ความแตกต่างของ ECG ท่านั่งกับท่านอน ในเด็ก


https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/241472


แม้ว่าท่านอนจะเป็นท่ามาตรฐานในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiograph; ECG) แต่สำหรับวัยเด็ก เล็กอายุที่อายุน้อยกว่า 5 ปีนั้น ส่วนใหญ่มักไม่ให้ความร่วมมือในการนอนตรวจ ซึ่งบ่อยครั้งจ าเป็นจะต้องใช้ท่านั่งในการ ตรวจแทน จึงเกิดค าถามว่าท่านั่งที่ใช้ตรวจ ECG เด็กนั้นจะให้ผลเหมือนหรือแตกต่างกันกับท่านอนหรือไม่อย่างไร และ จากการทบทวนงานวิจัยพบว่าผลงานที่มีการศึกษาเปรียบเทียบท่าทางที่ส่งผลต่อ ECG นั้นส่วนมากเป็นการศึกษาใน ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ ส่วนในวัยเด็กนั้นยังมีน้อย ส่วนใหญ่มุ่งศึกษาประเด็น QTc เป็นหลัก จึงท าการศึกษาวิจัยแบบย้อนหลัง เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของ ECG ทั้งสองท่าทางขึ้นเพื่อน าผลที่ได้ไปใช้อธิบายและปรับปรุงกระบวนการให้บริการ ตรวจ ECG โดยศึกษาย้อนหลังจากการทบทวนผล ECG ในผู้ป่วยเด็กไทย อายุ 3 -11 ปี จ านวน 120 คู่ (240 leads) ที่ ได้รับการตรวจทั้งสองท่าต่อเนื่องกันทันทีหรือห่างกันไม่เกิน 30 นาที ด้วยการนับจำนวนช่องของ P duration, PR interval, P voltage, QRS duration, QRS voltage, QT interval, T duration, T voltage น าค่าที่ได้ของทั้งสองท่า เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ Pair T-Test ผลการวิจัยพบว่า ECG เด็กที่ได้จากทั้งสองท่าจะให้ค่าส่วนใหญ่ไม่ ต่างกัน ยกเว้นค่า QRS voltage ของ Chest leads ในท่านอนเท่านั้นที่จะให้ค่าสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value < 0.05) โดยสูงกว่าประมาณ 3 ช่อง (0.3 mV) ซึ่งค่า QRS voltage จะมีความสำคัญในแง่การบอก Cardiac morphology โดยเฉพาะภาวะ Ventricular hypertrophy

หมายเลขบันทึก: 692457เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2021 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2021 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท