เมื่อนักศึกษาจิตวิทยาอยากรู้จักนักกิจกรรมบำบัด


ขอบคุณคุณศุภนุช สุขมะณี นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับมอบหมายให้จัดทำวิดีโอสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพที่สนใจ เพื่อใช้ในการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและสรุปเป็นรายงานในหัวข้อ “จิตวิทยาสำคัญกับชีวิตและการทำงานอย่างไร” ซึ่งหนูสนใจในอาชีพนักกิจกรรมบำบัด จึงมาเรียนเพื่อขอความกรุณาอาจารย์ป๊อปในการให้สัมภาษณ์ในหัวข้อนี้
  1. อธิบายอาชีพของคุณให้ฟังหน่อย

“อาชีพนักกิจกรรมบำบัด” คือ บุคลากรทางการแพทย์ที่สอบผ่านขึ้นทะเบียนใบประกอบโรคศิลป์ ภายใต้กรอบการรับรองหลักสูตรจาก สมาพันธ์นักกิจกรรมบำบัดโลก หรือ https://www.wfot.org/ จากสมาชิกกว่า 105 ประเทศ มีหน้าที่ตรวจประเมินและออกแบบโปรแกรมการฝึกความสามารถในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตในทุกเพศทุกวัยที่มีและไม่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตสังคม และการเรียนรู้ โดยใช้สื่อรอบตัวด้วยสติแห่งตัวเราเพื่อจิตใจแบบเติบโตให้อยู่เย็นเป็นสุขแก่ประชาชน จากจำนวนนักกิจกรรมบำบัดไทยทั้งสิ้น 1,478 คน และกำลังปฏิบัติด้านสุขภาพจิตและจิตเวชไม่เกิน 64 คน ซึ่งคุณสามารถศึกษากระบวนการประเมินทางกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจากคลิปข้างล่าง

2. หลักจิตวิทยาสำคัญอย่างไรในสายอาชีพของคุณ 

กิจกรรมบำบัดศึกษา มิใช่เรื่องยาก ถ้าเราเรียนรู้ด้วยความเข้าใจให้เปิดใจเชื่อมโยงทุกมิติสุขภาวะอย่างมีความหวังแห่งการให้พลังชีวิตคิดบวกแก่ตนเองและผู้ตั้งใจนำกิจกรรมการดำเนินชีวิตคิดดีมีน้ำใจ ซึ่งคุณจะศึกษาเพิ่มเติมจากตัวอย่างคลิปข้างล่าง  

ต่อยอดจากคอร์สออนไลน์ ทำให้นักกิจกรรมบำบัดขาดแคลนอย่างยิ่ง ทำให้เกิดการพัฒนาระบบให้คำปรึกษาอย่างไวดังรูปข้างล่าง

จากกรณีศึกษาที่ได้ฝึกกิจกรรมบำบัดจิตสังคมผ่านมือถือกว่า 45 นาที 

  • ความว้าเหว่ เกิดขึ้น เมื่อสมองย้ำคิดวนอดีต
  • ความกังวล เกิดขึ้น เมื่อคอพูดตำหนิตัวเอง
  • ความเศร้าซึม เกิดขึ้น เมื่อบ่าแบกภาระน้อยใจ
  • ความเบื่อหน่าย เกิดขึ้น เมื่อหัวใจไม่รักตัวเอง
  • ความหงุดหงิด เกิดขึ้น เมื่อท้องจำฝังใจคิดไปเอง
  • ความปล่อยวาง เกิดขึ้น เมื่อพนมมือขอบคุณและขอโทษร่างกายของเรา

เมื่อสร้างสัมพันธภาพแบบ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ก็ชวนกรณีศึกษาหามุมสงบเริ่มฝึกสื่อกิจกรรมบำบัด ประกอบด้วย 1. การรับรู้เสียงความคิดภายในขณะสัมผัสกระหม่อม หน้าผาก คอหอย บ่า หัวใจ และท้อง อย่างมีสติเปิดใจยอมรับความคิดลบ มีสมาธิจดจ่อลมหายใจ และมีการตระหนักรู้ความตึงเครียดในร่างกาย 2. การรับรู้อารมณ์ที่ผ่อนคลายและเรียนรู้การปรับคำพูดลบเป็นบวกด้วยการพนมมือและจินตนาภาพถึงบุคคลที่ควรขอบคุณ และ 3. การรู้คิดเพิ่มพลังศรัทธาในคุณค่าและสมรรถนะในการดูแลสุขภาพแห่งตนพร้อมพนมมือขอบคุณและขอโทษร่างกายของเรา 

3. ในการออกเเบบกิจกรรมให้ผู้เข้ารับการบำบัดในเเต่ละช่วงวัย สามารถนำหลักจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้อย่างไรบ้าง 

นักกิจกรรมบำบัดจะประยุกต์ใช้หลักจิตวิทยาเชิงบวก เช่น Flow ในการจัดการอารมณ์ให้คนไข้สามารถควบคุมให้ยับยั้งชั่งใจ ให้ผ่อนคลาย ให้สื่อสารดีมีความสงบสุข แล้วค่อย ๆ จัดระเบียบความคิดบวกให้เป็นระบบดังรูปข้างบน เช่น PERMA เพื่อตั้งเป้าหมายว่า “เรากำลังทำอะไร เพื่อใคร และทำอย่างไร ในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตให้คิดบวกและมีความสุขจับต้องได้จริง” โปรดศึกษาตัวอย่างการออกแบบโปรแกรมจากคลิปข้างล่าง ดังต่อไปนี้

 

 

 

4. คิดว่าจิตวิทยาสำคัญกับชีวิตประจำวันหรือไม่ อย่างไร โดยเฉพาะในสถานการณ์การเเพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 

ในช่วงสถานการณ์ชีวิตที่ส่งผลกระทบต่อการดูแลสุขภาพตนเองและผู้อื่น จะเห็นว่าเราจะประเมินและชวนผู้รับบริการค้นหาแนวทางแก้ปัญหาชีวิตดังรูปที่จับต้องได้ในบริบทนำไปใช้พัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพได้จริงที่บ้าน ที่โรงเรียน ที่ทำงาน และที่ต่างๆ ในชุมชน เช่น ประเมินตนเองได้ว่า กำลังมีสมองเสื่อมก่อนวัยอย่างไรใน 10 อาการแสดง (A) แล้วพิจารณาว่าสิ่งรอบตัวสร้างอุปสรรคอย่างไรในกิจกรรมการดำเนินชีวิตคิดลบ 10 การกระทำ (C) จนจบไม่ราบรื่นก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร่างกายและจิตใจ 10 อย่าง (F)

 


 

หมายเลขบันทึก: 692335เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2021 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2021 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท