กลืนง่าย หายกลัว ด้วยกิจกรรมบำบัด


Phagophobia (กลัวการกลืน)

         Phagophobia (กลัวการกลืน) เป็นความหวาดกลัวอย่างไม่มีเหตุผลของการกลืนหรือสำลัก เป็นโรควิตกกังวลที่ทำให้บางคนทุกข์ทรมานจากความคิดว่าจะไม่สามารถกลืนอาหารที่กินได้หรือกลัวว่าจะมีเศษอาหารตกเข้าไปในหลอดลมระหว่างการเคี้ยวจนทำให้เกิดอาการสำลักได้

ภาวะที่ทำให้กลัวการกลืน

  1. กลืนและหายใจไปพร้อมกัน 
  2. ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ฝั่งใจ
  3. หายใจไม่ออก และมีอาการกลัวทันที (ตกใจกลัว)

การให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัด : โดยจะแบ่งการรักษาเป็น 3 สัปดาห์ และในแต่ละวันแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 5 มื้อ โดยก่อนการฝึกจะทำการทำการประเมินความสามารถในการกลืนของอาหารระดับต่างๆ

Week 1

ช่วงเช้า : ควรฝึกการกลืนอาหารก่อน 9 โมง

  • หลังตื่นนอน : ทบทวนรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ทำให้เรากลัว เอาชนะความกลัวด้วยการตั้งใจเป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆ จำนวนรอบแปรผันตามกับคะแนนความกลัว จาก 1-10 คะแนน
  • ก่อนฝึกกลืนอาหาร : ให้ฝึกออกกำลังจิตให้คิดบวกกับฝึกออกกำลังใจให้มีสมาธิ : หลับตา หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ นับ 1-2-3 แล้วค้าง เก็บลมไว้ที่ปอด นับในใจต่อ 1-2 แล้วหายใจออกยาวๆ ช้า นับในใจ 1-2-3-4 ทำไปเรื่อยๆ 10-15 นาที
  • ฝึกจินตนาการภาพขณะฝึกกลืนอาหาร
  • ให้จินตนาการภาพขณะรับประทานที่อรอย กินเก่ง กินได้ทุกอย่าง แล้วปรับภาพใช้ชัด เมื่อใดมีภาพความกลัวสอดแทรกเข้าให้พูดดังๆ 3 ครั้ง กับตัวเองว่า “ ลบออกไป มั่นใจ กลืนได้ดี ”
  • เป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆ 3 ครั้งในท่าคอตรง แล้วก้มคอเล็กน้อยเพื่อกลืนน้ำลาย
  • หายใจเข้าแล้วออกทางจมูก นับเป็น 1 รอบ แล้วทำต่ออีก 2 รอบ
  • เคี้ยวอาหารนิ่มๆ ชิ้นเล็กๆ หลับตา ก้มคอเลผ้กน้อย แล้วค่อยๆกลืนอย่างช้าๆ
  • ถ้ารู้สึกไม่ดีให้ก้มคอไว้ แล้วลืมตา ค่อยๆฝืนกลืนอย่างช้าๆ เท่าที่จะทำได้ใน 1-3 นาที สามารถบ้วนทิ้งเมื่อกลืนได้ไม่หมด
  • ถ้ากลืนหมดให้ลองอีกสัก 3 คำ ทำเท่าที่ทำได้

ช่วงสาย : ฝึกการกลืนโดยใช้ผักผลไม้ ส่วนวิธีการทำแบบเดียวกับในตอนเช้า

ช่วงกลางวัน : ฝึกการกลืนโดยใช้วิธีการแบบเดียวกับในตอนเช้า

ช่วงบ่าย : ฝึกการกลืนโดยใช้วิธีการแบบเดียวกับในตอนเช้า

ช่วงตอนเย็น : ฝึกการกลืนโดยใช้วิธีการแบบเดียวกับในตอนเช้า และไม่ควรฝึกกลืนอาหารเกิน 1 ทุ่ม

ช่วง 21.00-23.00 น. : ควรทำการอบอุ่นร่างกายเพื่อปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร-ระบบหายใจ-ระบบขับถ่าย โดยการยืดเหยียดร่างกายเบาๆ หรือทำโยคะ

 

Week 2 : grade up ชนิดอาหารตามหลัก IDDSI

ช่วงเช้า : ควรฝึกการกลืนอาหารก่อน 9 โมง

  • ก่อนฝึกกลืนอาหาร : ให้ฝึกออกกำลังจิตให้คิดบวกกับฝึกออกกำลังใจให้มีสมาธิ : หลับตา หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ นับ 1-2-3 แล้วค้าง เก็บลมไว้ที่ปอด นับในใจต่อ 1-2 แล้วหายใจออกยาวๆ ช้า นับในใจ 1-2-3-4 ทำไปเรื่อยๆ 10-15 นาที
  • ขณะฝึกกลืนอาหาร
  • ให้จินตนาการภาพขณะรับประทานที่อรอย กินเก่ง กินได้ทุกอย่าง แล้วปรับภาพใช้ชัด เมื่อใดมีภาพความกลัวสอดแทรกเข้าให้พูดดังๆ 3 ครั้ง กับตัวเองว่า “ ลบออกไป มั่นใจ กลืนได้ดี ”
  • เริ่มฝึกการกลืนด้วยอาหารที่ชอบตามระดับอาหารที่ผู้บริการสามารถกลืนได้
  • แบ่งอาหารเป็นคำเล็กๆ 
  • ก่อนการตักอาหารเข้าปาก ให้ฝึกขยับฟันบนและฟันล่างให้สบกัน แล้วใช้ลิ้นแตะนับฟันบนและฟันล่าง 3-5 รอบ
  • ตักอาหารคำเล็กเข้าปาก หลับตาแล้วค่อยๆ ใช้ลิ้นตวัดอาหารไปที่ฟันกรามล่างสลับซ้ายขวาอย่างช้าๆ ข้างละ 5 วินาที แล้วกลืนลงขณะก้มคอ หรือจิบน้ำเล็กน้อยแล้วก้มคอกลืน 2 ครั้ง
  • ผู้บำบัดสามารถกระตุ้นให้ผู้รับบริการตักอาหารเข้าปากตรงกลางลิ้น

ช่วงสาย : ฝึกการกลืนโดยใช้ผักผลไม้ ส่วนวิธีการทำแบบเดียวกับในตอนเช้า

ช่วงกลางวัน : ฝึกการกลืนโดยใช้วิธีการแบบเดียวกับในตอนเช้า

ช่วงบ่าย : ฝึกการกลืนโดยใช้วิธีการแบบเดียวกับในตอนเช้า

ช่วงตอนเย็น : ฝึกการกลืนโดยใช้วิธีการแบบเดียวกับในตอนเช้า และไม่ควรฝึกกลืนอาหารเกิน 1 ทุ่ม

ช่วง 21.00-23.00 น. : ควรทำการอบอุ่นร่างกายเพื่อปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร-ระบบหายใจ-ระบบขับถ่าย โดยการยืดเหยียดร่างกายเบาๆ หรือทำโยคะ พร้อมกับฝึกทำ Oro-motor exercise 

  • การบริหารและควบคุมขากรรไกร (Jaw exercise and Jaw control) : เน้นให้ผู้ป่วยขยับควบคุมริมขากรรไกรโดยตั้งใจหรือให้แรงต้านร่วมด้วยตัวอย่างกิจกรรมการฝึก เช่น อ้าปากกว้างค้างไว้ 5 วินาทีและออกเสียง “อา” แล้วปิดปากให้ฟันชนกัน
  • การบริหารลิ้น (Tongue exercise) : เน้นให้ผู้ป่วยขยับควบคุมลิ้นโดยตั้งใจหรือให้แรงต้านร่วมด้วยตัวอย่างกิจกรรมการฝึก เช่น ให้ผู้ป่วยพูด “ลาลาลา” “คาคาคา” ซ้ำหลายๆรอบ
  •  

Week 3 : grade up ชนิดอาหารตามหลัก IDDSI

ช่วงเช้า : ควรฝึกการกลืนอาหารก่อน 9 โมง

  • หลังตื่นนอน : ฝึกทำ Swallowing exercise 

1.Shaker exercise 

-ท่าที่1 ให้นอนหงาย ยกศีรษะขึ้นและก้มเพื่อดูปลายเท้า ค้างไว้60วินาที จากนั้นให้ผ่อนศีรษะลงพื้นและพัก60วินาที(ทำซ้ำ3ครั้ง) ในระหว่างที่ทำให้หายใจปกติ ไม่กลั้นหายใจและไม่หนุนหมอน 

-ท่าที่2ให้ยกศีรษะขึ้นเพื่อดูปลายเท้า และผ่อนศีรษะลง โดยไม่ต้องค้างไว้(ทำซ้ำ30ครั้ง)

2.Jaw opening exercise : อ้าปากให้หว้างที่สุดแล้วค้างไว้ 5-10 วินาที พัก 10 วินาที ทำซ้ำ 6-10 ครั้ง

3.การออกกำลังกายแบบมีแรงต้านของกล้ามเนื้อลำคอ : ใช้ลูกบอลยางขนาดพอเหมาะไว้ระหว่างใต้คางกับอก พยายามอ้าปากเพื่อกดลูกบอลค้างไว้ 60 วินาที ทำ 3 รอบ

  • ก่อนฝึกกลืนอาหาร : ให้ฝึกออกกำลังจิตให้คิดบวกกับฝึกออกกำลังใจให้มีสมาธิ : หลับตา หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ นับ 1-2-3 แล้วค้าง เก็บลมไว้ที่ปอด นับในใจต่อ 1-2 แล้วหายใจออกยาวๆ ช้า นับในใจ 1-2-3-4 ทำไปเรื่อยๆ 10-15 นาที
  • ขณะฝึกกลืนอาหาร

-ให้จินตนาการภาพขณะรับประทานที่อรอย กินเก่ง กินได้ทุกอย่าง แล้วปรับภาพใช้ชัด เมื่อใดมีภาพความกลัวสอดแทรกเข้าให้พูดดังๆ 3 ครั้ง กับตัวเองว่า “ ลบออกไป มั่นใจ กลืนได้ดี ”

-เริ่มฝึกการกลืนด้วยอาหารที่ชอบตามระดับอาหารที่ผู้บริการสามารถกลืนได้

-แบ่งอาหารเป็นคำเล็กๆ 

-ก่อนการตักอาหารเข้าปาก ให้ฝึกขยับฟันบนและฟันล่างให้สบกัน แล้วใช้ลิ้นแตะนับฟันบนและฟันล่าง 3-5 รอบ

-ตักอาหารคำเล็กเข้าปาก หลับตาแล้วค่อยๆ ใช้ลิ้นตวัดอาหารไปที่ฟันกรามล่างสลับซ้ายขวาอย่างช้าๆ ข้างละ 5 วินาที แล้วกลืนลงขณะก้มคอ หรือจิบน้ำเล็กน้อยแล้วก้มคอกลืน 2 ครั้ง

-ผู้บำบัดสามารถกระตุ้นให้ผู้รับบริการตักอาหารเข้าปากตรงกลางลิ้น

ช่วงสาย : ฝึกการกลืนโดยใช้ผักผลไม้ ส่วนวิธีการทำแบบเดียวกับในตอนเช้า

ช่วงกลางวัน

  • ก่อนการฝึกกลืนอาหารให้ฝึกทำ swallowing exercise 
  • ฝึกการกลืนโดยใช้วิธีการแบบเดียวกับในตอนเช้า

ช่วงบ่าย : ฝึกการกลืนโดยใช้วิธีการแบบเดียวกับในตอนเช้า

ช่วงตอนเย็น : ฝึกการกลืนโดยใช้วิธีการแบบเดียวกับในตอนเช้า และไม่ควรฝึกกลืนอาหารเกิน 1 ทุ่ม

ช่วง 21.00-23.00 น. : ควรทำการอบอุ่นร่างกายเพื่อปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร-ระบบหายใจ-ระบบขับถ่าย โดยการยืดเหยียดร่างกายเบาๆ หรือทำโยคะ พร้อมกับฝึกทำ Oro-motor exercise 

  • การบริหารและควบคุมขากรรไกร (Jaw exercise and Jaw control) : เน้นให้ผู้ป่วยขยับควบคุมริมขากรรไกรโดยตั้งใจหรือให้แรงต้านร่วมด้วยตัวอย่างกิจกรรมการฝึก เช่น อ้าปากกว้างค้างไว้ 5 วินาทีและออกเสียง “อา” แล้วปิดปากให้ฟันชนกัน
  • การบริหารลิ้น (Tongue exercise) : เน้นให้ผู้ป่วยขยับควบคุมลิ้นโดยตั้งใจหรือให้แรงต้านร่วมด้วยตัวอย่างกิจกรรมการฝึก เช่น ให้ผู้ป่วยพูด “ลาลาลา” “คาคาคา” ซ้ำหลายๆรอบ

สิ่งที่ควรคำนึงถึง

  1. รสชาติอาหาร : ถ้าหากอาหารมีรสจัดหรือกลิ่นฉุดจนเกิน อาจจะกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอมากขึ้นและสำลักได้
  2. ความชอบอาหารของผู้ป่วย : ช่วยกระตุ้นความอยากอาหารมากขึ้น
  3. โภชนาการทางอาหาร : ใน 1 สัปดาห์ ควรมีการจัดเตรียมอาหารฝึกให้หลากหลาย 
  4. อาการสำลักเงียบ : จะเกิดขึ้นระหว่างที่มีการรับประทานพร้อมทั้งพูดคุยร่วมด้วย ดังนั้นควรจัดสภาพแวดล้อมให้เงียบ สงบ เพื่อเพิ่มสมาธิขณะฝึกกลืนอาหาร
  5. โรคประจำตัว : ควรดัดแปลงอาหารให้เหมาะสมกับโรคประจำตัวผู้รับบริการ ร่วมถึงอาการแพ้ต่างๆร่วมด้วย

 

อ้างอิง

สุรชาติ,/ทองชุมสิน.//(2564).//Swallowing rehabilitation.

ศุภลักษณ์,/เข็มทอง.//(2563).//บทที่5สมดุลสมองเพื่อการบำบัด.//
ใน//กิจกรรมการดำเนินชีวิตจิตเมตตา.//หน้า76-78.//กรุงเทพฯ://แสงดาว.

ศุภลักษณ์,/เข็มทอง.//(2563).//บทที่6การเอาใจใส่เพื่อการบำบัด.//
ใน//กิจกรรมการดำเนินชีวิตจิตเมตตา.//หน้า100-103.//กรุงเทพฯ://แสงดาว.

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 692570เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2021 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2021 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท