Talk & Task สื่อกิจกรรมบำบัดด้วยสติแห่งเรา


เนื้อหา How To อ้างอิงจาก Gibson A. The mind manual. London: Octopus Publishing Group; 2018.

เนื้อหา HOW TO MIND: Mentalist In New Destination 

Mentalist นักอ่านใจให้ฝึกอย่างไร

  • เรียนรู้หาคำตอบว่า “สมองส่วนใดให้ความรักและความเข้าใจในตัวเราเอง"
  • รู้จักความจริงของแผนที่แห่งใจตน ได้แก่ คุณคือใคร กำลังมีสติทำอะไรและทำไปทำไม สิ่งที่ทำ ทำตามที่พูด ซื่อสัตย์กับตนเองหรือไม่ เป็นความต้องการที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตหรือไม่ 
  • พื้นฐานสุขนิสัยแห่งใจตนไปทางใดบ้างใน 5 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) คิดในใจ หรือ พูดออกมา (Extroversion) 2) กลัว หรือ กล้า (Sensitivity) 3) ช่างวางแผน หรือ ช่างวุ่นวาย (Conscientiousness) 4) ชอบสงบ หรือ ชอบวิจารณ์ (Agreeableness) และ 5) ปกป้องของในบ้าน หรือ สำรวจธรรมชาติ (Openness) 
  • เข้าใจ  Dual process theory - Wikipedia โดยเฉพาะการตอบสนองด้วยใจเร็วแรงใช้อารมณ์คิดนอกกรอบ (Lateral thinking) ต่อมาหากได้คิดวิเคราะห์ใคร่ครวญ (Analytic thinking) ก็จะเกิดความสนใจจดจ่อ (Focused attention) ในการแก้ไขปัญหาอย่างรอบคอบเกิดปัญญาปฏิบัติอย่างรู้แจ้งแบบลุ่มลึกช้า ๆ ลดความโมโหทะเยอทะยานอยากได้ทุกอย่างเกินพอดี จงปล่อยวางความคิดลบ ทำอะไรที่ชวนคุยคิดสนุกสบายผ่อนคลาย หายใจให้รอคอยอารมณ์ดี
  • ตั้งใจสงบจิต โดยปรับสิ่งที่ทำเป็นกิจวัตรประจำวันให้เกิด “มุมมองใหม่กว้างกว่าเดิม” ได้แก่ การรู้คิดสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์ด้วยอารมณ์บวก (ยิ้มสู้มากกว่าถอยหนี) ขอความช่วยเหลือ/คุยกับคนอื่นบ้าง ลงมือทำดีกับครอบครัวเพื่อนพ้อง สำรวจสัญญาณเครียดทางร่างกาย (ปวดหัว นอนไม่หลับ ปากแห้ง อ่อนเพลีย หัวใจเต้นแรง) กับทางจิตใจ (โกรธชั่วขณะ สมาธิสั้นไม่อยู่นิ่ง กล้าเสี่ยงสุด ๆ - ไม่ค่อย ๆ ทำ คิดไม่ชัดเจน ยึดติดกรอบ คิดวนทนทุกข์เงียบอยู่คนเดียว) 

In ภายในให้สุขฝึกอย่างไร

  • สร้างคติชีวิตสอนใจให้คิดบวก เช่น Gains & Losses อะไรที่คนคุมชีวิตคิดคุณค่าได้บ้าง เงินไม่ใช่ความสุขทั้งหมดในชีวิต หยุดตัดสินตำหนิตนเอง เวลาเหลือน้อยในการแบ่งปันความรักให้กับตนเองและคนที่รักเรา ยอมรับรู้สึก “ขอโทษ” ซึ่งเป็นคำที่พูดออกมายากที่สุดของมนุษย์ 
  • นิยามความรู้สึกสุขด้วยนิสัยดีต่อใจ เช่น จงยุ่งกับงานเพิ่มทักษะด้วยการสงวนพลังงาน จงช่วยเหลือผู้คนด้วยรอยยิ้ม จงเล่นสนุกสนานแล้วร้องไห้ด้วยการกอดดีใจกับคนที่เรารักและไว้ใจ มองบางมุมที่ดีขณะเศร้าเสียใจคือ ละอายใจได้คิดใคร่ครวญแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา อะไรที่ทรงจำดีมีประสบการณ์เยี่ยม - ฝันให้ไกลไปให้ถึงความสำเร็จ ระวังความสมบูรณ์แบบไม่มีจริง เรียนรู้กระบวนการคิดบวกและมองโลกในแง่ดีเสมอ - แบบรู้แจ้งเห็นจริง หรือ แบบผิดเป็นครูให้ค่อย ๆ ถูกขึ้นช้า ๆ 
  • จงเปิดใจในการยอมรับความจริงที่เรียกว่า “อคติไม่รู้ตัว หรือ Unconscious Biases” เช่น เลือกแต่หลักฐานที่เข้าข้างความคิดตัวเองไม่สนใจข้อเท็จจริงที่ย้อนแย้ง ภูมิใจในตนเองเกินจริงเพิกเฉยต่อคำแนะนำจากคนอื่น ทำแต่สิ่งคุ้ยเคยไม่กล้าเปลี่ยนแปลงทำสิ่งใหม่ ชอบเสี่ยงทำเรื่องใหญ่อย่างไม่รอบคอบไม่ลำดับทำสิ่งที่สำคัญก่อน เน้นความเชื่อเรื่องอำนาจเหนือฝืนทำมากเกินไปคับข้องใจจนไม่รู้ผิดถูกเมื่อใด 

New Destination มีเป้าหมายใหม่ให้ชีวิตคิดดีพูดดีทำดี

  • จงใช้เวลาอย่างฉลาดคุ้มค่า ไม่ยึดติดกรอบเวลาจนบ้าเรียนบ้างาน ให้สงวนพลังงานกายใจ ออกแรง 20% ให้ได้ผลลัพธ์ 80% พักได้ค่อย ๆ ทำ ให้ความเคารพนับถือในจังหวะชีวิตของตัวเราเอง ถามเสมอว่า “เราต้องการความสำเร็จอะไรจริง ๆ ไม่ให้เบื่อ อ่อนล้า และหมดไฟในการทำงานและการศึกษาตลอดชีวิต”
  • จงฝึก “ล้มแล้วลุกให้เร็ว หรือ Resilience” ดึงจุดสมดุลให้ชีวิตคืองาน งานคือชีวิต บันดาลสุข จากอดีตสอนใจให้ทำปัจจุบันอย่างรู้เท่าทันความจริง - รู้ว่าตนเองทำผิดเมื่อใด (Clear your facts)
  • จงมีสมาธิกับส่วนผสมอันลงตัวให้ชีวิตคิดดี ได้แก่ สัมพันธภาพดี สังคมสนับสนุน สิ่งแวดล้อมปลอดภัย การศึกษาดีมีความเห็นแก่ตัวไม่มากจนเกินไป - รู้ว่าขาดนิสัยดีอย่างไรให้แก้ไข Positive Mental Habit ตรงไปตรงมา
  • จงมีความสุขแบบ Joy of Caring (Kindness) และ Compassion เป็นรางวัลแห่งชีวิตในชาตินี้
  • จงคิดอะไรง่าย ๆ ไม่ซับซ้อนจนต้องใช้แรงพยายามมากเกินไป เราไม่ใช่ Superhero ได้จริง 
  • จงถามตัวเองเสมอว่า Why ME Why NOW แล้วเตือนตัวเองว่า “Nothing is certain; get motivated on your productivity ASAP”
  • จงคิดยืดหยุ่นตั้งเป้าหมายของกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่แก้ไขได้จริง (Practical solution) ย่อมาจาก TICKS ได้แก่ Timeframe ณ เวลาเฉพาะเจาะจงจำเป็นต่อการแสดงบทบาทชีวิตคิดดีมีความสำเร็จคู่ความสัมพันธ์ Individual ณ ชีวิตแต่ละคนมีเป้าหมายตื้นลึกคนละแบบ Change expected ณ มีความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงระดับคุณภาพชีวิตจากปัจจุบัน ไม่ตั้งความคาดหวังเกินพอดี Key Issue ณ ประเด็นการวิเคราะห์สังเคราะห์รูปแบบและแบบแผนการเพิ่มความสามารถในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิต และ Support ณ ระดับการช่วยเหลือจากคนรอบข้างอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Graded activities) จนเห็นจุดคานงัดดัดนิสัยใหม่ให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุขอย่างเห็นจริง

เนื้อหาวิชาการแบบ Interactive Learning in Realistic Life (Cooperative to Collaborative Lifelong Learning) 

แผนที่สมองภายในใจ 

Brain Mapping Performance In Mind

งานวิจัยในปี 2020 Francesca[1] จาก University of Bari, Italy ได้พิสูจน์ทฤษฎีระยะห่างทางสังคม (social distancing) ปฏิสัมพันธ์การช่วยเหลือหรือความมีน้ำใจระหว่างกลุ่ม (intergrop helping) ผ่านการวัดคลื่นสมองขณะใช้ภาพเสมือนจริง พบว่า ตัวชี้วัดความเอาใจใส่ (Empathic interest index) ในแบบสอบถาม[2]จะมีความสัมพันธ์กับระดับการคาดหวังต่อสังคม ซึ่งวัดได้จากตัวชี้วัดความสุขสงบ (calmness index) หรือกับตัวชี้วัดการเข้าร่วม (engagement index) จากคลื่นสมองที่มีความถี่แตกต่างกัน ขณะที่ตัวชี้วัดความตื่นตัว (aleartness index) จากคลื่นสมองที่มีความถี่แตกต่างกัน จะมีความสัมพันธ์กับ ตัวชี้วัดภาวะตึงเครียดรายบุคคล (personal distress) ในนักศึกษาผิวขาวมหาวิทยาลัยหนึ่งในประเทศอิตาลีจำนวน 40 คน โดยจะเกิดจากอารมณ์วิตกกังวลเมื่อมองเห็นปฎิสัมพันธ์ระหว่างคนแปลกหน้า (intergroup anxiety) ที่มีผิวสีและการแต่งกายตามชนชั้นทางสังคมทั้งผู้ให้กับผู้ขอความช่วยเหลือ[3]  จากงานวิจัยนี้จะนำมาประยุกต์สู่การบริหารจัดการคนเก่งในองค์กร (talent management, TM) ซึ่งในปีเดียวกัน Dinçer[4]  จาก Uskudar University, Turkey แนะนำให้ใช้ตัวชี้วัดด้านปฎิสัมพันธ์ที่เข้ากันได้ระหว่างคนเก่งในองค์กรกับผู้เชี่ยวชาญในการวัดคลื่นสมอง เรียกว่า Neuro Talent Management หรือ NTM ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมเพื่อการดึงศักยภาพของคนเก่งรายบุคคลได้อย่างเป็นรูปธรรม และกำลังเสริมกระบวนการทำงานด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยไม่เน้นการวัดคลื่นสมองที่มุ่งวิเคราะห์ระดับปัญหาจากการทำงานมากจนเกินพอดี แต่เน้นกระตุ้นภาวะผู้นำตามธรรมชาติที่ซ่อนอยู่ถึง 95% ด้วยความคิดบนพื้นฐานอารมณ์วิตกกังวล เพราะขาดปฏิสัมพันธ์ในที่ทำงานที่สนับสนุนให้เอื้อต่อการแสดงศักยภาพสูงสุดของคนดีมีน้ำใจได้คิดนอกกรอบเพื่อเรียนรู้ในการเข้าร่วมพัฒนาตนเองและช่วยเหลือทีมงานตามพันธกิจขององค์กรอย่างตื่นตัวและมีวิสัยทัศน์ต่อองค์กรอย่างรู้แจ้งเพื่อตัดสินใจแก้ไขปัญหาอันซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วด้วยอารมณ์แห่งความสุขสงบ โดยมีการตรวจวัดคลื่นสมองที่มีความถี่แตกต่างกันและการมีระบบพี่เลี้ยงคอยติดตามศักยภาพสูงสุดที่คนทำงานแต่ละรายบุคคลได้ดึงออกมาใช้ในหน้างาน พร้อมได้รับรางวัลหรือสวัสดิการพิเศษด้วยการมีระบบที่ปรึกษาคอยให้โปรแกรมแนะนำถึงการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องและหลากหลายตามตำแหน่งต่าง ๆ ของสมอง โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน (neuroergonomy) ความเข้าใจในบุคลิกภาพของคนทำงาน (personality neuroscience) ความเชื่อมั่นกับเที่ยงตรงต่อการประเมินคนเก่งและดีจริง (talent assessment) และความสามารถในการวิจัยระบบ NTM ข้างต้นอย่างยั่งยืน

ดังนั้นนวัตกรรมการวัดแผนที่สมอง หรือ Brain Mapping Performance (BMP) ของทีม In Mind จึงเกิดขึ้นด้วยการวิจัยและพัฒนาการประเมินคนเก่งและดีจริง พร้อมให้คำปรึกษา Life Balance แก่คนทำงานแต่ละรายบุคคล ประกอบเป็น 3 โปรแกรมได้แก่ 

1. การวัดความคิดบวกและคำชี้นำความคิดผิดพลาด อ้างอิงจากระบบประสาทจิตใต้สำนึก[5] ผ่านแอปพลิเคชัน 4voices 

2. การวัดคลื่นสมองขณะเขียนชื่อ-เซ็นชื่อ-เขียนชื่อย้อนกลับ เพื่อคำนวณตัวชี้วัดอัตตาหรือความเห็นแก่ตัวที่มีสุขภาพดี เรียก Egocentric Index (healthy selfishness) ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ คู่กับ ภาวะนอนไม่หลับ ความคิดยืดหยุ่น คู่กับ ภาวะคิดจำช้า ความเห็นอกเห็นใจ คู่กับ ภาวะย้ำคิดลบ ความเป็นผู้นำ คู่กับ ภาวะหงุดหงิดง่าย 

3. การวัดคลื่นสมองขณะใช้แอปพลิเคชัน 4voices เพื่อคำนวณตัวชี้วัดการจัดการความเครียดบวก เรียก Eustress Index จากคลื่นสมอง 7 ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องความเห็นอกเห็นใจในอารมณ์ที่มั่นคง หรือ Emotional Empathy 

4. การวัดคลื่นสมอง 6 ตำแหน่งของ Mirror Neuron Morality ระหว่างการชมคลิปตัวอักษรกับคลิปเงียบขาวดำด้านการจัดการขยะ เพื่อคำนวณตัวชี้วัดจริยธรรม เรียก Ethical Index เป็นผลลัพธ์ของตัวชี้วัดการมีส่วนร่วม[1]กับ Eustress Index ในข้อ 3 ซึ่งสะท้อนถึงคนทำงานมีส่วนร่วมอย่างมีศักยภาพ (talened employee engagement) ทำให้องค์กรนั้นวางแผนพัฒนาภาวะผู้นำในองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ (leadership in corporate social responsibility, LCSR) 

 

เอกสารอ้างอิง

[1] D’Errico F, Leone G, Schmid M, D’Anna C. Prosocial virtual reality, empathy, and EEG measures: a pilot study aimed at monitoring emotional processes in intergroup helping behaviors. Appl. Sci. 202010, 1196. https://doi.org/10.3390/app10041196

[2] Batson CD, Fultz J, Schoenrade PA. Distress and empathy: two qualitatively distinct vicarious emotions with different motivational consequences. J. Personal 1987, 55, 19–39.

[3] Stephan WG, Stephan CW. Intergroup anxiety. J. Soc. Issues 1985; 41: 157–75 cited in Stephan WG. Intergroup anxiety: theory, research, and practice. Pers Soc Psychol. Rev 2014;18(3):239-55. DOI:10.1177/1088868314530518

[4] Atli D.  Analyzing the strategic role of neuromarketing and consumer neuroscience. Hershey, PA: IGI Global; 2020. Retrieved from DOI: 10.4018/978-1-7998-3126-6 

[5] ศุภลักษณ์ เข็มทอง, บรานนี วี. การบูรณาการกิจกรรมบำบัดและการสั่งจิตใต้สำนึกสำหรับคนไทยผู้มีประสบการณ์สุขภาพจิต. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2559; 49(1): 10-6. DOI: 10.14456/jams.2016.14

หมายเลขบันทึก: 692747เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2021 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2021 10:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท