กิจกรรมบำบัดจิตสังคม


           การบำบัดความคิดและพฤติกรรมนับเป็นวิธีจิตบำบัดที่ใช้มากที่สุด ซึ่งการที่จะเริ่มต้นให้การช่วยเหลือผู้รับบริการนั้น ผู้บำบัดจะต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับบริการเป็นสิ่งแรก เพื่อเป็นการสร้างความไว้วางใจให้กับผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการเปิดใจเล่าเรื่องราว ระบายความรู้สึกและความคิดที่แท้จริงของผู้รับบริการ และผู้บำบัดต้องรับฟังอย่างตั้งใจและจริงใจ จากนั้นจึงค่อย ๆ เริ่มขั้นตอนการรักษาโดยใช้วิธีการช่วยเหลือต่าง ๆ สำหรับบทความนี้จะยกตัวอย่างเป็นวิธีการช่วยเหลือผู้รับบริการนักศึกษากฎหมาย มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนัน และมีหูแว่วเล็กน้อย และสอบตกทุกวิชา สามารถช่วยเหลือได้ดังนี้  

-การใช้ยา ผู้ป่วยที่รู้สึกหวาดกลัวหรือวิตกกังวลบ่อย ๆ เช่น อาจมีการหูแว่วเล็กน้อย จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านโรคจิตเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นนี้  

-ฝึกทักษะในการเผชิญความเครียด เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการรู้จักผ่อนคลายจากความเครียด รู้วิธีรับมือกับอาการวิตกกังวล รวมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้

-แนะนำวิธีรับมือสำหรับตัวผู้ป่วยเอง 

  • เขียนบันทึก สังเกตและเขียนสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองลงในสมุดบันทึก เช่น สิ่งที่ทำให้หวาดระแวง ความถี่ของอาการพฤติกรรมการนอน เหตุการณ์อื่น ๆ เป็นต้น การเขียนบันทึกจะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุหรือแนวโน้มของการเกิดภาวะหวาดระแวงว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และอะไรที่ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ เพื่อเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้รู้สึกหวาดระแวงได้อย่างถูกจุด
  • แนะนำวิธีการจัดการเวลา ให้มีความเหมาะสมกันในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน เช่น แนะนำให้ผู้รับบริการทำ daily routine หรือ daily planer  เป็นตารางเวลาประจำวัน ที่ทำให้แบ่งเวลาเรียน นอน พักผ่อน ได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังสามารถบอกเล่าอารมณ์ความรู้สึกในขณะที่ทำกิจกรรมนั้น ๆ ได้อีกด้วย (Occupations ; client-directed daily life) 
https://www.wellnessrecoveryactionplan.com/sample-plan-and-schedule-for-depression-workbook/?fbclid=IwAR3SB0iWd7C664OFGnseUS15H2dGy2dpGpy6x0oGYA_OoQZcMIDrpM1sUEw
  • ผ่อนคลายความกังวล หากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวล เช่น ทำสมาธิ ทำงานอดิเรกที่สนใจ อาจจะเป็นการวาดรูป กิจกรรมงานฝีมือต่าง ๆ หรือการเขียนเล่าความรู้สึก เป็นต้น
  • ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้ครบถ้วน เพื่อช่วยให้รับมือกับอาการหวาดระแวงได้ดีขึ้น
  • ฝึกความรับผิดชอบ หัดเริ่มเป็นคนรู้จักเก็บออม หนึ่งในความรับผิดชอบที่สำคัญ ที่จะช่วยให้เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น นั่นก็คือการดูแลจัดการกับเรื่องการเงินให้ดี ไม่ว่าจะเป็นการจัดการรายได้ หรือการบริหารรายจ่ายที่เกิดขึ้นในทุกๆ เดือน รวมไปถึงความรับผิดชอบในเรื่องของการเรียนควรจัดตารางและแบ่งเวลาในการอ่านหนังสือ ทบทวนความรู้ เพื่อเตรียมตัวสอบให้ผ่านในแต่ละวิชาที่เรียน

-พูดให้กำลังใจผู้รับบริการ ว่าการสอบเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการวัดผลเพื่อเป็นไปตามกระบวนการทางด้านการศึกษาและต่อยอดสู่วิชาชีพเท่านั้น ดังนั้น การได้รับความรู้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ทางด้านการเรียน หรือ การทำงาน ถือเป็นสาระสำคัญมากยิ่งกว่าการสอบ ในทุก ๆ ความล้มเหลว มันมีโอกาสที่ทำให้เราได้พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ถ้าเราเรียนรู้มันและเรายอมรับว่าเราต้องเดินหน้าต่อไป บางทีความสำเร็จหรือเรื่องดี ๆ มันอาจจะรออยู่ข้างหน้า ให้ผู้รับบริการคิดอยู่เสมอว่าการที่เขาสอบตก นั่นไม่ได้หมายความว่าจะหมดหวังที่จะเป็นนักกฎหมายที่ดีหรือที่ประสบความสำเร็จ แต่ยังสามารถทำประโยชน์ให้สังคมได้ ยังสามารถเป็นได้ทุกอย่าง ไม่ได้หมดโอกาสหรือหมดหวังเลย

-แนะนำผู้รับบริการถึงการมีเพื่อนหรือมีคนที่พูดคุยด้วย ก็เป็นเรื่องสำคัญ ผู้บำบัดเชื่อว่าหากได้ระบายความรู้สึกออกมามันก็จะมีความรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ถ้าได้มีโอกาสพูดคุยกันถึงความผิดพลาดตรงไหนที่เกิดขึ้น ต้องทำอย่างไรเพื่อให้พัฒนาดีขึ้น จะทำให้รู้สึกดีขึ้นในระดับนึง หรือว่าถ้ามีเพื่อนคอยพูดคุย ชวนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยกันก็อาจจะจะทำให้รู้สึกดีขึ้นได้เหมือนกัน ชึ่งเป็นวิธีการเยียวยา และในเรื่องของการเยียวยาจิตใจของตัวเองหลังจากที่พลาดไปแล้วนั้นเป็นเรื่องเทคนิคของแต่ละคนที่ต้องค้นหาว่าทำอะไรแล้วทำให้รู้สึกสบายใจขึ้น

     นอกจากนี้วิธีที่สามาราถช่วยเหลือผู้รับบริการได้อีกวิธีหนึ่งคือ การคิดแบบ PERMA ซึ่งเป็นทฤษฎีการคิดเชิงบวกที่จะทำให้ผู้รับบริการมีสุขภาวะที่ดีขึ้น

  • Positive Emotion (P)

          อารมณ์บวก เช่น ความสนุกสนาน การมองโลกในแง่ดี ความหวัง หรือ ความรัก ถือเป็นรากฐานของการมี well-being เลย เพราะอารมณ์เหล่านี้มักทำให้รู้สึกดีเสมอ ถ้ามีอารมณ์บวกมากขึ้น ก็จะมี well-being มากขึ้น

  • Engagement (E) 

           การอยากมีส่วนร่วม ความสามารถของตัวผู้รับบริการ ผู้รับบริการให้คุณค่ากับสิ่งใด ซึ่งภาวะนี้มักทำให้ผู้รับบริการอยู่กับสิ่งที่ตัวเองทำ ทำให้เรารู้สึกดี ดังนั้น Engagement จึงเป็นกุญแจสู่ความสุขของผู้รับบริการ ที่ผู้บำบัดควรให้การสนับสนุนในสิ่งที่ผู้รับบริการให้ความสนใจ

  • Relationships (R) 

          การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น จะทำให้รู้สึกมีความสุข เพราะความสัมพันธ์ที่ดีมักทำให้เราไม่รู้สึกเหงาหรือโดดเดี่ยว ทำให้เรารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม สามารถทำให้มีกำลังใจในการใช้ชีวิตมากขึ้น ซึ่งความสัมพันธ์เป็นพื้นฐานของความสุขได้อีกรูปแบบหนึ่ง

  • Meaning (M) 

          ทุกคนมักรู้สึกว่าชีวิตของตัวเองต้องมีคุณค่าและความหมาย เพราะฉะนั้นการหาสิ่งที่ผู้รับบริการให้ความหมายหรือการสร้างเป้าหมายในชีวิต จึงเป็นเรื่องที่สร้าง well-being ให้แก่ผู้รับบริการได้เหมือนกัน เพราะ ถ้าไม่มีเป้าหมายในชีวิต อุดมการณ์ หรือ สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ใด ๆ เลย อาจจะรู้สึกว่าชีวิตของเราช่างไร้ค่า และไม่มีความสุขได้

  • Accomplishment (A)

          สิ่งที่ทำให้ผู้รับบริการมีความสุขอย่างสุดท้าย คือ ความสำเร็จ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความพยายามในการไปถึงเป้าหมายที่ ฝันไว้ การตั้งใจทำงานเพื่อความก้าวหน้า หรือ การฝึกฝนตัวเองให้เป็นไปตามดั่งใจหวัง

          การนำหลักทฤษฎี PERMA มาประยุกต์ใช้นั้นสามารถทำได้โดย

           เริ่มจากการหาความสุขให้กับตัวเองก่อน ความสุขต้องเริ่มต้นที่ตัวเราก่อน ไม่มีใครที่จะรู้จักตัวเราได้เท่ากับตัวเราเอง โดยเราสามารถสร้างความสุขให้กับตัวเองได้ง่าย ๆ เพียงแค่หาเวลาทำกิจกรรม ที่เราชอบ อยู่กับคนที่เราอยู่ด้วยแล้วมีความสุข หรือ ไปในที่ที่เราอยากไป สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราเกิดอารมณ์บวกในตัวเองมากขึ้น และมี well-being มากขึ้นตามมา เพราะเมื่อเราใกล้ชิดกับสิ่งที่เราชอบ เรามักจะมีความสุขมากขึ้น

           กำจัดสิ่งรบกวนให้หมด เวลาทำงานหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ สิ่งที่เราควรทำให้ได้ คือ เราต้องหาวิธีกำจัดสิ่งรบกวน สมาธิของเราให้หมด เพื่อรักษาสมาธิ

           ทำในสิ่งที่เราสนใจ บางครั้งเราต้องรู้สึกถึงคุณค่าของอะไรบางอย่าง เราถึงจะอยู่ได้อย่างมีความสุข ดังนั้น จึงต้องทำในสิ่งมีคุณค่าต่อเรา จะช่วยให้เรารักษาความสุขไว้ได้ เราเลยควรสนใจเป้าหมายในชีวิตของตัวเองมากกว่าทำตามความคาดหวังของคนอื่น โดยเป้าหมายที่เราตั้ง ควรสามารถทำได้จริง ภายในระยะเวลาที่ชัดเจน และมีรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจง ทุกคนจะสามารถนำหลักการนี้ไปใช้ และสามารถสร้างความสุขให้ชีวิตของตัวเองได้ในทุกสภานการณ์

         จากทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งในวิธีการช่วยเหลือผู้รับบริการจิตสังคม ยังมีอีกหลากหลายวิธีที่สามารถนำไปใช้ได้ โดยการเลือกวิธีการช่วยเหลือนั้นจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเเต่ละบุคคล หากผู้อ่านมีความสนใจที่จะนำวิธีการช่วยเหลือข้างต้นไปใช้ ทางผู้เขียนเองก็รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง

6323002 ปุณยวีร์ นุ้ยฉิม เลขที่ 2

https://www.wellnessrecoveryactionplan.com/involuntary-committment-and-recovery-an-innovative-mental-health-peer-support-program-doctoral-thesis/?fbclid=IwAR3-u4RBPWfXmauTA3gcTVRpUox9DDZViqOrBIHFN3pJecVBYdja3rw_bVA

-https://www.wellnessrecoveryactionplan.com/mental-illness-self-management-through-wellness-recovery-action-planning/?fbclid=IwAR3Yg8ro4GYC0-7r2gHjVuKrA7tiSZLoQzOUoDk_re_cKAXEwM7rk1Ks7YM

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 695730เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2022 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2022 09:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท