พวกครูเปิดเผยถึงปัญหาที่ฝังรากลึก เพราะโรงเรียนตกตกในการสอนภาษาอังกฤษ


ในขณะที่หลักสูตรที่เขียนขึ้นมาแบบคลุมเครือทำให้โรงเรียนและนักการศึกษาไปสู่การสอนแบบไม่ถูกระเบียบในการสอนวิชาภาษาอังกฤษ แต่พวกครูกล่าวว่าปัญหาที่จำเป็นจริงๆที่ทำให้นักเรียนสอบตกในรายวิชาภาษาอังกฤษคือสภาวะแวดล้อมและเจตคติต่อภาษาอังกฤษ

Thanisara Kaewbuasa นักเรียนโรงเรียน Chalermprakiat 60 Pansa ในปทุมธานีกล่าวว่า เธอมีจุดมุ่งหมายเพื่อการสื่อสารในภาษาอังกฤษ แต่การสอนในชั้นเรียนทำให้เธอผิดหวัง ตัวเธอเองกล่าวว่าสิ่งที่สอนในชั้นเรียนไม่ใช่การฝึกปฏิบัติ แต่เป็นการสอนเพื่อให้ผ่านการสอบเท่านั้น

เธอสรุปว่า “ครูเอาแต่สอน นักเรียนเอาแต่จำ”

นักเรียนอีกคนหนึ่งจากวิทยาลัยเทคนิค Phrae ชื่อ Preyanan Jaioua กล่าวว่า ชั้นเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้ฝึกปฏิบัติ และไม่มีคุณค่า เธอกล่าวว่าถึงจะผ่านการสอบ แต่สื่อสารไม่ได้ ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด

ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามอย่างหนักจากเจ้าหน้าที่การศึกษาในการโปรโมทภาษาอังกฤษในห้องเรียนของไทย เช่น นโยบายให้เรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ ป.1, ฝึกครูสอนภาษาอังกฤษ, กระตุ้นให้เกิดโรงเรียนนาๆชาติ, และนำเสนอห้องเรียนภาษาอังกฤษ (EP) ในโรงเรียนรัฐบาล แต่ประเทศไทยก็ยังอยู่ในระดับต่ำมากในประสิทธิภาพทางภาษาอังกฤษ ตาม ดัชนี EP Proficiency Index 2019

ถึงแม้ว่าวิธีสอนภาษาอังกฤษมีจุดมุ่งหมายในการผ่านการสอบ แต่มันก็ยังตกในการทดสอบระดับชาติ ค่าเฉลี่ยของผลการสอบ O-NET สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมในปี 2019 คือ 29.20 จาก 100 จาก 31.42 ในปี 2018 จาก 28.31 ในปี 2017 และต่ำกว่า 25 ในปี 2016 และ 2015

ปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

ครูสอนภาษาอังกฤษ ชื่อ Mutita U-donphaew จากโรงเรียน Anukoolnaree ในกาฬสินธุ์ กล่าวว่าหลักสูตรแกนกลางเขียนได้อย่างดีมากๆครอบคลุมทุกอย่าง แต่ปัญหาคือการประยุกต์ใช้สื่อการสอน นักเรียนต้องการการเรียนรู้ทักษะฟัง พูด อ่าน เขียน แต่ครูไม่สามารถสอนได้ทุกทักษะตามเวลาที่กำหนดให้

ครูสอนภาษาอังกฤษอีก 2 คน ได้แก่ Namchai Saensin จากโรงเรียน Mahannoparam และ Thonburi และ Kanchanokchon Woodeson จากโรงเรียน Ammartpanichnukul จังหวัดกระบี่ ทั้งคู่กล่าวว่าหลักสูตรเขียนมาแบบหนึ่งรูปแบบใช้ได้กับคนทั้งหมด ที่ปล่อยให้คครูได้ปรับแต่งบทเรียนไปตามตัวชี้วัด

Namchai กล่าวว่าครูสามารถออกแบบบทเรียนด้วยตนเอง แต่เขาเชื่อว่าส่วนใหญ่แล้วครูจะเลือกใช้วิธีการโบราณมากกว่า นั่นคือสอนตามหนังสือ เพราะเป็นทางการและใช้กันมานานนับทศวรรษ

สุดท้ายมันนำไปสู่ประสบการณ์ที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์กัน ได้แต่บรรยายที่น่าเบื่อต่อไป.

Namchai กล่าวว่าเขได้ออกแบบทเรียนที่มีปฏิสัมพันธ์ และมีหัวข้อบทสนทนาที่น่าสนใจ แต่เขาพูดว่านักเรียนสนใจแต่เกรด และถามเขาว่างานนี้จะได้เกรดเท่าไร และพวกเขาจะไม่ทำงาน หากงานนั้นไม่มีส่งผลต่อเกรด

นี่เป็นเพราะว่านักเรียนไม่มีจุดมุ่งหมายในการใช้ภาษาอังกฤษนอกชั้นเรียน

เขาเองกล่าวว่า “นักเรียนไทยโดยมาก เท่าที่ฉันสังเกต เมื่อพวกเขาเลิกชั้นเรียน พวกเขาจะเลิกเรียนรู้”

โอกาสที่จำกัดในพบกับทักษะภาษาอังกฤษที่สมบูรณ์   

ในขณะที่หลักสูตรก็มีปัญหา พวกครูคิดว่ารัฐบาลเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าหลักสูตรเสียอีก

ปัจจัยที่สำคัญในการเรียนภาษาคือการล้อมรอบด้วยภาษาที่ต้องการจะฝึกนั้น 

Kanchanokchon กล่าวว่า พวกครูยังไม่ได้ถูกฝึกมาเป็นอย่างดีในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพื่อสนับสนุนเด็กๆให้มีประสบการณ์กับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จากสิ่งที่เธอสังเกต ครูอังกฤษทุกคนจะพูดภาษาไทยเสมอๆ และอธิบายบทเรียนด้วยภาษาไทย

เธอกล่าวว่า “มันจึงไม่กระตุ้นนักเรียนให้มีความกระหายว่าจะพูดอังกฤษได้แบบครู เด็กๆจะเลียนแบบครูได้อย่างไร? เด็กๆไม่สามารถเลียนแบบครูอังกฤษ เพราะครูไม่กล้าที่จะพูดภาษาอังกฤษ บางทีอาจเกิดความอาย หรือความไม่คุ้นเคย หรือกลัวว่าเด็กๆจะไม่เข้าใจสิ่งที่อธิบายเป็นภาษาอังกฤษ”

เมื่อภาษาจะต้องเรียนตามทักษะฟัง พูด อ่าน และเขียน Namchai อธิบายว่า ครูส่วนใหญ่จะละทิ้งบางทักษะ และเริ่มต้นสิ่งที่ยากเป็นอันดับแรก นั่นคือ การเขียน ซึ่งมันจะทำให้การเรียนรู้ของเด็กไม่มีระเบียบ

นักเรียนแทบจะไม่เคยมีโอกาสในการใช้ภาษาอังกฤษนอกชั้นเรียน ที่พูดอยู่ก็มีแต่ภาษาไทย Namchai กล่าวว่าวิชาภาษาอังกฤษได้รับการสอนประมาณ 150 นาทีต่อสัปดาห์ หมายความว่าคาบละ 50 นาที เขากล่าวว่าแค่ 50 นาทีเป็นเวลาที่เล็กน้อยมากในการฝึกภาษาอังกฤษ เมื่อสภาพแวดล้อมเป็นไทยและนักเรียนพูดไทยกับเพื่อนๆและครอบครัว

“ภาษาอังกฤษกับครูอังกฤษและแบบเรียน มันยากที่จะมีสื่ออย่างอื่นๆ นอกจากนั้นฉันพยายามที่จะแนะนำพวกเด็กๆให้ใช้ภาษาอังกฤษเท่าที่จะทำได้ และออกแบบกิจกรรมต่างๆให้เด็กๆให้มีปฏิสัมพันธ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้” Namchai พูด

Namchai กล่าวว่ามันจำเป็นที่จะออกแบบสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโลกในการช่วยให้เด็กๆใช้ภาษาอังกฤษนอกชั้นเรียน ครั้งหนึ่งเขามอบหมายให้นักเรียนทำ vlog 1 วันเป็นภาษาอังกฤษ

Kanchanokchon กล่าวว่าพวกครูควรประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ภาษาเป็นภาษาแรก ที่ต้องจัดทำสภาพแวดล้อมให้เป็นภาษาอังกฤษและเหมาะสมกับนักเรียน ยิ่งครูทำสิ่งนั้นได้มากเท่าไร ก็ยิ่งให้นักเรียนมีโอกาสในการฝึกภาษาอังกฤษมากขึ้นเท่านั้น

อคติต่อภาษาอังกฤษควรจะเปลี่ยนแปลง    

Kanchanokchon เชื่อว่า เจตคติที่เห็นภาษาอังกฤษว่าไม่สำคัญ เพราะตนเองไม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของใครยังคงมีอยู่ สิ่งนี้นำไปสู่สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ไม่เอื้อต่อนักเรียน ประชาชนควรจะเปลี่ยนเจตคตินั้นเสีย และต้องเชื่อว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองในประเทศ

เธอกล่าวว่า ครูและพ่อแม่จะต้องสนับสนุนนักเรียนในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยการไม่ชี้ความผิดทางภาษาอังกฤษของเด็กๆ เพราะว่าสิ่งนั้นจะสร้างเจตคติเชิงลงต่อภาษาอังกฤษ

อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเรียนบางครั้งอาจเกิดจากตัวนักเรียนเอง

Pinpech Charoenchuea คนที่จบการศึกษาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนาๆชาติ และครูในอนาคต กล่าวว่า ตอนเป็นนักเรียน เธอชอบตอบคำถามและพูดภาษาอังกฤษในชั้นเรียน แต่เพื่อนๆของเอมักจะล้อเลียน และหัวเราะในสิ่งที่เธอพูด

“ฉันคิดว่ามันฝังรากลึกในสังคมไทย เมื่อเจอคนพูดภาษาอังกฤษ พวกเขาคิดว่ามันจะส่งผลเสีย”

Pinpech กล่าวว่า เจตคติของคนไทยต่อภาษาอังกฤษจะต้องเปลี่ยนแปลง ในฐานะที่จะเป็นครูในอนาคต ครูควรจะเปลี่ยนวิธีสอนเพื่อให้การสอนของพวกเขาเร้าใจมากขึ้น และสร้างเจตคติเชิงบวกต่อนักเรียนให้มากขึ้น

แปลและเรียบเรียงจาก

Chatchai Mongkok. Teachers reveal deep-rooted problems as schools keep failing in English Teaching

https://prachatai.com/english/node/8618

หมายเลขบันทึก: 693508เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2021 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2021 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท