จุดอ่อนของเตาเผาถ่าน ๒๐๐ ลิตรแบบนอน และแนวทางการแก้ไขถ้าจะพัฒนาเตาใหม่


วันนี้มีเพื่อนในชุมชนคนเผาถ่านท่านหนึ่ง แจ้งว่า จะทำเตาใหม่  ที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดเดิม ๒๐๐ ลิตร ผมจึงเสนอความเห็นจากประสบการณ์การทำและทดลองเผามาระยะหนึ่ง ดังนี้ 

๑) จุดอับความร้อน ข้อนี้ไม่ได้เป็นจุดอ่อนของเตาแบบถังครึ่ง เนื่องจาก จุดที่ ๑ ในรูป เป็นช่องรับความร้อน ได้รับความร้อนอยู่แล้ว  จุดที่ ๒ ไม่อับ เนื่องจากถังมีขนาดเล็ก ความร้อนจึงไม่ต่างกันมากนัก  จุดที่ ๓ เป็นทางผ่านของลมร้อนอยู่แล้ว  ส่วนจุดที่ ๔ เนื่องจากติดกับห้องเผา จึงได้รับความา้อนผ่านแผ่นกั้น ข้อเสียตรงนี้คือจะกลายเป็นขี้เถ้าด้วยในกรณีที่เติมไฟหน้าเตาแรงเกินไป .... จึงควรกั้นด้วยผนังอิฐหรือดิน เพื่อป้องกันไม่ให้ไม้ส่วนนี้ได้รับความร้อนเร็วเกิน ....  แต่ ถ้าทำอย่างนั้น เตาก็จะติดยากขึ้น และอาจเป็นจุดอับความร้อน

 

๒) เตาที่ทำจากถังน้ำมัน 200 ลิตร มีผนังบางเกินไป บางเพียง 0.2-0.3 มิลลิเมตร เท่านั้น... ดังนั้น ถ้าเผาเกิน 900 องศา จะเผาได้ประมาณ ๑๐ ครั้ง  เหล็กจะหลุดล่อนออกเป็นแผ่น ๆ   .....  ความจริงเหล็กมีจุดหลอมเหลวสูงมากกว่า 1538 องศา แต่เมื่อได้รับความาร้อน เหล็กจะขยายตัว ทำให้ออกซิเจนในอากาศเข้าไปทำให้เกินสนิมกร่อน  จึงหลุดออกเป็นแผ่น ๆ

๓) วางไม้แบบตั้งได้ยาก  การวางไม้แบบนอนซึ่งสะดวกสำหรับเตาถัง ๒๐๐ ลิตรแบบนอน จะเป็นเสมือนผนังกั้นความร้อนจากบนลงสู่ด้านล่าง  ทำให้การอบไม้ให้ทั่วถึงทำได้ยากและต้องใช้เวลานาน เปลืองพลังงาน

๔) การอบไม้ดี ทำให้ผิวถ่านและรูปพรรณสวย  การอบไม่ดีผิวถ่านไม่สวย ... การเผาโดยไม่อบเลย จะได้ถ่านที่ไม่สวยเลย ...... ผมสังเกตว่า การอบไม้ด้วยเตาขนาด 200 ลิตร ถังนอน ที่รับความร้อนด้านหน้า ... ต้องใช้เวลามาก และได้อุณหภูมิต่ำ ...  ที่อบมาแม้จะอบเกือบ 8-10 ชั่วโมง อุณหภูมิก็ได้เพียง 80-90 องศา

๕) ผลิตถ่านได้ครั้งละไม่เกิน ๑๕ กิโลกรัม  หรือไม่เกิน ๒ กระสอบปุ๋ยเท่านั้น   ยิ่งถ้าทำถ่านคุณภาพสูง เผาสูงกว่า ๘๕๐ องศา  จะเหลือถ่านเพียง ๑๒ เปอเซ็นต์  หรือ น้อยกว่า ๑๐ กิโล เท่านั้น

แนวทางการพัฒนา ถ้าจะทำเตาใหม่

๑) เตาควรมีเพดานโค้งมนเพื่อไม่ให้มีจุดอับความร้อน  สังเกตจากลักษณะของเตาของภูมิปัญญาของแต่ละประเทศ ดังรูป

๒) ใช้ผนังที่หนาขึ้น หรือ เปลี่ยนเป็นวัสดุที่ทนทาน  เช่น ถ้าใช้อิฐหรือดิน แต่อาจมีข้อเสียเรื่องการสะท้อนความร้อนหรือนำความร้อนไปทั่วเตา  ที่ดีที่สุดน่าจะเป็นแสตนเลส เกรด 310 แต่จะมีราคาแพงมากด  ... ผมว่าใช้อิฐผิวเรียบน่าจะประหยัดคุ้มค่าที่สุดครับ

๓) การวางไม้แบบตั้งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะความร้อนจะถูกกดกระจายลงสู่ด้านล่างเตาได้ง่าย แต่จะต้องวางเรียงไม้ให้ชิดแน่นที่สุด หลังจากวางเรียงแบบตั้งแล้ว ควรเรียงไม้แบบนอนทับเป็นเหมือนกาดหลังคา ไม้ส่วนนี้จะกลายเป็นขี้เถ้าและปกคลุมไม่ให้ออกซิเจนไหลลงไปที่ไม้ที่วางตั้ง ซึ่งจะป้องกันไม่ผิวไม้ที่วางตั้งเสียหาย

๔) ผมมีความเห็นว่า  ทรงเตาที่ดีที่สุดน่าจเป็นแบบหลังเต่า เหมือนภูมืปัญญาของชาวญ๊่ปุ่น ในกรณีที่มีปล่องเดียว   เพราะการอบน่าจะมีประสิทธิภาพที่สุด .... เหมือนกับว่า เตาภูมิปัญญาญี่ปุ่นถูกออกแบบเพื่อการอบไม้ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการเผา

๕) ผมมีความเห็นว่า เราควรทำเตาใหญ่ขึ้น แต่ไม่ควรใหญ่เกินไป จนกลายเป็นระดับอุตสาหกรรม ... เว้นแต่จะพบว่ามีตลาดรองรับและมีแหล่งไม้ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม... ควรทำเตาขนาด 1000 ลิตร หรือไม่เกิน 2000  ลิตร  

ผมมีความเห็นว่า "ควรทดลองทำตาม ทำให้เเหมือน ทำให้เท่า และทำให้ดีกว่า" ตามที่ อ.กิตติ เลิศล้ำ ได้แนะนำไว้ …. เตาภูมิปัญญาที่ทำถ่านได้ดีที่สุดในโลก คือเตาภูมิปัญญาญี่ปุ่น ดังภาพนี้ 

ท่านใดสนใจไปต่อที่คลิปนี้ครับ 

หมายเลขบันทึก: 692347เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2021 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2021 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

May I suggest adding ‘temperature control’ as a major criteria for determining “the better” furnace? Temperature (of the furnace) depends on “air flow”, fuel (wood or …), raw material (to become charcoal), size and shape of the furnace (how well it can distribute heat) and ability of the furnace’s wall (material) to retain heat. Once the temperature can be controlled, quality of charcoal can be better determined for particular raw materials. Designs of furnace should be based on Physics and workflow/processflow –not Culture.

Research on “jet stove” (for cooking) offers useful information on “efficient heat source” ;-)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท