจจัยทั้งด้าน ความเครียดในการเรียนและการใช้ชีวิต หากนักศึกษาที่มีภาวะซึมเศร้าไม่ได้รับการดูแล ช่วยเหลือที่ทันท่วงทีอาจส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการเรียนและผลการเรียน ปฏิสัมพันธ์กับสังคม ตลอดจนผลกระทบต่อภาวะการไม่มีงานทําในอนาคต (Davies et al. 2014) นอกจากนี้ ภาวะซึมเศร้าในนักศึกษานํามาซึ่งการ เจ็บป่วยทางด้านร่างกายและจิตใจที่รุนแรงกว่านั้นคือมีโอกาสฆ่าตัวตายสูง แม้ว่าในปัจจุบันมีแนวทางในการบําบัดและรักษาโรคซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพแล้วก็ตาม แต่ก็ยังพบว่ายังมีอุปสรรคในการดูแลนักศึกษาที่ประสบปัญหาด้วยภาวะซึมเศร้า เช่น แหล่งให้การช่วยเหลือนักศึกษาที่มีภาวะซึมเศร้าที่มีอยู่อย่างจํากัด (Griffiths et al., 2013) ตลอดจนบุคคลากรทางสุขภาพที่ผ่านการฝึกอบรมการดูแลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ายังมีจํานวนน้อย ที่ร้ายแรงกว่านั้นพบว่าผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ายังถูกสังคมตีตราเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช ส่งผลให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าขาดการรักษาที่เหมาะสม(WHO,2020)


การเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยถือว่าเป็นภาวะวิกฤตของชีวิตต้องปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ การสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนใหม่ที่มาจากแหล่งต่างๆ รวมถึงการปรับตัวต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่ต่างไปจากการเรียนในระดับมัธยมศึกษา ทำให้นักศึกษาเกิดความเครียดต่อการเรียน จนถึงรู้สึกเบื่อ ท้อแท้ จนถึงภาวะซึมเศร้า เมื่อศึกษาถึงผลกระทบจากพฤติกรรมการเรียนที่ไม่เหมาะสม พบว่า มีผลกระทบหลายด้านไม่ว่าจะเป็น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ต่ำ เกิดพฤติกรรมแยกตัว ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในสังคมจนเป็นเหตุให้ตัดสินใจหยุดเรียน(ชลดา ชูวณิชชานนท์, 2552)

 

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมในนักศึกษากฎหมายที่มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนันและมีหูแว่วเล็กน้อย แต่สอบตกทุกวิชา

ผลการวิจัยของการเก็บตัวอย่างนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จำนวน 15.1% ที่มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 2.79 คะแนน มีคะแนนพฤติกรรมการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง ซึ่ง86% มีความเครียดอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาถึงภาวะซึมเศร้า พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึงเศร้าถึง 36.4%

แนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยให้สามารถจัดการกับภาวะซึมเศร้าและปรับปรุงการทำงานได้นั้นเรียกว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม = Psychosocial rehabilitation (PSR)

Hope: ผู้รับบริการอาจรู้สึกหดหู่ใจอันเป็นผลมาจากภาวะซึมเศร้า การฟื้นฟูสมรรถภาพจึงมุ่งเน้นไปที่การช่วยให้ผู้รับบริการมีความหวังมากยิ่งขึ้น แต่ไม่คาดหวังสูงจนเกินไป รวมทั้งการมองโลกในแง่ดี

Empowered: ผู้รับบริการมีเป้าหมายในการใช้ชีวิต มีพลังกายและใจในการพยายามนำตนเองไปสู่เป้าหมายที่ตนได้ตั้งไว้ โดยผ่านอุปสรรคปัญหาไปด้วยด้วยความเข้มแข็งทั้งกายและใจ

Skill: การฟื้นฟูมีจุดมุ่งหมายเพื่อสอนทักษะให้ผู้รับบริการ เพื่อช่วยให้เขาจัดการกับภาวะซึมเศร้าของตนเองและใช้ชีวิตที่เขาต้องการได้อย่างมีความสุข ซึ่งรวมถึงทักษะการใช้ชีวิต ทักษะการทำงานทักษะทางสังคม

Support: นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมให้การสนับสนุนและช่วยเหลือผู้รับบริการในการสร้างความสัมพันธ์และการเชื่อมต่อทางสังคมในชุมชนของเขา

 “ Hopeful Empowerment + Skilled Life Design + Supportive Engagement ”

  • เพิ่มพลังกายใจให้ผู้รับบริการโดยใช้ตนเองเป็นสื่อในการบำบัด การแสดงออกด้านความคิด (Cognition) ของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าส่วนใหญ่จะมีความคิดในแง่ลบ มีการประเมิน ตนเองต่ำ เช่น คิดว่าตนเองล้มเหลวทําอะไรไม่มีทางสําเร็จ ไม่มีความสามารถ มองโลกในแง่ร้าย มีความคาดหวังเกี่ยวกับอนาคตตนเองในแง่ลบ รู้สึกสิ้นหวัง ตําหนิและวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า ขาดความมั่นใจในตนเอง มีความยากลําบากในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ความจําและสมาธิลดลง มีความต้องการในการพึ่งพาผู้อื่นสูง จึงเป็นบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดที่ต้องสร้างเสริม motivation (แรงจูงใจ) และ goal (เป้าหมาย) เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกว่าตนเองไม่ได้ไร้ค่า ด้วยการจุดแรงใจภายในเพื่อให้ผู้รับบริการเกิด Hope (ความหวัง) และมี empowerment (พลังกายใจ) เพื่อให้ตนบรรลุเป้าหมายที่ตนเองต้องการ (needs) นักกิจกรรมบำบัดพูดคุยกับผู้รับบริการด้วยคำถามที่เป็นกันเองแต่ยังคงซึ่งภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อเป็นการสานสัมพันธ์ (relationship) ระหว่างนักกิจกรรมบำบัดและผู้รับบริการ ใช้ความเข้าอกเข้าใจ(empathy) ในการฟังเรื่องราวที่ผู้รับบริการเล่าออกมาให้ฟังอย่างตั้งใจและให้กำลังใจกระตุ้นให้ผู้รับบริการคิดถึงความต้องการที่ตนอยากจะทำ(needs) เสริมสร้างความหวังให้กับตัวของผู้รับบริการด้วยคำพูดชื่นชมเข้าใจ แต่ความคาดหวังนั้นต้องไม่สูงเกินไปเพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกว่าตนยังสามารถทำตามความต้องการของตนเองให้บรรลุผลสำเร็จได้ เมื่อทำสำเร็จก็จะเกิดความสุข เกิดความรู้สึกว่าตนมีคุณค่า เกิดพลังใจคิดบวกขึ้นมา ซึ่งในระหว่างทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้นต้องกระตุ้นให้ผู้รับบริการเกิดพลังกายใจ (empowered) ขึ้นมา ด้วยการ cheer up "คุณทำได้" "ฉันจะอยู่ข้างๆเป็นกำลังใจให้คุณเสมอ" หากผู้รับบริการเกิดความรู้สึกที่อยากจะทำ ก็จะเกิดแรงจูงใจในการใช้ชีวิต เกิดการมองโลกในแง่ดีต่อสู้กับความคิดลบได้ หากอ้างอิงจากcase เป้าหมายของผู้รับบริการคือการเรียนกฎหมายให้จบ สอบผ่าน


 

  • ส่งเสริมให้เกิดทักษะการใช้ชีวิตที่ดีเพื่อให้ผู้รับบริการดำเนินชีวิตตามความต้องการได้อย่างมีความสุข การแสดงออกด้านพฤติกรรม (Behavioral changes) สําหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ส่วนใหญ่จะไม่สนใจในด้านภาพลักษณ์ของตนเอง การใส่ใจดูแลตนเองลดลง ไม่สนใจดูแลกิจวัตรประจําวันของตนเอง ขาดเรียน หรือไม่เข้าร่วมกิจกรรมของทางสถาบัน แยกตนเองออกจากสังคมเพื่อน รวมทั้งนำไปซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆได้ เช่น ติดแอลกอฮอล์ ติดการพนัน นักกิจกรรมบำบัดควรให้ความรู้(education) เพื่อให้ผู้รับบริการตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสม บอกผลเสียและผลกระทบจากการติดการพนัน แต่ไม่ใช้การบังคับให้ผู้รับบริการต้องปฏิบัติตามตน รับฟังอย่างเข้าใจและไม่ตัดสินผู้รับบริการ สอนทักษะการคงความสมดุล (balance) ของกิจกรรมต่างๆให้เหมาะสม เช่น การแบ่งเวลาอ่านหนังสือ เวลานอน เป็นต้น แนะนำในสิ่งที่ผู้รับบริการอยากรู้ เช่นการจัดตารางอ่านหนังสือ การหาความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ  รวมทั้งนักกิจกรรมบำบัดยังต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในกิจกรรม(engagement) คือการศึกษาเล่าเรียนเพื่อให้ผู้รับบริการทำตามความต้องการของตนเองให้ได้ (ไม่สอบตก/เรียนจบกฎหมาย) นักกิจกรรมบำบัดประเมินและฝึกทักษะการเข้าสังคมให้กับผู้รับบริการด้วยกลุ่มบำบัดและนิเวศน์บำบัด เพื่อให้ผู้รับบริการได้แลกเปลี่ยนความคิดกับบุคคลอื่นที่ประสบปัญหาเดียวกันและเพื่อส่งเสริมให้คนรอบข้างเข้าใจในการอยู่ร่วมกัน

 

  • นักกิจกรรมบำบัดแนะนำให้ผู้รับบริการไปพบแพทย์หากมีอาการซึมเศร้าหนักและมีสัญญาณของภาวะทางจิตเวช เนื่องจากผู้รับบริการมีภาวะหูแว่วเล็กน้อย ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภาวะทางจิตเวช แนะนำให้ผู้รับบริการเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาตามอาการอย่างเหมาะสมและใช้ยาตามอาการ โดยนักกิจกรรมบำบัดสอบถามถึงการใช้ยาว่าผู้รับบริการมีการใช้ยาอย่างต่อเนื่องหรือไม่

โดยทั้งหมดที่กล่าวมายึดหลังของ PERMA Theory (ทฤษฎีจิตวิทยาเชิงบวก) ซึ่งจะทำให้ผู้รับบริการเกิดความรู้สึกที่เรียกว่าสุขภาวะสุขสมบูรณ์ (well-being) อันประกอบไปด้วย

  • P : Positive Emotion ผู้รับบริการมองโลกในแง่ดี มีความหวังมากยิ่งขึ้น เกิดอารมณ์บวก ซึ่งเป็นรากฐานของการมี well-being
  • E : Engagement ผู้รับบริการทุ่มเทพลังงานไปกับการเรียนมากยิ่งขึ้น ทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ไม่รู้สึกว่างเปล่า
  • R : Relationship มีสัมพันธ์อันดีกับบุคคลรอบข้าง มีทักษะทางสังคมที่ดี ไม่รู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว รู้จักขอความช่วยเหลือจากเพื่อนในเรื่องของการเรียน
  • M : Meaning มีเป้าหมายในชีวิต เช่น การสอบผ่าน การเรียนให้จบ ทำให้รู้สึกว่าชีวิตตนเองมีคุณค่าและมีความหมาย
  • A : Accomplishment พยายามไปถึงเป้าหมายที่ตนตั้งไว้จนประสบความสำเร็จ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสุขทางใจขึ้นมา

PERMA  เป็นทฤษฎีที่นอกจากจะช่วยเพิ่ม well-being ให้กับเราแล้ว ยังมีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าPERMA เกี่ยวข้องกับเรื่องดีๆของมนุษย์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการมีสุขภาพที่ดี การมีชีวิตชีวา การมีความสุขกับการใช้ชีวิต และส่งเสริมในเรื่องของการมีความรับผิดชอบในองค์กรได้ด้วย ฉะนั้นนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมนำทฤษฎีดังกล่าวมาปรับใช้จึงเป็นเรื่องที่ดียิ่ง

Link อ้างอิง ;

1.https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/download/31710/27235/

2.https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nursingsiamjournal/article/download/244029/167815/

หมายเลขบันทึก: 695740เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2022 01:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2022 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท