Active Learning


 

รัฐบาลเปิดตัว Active Learning อย่างครึกโครม (๑)    มองมุมหนึ่ง เป็นสัญญาณที่ดีว่า ระบบการศึกษาไทยจะได้รับการสนับสนุนเชิงการเมืองไปในทางที่ถูกต้อง     ผมจึงเขียนบันทึกนี้เพื่อเชียร์ให้รัฐบาลทำงานต่อ     โดยมีข้อเสนอให้ดำเนินการต่อดังนี้

  • เชื่อมโยงระบบคุณวุฒิครู  ระบบการพัฒนาครูประจำการ   และระบบความก้าวหน้าทางวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา  เข้ากับทักษะการจัดการเรียนรู้ และการบริหารโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนแบบ active learning หรือการเรียนรู้เชิงรุก   ผมได้เขียน บล็อก และหนังสือเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เช่น ครูเพื่อศิษย์ สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง     สอนเสวนา สู่การเรียนรู้เชิงรุก    สอนเข้ม เพื่อศิษย์ขาดแคลน    ศาสตร์และศิลป์ของการสอน  เป็นต้น
  • จัดให้มีการศึกษา ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ในโรงเรียนของโครงการตามในข่าว    รวมทั้งโรงเรียนอื่นๆ ที่จัดการเรียนการสอนแบบ active leaning อยู่แล้ว   เช่นโรงเรียนในโครงการ TSQP  ดำเนินการโดย กสศ.  โรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ระยอง และสตูล    โดยเปรียบเทียบผลคำนวณออกมาเป็น Effect Size ของการเปลี่ยนแปลง     เพื่อสื่อสารต่อสังคมวงกว้างโดยมีข้อมูลหลักฐาน ว่าลูกหลานของเขาได้รับประโยชน์จากการเรียนแนวใหม่นี้อย่างแท้จริง    กระทรวงศึกษาธิการเป็นจำเลยมานานกว่ายี่สิบปี ว่าเป็นต้นเหตุของการศึกษาคุณภาพต่ำของประเทศไทย    ต้องหาหลักฐานมายืนยันให้ได้ว่า แนวทางใหม่นี้จะกู้คุณภาพการศึกษาให้กลับคืนมา   
  • ร่วมมือกับโครงการ TEP ในการดำเนินการปฏิรูปการศึกษาไทย   ให้มีคุณภาพพิสูจน์ได้ที่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน    โดยวัดที่ สมรรถนะพื้นฐาน และสมรรถนะเฉพาะด้าน ของผู้เรียน ตามร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะที่กระทรวงศึกษาธิการกำลังดำเนินการพัฒนา       
  • ยังมีปัจจัยที่ก่อผลให้การศึกษาคุณภาพต่ำโดยเราไม่รู้ตัว    และระบบการศึกษาไทยตกหลุมเหล่านี้     ดังที่เสนอใน บล็อก ชุด เอื้อระบบนิเวศ เพื่อเป็นครูผู้ก่อการ   บล็อกชุด ระบบประเมินและวัดผลการศึกษา   ในหนังสือ การศึกษาคุณภาพสูงระดับโลก    และใน บล็อกชุด สู่การศึกษาคุณภาพสูง              

ระบบการศึกษาเป็นระบบที่มีความซับซ้อนสูงมาก    ยิ่งเข้าไปเชื่อมโยงกับระบบการเมือง ยิ่งเพิ่มความซับซ้อนซ่อนเงื่อน   มาตรการใดมาตรการหนึ่งจะไม่มีพลังเพียงพอในการยกระดับคุณภาพอย่างแท้จริง    และมาตรการ top-down เท่านั้น ยิ่งไม่เพียงพอ    ต้องเข้าไปหนุนมาตรการพัฒนาแบบ bottom-up ด้วย จึงจะเกิดผลต่อคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง    โดยที่เวลานี้มีมาตรการ bottom-up development ที่ดำเนินการโดยหลากหลายฝ่าย   น่าเสียดายที่กระทรวงศึกษาธิการทำงานแบบเอื้ออำนาจไม่เป็น       

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ก.ย. ๖๔

  

หมายเลขบันทึก: 693074เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2021 18:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2021 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

I see it as a very large and challenging program (from what data I quickly looked up on the Net) to roll out (assuming MOE already have ‘more detailed implementation plan’). Children can benefit greatly from the program’s success. So best wishes and good luck.

Some relevant numbers are: (suffix M=millions; K=thousands; THB= Thai Baht)Students: 7.33MTeachers: 550K (121K under Basic Ed dept)Schools: 37.1K (Isan 13,3356; North 6,613; Central 4,640; South 4,387; East 1,359; BKK 159) ** there are 30 pilot schools in report; apparently the process of implementation needs considerable ‘time and other resources’; from 30 to 37K schools is a long long way to go**Budget: การวิจัยและการพัฒนาด้านการศึกษา THB260.4M; การบริการสนับสนุนการศึกษา THB12,217.3M

ตอนนี้ ลูกหลานไม่สามารถไปโรงเรียนจากโควิด ถ้าครอบครัวไหนสามารถดูแลเองได้ก็ดีไปค่ะ รอดูเด็กรุ่นโควิดระบาดจะเป็นอย่างไรนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท