จิตร ภูมิศักดิ์ และภาพลักษณ์ในบริบททางการเมือง ตอนที่ 4


ชีวิตและผลงาน (ต่อ)

หนึ่งในบรรดางานที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ “โฉมหน้าศักดินาไทยในยุคปัจจุบัน” ทำให้เขาเป็นที่รู้จักของนักวิชาการที่ไม่ใช่คนไทย โดยการแปลเป็นภาษาอังกฤษและการวิเคราะห์จาก Craig Reynolds หนังสือเล่มนี้เน้นไปถึงการวิพากษ์โครงสร้างทางสังคมที่ตั้งอยู่บนศักดินา หรือค่านิยมแบบศักดินา ซึ่งดำรงอยู่มาอย่างยาวนานในกษัตริย์และชนชั้นปกครอง และชี้ให้เห็นว่าส่วนที่เหลือของระบบศักดินายังดำรงอยู่ในเมืองไทยในยุค 1950 เรื่องนี้ถูกพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี 1957 และถูกห้ามอ่านนับแต่นั้น ภายใต้นโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ของคณาธิปไตยที่เอาใจอเมริกัน จิตรถูกจับและขังคุกในปี 1958 ซึ่งเป็นปีที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ยึดอำนาจ เขาอยู่ในคุกร่วมกับนักโทษการเมืองคนอื่นๆถึง 6 ปี โดยปราศจากการประกันตัว และถูกปล่อยในปี 1964 ด้วยการตัดสินว่า “ไม่มีความผิด” ต่อมาเขาเข้าป่าและเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในภาคอีศาน ต่อมาถูกยิงโดยผู้ใหญ่บ้านและกองกำลังทหารในปี 1966 ตอนอายุได้ 36 ปี เพราะว่าเขาถูกตราหน้าโดยเจ้าหน้าที่ว่าเป็นคอมมิวนิสต์ การฆ่าเลยก็ไม่ต้องรับโทษแต่อย่างใด ผู้ใหญ่บ้านที่ยิงเขาต่อมาได้รับรางวัลจากอเมริกาเป็นไรเฟิล และตั๋วเครื่องบินไปฮาวาย หลังจากการตายของจิตร ร่างของเขายังไม่ถูกฌาปนกิจ และรายละเอียดขณะตายของเขายังเป็นความลับจนทุกวันนี้

อย่างที่กล่าวในเบื้องต้น จิตรไม่ใช่เป็นฝ่ายซ้ายในช่วงนั้น ตั้งแต่การปฏิวัติปี 1932 จนมาถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จะมีลูกจีนแห่งพรรคคอมมิวนิสต์ และพวกฝ่ายขวาที่ได้นำเสนอลัทธิมาร์กซิสต์ในสังคมไทย โดยการผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หนังสือพิมพ์ หรือวารสาร แต่สิ่งที่ทำให้จิตรแตกต่างจากคนรุ่นก่อนและคนรุ่นหลัง นอกจากจะเป็นหนังสือที่มีการโต้เถียงกันในทางวิชาการแล้ว ก็คือประวัติชีวิตอันน่ามหัศจรรย์ของเขา จนสุดท้ายเขาได้กลายมาเป็นวีรบุรุษทางวัฒนธรรม และเป็นแบบของการปฏิวัติในหมู่คนรุ่นหลังในขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยกลางยุค 1970 อีกด้วย

ในช่วงชีวิต จิตรผลิตงานออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นบทความ, บทกวี, งานวิชาการ และบทเพลง งานของเขาสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายแก่น เช่น งานวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยและเขมร, นิรกติศาสตร์, ชาติพันธุ์วรรณนา, การทบทวนวรรณกรรมคลาสสิกของไทย, ศิลปะ. การแปลนวนิยายมาร์กซิสต์, และอื่นๆ เช่น การวิจารณ์ผู้หญิง, พุทธศาสนา, และบันทึกช่วงที่อยู่ในคุก เพราะรับอิทธิพลจากอุดมการณมาร์ก งานของเขาส่วนใหญ่จะมีจุดมุ่งหมายที่แน่ชัด นั่นคือ วิพากษ์ชนชั้นปกครองไทย, การเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางสังคม, และทำหน้าที่เป็นกระบอกปากให้กับชาวนาและกรรมกร ในบรรดาเพลง 16 เพลงที่เขาแต่ง “เพลงแสงดาวแห่งศรัทธา” เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด เขาแต่งเพลงนี้ตอนอยู่ในคุกเพื่อที่จะกระตุ้นให้เขาและคนอื่นๆมองข้ามปัญหาและความอยุติธรรม และมันได้กลายมาเป็นเพลงสัญลักษณ์ของผู้ประท้วงที่แสดงความไม่พอใจในสังคมตั้งแต่ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยกลาง 1970 จนมาถึงปัจจุบัน ดังจะนำเสนอไว้ข้างล่าง

จาก Piyada Chonlaworn. Jit Phummisak and His Image in Thai Political Contexts.

หมายเลขบันทึก: 692753เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2021 18:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2021 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท