Psychosocial rehabilitation กับนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม


 

สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน 

 

สำหรับบทความนี้ดิฉันจะนำเสนอเรื่องของ กิจกรรมบำบัดจิตสังคม ก่อนอื่นเรามาเริ่มกันที่คำว่า `มนุษย์

คุณรู้หรือไม่ว่ามนุษย์เรานั้นประกอบไปด้วยร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และมีอิทธิพลต่อกัน เมื่อเราป่วยกายก็ส่งผลกระทบต่อจิตใจเช่น รู้สึกหงุดหงิด วิตกกังกล เครียด ในทางเดียวกัน หากเราป่วยทางใจ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความกังวล ความไม่สบายใจในเรื่องงาน เรื่องเงิน เรื่องเพื่อน หรือเรื่องครอบครัว ก็จะส่งผลต่อร่างกาย เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จึงทำให้บุคคลเหล่านี้หมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ก่อให้ความเครียด จึงทำให้ความสนใจต่อสิ่งต่างๆรอบตัวลดลง(สังคม) (อาจารย์เชาวนี ล่องชูผล)

 

                         

   

 

ภาวะจิตสังคม 

           คือ ภาวะทางด้านจิตใจ อารมณ์ของบุคคลที่แสดงออกให้บุคคลอื่นเห็น จากสีหน้า แววตา คำพูด น้ำเสียง อากัปกิริยา ท่าทางและพฤติกรรมอื่นๆ ที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่างกัน เป็นภาวะที่ดำเนินอยู่ตลอดเวลาที่เรามีชีวิตอยู่ ภาวะจิตสังคมมีอิทธิพลต่อความคิด ทัศนคติการรับรู้ สติปัญญา แรงดลใจ การตัดสินใจ และการตอบสนองต่อพฤติกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน        (อาจารย์เชาวนี ล่องชูผล) ดังนั้นเราสามารถสังเกตสีหน้า แววตา พฤติกรรม หรือการแสดงออกของคนรอบตัวในสังคมเพื่อดูภาวะจิตสังคมในเบื้องต้นได้นั่นเอง

 

สมรรถภาพทางจิตสังคม หรือ Psychosocial Repehabilitation (PSR)

              คือ แนวทางการรักษาฟื้นฟูที่ออกแบบมาเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่เคยมีประสบการณ์ทางสุขภาพจิต ซึ่งเป้าหมายของ PSR คือการสอนทักษะด้านอารมณ์,การรู้คิด,และทักษะทางสังคม เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตัวเองในสังคมมากที่สุด เป็นอิสระ มีความสุขมากที่สุด รวมถึงการกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ตนอยู่ได้นั่นเอง ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะสนใจเรื่องการสร้าง hopeful empowerment,social inclusion,support,and coping skill เนื่องจากผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตนั้น จะมีเรื่องราวและประสบการณ์ที่เฉพาะในแต่ละบุคคล นั่นหมายความว่าการรักษาฟื้นฟูสภาพจิตใจนั้นจะมีแนวทางที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลนั่นเอง

               โดย PSR จะช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นได้ค้นหาความหมาย ความหวัง และการเติบโตทางจิตใจ ให้กับตัวเองได้ ไม่ว่าผู้คนเหล่านั้นจะมีความสามารถหรือผลกระทบที่มาจากโรคที่เผชิญอยู่ก็ตาม สามารถพัฒนาได้ผ่านการสังเกต(Observation) การสร้างแบบจำลอง (Modeling) การศึกษา (Education) และการปฏิบัติ (Practice) 

.

.

ดิฉันจะใช้เคสตัวอย่างที่ได้รับจากอาจารย์ผศ.ดร.ก.บ.ศุภลักษณ์ เข็มทอง มาวิเคราะห์เพิ่มเติมให้ผู้อ่านทุกท่านได้เห็นภาพมากขึ้น โดยเคสที่ได้รับคือนักศึกษากฎหมาย  ซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนัน และมีหูแว่วเล็กน้อย แต่สอบตกทุกวิชา เราลองมาดูกันว่าในฐานะนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะสามารถช่วยเหลือเคสนี้ได้อย่างไรบ้าง

               ประเด็นหลักที่เรามองเห็นได้จากเคสนี้คือ ผู้รับบริการมีปัญหาทางการเรียนซึ่งอาจจะมาจากหลายๆปัจจัยเช่น ความเป็นคนเก่งที่ใจร้อน มุ่งหวังที่จะได้แต่เกรดAจึงทำให้เกิดความกดดันตัวเองกลายเป็นความเครียดที่สะสมในที่สุด เมื่อเกิดความเครียดก็ส่งผลไปถึงการทำกิจวัตรประจำวันเช่น การกิน การนอนเป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันปัญหาทางการเรียนก็ไม่ได้เกิดมาจากแค่เรื่องของการเรียน อาจจะมีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้อง เช่น ความเจ็บป่วย ซึมเศร้า ติดการพนันสุดท้ายเมื่อมีปัญหาเหล่านี้สะสมมาเรื่อยๆก็กลายเป็นคนที่ขาดแรงจูงใจในการเรียน ไม่มีจิตใจจดจ่อในหน้าที่การเรียนของตน ในเคสจะเห็นได้ว่าผู้รับบริการมีปัญหาเรื่องการติดการพนัน ซึมเศร้า วิตกกังวล และมีหูแว่วเล็กน้อยอาการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความเจ็บป่วยทางใจนั่นเอง ในส่วนปัญหาของการเรียนคือ ผู้รับบริการสอบตกทุกรายวิชา

-อาการซึมเศร้า นั้นมีสาเหตุมาจากทั้งทาง พันธุกรรมและสารสื่อประสาท ทำงานไม่สมดุลกัน ทำให้เกิดการด้อยค่าตนเอง ประเมินคุณค่าตนเองต่ำ มีความรู้สีกเศร้าและท้อถอย

-อาการวิตกกังวล มีสาเหตุจากพันธุกรรม สารสื่อประสาท ระบบประสาทอัตโนวัติ ความเชื่อ และการขสดการเรียนรู้ทักษะในการเผชิญความจริง

-การติดพนัน/ติดเกม เกิดจากสารสื่อประสาท การมีความภาคภูมิใจในตนเอง,ความพอใจในชีวิตต่ำ เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล บุคคลที่ติดพนัน/ติดเกม ต้องการการยอมรับจากผู้อื่น และเพื่อลืมความเศร้าในขณะหนึ่ง

-อาการหูแว่ว เป็นหนึ่งในอาการทางจิตเภท เกิดจากพันธุกรรม สารชีวเคมีในสมองรวมถึงผลประสาทพัฒนาการตั้งแต่เด็กที่มาจากคนในครอบครัวแสดงความไม่เป็นมิตร วิพากษ์วิจารณ์ ใช้อารมณ์

-ปัญหาทางการเรียนซึ่งอาจจะมาจากหลายๆปัจจัยเช่น ความเป็นคนเก่งที่ใจร้อน มุ่งหวังที่จะได้แต่เกรดAจึงทำให้เกิดความกดดันตัวเองกลายเป็นความเครียดที่สะสมในที่สุด

 

แค่รู้ปัญหาอย่างเดียวนั้นไม่พอ นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมต้องเข้าใจความรู้สึกและเหตุผลในจิตใจของผู้รับบริการด้วย เริ่มที่ Needs assessment เป็นการสร้างสัมพันธภาพเพื่อให้เข้าถึงการรักษาให้มากที่สุด นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างแรกที่เราจะเริ่มเข้าใจใครสักคน การมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมกับผู้รับบริการย่อมเป็นผลดีในการบำบัดรักษา ทำให้เราได้เข้าใจถึงความรู้สึก ทัศนคติหรือแง่มุมของผู้รับบริการ ผ่านการรับฟังแบบลึกซึ้ง (Deep listening) เพื่อให้ทราบปัญหาและความต้องการที่แท้จริงที่ผู้รับบริการต้องการได้รับความช่วยเหลือ ไม่ต่อต้านหรือตัดสินเหตุผลของผู้รับบริการ ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้รับบริการได้มีโอกาสเล่าเรื่องราวของเขาได้อย่างอิสระ การแสดงสีหน้า ท่าทางให้ผู้รับบริการเห็นว่าเรากำลังรับฟังและสนใจในสิ่งที่เขากำลังพูด เป็นต้น การใช้Therapeutic use of self หรือการที่ใช้ตัวเราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดนั้น จะเป็นการช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีนำไปสู่Therapeutic relationship หรือสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดระหว่างนักกิจกรรมบำบัดและผู้รับบริการนั่นเอง เมื่อนักกิจกรรมบำบัดได้ข้อมูลมาแล้วนั้น เราก็จะนำไปคิดทบทวน เพื่อวางแผน เพื่อตัดสินในในการเลือกกิจกรรม หรือการลงมือกระทำการใดๆที่เกี่ยวกับผู้รับบริการ เรียกว่า Clinical reasoning นั่นเอง

 


PERMA

                 PERMA หรือจิตวิทยาเชิงบวก คือหลักการในการนำพาชีวิตไปสู่ความสุข ความหมายและการเติมเต็มในชีวิต เป็นหลักการในการนำพาชีวิตไปสู่ความสุข ความหมาย และการเติมเต็มในชีวิต ที่นำไปสู่สุขภาวะที่ดี             (Well-being) นักกิจกรรมบำบัดสามารถใช้modelนี้เพื่อตั้งคำถามให้ผู้รับบริการได้เข้าใจ ทบทวนตัวเองมากขึ้น หาคำตอบของความสุขและความต้องการที่แท้จริงให้กับตัวเองตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามหลักการดังนี้

เรามาดูอะไรที่เกี่ยวข้องกับคำว่านักกิจกรรมบำบัด ให้มากกว่านี้กันค่ะ เมื่อนักกิจกรรมได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้บริการมาแล้ว นำมาผ่านกระบวนการตัดสินใจเรียบร้อย อีกสิ่งที่เป็นบทบาทของวิชาชีพเราคือการใช้ กิจกรรม มาเป็นสื่อการบำบัดรักษานั่นเอง กิจกรรมที่นำมาใช้มีหลากหลายรูปแบบแล้วแต่ความเหมาะสมและจุดประสงค์ที่ใช้เลือก เช่น Structured Activity for Volitional Ax 

          การปรับเปลี่ยนความคิดหรือการตั้งเป้าโปรแกรมรักษาคนดี หรือ "Virtue Maintenance Program, VMP" โดยเป็นปรับเปลี่ยนกิจกรรมการดำเนินชีวิต คิดปรับปรุงนิสัยด้านลบออกไป 

 

การติดการพนัน หรือการเสพติดการพนัน คือการที่กลไกลการเสพติดพนันไปมีผลกระตุ้นสมองส่วนระบบการให้รางวัล ซี่งอาจมีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์กับโรคทางจิตเวช เช่น Obsessive-compulsive disorder: OCD หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ สามารถใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือ Cognitive behavioral therapy : CBT ควบคู่กับการให้คำปรึกษาเพื่อคลายความกังวลได้

อาการหูแว่ว เป็นอาการที่เกิดจากเสียง/ความคิดลบภายในจิตใจที่ถูกสะสมมานาน ผู้ที่มีอาการซึมเศร้า มักจะมีความคิดลบส่งผลให้เกิดอารมณ์ลบตามมา นักกิจกรรมบำบัดสามารถใช้ วิธีการเคาะคลายอารมณ์ลบหรือ Emotional Coping Ax ลองให้ผู้รับบริการทำตามขั้นตอนแล้วสอบถามว่ารู้สึกอย่างไร? ซึ่งการเคาะคลายอารมณ์ไม่เพียงแต่สอนเพื่อให้ผู้รับบริการใช้ขณะทำกิจกรรมบำบัดเท่านั้น ยังสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงเพื่อขจัดอารมณ์ลบได้ในสถานการณ์อื่นๆอีกด้วย

 

หรือจะเป็นการฝึกคิดบวก เพื่อพิชิตความเครียด เป็นการท้าทายสมองเราโดยผ่านการทำท่าบริหาร เมื่อร่างกายเราเรารู้สึกตึง/เจ็บปวด สมองเราจะหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินเพื่อให้เราร่างกายผ่อนคลาย มีความสุข ในจังหวะนั้นเมื่อเราพูดสิ่งดีๆคิดบวก ร่างกายกายเราก็จะคิดบวกตามนั่นเอง 

 

 

Self-esteem

ในผู้ป่วยซึมเศร้านั้นจะขาดการรับรู้คุณค่าในตัวเอง นักกิจกรรมบำบัดจึงต้องสร้าง Self esteem ให้กับผู้รับบริการ เบื้องต้นคือการจัดกิจกรรมบำบัด เป็นกิจกรรมที่สร้างผลงานได้ เช่น กิจกรรมการวาดรูป,งานปั้น กิจกรรมที่สร้างผลงานได้ ไม่เพียงแต่ทำให้ได้ผลงานหรือเพียงต้องการให้ผู้รับบริการผ่อนคลายเพียงเท่านั้น ยังสามารถทำให้ผู้รับบริการรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง มองเห็นคุณค่าภายในของตนเองผ่านผลงานที่ได้ทำ หรือจะเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจ เมื่อได้ลงมือทำจะช่วยให้ผู้รับบริการรู้สึกถึงคุณค่าในสิ่งที่ตนกำลังทำได้ ซึ่งจะต่อยอดไปถึงการได้ดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข

.

.

จากข้อมูลของเคสและวิธีการเบื้องต้น เราสามารถสรุปแนวทางให้ผู้รับบริการได้มีสุขภาวะที่ดีได้ดังนี้

  • Hopeful empowerment คือเสริมสร้างพลังชีวิต ให้ผู้รับบริการมีความหวังและมีพลังในการดำรงชีวิตต่อไป นักกิจกรรมบำบัดสามารถใช้ PERMAเป็นหลักในการสร้างสิ่งนี้ขึ้นมา สามารถใช้ตั้งคำถามหรือการพูดคุยเพื่อค่อยๆให้ผู้รับบริการได้ทบทวนและค้นหาตัวตน พร้อมกับการที่นักกิจกรรมบำบัดใช้ Therapeutic use of self ควบคู่ไป ชวนให้คิดบวกเพื่อสร้างอารมณ์บวก จะเป็นการช่วยให้ผู้รับบริการมองเห็นการมีอยู่ของตนเอง และความหมายในการใช้ชีวิตได้
  • Skill life design คือสอนทักษะให้ผู้รับบริการมีทักษะการวางแผนชีวิต การสร้างพฤติกรรมเชิงบวกที่ใช้รับมือเมื่อเกิดความท้าทายขึ้นในชีวิต นำไปสู่ Resilience เมื่อผู้รับบริการสามารถปรับความคิดบวก มีอารมณ์ที่บวกพร้อม นักกิจกรรมบำบัดก็จะใช้กิจกรรมเป็นสื่อในการช่วยสร้างทักษะนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการให้ผู้รับบริการได้ลองก้าวออกจากComfort zoneของตัวเอง จากที่คิดว่าเป้าหมายคือการเรียนให้จบ ลองปรับเป็นเรียนให้มีความสุข หรือเปลี่ยนแนวทางการเรียน การดำเนินชีวิต จากที่อ่านหนังสือ เก็บตัวในห้อง ลองแบ่งเวลาออกมาเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆบ้าง จะทำให้การเรียนและการใช้ชีวิตสมดุลขึ้นหรือไม่
  • Supportive engagement คือการส่งเสริม สนับสนุนทางใจให้ผู้รับบริการมีทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นการช่วยสร้างเครือข่ายการสนับสนุนทางสังคมอีกด้วย นักกิจกรรมบำบัดจะช่วยให้ผู้รับบริการได้มีโอกาสแสดงตัวตน ความสามารถ เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกภาคภูมิใจ มี Self-esteem นำไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสังคม เพื่อการเป็นส่วนหนึ่งในสังคมนั่นเอง

.

.

.

กิจกรรมบำบัดจิตสังคมช่วยให้ผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตได้มีสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง ได้เรียนรู้ทักษะการจัดการปัญหาการรับมือกับความคิดและอารมณ์ตัวเอง เราไม่มุ่งเน้นเพียงแต่จะดูแลจุดที่อ่อนแอของผู้รับบริการ ในทางกลับกันนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะช่วยสร้างจุดแข็ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้รับบริการ ซึ่งจุดแข็งนี้จะเปรียบเสมือนรากฐานของทักษะอีกหลายอย่างที่จะสามารถพัฒนาต่อไปได้ เพื่อส่งเสริม

-Resilience and mental toughness

-Problem-solving

-Self-esteem

-Social skills

-Stress management

 

นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม ไม่ได้เป็นผู้ตัดสินใจว่า เป้าหมายของผู้รับบริการแต่ละคนจะต้องเป็นอะไร ในทางกลับกันผู้รับบริการจะเป็นคนที่ตัดสินใจและวางเป้าหมายของปัญหาด้วยตัวเอง นักกิจกรรมบำบัดจะช่วยสนับสนุนและหาวิธีการ/แนวทางที่จะช่วยให้ผู้รับบริการสามารถประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่เขาวางไว้ได้นำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีหรือWell-beingในระยะยาวของตัวผู้รับบริการเอง

 

 

 

 

 

 

6323017 ชนิสรา คงวิวัฒนากุล

 

 

อ้างอิงจาก

https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1218

https://www.verywellmind.com/psychosocial-rehabilitation-4589796

https://www.wellnessrecoveryactionplan.com

https://www.setsocialimpact.com/Article/Detail/77236

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 695739เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2022 01:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2022 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท