จิตร ภูมิศักดิ์ และภาพลักษณ์ในบริบททางการเมือง ตอนที่ 9


จิตรในยุคหลังคอมมิวนิสต์

หลังจากเหตุการณ์การเกิดขึ้นและการกวาดล้างของนักศึกษาในปี 1976 แล้ว อุดมการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยยังคงแยกออกเป็นปีกฝ่ายขวาชนชั้นในเมืองกับปีกฝ่ายซ้ายชนชั้นในป่าที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ แต่เนื่องมาจากหลายปัจจัย เช่นความเป็นพันธมิตรระหว่างรัฐบาลไทยและจีนในทศวรรษ 1980 และการแบ่งแยกระหว่างนักศึกษากับสมาชิกชั้นนำในพรรค ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์เริ่มสูญเสียความนิยมชมชอบในชนชั้นนำฝ่ายซ้ายไป ในเวลาเดียวกัน เริ่มมีการลดลงของการศึกษามาร์กซิสต์ และมีแนวโน้มใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น การศึกษาเรื่องชาตินิยม และชุมชนในวงวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นำไปสู่กลุ่มนักวิชาการที่ไม่ได้เข้าร่วมกับพรรค และปฏิเสธคอมมิวนิสต์มากขึ้น พวกเขาพยายามจะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของจิตรจากนักปฏิวัติเป็นนักวิชาการที่งานของเขาเป็นเรื่องเกี่ยวกับวรรณกรรมไทย, ประวัติศาสตร์ภาษาศาสตร์, และประวัติศาสตร์ ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปในการตีพิมพ์งานของเขาในช่วงระหว่างนี้โดยนักวิชาการบางคนและบรรณาธิการ นั่นคือจากแก่นเรื่องสังคมนิยมมาเป็นภาษาศาสตร์ และประวัติศาสตร์ หรือกล่าวในอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ การลดภาพลักษณ์ของจิตรที่สร้างโดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นภาพที่ไม่หัวรุนแรงและปลอดการเมือง

งานของจิตรยังถูกวิเคราะห์บนวิธีเพศสภาพ (gender studies) โดยนักวิชาการุ่นใหม่ ๆ ทัศนะของเขาที่เกี่ยวกับผู้หญิงสามารถพบเจอได้ในบทกวี, บทความ, และการแปลงานต่างชาติ ในบทความที่ชื่อ “อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของสตรีไทย” เขาใช้ทฤษฎีมาร์กซิสต์เพื่อวิเคราะห์สถานภาพทางสังคมของสตรีไทย ตั้งแต่ศักดินายุคโบราณจนมาถึงปัจจุบัน เขาชี้ให้เห็นว่าในสังคมศักดินาไทย ผู้หญิงทำหน้าที่เพียงเป็นเครื่องรองรับทางเพศของผู้ชาย และเป็นคนใช้ ถึงแม้ว่าจะเกิดชนชั้นกลางขึ้นหลังจากการปฏิวัติในปี 1932 แต่สถนภาพของหญิงไทย โดยเฉพาะในชนบท ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากระบบการผูกขาดของชนชั้นปกครองในเชิงสังคม, การเมือง, และเศรษฐกิจ รวมทั้งทุนนิยมด้วย ในสายตาของจิตร หญิงไทยถูกขูดรีดและจะต้องเรียกหาความยุติธรรม ถึงแม้ว่าการศึกษาในเรื่องผู้หญิงภายใต้ทฤษฎีมาร์กศซิสต์จะมีข้อจำกัด และจำเป็นต้องอธิบายเพิ่มเติมในแง่ของระบบชายเป็นใหญ่ในสังคมไทย แต่จิตรก็ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกในการศึกษาผู้หญิง ที่นำเสนอกรอบโครงที่เป็นระบบในการวิเคราะห์ปัญหาสังคมในเรื่องหญิงไทย งานของเขาเป็นแรงดลใจให้กับนักวิชาการรุ่นหลังๆในการพัฒนาวิธีวิทยาและทฤษฎีในเรื่องการศึกษาหญิงในประเทศไทย

จาก Piyada Chonlaworn. Jit Phummisak and His Image in Thai Political Contexts.

หมายเลขบันทึก: 692942เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2021 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2021 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท