ทักษะการดูแลสุขภาพ ไม่ง่ายนะ


ในบทบาทนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม ผมเองก็จะฝึกทักษะการดูแลสุขภาพไว้ให้พร้อมก่อนที่จะให้คำปรึษาคนไข้ให้ฝึกทักษะการดูแลสุขภาพเช่นกันครับ

เท่าที่สแกนข้อมูลล่าสุดจากหลาย ๆ หน่วยงาน ในปีที่ผ่านมา ผมจึงอยากสรุปเป็นไอเดียไว้ให้กัลยาณมิตรคิดบวกทุกท่าน ดังต่อไปนี้

  1. จาก Healthbeat, Harvard Medical School กล่าวถึง การผ่อนคลายร่างกายให้เรียนรู้ปัจจัยทางจิตสังคมขณะเจ็บป่วยเรื้อรังแล้วเปิดใจยอมรับให้เกิดความกล้าหาญในการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้รู้จักการจัดการอารมณ์คิดลบ เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า ย่อมช่วยลดความเครียดลบสะสมจนกระเพาะกับลำใส้หดตัวจนปวดท้องได้ ต่อยอดไปถึงการวางแผนขยับร่างกายด้วยไทชิ จี้กง โยคะ ยืนทรงตัวแกว่งขา เต้นฝึกทรงตัว เพิ่มสมาธิและการตัดสินใจได้ดีด้วยความสมดุลในการสื่อสารสร้างสุขระหว่างกำลังกล้ามเนื้อและการออกกำลังกายใจ สุดท้ายคือ ความฉลาดทางอารมณ์ที่เน้นการฝึก 4 ประการ ได้แก่ เห็นอกเห็นใจกับคนที่เราคิดพูดทำร้ายจิตใจเค้า ปรับความคิดลบให้จบเป็นอารมณ์บวกให้เร็ว ปลดปล่อยความรู้สึกสงสัยกับไม่รู้ในทุกเรื่องราวออกไปบ้าง และจงใช้ความจริงใจในการขอโทษแล้วเรียนรู้ที่จะให้อภัยคนอื่นด้วย
  2. จาก Medium Daily Digest โดย Tony Jones กล่าวถึง เทคนิคกิจกรรมทำงานได้ดีขึ้น-ไม่ลังเลสงสัยคิดไปเองมากมาย ได้แก่ ลดของหวาน นอนให้พอ 6 ชม. งดสื่อออนไลน์บ้าง ขยันเดินเยอะ ๆ และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เสมอ และ Karolin Wanner แนะนำ 5 ข้อต่อการปรับปรุงนิสัยให้ดีขึ้น ได้แก่ เชื่อใจตัวเอง - ฟังเสียงเล็ก ๆ ในใจให้เริ่มตัดสินใจ ค้นพบ ยอมรับ และรักตัวเองทีละนิดทีละน้อย มุ่งคิดบวกให้คุณค่าความสามารถที่มีอยู่แล้วดึงออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์สักที เชื่อมั่นในความสามารถที่กำลังท้าทายแก้ไขปัญหาชีวิตที่ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ หมั่นถามความเห็นผู้รู้เพราะปัญหาบนโลกนี้มันซับซ้อน ยิ่งเราพูด “ไม่รู้” บ่อย ๆ ก็จะยิ่งสร้างความขัดแย้งในการดำรงชีวิตอยู่เสมอ
  3. จาก Dr. Weil's Daily Tip กล่าวถึง อาหาร 8 อย่างที่สร้างภูมิคุ้มกันใจไม่ให้กินเยอะเกินไป ได้แก่ บล๊อกโคลี่ แคนตาลูป กีวี ส้ม พริกไทย สัปปะรด เกรปฟรุ๊ตชมพู และ สตอเบอร์รี่ และ สมาธิมีดี 7 อย่าง ได้แก่ ลดความดันเลือด ลดอัตราการเต้นหัวใจ ลดอัตราการหายใจ เพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มภูมิต้านทานโรค ลดการรับรู้สึกปวด คงอารมณ์ดีมีสติรู้ทันรู้จริง
  4. จาก Chris Hammond, Chief Lucidity Officer - World of Lucid Dreaming กล่าวถึง การฝึกฝันรู้ตัว ภายใน 10 วัน ประกอบด้วย
  • ก่อนนอนให้บอกตัวเองว่า “เราจะจำความฝันให้ได้” ใช้เวลา 5 นาทีหลังตื่นนอน โดยงดมองมือถือ/เข้าเฟสบุ้ค เขียนระลึกฝันด้วยอารมณ์รับรู้สึกว่า “กำลังทำไรบ้างขณะอยู่ในฝันที่เหมือนจริง” ให้เขียนบนกระดาษเปล่าด้วยปากกา
  • ขณะเขียน ให้ปิดตา ทำสมาธิ จินตนาภาพว่า "เรากำลังเดินอยู่ในภาพความฝันที่ค่อยๆเปลี่ยนฉากไปเรื่อย ๆ ช้า ๆ รวม 1-2 นาที ฝืนไม่คิดเรื่องอื่น
  • ขณะเริ่มนอนหลับตา ให้จินตนาภาพรับรู้สึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อจากนิ้วเท้าไปเรื่อย ๆ จนถึงใบหน้าขากรรไกร โดยไม่ขยับกล้ามเนื้อ ต่อด้วยจินตนาการให้เราลอยอยู่เหนือลำตัวสัก 3 ฟุต ให้จดจ่อลมหายใจเข้าออกช้า ๆ หรือ อนุญาตให้ Clear เสียงคิดลบรบกวนภายในใจ หรือ นับถอยหลังจาก 100 มาถึง 1
  • ขณะฝันรู้ตัว ให้กระตุ้นภาพต่าง ๆ เช่น ท้าทายชีวิตคิดถึง 20 ปีอนาคต ต่อสู้ด้วยพลังฝ่ามือแล้วลองดันฝ่ามือสองข้างไปที่วัตถุแล้วถามตัวเองว่ากำลังฝันหรือฝันเป็นจริง วิ่งเร็วสุดไปยังขอบฟ้าไกล พบกับอาหารชวนชิมมโหฬาร เป็นต้น
  • สำรวจภาพขณะหลับ ๆ ตื่น ๆ เช่น กำลังลอยตัว กำลังได้ยินเสียงคนเรียกชื่อ กำลังรับรู้รสกลิ่นความอุ่น ฯลฯ สามารถใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น รับฟังคลื่นสองเสียง หรือ Binaural beats ทานอาหารเสริมเพื่อฝันรู้ตัว จำพวก Galantamine หรือ Huperzine A โดยปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสมอ
  • ใช้เทคนิค ตื่นกลับไปที่เตียง หลังจากนอนตั้งปลุก 6 ชม. แล้วใช้เวลา 25 นาที ผ่อนคลายให้เต็มที่แล้วจินตนาภาพความคิดฝันที่อยากให้เป็นจริงด้วยการระลึกจำรายละเอียดสำคัญ
  • กรณีเกิดฝันรู้ตัวกระตุกจนหายไป 30 วินาที ให้รู้ตัวอย่างใจเย็นสงบนิ่ง ไม่รีบตื่นนอน ไม่ต้องบอกใครว่าฝันเรื่องอะไร กำมือสองข้าง ถูมือสองข้างให้สมองจดจ่อ ยังคงค่อย ๆ จินตนาภาพความคิดฝันที่อยากให้เป็นจริงด้วยการระลึกจำรายละเอียดสำคัญ
  • ใช้หลักการคาดหวัง เพื่อควบคุมความนานของฝันรู้ตัว เช่น ปรับวิวในฝันเป็นทะเลทรายจนถึงป่าร้อนชื่น เดินทางย้อนอดีต 65 ล้านปี
  • ปรับจากการหลับนิ่งเป็นการหลับรู้ตัว แม้ว่าร่างกายจะไม่ขยับตัว แต่ในฝันกำลังขยับตัวหาของที่ในชีวิตจริงหาไม่เจอ ต้องการหาใครในอดีต จงยิ้มภายในใจ ไม่ต่อต้าน ให้ผ่อนคลาย ค่อย ๆ จนตนาการว่า กำลังลอยออกจากร่างไปในอากาศ มองได้ไกลถึงทิวเขา พูดซ้ำ ๆ ว่า เรากำลังฝันอยู่ ทุกอย่างเป็นธรรมชาติ
  • ติดตามการรู้ให้ทัน ความฝันบอกอะไรกับตัวเรา คลิกเรียนรู้กับนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม ได้ที่คลิปข้างล่างนี้ 
หมายเลขบันทึก: 692340เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2021 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2021 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท