๙๒๑. ปิดทองหลังพระ


ปิดทองหลังพระ

คำว่า “ปิดทองหลังพระ” ความหมาย คือ การทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า หรือไม่มีใครรู้ ทำความดีโดยไม่เปิดเผย…เป็นสำนวนไทยสมัยก่อนชอบพูดเปรียบเทียบให้เห็นถึงการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยผู้กระทำจะทำด้วยการคิด การกระทำในสิ่งที่ดีงาม โดยไม่จำเป็นต้องให้ใครรู้ ใครเห็น แต่จิตใจ หรือความคิด การกระทำนั้น ตั้งใจทำดีต่อหน้าที่ของตนเอง โดยดีต่อส่วนตนและส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยใช้คำเปรียบเทียบว่า “การกระทำดีมีทั้งกระทำให้ผู้อื่นเห็น คือ ปิดทองด้านหน้า และการกระทำดีที่ไม่ต้องให้ผู้ใดเห็นนั้นเปรียบเสมือนเป็นผู้ปิดทองหลังพระ” เพราะคนส่วนใหญ่หากได้ปิดทองจะชอบปิดทางด้านหน้าขององค์พระ ซึ่งทำให้ดูว่าสวยงาม แต่ก็มีบางท่านที่ชอบปิดทองด้านหลังขององค์พระ อาจจะด้วยเหตุผลใด ๆ ก็แล้วแต่…

คนส่วนใหญ่จะปิดทางด้านหน้ากันมากกว่า คนส่วนน้อยที่จะปิดทองด้านหลังองค์พระ…หากเปรียบเทียบกับการทำงานก็เช่นกัน ตามค่านิยมก็จะชม และชอบถึงการทำงานต้องให้มีผู้อื่นเห็น รู้ ในความเป็นจริงมีไม่ใช่น้อยที่ทำงานโดยไม่ต้องให้ใคร ๆ เห็น และสุดท้ายจะเห็นซึ่งผลของงานนั้นมากกว่า

ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าเรื่องใด ๆ ของการทำงานในแต่ละเรื่องนั้น ทุกเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการทำงานนั้น มีส่วนสำคัญที่ทำให้งานนั้นบรรลุผลสำเร็จทั้งสิ้น…แต่คนชอบมองเห็นถึงว่ามีใครทำงาน และตนเองเห็นถึงว่ามีใครบ้างทำงานนั้นจนบรรลุผลสำเร็จ ซึ่งการทำงานจะบรรลุผลสำเร็จได้นั้น มีทั้งที่คนทำตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ และคนที่ปฏิบัติอยู่เบื้องหลังของงานชิ้นนั้น ๆ อาจจำแนกด้วยภาระ หน้าที่ที่ตนเองต้องรับผิดชอบ ทำให้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ เป็นผู้ที่ทำงานเบื้องหน้า และเบื้องหลังของการทำงาน

การทำงานภาครัฐหรือองค์กรก็เช่นกัน…มีทั้งเบื้องหน้า และเบื้องหลัง ทั้งสองส่วนมีความสำคัญไม่น้อยกว่ากันเลย…ซึ่งทั้งสองส่วนสามารถผลักดันให้งานนั้นบรรลุผลสำเร็จลงได้…เสมือนกับเครื่องจักรเครื่องหนึ่งทำงาน สายตาคนมองจะมองเห็นว่าเครื่องจักรหนึ่งเครื่องกำลังทำงาน แต่ภายในเครื่องจักรเครื่องนั้น จะมีฟันเฟืองทุก ๆ ส่วน ก็กำลังขับเคลื่อน เพื่อทำให้เครื่องจักรเครื่องนั้นสามารถทำงาน เพื่อให้ได้ผลผลิตนั้นออกมาได้

เช่นเดียวกันกับการปิดทองด้านหล้า และปิดทองหลังพระก็เช่นกัน…องค์พระจะสวย งดงามทั้งองค์ได้นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับการปิดทองทั้งองค์พระ จะทำให้ได้องค์พระที่สวย งดงามทั้งด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระ…หากมนุษย์ทุกคนมีความเข้าใจในความสำคัญของคนทำงานแล้ว จะทำให้เกิดความเข้าใจว่า “ทุก ๆ คนมีส่วนร่วม และช่วยผลักดันให้งานในแต่ละองค์กรนั้นบรรลุผลสำเร็จได้เช่นกัน มิใช่ต้องเป็นหัวหน้า หรือระดับผู้บริหาร หรือผู้นำองค์กรนั้นคนเดียว”…ทุกคนมีส่วนสำคัญที่ทำให้องค์นั้นขับเคลื่อนจนบรรลุผลสำเร็จได้

แม้แต่งานในมหาวิทยาลัยก็เช่นกัน…มิใช่เฉพาะสายวิชาการเท่านั้น สำหรับสายสนับสนุนวิชาการก็เช่นกัน ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนให้กับสายวิชาการ หลาย ๆ องค์ประกอบ หรือปัจจัย เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังของการทำงานที่ทำให้สายวิชาการนั้นแข็งแกร่งในองค์กร หากผู้สนับสนุนองค์กรอ่อนแอ ก็จะทำให้สายวิชาการนั้นแข็งแรงได้เล่า…ทั้งสองสายต้องเป็นเสมือนมือขวา-ซ้าย ที่จะช่วยพยุงให้ร่างกาย ซึ่งเป็นองค์กร สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น สามารถเป็นองค์กรที่มีครบในการนำพา และขับเคลื่อนขององค์กร เป็นองค์กรที่แข็งแกร่งได้…ปรับเปลี่ยนความคิด และปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่จะทำให้เห็นถึงความสำคัญของทุกคนในองค์กรที่มีส่วนช่วยผลักดันให้องค์กรเข้มแข็ง แข็งแรง และแข็งแกร่งขึ้น…ซึ่งเป็นค่านิยมหนึ่งที่ควรปรับเปลี่ยนในองค์กร สำหรับการบริหารจัดการภายในองค์กรที่ควรต้องมีการปรับเปลี่ยนทางกระบวนการความคิด ซึ่งเป็นหนึ่งในการการทำงานเป็นทีม

*****************************

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ แสงเงิน

๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔

 

หมายเลขบันทึก: 693086เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2021 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2021 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทุกคนทุกตำแหน่งมีคุณค่าเสมอค่ะ แต่คนชอบแบ่งว่าใครดีกว่าใคร

ขอบคุณค่ะ พี่แก้ว…ใช่แล้วค่ะทุกคน ทุกตำแหน่งมีคุณค่า และหน้าที่ที่ตนเองต้องปฏิบัติตามภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ…ก็เพราะคนบางคนเข้าใจไม่ถูกต้อง ไม่รู้จริง อวดตัวเอง จึงทำมีปัญหาในสังคมของการทำงานมาก โดยที่เขาไม่รู้ตัวเลยว่า สิ่งที่เขาทำนั้น คือ ทำให้ขัดต่อการพัฒนาส่วนราชการค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท