Psychosocial Occupational Therapy


กิจกรรมบำบัดจิตสังคม (Psychosocial Occupational Therapy) คือ การใช้สื่อทางกิจกรรมบำบัดในการประเมิน บำบัด ดูแลผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตโดยคำนึงถึงความต้องการแท้จริงของผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตเพื่อให้เกิดความสุขอย่างแท้จริง โดยนักกิจกรรมบำบัดจะใช้ Psychosocial Rehabilitation คือ การฟื้นฟูจิตสังคมเพื่อให้ผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้อย่างอิสระและมีความสุข เป้าหมายของการฟื้นฟูจิตสังคม คือ การสอนทักษะทางอารมณ์ ความรู้ความเข้าใจ และทักษะทางสังคมที่ช่วยให้ผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตสามารถดำรงชีวิตและใช้ชีวิตของตนได้อย่างเป็นอิสระมากที่สุด

 

นักกิจกรรมบำบัดจะมุ่งเน้นฟื้นฟูทางด้าน Occupation คือ การทำงาน (Work) , การใช้ชีวิตประจำวันภายในบ้าน (House) , การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น (Relation) และการสร้างหรือเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-efficacy) รวมถึงใช้ Recover Modal ซึ่งถือว่าเป็นModeสำคัญในการฟื้นฟูทางจิตสังคมอีกด้วย 

 

กรณีศึกษา : นักศึกษากฎหมาย ซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนัน และมีหูแว่วเล็กน้อย นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะมีหน้าที่ Hopeful Empowerment , Skill Life Design และ Supportive Engagement อย่างไร

นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะเริ่มการบำบัดรักษาจากการพูดคุย สอบถามสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้รับบริการ เพื่อให้ทราบถึงเป้าหมาย ความต้องการแท้จริงของผู้รับบริการ (Need Assessment) ซึ่งจะช่วยให้การบำบัดรักษามีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายตามที่ผู้รับบริการต้องการ โดยนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะมองถึงภาพรวม (Holistic) ของผู้รับบริการมุมมองแบบองค์รวมที่เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ทั้งความสามารถทางกาย ความคิดความเข้าใจ สุขภาวะจิตวิญญาณ และการรู้จุดแข็งจุดอ่อนของตนเอง 

ในขั้นตอนแรกนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมพูดคุย ประเมิน ค้นหาความต้องการของผู้รับบริการก่อนว่ามีความต้องการอย่างไร  โดยใช้หลัก Therapeutic Use of Self การใช้ตนเองเป็นสื่อในการบำบัดและสร้างปฎิสัมพันธ์ หรือ PERMA เพื่อให้ผู้รับบริการมีอารมณ์ความรู้สึกที่ดี มีพลังบวกในใจ ไว้ใจ เปิดใจพูดคุยกับนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม แล้วจากนั้นจึงพูดคุยสอบถามในประเด็นต่าง ๆ เพื่อหาเป้าหมายที่แท้จริง โดยมีการถามเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก ความต้องการ  เช่น 

  • วันนี้คุณเป็นอย่างไร ?
  • คุณอยากมีความสุขอย่างไร ?
  • ตอนนี้คุณรู้สึกอย่างไร ?
  • ตอนนี้คุณมีปัญหาอะไร และมีวิธีการแก้ไขอย่างไร ?
  • คุณคิดว่าอะไรคือจุดอ่อน จุดแข็งของคุณ ?
  • ตอนนี้อะไรคือสิ่งที่คุณอยากแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง ?
  • ทำไมคุณถึงเลือกที่จะเล่นการพนัน ?
  • กิจกรรมอะไรที่คุณชอบทำ ?

จากนั้นนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมสามารถสังเกตอารมณ์ ประเมินอาการ ทราบถึงปัญหาและเป้าหมายของนักศึกษากฏหมายท่านนี้ได้แล้วว่ามีการซึมเศร้า วิตกกังวล ติดการพนันและมีอาการจิตเภทหูแว่วเล็กน้อย แล้วจึงวางแผนและออกแบบการรักษา (Intervention) โดยใช้สื่อ กิจกรรมต่าง ๆ ในการส่งเสริมพลังกาย พลังใจ (Empowerment) , การเข้าสังคม (Supporting Engagement) และเพิ่มทักษะการออกแบบจัดการชีวิต (Skill Life Design) ของนักศึกษากฏหมายท่านนี้

  1. Hopeful Empowerment ส่งเสริมพลังกายพลังใจ เมื่อเรารู้ถึงเป้าหมายที่ผู้รับบริการต้องการแล้วจึงเพิ่ม Self-efficacy ความเชื่อมั่นในตนเองเพื่อเสริมสร้างพลังให้กับผู้รับบริการ ลดความเครียดความวิตกกังวลผ่านการพูดคุยและทำกิจกรรมที่ผู้รับบริการชอบ ส่งเสริมให้ผู้รับบริการเห็นถึงคุณค่าของตนเอง ส่งเสริมพลังบวก
  2. Skilled Life Design การมีทักษะการจัดการชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการใช้ชีวิต การแก้ปัญหา การจัดการความเครียด สร้างโปรแกรมหรือกิจกรรมผ่อนคลาย เสริมทักษะการจัดการความเครียด การคงสมาธิ คงความอดทน การวางแผน การตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจน อาจส่งเสริมผ่านกิจกรรมงานศิลปะ หรือ การเขียนสมุดบันทึก เขียนplanner ที่มีการวางแผนในแต่ละวันและเป้าหมายในแต่ละวันจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้รับบริการสามารถทำตามเป้าหมายได้ เช่น นักศึกษากฏหมายมีการติดการพนันอยากเลิกนิสัยนี้ก็ต้องตั้งเป้าหมายกับตัวเอง แล้วหากิจกรรมอื่นทำที่ต่างจากสิ่งแวดล้อมเดิม โดยไม่มุ่งเน้นหยุดเล่นการพนันแต่เรียนรู้การเล่นเกมโดยไม่กระทบผลกสรเรียน หากิจกรรมอื่นมาทดแทน เป็นต้น 
  3. Supporting Engagement ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเริ่มต้นอาจเริ่มจากตัวนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมเองที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้รับบริการ รวมถึงส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมผ่านการทำกิจกรรมที่ผู้รับบริการชอบ เสริมสร้าง  empathy สร้างความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น แล้วจึงฝึกทักษะการเข้าสังคมผ่านการทำกิจกรรมกลุ่ม นอกจากนี้การจัดสิ่งแวดล้อมลดความเครียด จัดพื้นที่ทำกิจกรรมให้มีความปลอดโปร่ง มีแสงไฟที่สบายตา ยังมีส่วนทำให้ผู้รับบริการมีทักษะการเข้าสังคมที่มากขึ้นมีความผ่อนคลายและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเรียกการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดนี้ว่า Therapeutic Environment

การฟื้นฟูสุขภาพจิต (Psychosocial Rehabilitation) ของผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตต้องอาศัยการรักษาหลายอย่างร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยารวมไปถึงการทำกิจกรรมบำบัดจิตสังคม เช่นเดียวกับผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตไม่สามารถรักษาด้วยตนเองเพียงคนเดียวได้ต้องอาศัยความร่วมมือ กำลังใจจากผู้ดูแล ครอบครัว รวมถึงสังคมที่จะช่วยส่งเสริมให้พวกเขามีสุขภาวะที่ดีทั้งทางกายและใจ ดังนั้นอยากให้ผู้อ่านทุกท่านเปิดใจ เข้าใจและเสริมสร้างพลังบวกให้กับพวกเขาและคนในสังคมต่อไป

 

เอกสารอ้างอิง

Elizabeth Cara. (2013). Psychosocial Occupational Therapy:An Evolving Practice. 3rd ed. [online]. United States of America. Available from: Psychosocial Occupational Therapy: A Clinical Practice, 3rd ed. (arakmu.ac.ir)[accessed 9 January 2022].

Kendra Cherry. (2020). What Is Psychosocial Rehabilitation?. Retrieved January 9, 2022, from Verywellmind: Psychosocial Rehabilitation: Benefits and Objectives (verywellmind.com)

 

นางสาวอรุณี ดอกมะลิ นักศึกษากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเลขบันทึก: 695738เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2022 00:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2022 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท