แนะนำแอปพลิเคชันพัฒนาสติ ฝึกสมาธิ จิตคิดดี (Mindfulness related application)


 ในปัจจุบัน เทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในชีวิตเราหลายด้านรวมไปถึงสุขภาวะทางกายและใจ บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับแอปพลิเคชันพัฒนาสติที่มีหลักฐานงานวิจัยรองรับที่น่าสนใจและความคิดเห็นทางด้านกิจกรรมบำบัดต่อแอปพลิเคชันพัฒนาสติที่มีอยู่ในปัจจุบัน

 อ้างอิงจากบทความเรื่อง 7 evidence based mental health app ของ dr.john M. Grohol , PsyD และบทความเรื่อง 10 free mental health app ที่ได้รับการยืนยันจาก dr. tiffany taft , PsyD  ในเว็บไซต์ psychcentral ทีมผู้เขียนบทความมีแอปพลิเคชันนำเสนอ ดังนี้ 

 

Application base on Cognitive Behavioural Therapy (CBT)

1. Mindshift 

ใช้วิธีการที่มีพื้นฐานจาก cognitive behavior therapy เพื่อช่วยในการเรียนรู้วิธีการผ่อนคลาย มีสติจดจ่อ และพัฒนาความคิดที่ทางที่ดีขึ้น เปลี่ยนแปลงตนเองทีละขั้นเพื่อความวิตกกังวล ในภาวะ anxiety พัฒนาโดย anxiety canada 

หลักการ  CBT-base tools 

- check mood บอกอารมณ์ของตนเองผ่าน emoticon 5 อารมณ์

- identify anxiety ผ่าน self awareness

- thought journal ประเมินความคิดตนเอง ตั้งคำถามความคิด รับรู้แบบความคิดที่บิดเบือน ปรับแก้ความคิด

- coping card ให้ผู้รับบริการแปลการรับรู้ใหม่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เปลี่ยนมุมมองช่วยให้เกิดความคิดต่อตัวเองในทางที่ดี

- set goal เริ่มจากเป้าหมายที่สำเร็จได้ง่าย เพื่อปรับพฤติกรรม

- chill zone เป็น relaxation technique

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

การใช้งาน Mindshift app ในกลุ่ม young adult  พบว่ามีผลลด somatic anxiety, general anxiety และพึงพอใจกับการใช้งาน 

 (https://link.springer.com/article/10.1007/s41347-018-0074-2)

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.anxietycanada.com/resources/mindshift-cbt

2. Intellicare Hub 

จัดการการใช้งานแอปพลิเคชันในรูปแบบต่างๆโดยแนะนำให้เหมาะสมกับปัญหาทางจิตใจของแต่ละบุคคล แอปพลิเคชันที่แนะนำจาก intellicare hub มีการสนับสนุนจากงานวิจัยของ The National Institutes of Health (NIH) และมีพื้นฐานมาจาก cognitive behavioral therapy (CBT) พัฒนาโดย Northwestern University's Center for Behavioral Intervention Technologies

- History สำหรับดูภาพรวมการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ในแต่ละวันโดยจดบันทึกอารมณ์และความคิดที่ก่อให้เกิดอารมณ์นั้น

- Assessments ทำแบบประเมินลักษณะแบบสอบถามจากนั้น IntelliCare Hub จะแนะนำแอปพลิเคชั่นของ Intellicare suit ในส่วน App section

- Resources แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ “Get Help Now” เบอร์โทรติดต่อฉุกเฉินกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงหรืออันตราย “Let’s Learn” ใช้เทคนิค psychoeducation ให้ความรู้และข้อมูลในการดูแลตนเองและผู้อื่น

Apps range  Worry Knot (for anxiety), Boost Me (for stress and depression), and My Mantra (find your inspiring words), to Aspire (what is your aspiration?), Daily Feats (recognize your daily achievements) and Thought Challenger (challenge negative thoughts).

ความคิดเห็นเพิ่มเติม

  • ปัจจุบันแอปพลิเคชันไม่ได้เปิดใช้งานในภูมิภาคเอเชีย แต่รูปแบบแอพพลิเคชันมีความน่าสนใจ มีการบันทึกอารมณ์ สอบถามความคิด เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง เบอร์ติดต่อฉุกเฉิน รวมถึงคัดเลือกแอปพลิเคชันที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับโรคทางจิตเวชสำหรับบุคคลนั้น หากนำมาพัฒนาในบริบทไทยจะเกิดประโยชน์ได้มาก

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มตัวอย่างหลังจากใช้งาน coach-supported platform ผ่าน IntelliCare suite  เทียบกับกลุ่มควบคุมที่รับการรักษาตามปกติพบว่า ในกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การใช้งานแอปพลิเคชันช่วยลดอาการ anxiety , depression อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม

https://jamanetwork.com/journals/jamapsychiatry/article-abstract/2766444

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://onemindpsyberguide.org/apps/intellicare-hub/


Application base on relaxation technique and stress management (biofeedback)

Bellybio 

ตัวช่วยในการหายใจลึก พัฒนาโดย relaxline เหมาะสำหรับ ลด stress , chronic pain

หลักการ

  • Biofeedback คือการ feedback เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของช่องท้องขณะการหายใจ ตรวจสอบใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องในการควบคุมการหายใจและให้feedback mechanismแสดงผลในโทรศัพท์เพื่อควบคุมการหายใจให้ช้าลง เริ่มต้นโดยให้นั่ง/นอนในท่าที่สบาย วางโทรศัพท์บนหน้าท้อง ถ้าหายใจได้ลึกและช้า เพลงผ่อนคลายจะเริ่มต้นขึ้น

ความคิดเห็นเพิ่มเติม

  • แอปพลิเคชันนี้เหมาะสำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับการทำ breathing exercise หรือมีความรู้เบื้องต้นในการหายใจอย่างถูกต้อง เนื่องจากไม่มีการสอนการหายใจในแอปพลิเคชัน หากทำร่วมกันคาดว่าจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

กลุ่มตัวอย่าง visual instruction ที่มี biofeedback เพิ่มเติมให้รายงานว่ารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มี visual instruction เท่านั้นอาจเพิ่มcognitive workload ในการทำตามคำสั่ง

https://mhealth.jmir.org/2019/9/e13703/

 

Application base on relaxation technique and stress management (meditation)

Mylife meditation

พัฒนาโดย stop , breath and think เหมาะสำหรับ ลด stress , anxiety , depression

เริ่มต้นโดยการ “เช็กอิน” ก่อนเข้าสู่การนั่งสมาธิว่าขณะนั้นเรากำลังรู้สึกอย่างไร ประเมินระดับความเครียดและอารมณ์ของตนเอง แอปจะมีการแนะนำการนั่งสมาธิ หรือโยคะที่เหมาะสมมาให้ มีตั้งแต่การนั่งสมาธิเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ไปจนถึงการฝึกแบบระยะยาว เพื่อช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดหรือความกังวล

ความคิดเห็นเพิ่มเติม

  • MyLife Meditation อาจเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เป็นส่วนเสริมหรือติดตามผลการแทรกแซงที่นำโดยมืออาชีพที่กำหนดเป้าหมายมากขึ้น  ไม่ได้ใช้แทนการบำบัดทางจิต ( psychological therapy ) ไม่มีคุณลักษณะเฉพาะของแอปพลิเคชันที่กล่าวถึงหรืออ้างอิงถึงความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ในด้านการทำบันทึกประจำวัน ฟีดของการเช็คอินและการออกกำลังกายที่ใช้อาจเป็นประโยชน์สำหรับแพทย์ในการตรวจสอบในช่วงการบำบัดรักษา ข้อมูลนี้อาจช่วยให้แพทย์ได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสภาพจิตใจของผู้รับบริการในระหว่างเซสชันในการรักษาและทักษะการจัดปรับตัวและการจัดการปัญหา  แพทย์อาจแนะนำ mindfulness based apps  เช่น  MyLife Meditation เมื่อการรักษาเสร็จสิ้นเพื่อเป็นตัวช่วยเพื่อให้ลูกค้าได้ฝึกสติ สร้างความยืดหยุ่น และรักษาความก้าวหน้าได้รับจากการรักษา (Ruth Buckmaster, Ph.D )

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ผู้เข้าร่วมทั้งหมด 13,393 คนตลอดระยะเวลาการวิจัย  พบว่าผลกระทบระยะยาวของแอปพลิเคชันสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในสภาวะอารมณ์พื้นฐาน โดยเพิ่มอารมณ์เชิงบวก 4%  ในบุคคลที่วิตกกังวลหรือซึมเศร้ามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนอารมณ์ในระยะยาว (เช่น จากอารมณ์เศร้าเป็นอารมณ์ที่มีความสุขมากขึ้น) หลังจากใช้แอปพลิเคชันเป็นระยะเวลานาน

 https://mental.jmir.org/2019/5/e12617/

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://my.life

 

Application base on self reflective strategies & OA

Bullet journal

Bullet Journal ถูกคิดค้นและสร้างโดย ไรเดอร์ คาร์โรล โดยถูกนำเสนอในรูปแบบที่เป็นกลางระหว่างความคิดสร้างสรรค์และการสรรค์สร้าง ซึ่งถูกเรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมฝึกสมาธิที่ดีที่สุด วิธีการนี้ถูกอธิบายว่าเป็นกรอบการทำงานที่ยืดหยุ่น ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลายอย่างที่ถูกมัดรวมกันและจับเข้าด้วยกันตามความต้องการของคนที่ทำ ซึ่งประกอบไปด้วย personal dailyซึ่งใช้ในการวางแผนชีวิตประจำวัน personal weekly ใช้วางแผนประจำสัปดาห์ และpersonal monthly วางแผนประจำเดือน เพื่อช่วยให้ผู้คนออกแบบการใช้ชีวิตที่มีความหมายตามความต้องการ โดยสรุปแล้ว Bullet Journal เป็นกิจกรรมในการฝึกสติที่ดี ที่จะทำให้เราคิดถึงในสิ่งที่ทำและสะท้อนความรู้สึก รวมถึงนำมาตัดสินใจในการตั้งเป้าหมายต่อไป 

ดังนั้น Bullet Journal คือการผสมผสานระหว่าง mindfulness ความคิดสรรค์สร้าง และการคิดอย่างมีสุขภาวะ เพื่อเพิ่มความสงบในจิตใจ

(https://emilychatterton.com/wp-content/uploads/2021/03/Thesis.pdf)

 “การเขียนสิ่งที่ฉันต้องทำและอยากทำมันช่วยลดความเครียดของฉัน”

การเริ่มต้นทำ bullet journal

  1. ทำสิ่งพื้นฐาน - หาสมุดจด และปากกาสีๆ จะหัว0.3หรือ0.5ก็ได้
  2. หาแรงบันดาลใจ - ก่อนจะเริ่มทำต้องคิดก่อนว่ารูปแบบของbullet journalที่เราจะทำเป็นยังไงซึ่งหาได้เลยในสื่อออนไลน์
  3. ริเริ่มสร้างสรรค์ - ออกแบบให์เป็นตัวเอง โดยจะใช้สติ้กเกอร์ กระดาษสี เทป แสตมป์มาตกแต่ง
  4. ทำสารบัญ - หน้าสารบัญจะทำให้เราสามารถไล่เนื้อหาในแต่ละหน้าได้ง่ายขึ้น
  5. หากุญแจสำคัญ - ใช้ตัวเลข สัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อแยกแยะสิ่งต่างๆ เช่น • งาน ,# งานที่ทำเสร็จแล้ว, - นัด ,$ ซื้อของ เป็นต้น
  6. วางแผนอนาคต - บันทึกเหตุการณ์สำคัญหรือสิ่งที่ต้องการทำประจำแต่ละเดือน
  7. ทำการจดบันทึกรายสัปดาห์
  8. ทำการจดบันทึกรายเดือน ใช้ในการจดนัดหรือเหตุการณ์สำคัญ
  9. อพยพงานที่ทำไม่เสร็จ - ย้ายงานที่ทำไม่เสร็จในเดือนนี้ไปเดือนหน้า โดยหาสี่เหลี่ยม วงกลม หรือสัญลักษณ์อื่นๆที่จะแสดงถึงการเลื่อนไปเดือนหน้า ทำให้มั่นใจด้วยว่าเราจะต้องบันทึกและทำสิ่งต่างๆในแต่ละเดือน และถ้าสิ่งไหนถูกย้ายไปทำเดือนอื่นๆบ่อยๆ ก็เอามาพิจารณาได้ว่า จะทำต่อไม่
  10. ติดตามกิจวัตร - ติดตามทั้งพฤติกรรม การเงิน สุขภาพ ความก้าวหน้าต่างๆผ่านการ ทำเครื่องหมายถูก ทำแผนภูมิ หรือสีก็ได้ ให้รู้ว่าความก้าวหน้าเป็นไปในทิศทางไหน

(https://www.calmmoment.com/mindfulness/what-is-bullet-journalling/)

   จากบทความเรื่อง การระวังเรื่องความมืดมัว โดยไคล์ นิโลเลดส์ ได้รับการวินิจฉัยเป็น depression , anxiety เขาได้รับการแนะนำจากนักบำบัดในการทำ bullet journal เพื่อช่วยเรื่องจัดการอารมณ์ ความรู้สึก และเหตุการณ์ต่างๆในชีวิต ไคล์ระบุว่าการทำบันทึกนี้ใช้ได้ดีมาก

1.การจดบันทึกเกี่ยวกับความวิตกกังวล

ทุกครั้งที่เกิดความคิดลบๆที่ปราศจากความระมัดระวังให้เริ่มจดบันทึก ในตอนที่มีความซึมเศร้าหรือวิตกกังวล ถ้ารู้เท่าทันความรู้สึก จะช่วยให้เข้าใจถึงความวิตกกังวลที่เผชิญ วางแผนและเปลี่ยนแปลงกิจวัตรที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลนั้น 

มีวิธี 3 ขั้นตอน คือ

1.1) เมื่อฉันรับรู้ว่าตัวเองกำลังวิตกกังวลหรือมีความคิดที่ลบ ฉันจะต้องการเปลี่ยนแปลงมัน หยิบสมุด และจดลงไปว่าความวิตกเหล่านั้นเป็นยังไง

2.1) เขียนกลไกที่เกิดขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้นก่อนที่ฉันจะรู้สึกกังวล อะไรที่นำพาฉันมาสู้ความวิตกกังวล ฉันกำลังคิดเรื่องอะไรอยู่ อยู่กับใคร ฉันกำลังทำอะไร และฉันอยู่ที่ไหน

3.1) เขียนวิธีการแก้ หรือ สิ่งที่ทำง่ายๆที่ทำได้ เพื่อช่วยให้มีความรู้สึกที่ดีขึ้นได้เร็วที่สุด

2. ช่องบันทึกอารมณ์

ช่องบันทึกประจำวันของแบบบันทึกรายสัปดาห์ในหัวข้ออารมณ์ อาจบันทึกตอนเข้านอน คิดว่าวันนี้ฉันรู้สึกยังไง จากนั้นสะท้อนทุกอย่างที่เกิดขึ้นในหนึ่งวัน และเขียนสื่อตรงกับความรู้สึกจริง ทบทวนถึงสิ่งต่างๆเกิดขึ้น ทำให้ได้รู้ใจตัวเองถึงสิ่งที่ฉันต้องการ ออกจากอารมณ์ที่ไม่ดี และรู้ได้ว่าความเศร้าและความเครียดมาเกิดขึ้นมาได้ยังไง รวมถึงย้อนดูในอดีตว่าเราผ่านแต่ละวันมาได้ยังไงและเห็นถึงเปลี่ยนแปลง ทั้งได้อารมณ์ ร่างกาย และจิตใจ

 3. บันทึกของหัวใจ

การเป็นโรคซึมเศร้ามันอาจจะต้องเจอทั้งเสียงที่มาจากความคิดและหัวใจ ซึ่งการบันทึกในส่วนนี้ จะบันทึกแค่สิ่งที่มาจากหัวใจเท่านั้น จึงเรียกได้ว่าการจดบันทึกส่วนนี้ เป็นการบันทึกทุกอย่างที่เราต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งก็การจดบันทึกในsafe zone ของฉัน

4. การติดตามนิสัย

การเป็นโรคซึมเศร้า จะเกิดความรู้สึกแย่จากการทำงานไม่สำเร็จเป็นอย่างมาก การบันทึกติดตามนิสัยจึงเป็นส่วนที่จะทำให้เรามีสติและอดทนที่จะทำกับสิ่งต่างๆได้มากขึ้น รวมถึงยังทำให้เรายืดหยุ่นกันตัวเองได้มากกว่าเดิมอีก

5.คู่มือการดูแลตัวเอง

คำจำกัดความของคำว่าดูแลตัวเองก็คือทำสิ่งที่คุณทำแล้วมีความสุข ซึ่งคุณสามารถบันทึกการทำสิ่งเหล่านั้นได้ในหน้านี้

6.การจดบำบัดประจำสัปดาห์

คือการจดบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการทบทวนทั้งตนเอง เหตุการณ์และเป้าหมายในระยะเวลา1 สัปดาห์

(https://bulletjournal.com/blogs/bulletjournalist/slaying-anxiety-and-depression

   นอกจากนี้การติดตามพฤติกรรมตนเองแบบที่ใช้เทคโนโลยี มีประโยชน์ที่มีศักยภาพมากกว่าการติดตามตัวเองโดยใช้สมุดจด แต่อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีนั้นจะมีความเคร่งครัดในเชิงปฏิบัติ หากใช้ Bullet journal  จะสามารถออกแบบการจดบันทึก สะท้อนเรื่องราวต่าวๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวันด้วยตนเองและติดตามพฤติกรรมได้อย่างยืดหยุ่น จากการรวบรวมวิจัยที่เกี่ยวข้องกับbullet journal  พบว่า แต่ละบุคคลมีวิธีการปรับbullet journalให้เข้ากับชีวิตของตนเอง ดังนี้

1.การผสมผสานระหว่างสิ่งที่แต่ละคนให้คุณค่ากับการติดตามเข้าไป เช่น ติดตามอารมณ์ ติดตามอาการ ติดตามชีวิตประจำวัน

2. ฝึกสติ โดยใช้กลยุทธสะท้อนตนเอง (self reflection)

3. นำรูปbullet journalในpartของการติดตามตัวเองลงในสื่อออนไลน์เพื่อแบ่งปันและเรียนรู้ไปกับคนอื่นๆ

จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ดูสัมพันธ์กันคือ ความยืดหยุ่น และ การฝึกสติของตนเอง เพราะการติดตามชีวิตตนเองก็คือกิจกรรมฝึกสติอย่างหนึ่ง

 (https://dl.acm.org/doi/abs/10.1145/3173574.3173602)

แอปพลิเคชันแนะนำ

  1. elisi มี feature ค่อนข้างคลอบคลุมทั้ง planner , note , list , habit , expense , dairy
  2. goodnote สำหรับคนที่มีแอพอยู่แล้ว เหมาะกับนักเรียน นักศึกษา ใช้งานได้ง่าย สร้างสมุดและใช้ template ดาวน์โหลดแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายในเว็บไซต์ต่างๆหรือออกแบบด้วยตนเอง
  3. daylio เป็นภาษาอังกฤษ ใช้ศัพท์ไม่ยาก และมีiconตัวการ์ตูน ทำให้เข้าใจง่าย ใช้งานสะดวก มีระบบแจ้งเตือนให้ทำตามเป้าหมายที่ตั้ง รวมถึงสามารถตั้งเวลาเพื่อให้สามารถเข้ามาเขียนบันทึกได้ทุกวัน
  4. note เป็นแอพที่ติดตัวเครื่องมาตั้งแต่แรก ไม่ต้องดาวน์โหลด หรือเสียเงินเพื่อซื้อ สามารถออกแบบหัวข้อการเขียนได้ด้วยตนเอง ใช้ได้ทั้งโทรศัพท์มือถือและไอแพด

ความคิดเห็นเพิ่มเติม

  • Application มีการกำหนดรูปแบบการเขียนและหัวข้อในการบันทึกไว้ชัดเจน ไม่สามารถเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงได้ หรือหากต้องการเพิ่มเติมจะต้องมีการจ่ายเงินเพิ่มเติม แต่ลักษณะปัญหาของผู้ใช้งาน รวมถึงความสนใจในการจดบันทึกนั้นมีหลากหลายรูปแบบ applicationจึงควรเพิ่มอิสระในการออกแบบการเขียนของผู้ใช้งานด้วย
  • Applicationมีความเหมาะสมกับแค่บางdeviceเท่านั้น
  • Applicationยังไม่มีการประเมินผลที่ชัดเจนเกี่ยวกับprogressive ของผู้ใช้งานที่จะเปลี่ยนแปลงหลังการใช้งาน

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 จากการวิจัยเกี่ยวกับการเขียนบันทึก แบ่งผู้ทดลองออกเป็น2กลุ่ม ซึ่งทั้ง2กลุ่มเป็นผู้ป่วยในศูนย์สุขภาพ กลุ่มแรกให้เขียนบันทึกเกี่ยวกับintensely positive experience โดยมีผู้ทดลอง48คน อีกกลุ่มให้เขียนบันทึกเกี่ยวกับหัวข้อที่กำหนดไว้โดยทั้ง2กลุ่มจะทำการเขียนบันทึกทั้งหมด20นาที เป็นจำนวน3เดือนติดต่อกัน และจะมีการวัดระดับอารมณ์(mood)ทั้งก่อนและหลังการเขียนเพื่อเปรียบเทียบ ผลจากการวิจัยพบว่าการเขียนบันทึกเกี่ยวกับintensely  positive experienceส่งผลให้คนมีความคิดเชิงบวกมากขึ้น ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจำนวนของผู้ป่วยในศูนย์สุขภาพที่มีจำนวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองที่ให้เขียนบันทึกในหัวข้อที่กำหนดไว้ ผลการทดลองจึงเป็นการอธิบายถึงถึงกลไกของการเขียนเชิงบวกที่ให้ผลเชิงบวก

(https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0092656603000588)

ทำการทดลอง ให้พนักงานมหาลัย41คนมาทำการจดบันทึก โดยแยก23คน เขียนบันทึกหัวข้อtraumatic topics และ18คนเขียนในหัวข้อnon-traumatic topics 20นาทีต่อครั้ง ครั้งละสัปดาห์ เป็นเวลา4สัปดาห์ติดต่อกัน ผลออกมาคือ อัตราการขาดงานของคนกลุ่มคนที่เขียนบันทึกเรื่องtraumatic topicsลดลงถึง28.7%เมื่อเทียบกับ8เดือนก่อนหน้า ขณะที่กลุ่มที่เขียนเกี่ยวกับหัวข้อnon-traumatic topics มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการขาดงานถึง48.5% จึงเป็นการสรุปว่ากลยุทธ์เกี่ยวกับการเขียนมีความหลากหลาย ถูกนำไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพได้หลายทาง ซึ่งลักษณะการเขียนในรูปแบบที่ระบายเกี่ยวกับสิ่งที่กระทบกระเทือนจิตใจนั้นก็มีส่วนช่วยในการส่งเสริมสุขภาพให้ดีขึ้นได้

(https://journals.sagepub.com/doi/10.4278/0890-1171-6.4.280)


 

ความคิดเห็นทางกิจกรรมบำบัดและปัญหาในคนไข้สุขภาพจิตจากแอปพลิเคชันในปัจจุบัน

จากการศึกษาในปี 2021 โดยการสัมภาษณ์แบบ semi-structure จากจิตแพทย์และแพทย์ประจำบ้านรวมถึงผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคซึมเศร้าเมื่อ 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่าสิ่งที่แพทย์และผู้ป่วยต้องการในแอปพลิเคชันสำหรับโรคซึมเศร้า คือ ใช้งานง่ายเข้าใจง่ายและเหมาะกับบริบทของแต่ละบุคคล พวกเขาเหล่านี้ยังหวังว่าจะมีแอปพลิเคชันที่ให้ความรู้โรคซึมเศร้า วิธีการสังเกตตัวเองและวิธีจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

และยังมีอีก 3 ความคาดหวังหลัก ได้แก่

1. มีการสร้าง profile ของผู้ป่วยที่มีเวชระเบียนและข้อมูลทั่วไปรวมถึงใส่ข้อมูลกิจกรรมที่สนใจและงานอดิเรกของแต่ละคนเพื่อวางแผนและออกแบบโปรแกรมให้เหมาะสมกับผู้ป่วย  ควรให้กรอก mood chart เพื่อเช็กความถี่ ความรุนแรง เวลาที่มีอาการ และผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เพื่อเช็คอาการแต่ละวัน นอกจากนี้การติดตามเวลาทานยายังมีประโยชน์กับตัวผู้ป่วยอีกด้วย มี feature เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ เช่น มี feature ที่ช่วยเตือนความจำเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยลืมวันนัดพบแพทย์ เป็นต้น รวมถึงเกมสำหรับผ่อนคลายหรือ CBT Exercise ให้ผู้ป่วยใช้และข้อมูลผู้ป่วยและคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยแต่ละคนอ้างอิงจากทฤษฎีหรือกรอบอ้างอิงทางการแพทย์ให้แพทย์ใช้ นอกจากนี้ช่องทางการติดต่อสำหรับแพทย์และผู้ป่วยก็สำคัญเพื่อรายงาน mental state ขณะที่ผู้ป่วยใช้แอปพลิเคชัน ผู้ป่วยบางคนบอกว่าการอ่านเรื่องราวของผู้ป่วยที่ประสบความยากลำบากจากโรคซึมเศร้าเหมือนกันทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจและต้องการห้องแชทรวมสำหรับแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของกันและกันรวมไปถึงข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ หรือห้องแชทส่วนตัวสำหรับพูดคุยหัวข้อที่อ่อนไหวต่อศีลธรรม 

2. แอปพลิเคชันควรออกแบบสำหรับบุคคลที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยเพื่อให้เข้าถึงการรักษาโดยเร็ว ควรมี feature แยกสำหรับ caregiver ของผู้ป่วยโดยเฉพาะเพื่อให้ความรู้และวิธีการปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยกลับมาเป็นซ้ำ จากความคิดเห็นของทั้งแพทย์และผู้ป่วยต้องการให้บัญชีของผู้ป่วยกับเหล่าสหวิชาชีพเชื่อมต่อกัน แอปพลิเคชันเหล่านี้ควรเจาะจงกับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 วัตถุประสงค์ ได้แก่  screening และ orientation เหมาะกับกลุ่มประชากรทั่วไปที่ต้องการคัดกรอง ถ้าพบปัญหาก็แนะนำให้เข้ารับการรักษากับผู้เชี่ยวชาญ, information เหมาะกับให้ความรู้ทั่วไปประชากรทั่วไปและให้ความรู้ psychoeducation กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, monitor เหมาะกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพื่อติดตามอาการ อยากให้มีช่องทางการติดต่อการติดต่อคนไข้และบุคคลที่สามารถติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉินที่หลากหลาย ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด แอปพลิเคชันนี้ควรขึ้นที่หน้าเว็บไซต์ก็จะเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้นมากกว่ามีแค่ใน play store หรือ app store

3.สามารถเข้าถึงคนทุกเพศ ทุกช่วงอายุ, เวลาที่ใช้ไปกับแอพไม่กระทบกับการทำกิจวัตรประจำวัน ซึ่งแพทย์ออกมาแสดงว่าความคิดเห็นว่าการใช้งานที่มากเกินไปอาจจะทำให้คนไข้ต้องพึ่งพาแอปพลิเคชันตลอดเวลาอีกด้วย, ไม่ทำให้อาการแย่ลงและมีประสิทธิภาพในการรักษา

(https://bmcpsychiatry.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12888-021-03064-x)

จากการศึกษาในปี 2017 พบว่ามี 4 อุปสรรคใหญ่ที่ทำให้แอปพลิเคชันสำหรับโรคซึมเศร้าใช้ไม่ได้ผล ได้แก่

1. ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อแอพลิเคชัน 

2. ไร้ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย 

3. แอพลิเคชันไร้ประสิทธิภาพ แอปพลิเคชันสร้างมาแบบไม่เจาะจงกับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคน

4. ไม่มี feedback หรือขาดการชี้นำจากผู้บำบัด รวมถึงขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บำบัด 

(https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6001178/)

และยังมีงานวิจัยสนับสนุนในปี 2019 อุปสรรคและข้อจำกัดของแอปพลิเคชัน โดย Nature Research Journal พบว่ามี 73 แอพพลิเคชันที่อ้างว่าสามารถรักษาโรค substance abuse, depression, anxiety, self-harm, และ schizophrenia 64% ของแอพพลิเคชันเหล่านี้อ้างว่าสามารถวินิจฉัยโรค ทำให้อาการดีขึ้น ช่วยปรับอารมณ์และเพิ่มทักษะ self-management อีก 44% ใช้ภาษาทางการแพทย์เพื่อแสดงให้เห็นว่าที่กล่าวอ้างนั้นดูน่าสมเหตุสมผล ถึงอย่างไรก็ตามมีเพียง 14 % จากแอพพลิเคชันทั้งหมดที่อธิบายว่าออกแบบหรือพัฒนามาจากทางคลินิกอย่างไรและทั้งหมดไม่ได้รับการรับรองหรือมีใบประกาศนียบัตรสนับสนุน จึงหมายความว่ามีแอพพลิเคชันจำนวนน้อยมากแทบจะไม่มีเลยที่สร้างมาจากงานวิจัยหรือการวิจัยในคน

ในงานวิจัยนี้ได้สรุปออกมา 4 ประเด็นหลัก ๆ ที่ทำให้แอปพลิเคชันไม่ได้ผล

1.การออกกำลังเพื่อสุขภาพใจเหมือนเป็นการทำเพื่อความบันเทิง อย่างเช่น การดูวิดีโอหรือฟังเสียงที่น่าผ่อนคลายไม่กี่นาทีเพื่อผ่อนคลายความเครียด เป็นการจัดการความเครียดแบบ passive ซึ่งไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุจริง ๆ

2.ไม่สามารถเข้าถึงแต่ละปัญหาของแต่ละบุคคล ในหลาย ๆ แอปพลิเคชันมักจะมี feature ที่คล้าย ๆ กันเหมาะกับปัญหาทั่วไป ๆ เช่น การนั่งสมาธิเพื่อบรรเทาความเครียด ซึ่งบางคนอาจจะไม่เหมาะกับวิธีนี้ก็เป็นได้ จึงไม่เหมาะกับแต่ละบุคคลซึ่งมีความเป็นปัจเจกเฉพาะตัว

3.บาง feature ไม่ลึกซึ้งมากพอและแก้ปัญหาได้จริง เช่น การใช้เสียงเพื่อผ่อนคลายความวิตกกังวล เป็นการขจัดความวิตกกังวลแบบหนีปัญหาที่ผู้ใช้งานไม่ได้รับปรับความคิดที่จะยอมรับมันและเพิ่มทักษะในการรับมือกับอารมณ์ด้านลบจากความวิตกกังวลเหล่านี้

4.ผู้ใช้งานอาจจะต้องพึ่งพาแอปพลิเคชันตลอดเวลา อย่างเช่นเวลาที่ต้องการจะนอนเราจะต้องเปิดแอปพลิเคชันนี้เพื่อผ่อนคลายให้หลับเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่การก่อนนอนสามารถเคลิ้มหลับไปเลยโดยไม่ต้องพึ่งพาแอปพลิเคชัน (https://bootcamp.uxdesign.cc/why-mental-health-apps-dont-work-66017b5f1491)

ท้ายที่สุด การทำกิจกรรมต่างๆที่เป็นงาน hand craft สามารถทำให้ผู้รับบริการมีเกิดการมี mindfulness อย่างมีประสิทธิภาพได้ดีกว่าการใช้แอปพลิเคชัน เนื่องจากไม่มีเรื่องของการใช้ร่างกายในใช้งานซ้ำๆเพื่อให้เกิดความสงบและสติ และจาก5งานวิจัยที่ไปใช้กับผู้ป่วยจริง การทำ art therapy ร่วมกับ group therapy ในบริบทจริง จะช่วยให้ผลของการฝึกสติเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด (https://emilychatterton.com/wp-content/uploads/2021/03/Thesis.pdf)

จากที่กล่าวมาข้างต้น ทีมผู้เขียนบทความ ในฐานะนักศึกษากิจกรรมบำบัดมีความคิดเห็นในการออกแบบแอพพลิเคชันแอพพลิเคชันสำหรับผู้รับบริการ depression , anxiety , บุคคลทั่วไป ดังนี้

  • ใช้หลักการ therapeutic use of self เพิ่มช่องทางติดต่อนักบำบัดในแอพพลิเคชันเพื่อเป็น two way communication เน้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของปัญหาด้วยตนเองโดยมีผู้บำบัดเป็นผู้ช่วยเหลือ
  • หากผู้รับบริการไม่เคยพบแพทย์ ในตัวแอพอาจมีการคัดกรองเบื้องต้นก่อนผ่านแบบประเมินมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รับบริการเกิด awareness และให้ความรู้เกี่ยวกับตัวโรค ช่องทางในการเข้าพบแพทย์และรับยาอย่างถูกต้อง
  • กรณีที่เคยพบแพทย์แล้ว เริ่มต้นโดยมีการ section relaxation technique แบบต่างๆ ผ่านคำแนะนำทำกิจกรรมที่สนใจ , เสียงผ่อนคลาย , การหายใจลึก กรณีที่ผู้รับบริการไม่มีวิธีการผ่อนคลายที่เหมาะสมกับตนเองหรือเกิดอุปสรรค อาจติดต่อผู้บำบัดเพื่อรับคำปรึกษาและช่วยในการออกแบบกิจกรรมเฉพาะสำหรับบุคคล โดยใช้หลักการ integrate EHP&MOHO เพื่อเจาะจงกับปัญหาผู้รับบริการแต่ละคน
  • มี section แนะนำวิธีการทำ bullet journal ซึ่งจะมีวิธีการสอนจดบันทึกให้กับผู้รับบริการ สามารถจดบันทึกโดยเขียนลงกระดาษหรือในอุปกรณ์ที่มีตามสะดวก หากบันทึกในตัวแอพพลิเคชันมีการออกแบบให้มี feature รองรับสำหรับพิมพ์ในแอพ โดยแบ่งส่วนเป็น
  1. daily planner ใช้หลักการ OA model จะมีการบันทึกส่วนของ to do list เพื่อระบุเป็นเป้าหมายระยะสั้น , บันทึกอารมณ์ , เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด และวิธีการเพื่อจัดการปัญหา/อารมณ์/บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ หากผู้รับบริการมีความคิดแบบ stuck ไม่สามารถคิดวิธีจัดการได้ด้วยตนเองอาจปรึกษากับผู้บำบัดเพื่อให้ผู้บำบัดช่วย guide , feedback  มีการบันทึกติดตามกิจกรรม เพื่อทำการself reflection เมื่อทำตามเป้าหมายได้สำเร็จจะเป็นการเพิ่ม self esteem ให้กับผู้รับบริการ
  2. weekly planner ใช้บันทึกเหตุการณ์ประทับใจที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ เป็นการชื่นชมตนเองและให้แรงเสริมทางบวก เพื่อคงไว้ซึ่งพฤติกรรมและวิธีการแก้ปัญหาที่ดี
  3. monthly planner ใช้บันทึกนัดสำคัญหรือสิ่งที่ต้องทำล่วงหน้า เพื่อระบุเป็นเป้าหมายระยะยาว
  4. มี feature เพิ่มหัวข้อการเขียนด้วยตนเองอย่างอิสระตามความสนใจ กระตุ้นให้เกิดการคิดอย่างยืดหยุ่นสำหรับผู้รับบริการที่เริ่มมีความคิดแบบ unstuck มากขึ้นและเพิ่มความรู้สึก autonomy
  • มีช่องทางติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญกรณีเกิด emergency situation
  • มีส่วนแสดงตำแหน่งที่ตั้งสถานพยาบาลที่สามารถเข้ารับคำปรึกษา ได้ที่ใกล้ที่สุด สำหรับผู้รับบริการที่ต้องการเข้ารับคำปรึกษาเพิ่มเติม
  • มี section แนะนำกิจกรรม handcraft ให้ทำในบริบทจริง บอกข้อดีการทำในบริบทจริงจะช่วยฝึกสติได้มากขึ้น เช่นวาดรูป ระบายสี เป็นต้น
  • เข้าถึงผู้ใช้งานได้ได้อย่างแพร่หลาย โดยสร้างหน้าเว็บไซต์ใน google ไม่ได้จำกัดแค่ใน play store หรือ app store

 

 

สามารถรับชมคลิปวิดีโอสรุปเนื้อหาบทความให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้นจากในคลิปด้านล่างนี้

 

บทความนี้จัดทำโดย

ธวัลรัตน์ เรืองวีระชัยกุล 6223010

ภัสสร บัณฑุกุล 6223013

ชนัญญา เงาศิริกาญจนกุล 6223020

 

หมายเลขบันทึก: 692451เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2021 00:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กันยายน 2021 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท