ชีวิตที่พอเพียง ๔๐๘๐. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๑๑๔) บริหารโครงการ กับ บริหารผลลัพธ์ที่เกิดจากโครงการ


 

ชื่อบันทึกนี้ ผุดขึ้นมาในระหว่างอ่านเอกสารเตรียมประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ ของ กสศ.  ในวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๔    ที่เชื่อมต่องานจากช่วง ๓ ปีแรก    คือมีผลงานให้เก็บเกี่ยวมากมาย เพื่อนำไปขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงภาพใหญ่ของระบบการศึกษา     ตามยุทธศาสตร์ใหม่ของ กสศ.       

แต่ผมสังเกตว่า management platform ที่ฝ่ายบริหารใช้ ยังคง (เกือบ) เหมือนกับเมื่อ ๓ ปีที่ผ่านมา     จึงตั้งข้อสังเกตต่อที่ประชุมว่า ใน ๓ ปีข้างหน้า (พ.ศ. ๒๕๖๕ - ๒๕๖๗) สำนักครูฯ ควรใช้ management platform ใหม่   เปลี่ยนจากเดิมที่มี resource management platform เป็นหลัก   เปลี่ยนเป็น มี resource management platform : result management platform = 50 : 50   

พูดง่ายๆ คือ มีการจัดการผลงาน เอาไปใช้ประโยชน์ตามภารกิจหลักของ กสศ. ที่มุ่งทำหน้าที่ Catalyst for change ให้ระบบการศึกษามี access, retention, equity, และ quality เพิ่มขึ้น    ไม่ใช่มุ่งแต่ให้ทุนดำเนินการโครงการต่างๆ เท่านั้น     

หน่วยงานที่เป็น “กองทุน” มีจุดอ่อนที่ผู้คนมองว่ามีเงิน   กลายเป็นแหล่งทุน ที่ผู้มีความสามารถมาเสนอทำโครงการเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง    ซึ่งเมื่อจัดการประเมินโครงการก็ผ่านเกณฑ์คุณภาพ ว่าน่าจะได้ผลงานที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์  หลังจากนั้นผู้ได้รับทุนก็มุ่งดำเนินการ “โครงการ” เพื่อให้บรรลุผลตามที่ให้สัญญาไว้  

หากไม่ตระหนัก ไม่ระมัดระวัง  “โครงการ” อาจกลายเป็น “เส้นผม” ที่บัง “ภูเขา”     หรือเป็น “ต้นไม้” ที่บัง “ป่า”    คือแหล่งทุนเองมุ่งจัดการ “โครงการ”    ไม่ได้มุ่งจัดการสร้างผลกระทบของ “โครงการ” ต่อ “ระบบ” ใหญ่   ซึ่งในที่นี้คือระบบการศึกษา   

หากจะให้ผลงานมีผลกระทบสูง  ฝ่ายบริหารต้องมุ่งจัดการ “ป่า” (ระบบ)  มากกว่าจัดการ “ต้นไม้” (โครงการ)   

ผมจึงเสนอต่อที่ประชุมว่า ฝ่ายบริหารน่าจะพิจารณาคิด Result Management Platform เอามาเสนอคณะกรรมการ    เน้นเสนอ KRA (Key Result Areas) ของโครงการที่สนับสนุนทุน    และแตก KRA ออกเป็น KI 1 และ KI 2   KI 1 = Key Indicators ในการบรรลุ KRA   ส่วน KI 2 = Key Implementation ของผลงานที่ได้จากแต่ละโครงการ   และต้องวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าใครจะทำหน้าที่เอา KR ที่ได้ไปใช้ทำ KI 2  หรือทำ Implementation อย่างไร   

นี่คือกระบวนทัศน์ dynamic management    ตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่า การจัดการในแต่ละกาละ และเทศะ ต้องปรับให้เข้ากับบริบทที่เปลี่ยนไป   

บริบทที่เปลี่ยนไปของสำนักครูฯ ของ กสศ. คือ    “ทรัพยากร” เปลี่ยนไป    เดิมทรัพยากรหลักคือเงิน     แต่ใน ๓ ปีที่สอง  มี “ทรัพยากร” ที่มีคุณค่ายิ่งกว่าเงิน คือ “ผลงาน” ที่สั่งสมมาในช่วง ๓ ปีแรก   จึงต้องรู้จักจัดการ “ทรัพยากร” ตัวหลัง   ที่เป็นการจัดการ “harvesting”   ในขณะที่ใน ๓ ปีแรกเน้นจัดการ “investing”   

การจัดการใน ๓ ปี ที่สอง จึงต้องมี “ชาลาการจัดการ” (management platform) เพื่อเก็บเกี่ยวผลงาน สู่การสร้างผลกระทบ (impact)    ชาลาการจัดการช่วง ๓ ปีที่สอง จึงต้องเน้นจัดการผลกระทบ (Impact Management) มากกว่าร้อยละ ๕๐    ฝ่ายบริหารน่าจะคิดชาลานี้ มาเสนอคณะอนุกรรมการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ   โดยที่ผลกระทบที่ต้องการได้กำหนดไว้แล้วโดยคณะกรรมการบริหาร กสศ.

ข้อพึงระวังคือ รูปแบบการบริหารแข็งตัวอยู่กับความเคยชิน   ไม่ dynamic พอสำหรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป                       

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ก.ย. ๖๔ 

 

  

หมายเลขบันทึก: 693090เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2021 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2021 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

This is a new generation management (2.0 for MoE?). soon we will be talking sense in risk management, continuous assessment (mechanism), review, and appraisal in (management 3.0+) and beyond.

Thailand’s public service can and should have at least ‘your management approach’ to manage public work programs.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท