จิตร ภูมิศักดิ์ และภาพลักษณ์ในบริบททางการเมือง ตอนที่ 2


บทนำ

หลังจากประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นกษัตริย์อยู่ใต้ประชาธิปไตยในปี 1932 ประเทศก็ตกอยู่ในวังวนอุบาทว์ระหว่างรัฐบาลพลเรือนกับการรัฐประหารมาโดยตลอด ระบอบที่ให้อำนาจทหารเป็นใหญ่หลังจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ยุคพิบูลย์สงคราม ปี 1948-67, ยุคเผด็จการสฤษดิ์-ถนอม ที่นำโดยสฤษดิ์ และพรรคพวกของเขา ปี 1958 และ 1973, และยุคทหารราชานิยม ที่ปฏิวัติรัฐบาลของยิ่งลักษณ์และทักษิณในปี 2006 และ 2014 ตามลำดับ

ในระดับเผด็จการแต่ละยุค ยังเห็นการดำรงอยู่ของความชอบธรรมรัฐบาลและความต้องการการปฏิวัติทางสังคมอยู่ ดังที่ Craig Reynolds และ Lysa Hong ชี้ให้เห็น ในแต่ละยุค โดยเฉพาะในช่วง 2 ยุคแรก จะมีบรรยากาศของการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์, สังคม, เศรษฐกิจ, และการเมือง รวมครั้งวรรณกรรมเชิงจินตนาการที่ถูกปรุงแต่งโดยธรรมชาติของระบอบที่อยู่ในอำนาจตอนนั้น หากมองแบบหยาบๆแล้ว 3 ยุคของขบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมสามารถพบเจอได้

ในยุคแรกจะเป็นเรื่องของพวกคอมมิวนิสต์ไทยจีน หรือลูกจีน ในสำนวนของเกษียร เตชะพีระ ซึ่งมีความใกล้ชิดกับคอมมิวนิสต์จีนและเวียดนามก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อมๆกับการเข้าร่วมกับกบฏบวรเดช สุดท้ายแล้วพวกเขาจึงกลายเป็นนักโทษทางการเมือง บางคนเป็นพวกสื่อมวลชนและนักเขียนที่ร่วมกันสร้างพรรคคอมมิวนิสต์ในสยามในปี 1930 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในปี 1952 ยุคที่สองคือยุคนักวิชาการในเมืองลูกจีนและคนไทย ที่นำเสนอและเผยแผ่ลัทธิมาร์กซิสต์ และสังคมนิยมทั่วประเทศไทย ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ ระหว่างยุคพิบูลย์ และสฤษดิ์ ตั้งแต่ปลาย 1940 จนถึงยุค 1960 ยุคที่สามเป็นยุคนิสิตนักศึกษาที่ต่อต้านการปกครองแบบทหารของถนอมในปี 1973 และ 1976 และถูกบดขยี้โดยตำรวจและอำนาจเหนือทหารในการจลาจลในปี 1976 พวกนักศึกษาหลบหนีเข้าป่า และเข้าร่วมขบวนการที่ผิดกฎหมาย มันเป็นยุคหลังสงคราม ระหว่างนั้นมีรัฐบาลพลเรือนช่วงสั้นๆ ที่ลัทธิมาร์กซิสต์ได้กลายเป็นตลาดวัฒนธรรมในสังคมไทย โดยจะอยู่ในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ นอกเหนือจากหนังสือจำนวนมากมายแล้ว ยังมีหนังสือพิมพ์หัวรุนแรง เช่น มหาชน และนิตยสาร เช่น อักษรสาส์น ได้สร้างโดยกลุ่มสังคมนิยมและพวกมาร์กซิสต์ เช่น สุภา ศิริมานนท์, อัศนี พลจันทร์, ทวีป วรดิลก, และเสนีย์ เสาวพงศ์

ในบรรดานักวิชาการฝ่ายซ้ายในยุค 1950 เราไม่สามารถจะมองข้ามคนที่เป็นทั้งนักวิชาการ, นักดนตรี, และกวีที่ชื่อจิตร ภูมิศักดิ์ได้เลย (1930-66) ได้เลย เขาเกิดก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงเล็กน้อย เขาเติบโตมาในบรรยากาศของการต่อต้านอเมริกา ในขณะที่สังคมนิยมกำลังเฟื่องฟู เขาเป็นหนึ่งในหมู่นักเขียนสังคมนิยมซึ่งได้รับอิทธิพลจากพวกสังคมนิยมรุ่นก่อนๆ แต่สิ่งที่ทำให้เขาแตกต่างจากนักสังคมนิยมและนักมาร์กซิสต์คนอื่นๆก็คือ งานของเขาได้ถูกห้าม แต่ก็เป้นแรงบันดาลใจให้กับนักกิจกรรมอายุน้อยคนอื่นๆ ปี 2016 เป็นปีที่เขาตายครบ 50 ปี มันจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะอธิบายว่าภาพลักษณ์ของเขาเปลี่ยนแปลงอย่างไรตลอดช่วงเวลาจากคอมมิวนิสต์ เป็นนักปฏิวัติ เป็ฯนักวิชาการ และเป็นที่ปรึกษา  บทความนี้ตั้งใจทบทวนชีวิตของจิตรและงาน โดยการเน้นไปที่การสร้างภาพลักษณ์จากคนต่างกลุ่ม เช่น ระบอบทหาร พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย นักกิจกรรรมการเมือง และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น จากยุค 1970จนถึงปัจจุบัน เพื่อประกอบการอธิบายถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันในประเทศไทยตลอดช่วงประวัติศาสตร์

จาก Piyada Chonlaworn. Jit Phummisak and His Image in Thai Political Contexts.

หมายเลขบันทึก: 692751เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2021 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2021 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท