ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก


ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก

สำนวน "ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก"
หมายถึง การอบรมสั่งสอนเด็กหรือคนที่อายุน้อย ย่อมง่ายกว่าการสั่งสอนอบรมผู้ใหญ่ที่มีอายุมากแล้ว เพราะผู้ใหญ่มักจะหัวดื้อ ยึดมั่นกับความเชื่อหรือเรื่องราวเก่าๆ ยากแก่การอบรมสั่งสอนให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความเชื่อ โบราณท่านจึงเปรียบเทียบกับต้นไม้ซึ่งเป็นไม้ที่ยังอ่อนอยู่ ย่อมดัดและเปลี่ยนแปลงรูปทรงได้ง่ายกว่าต้นไม้ที่แก่หรืออายุมาก

เด็กมีนิสัยที่ง่ายต่อการอบรมสั่งสอนปลูกฝังเรื่องต่างๆ เพราะวัยเด็กเปรียบเหมือนกับผ้าขาว พร้อมที่จะรับสีทุกสีที่นำมาย้อม การอบรมสั่งสอนจึงควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กเล็กเป็นต้นมา หากปล่อยให้เด็กเติบโตขึ้นโดยหวังจะอบรบสั่งสอนเมื่อเติบโตขึ้น แทนที่เด็กจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น กลับจะดื้อรั้นหรือต่อต้าน เพราะเริ่มจะเป็นไม้แก่ที่ดัดยากเสียแล้ว

ที่มาของสำนวน "ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก" เปรียบเทียบการฝึกอบรมบ่มนิสัยกับการดัดไม้เพื่อทำเป็นไม้ดัด การที่จะดัดต้นไม้ให้เป็นรูปทรงต่างๆนั้นนิยมทำในช่วงที่ต้นไม้ยังเป็นต้นเล็กๆ อยู่ ซึ่งจะทำให้สามารถดัดได้ง่ายกว่า เนื่องจากกิ่งก้านมีขนาดเล็ก มีความยืดหยุ่นง่าย ไม่แตกหักเมื่อจะทำการดัด แต่ถ้าดัดในตอนที่ต้นไม้โตหรือแก่เกินที่จะสามารถดัดได้ กิ่งของไม้แก่จะมีความแข็ง ดัดได้ยากและมักจะแตกหักระหว่างดัดได้ จึงไม่นิยมที่จะดัดไม้ที่มีอายุมากดังกล่าว เปรียบเทียบได้กับการดัดนิสัยของคนนั้นต้องดัดตั้งแต่ยังเล็กๆนั่นเอง

ตามประวัติศาสตร์นั้นไม้ดัดเริ่มมีการปลูกเลี้ยงกันในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งแต่สมัยพระเอกาทศรถ แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าผู้ริเริ่มปลูกเลี้ยงไม้ดัดคนแรกคือผู้ใด สมัยนั้นการปลูกเลี้ยงไม้ดัดนิยมกันมากในหมู่เจ้าขุนมูลนาย หรือคหบดีเท่านั้น ต่อมาเมื่อเสียกรุงครั้งที่ 2 การเล่นไม้ดัดจึงหยุดชะงักไป

ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์การปลูกเลี้ยงไม้ดัดก็กลับมาได้รับความนิยมในหมู่เจ้าขุนมูลนายอีกครั้ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดเกล้าฯให้ปลูกไม้ดัดไว้ในพระบรมมหาราชวัง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยการปลูกเลี้ยงไม้ดัดได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น และนิยมปลูกลงในกระถางลายคราม

จากตำราไม้ดัดของหลวงมงคลรัตน์ ไม้ดัดแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
ประเภทแรกเป็นไม้ที่ดูแล้วไม่เหมือนกับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ได้รับการดัดให้เป็นไปตามโครงศิลปะของไทย มี 7 ชนิด คือ ไม้ขบวน ไม้ฉาก ไม้หกเหียน ไม้เขน ไม้ป่าข้อม ไม้กำมะลอ และไม้ตลก

ประเภทที่สองเป็นไม้ที่ดัดให้ดูเหมือนกับไม้ใหญ่ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ มี 2 ชนิด คือ ไม้ญี่ปุ่นและไม้เอนชาย

ไม้ขบวน มีลักษณะทรงต้นตรงหรือคดเล็กน้อย เป็นไม้ดัดที่มีทรงต้นต่ำ ตัดกิ่งให้วกเวียนขึ้นไปจนวนสุดยอด แต่ไม่กำหนดรูปทรงแน่นอน จะดัดพลิกแพลงอย่างไรก็ได้ แต่จะต้องจัดช่อพุ่มใบให้ดูพอเหมาะพอดี และแต่งให้เรียบร้อย โดยทั่วไปนิยมทำเป็น 9 ช่อ

ไม้ฉาก ลักษณะทั้งทรงต้นและกิ่งดัดแต่งให้เป็นรูปมุมฉาก ส่วนปลายกิ่งก็จะตัดแต่งให้เป็นพุ่มใบ โดยนิยมทำเป็น 9 ช่อ ไม้ฉากเป็นไม้ที่ดัดยากที่สุด ต้องใช้ฝีมือ ความวิริยะ อดทนสูงจึงจะทำได้

ไม้หกเหียน เป็นไม้ที่ดัดตัดแต่งต้นและกิ่งให้ย้อนกลับลงมาทางโคนต้นก่อน แล้วจึงดัดกิ่งให้โค้งงอขึ้นไปรอบๆต้น ตามตำรากำหนดให้ทำกิ่งและช่อพุ่ม 11 ช่อ ไม้หกเหียนเป็นไม้ดัดอีกประเภทหนึ่งที่ดัดยาก ต้องใช้ฝีมือและความวิริยะอุตสาหะมากจึงจะทำได้

ไม้เขน จะแตกต่างจากไม้ดัดชนิดอื่นตรงที่ใหัความสำคัญกับทรงต้น โคนต้นจะต้องมีปุ่มมีตา กิ่งต่ำสุดต้องดัดลงให้อยู่ตรงข้ามกับกิ่งที่ 2 และกิ่งยอด และกิ่งยอดต้องหักเอี้ยวลงมาข้างหลังก่อน แล้วจึงดัดวกกลับขึ้น กิ่งที่ 2 ดัดให้ได้จังหวะรับกับกิ่งยอด ไม้เขนนี้นิยมทำกิ่งและช่อพุ่มใบ 3 ช่อ จึงจะดูสวยงาม

ไม้ป่าข้อม ทรงต้นจะตรงขึ้นไปถึงยอด ตรงโคนมีปุ่มรอยตัดดัดแต่งกิ่งให้วนเวียนรอบๆต้นขึ้นไป กำหนดให้ทำ 3 กิ่งๆละ 3 ช่อ รวมเป็น 9 ช่อ และต้องจัดทำกิ่งและช่อให้สม่ำเสมอ

ไม้กำมะลอ จะมีลักษณะทรงต้นตรงขึ้นไป จะมีกิ่งที่โคนหรือไม่มีก็ได้ แต่ต้องดัดส่วนยอดให้หันเหหมุนเวียนจากยอดวกวนชี้ลงล่างไม่ว่าจะเป็นลักษณะใด หรือยักเยื้องพิสดารเท่าไร ก็จะยิ่งสมชื่อไม้กำมะลอ คือไม่ใช่ของจริง จะมีกิ่งและช่อมากน้อยเท่าไรไม่กำหนด เพียงให้ดูเข้ารูปทรงสวยงามก็พอ

ไม้ตลก เป็นไม้ดัดที่ตั้งใจให้ผู้พบเห็นแปลกตาทำนองตลกขบขัน โดยจะมีทั้งที่เป็นไม้ตลกหัว คือ ลำต้นส่วนบนสุดจะเป็นก้อนกลุ่มยิ่งใหญ่ยิ่งโตเท่าไรก็ยิ่งดี ลำต้นส่วนอื่นเป็นตะปุ่มตะป่ำ มีกิ่งมีช่อน้อย ส่วนไม้ตลกรากจะมีรากลอยหรือรากบางส่วนโผล่พ้นดิน แต่ถ้าจะให้สวยงามจริงจะต้องมีทั้งตลกหัวและตลกรากอยู่ในต้นเดียวกัน และทำช่อกิ่งเพียงเล็กน้อยจึงจะดูสวยงาม

ไม้ญี่ปุ่น เป็นไม้ดัดที่คล้ายกับไม้แคระทรงญี่ปุ่น และมีวิธีการดัดคล้ายๆกัน คือ ทำโคนต้นใหญ่และปลายต้นเรียว ลำต้นตรงหรือเอนเล็กน้อย กิ่งและช่อพุ่มดัดแต่งให้กระจายตามรูปทรงไม้ใหญ่ในธรรมชาติ ไม้ดัดชนิดนี้จะปลูกติดกัน 2 ต้น ให้มีขนาดลดหลั่นกัน หรือจะทำเฉพาะต้นเดี่ยวก็ได้

ไม้เอนชายหรือไม้เอนชายมอ ลำต้นขึ้นตรงและเอนออกไปด้านข้างดูเหมือนต้นไม้ที่ขึ้นตามหน้าผาหรือริมตลิ่ง โดนยึดรากเกาะด้านข้าง ส่วนมากมักเป็นหุ่นไม้จากป่า แล้วนำมาดัดแต่งกิ่งและช่อใหม่ ไม้เอนชายนี้เข้าใจว่าเดิมนิยมปลูกเพื่อข่มเขาหรือล้อรูปเขา ด้านหลังเขามอ


บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนแต่งตั้งแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา และได้รับการชำระจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ในตอน ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง ได้บรรยายสภาพชานเรือนของขุนช้างซึ่งเป็นคหบดีใหญ่ในเมืองสุพรรณไว้ดังนี้
 
โจนลงกลางชานร้านดอกไม้
ของขุนช้างปลูกไว้อยู่ดาษดื่น
รวยรสเกสรเมื่อค่อนคืน
ชื่นชื่นลมชายสบายใจ

กระถางแถวแก้วเกดพิกุลแกม
ยี่สุ่นแซมมะสังดัดดูไสว
สมอรัดดัดทรงสมละไม
ตะขบข่อยคัดไว้จังหวะกัน

ตะโกนาทิ้งกิ่งประกับยอด
แทงทวยทอดอินพรหมนมสวรรค์
บ้างผลิดอกออกช่อขึ้นชูชัน
แสงพระจันทร์จับแจ่มกระจ่างตา

นอกจากนี้ยังปรากฏในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนแผนพานางวันทองหนี ดังนี้

...ถึงกระถางต้นไม้ชายตาดู
เป็นคู่คู่ชูช่ออรชร
มะขามโพรงโค้งคู้เป็นข้อศอก
ฝักกรอกแห้งเกราะกระเทาะล่อน...

...ต้นน้อยน้อยลูกย้อยระย้าดี
ตั้งแต่นี้จะไปชมต้นไม้ใหญ่
จะทิ้งเรือนไปร้างอยู่กลางไพร
ยุงเหลือบริ้นไรจะตอมกาย...

หบินซาม พันธุ์ไม้จากเวียตนาม

ตะโกนา

มะขาม


ข้อความตอนนี้แสดงให้เห็นว่าไม้ดัดเป็นของเล่นของคนมีฐานะระดับเศรษฐี เช่น ขุนช้าง มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และต้นไม้ที่นำมาดัดมีหลายชนิด เช่น แก้ว เกด พิกุล มะสัง ตะโกนา สมอ ตะขบ ข่อย และ มะขาม ซึ่งขุนช้างคงจะเลี้ยงมาหลายปีจนออกฝักแห้งเกราะกระเทาะล่อน เป็นไม้ดัดที่ให้ความเพลิดเพลินใจแก่เจ้าของเป็นอย่างยิ่ง ถึงขนาดนางวันทองกำลังจะจากเรือนไปยังต้องชายตาดูด้วยความอาลัยอาวรณ์

มะขามดัด

ตะโกนา

การทำไม้ดัดหรือบอนไซนั้นต้องเรียนรู้ศาสตร์ถึง 2 แขนงคือ ศาสตร์ด้านการปลูกเลี้ยงต้นไม้แต่ละชนิดแต่ละพันธุ์ และศาสตร์ด้านศิลปะ ในการย่อส่วนต้นไม้มาไว้ในกระถาง โดยยังคงความสง่างามตามธรรมชาติของต้นไม้ใหญ่ นับว่าเป็นศิลปะชั้นสูงที่ต้องอาศัยเวลาและประสบการณ์ เพราะไม้ดัดบางต้นใช้เวลาสร้างเป็นสิบปี ด้วยเหตุนี้ไม้ดัดจึงมีราคาแพง เริ่มต้นจากหลักหมื่นจนถึงหลักแสน และเป็นของเล่นเพื่อความเพลิดเพลินใจของคนระดับเจ้าขุนมูลนาย หรือคหบดีเท่านั้น 

สำหรับท่านที่สนใจอยากจะเริ่มเลี้ยงไม้ดัดไว้ดูเล่นบ้าง จะเริ่มต้นจากไม้ดัดในกระถางจิ๋วน่ารักๆ ราคาเบาๆ ราคาเริ่มต้นจากหลักร้อย ถึงหลักพัน และต่อยอดถึงหลักหมื่น หรือ หลายหมื่น วันนี้มีรูปสวยๆมาฝาก เพียงแค่ดูรูปก็เพลิดเพลินใจแล้วค่ะ

แผ่บารมี หรือ หูกระจงแคระ

ไทรเกาหลีด่าง

ข้าวตอกพระร่วง

เข็มพิกุล

ไทรช้อนเงินช้อนทอง

บ๊วยน้ำ

ปริกน้ำค้าง

หน้าวัวแคระดอกชมพู

บ๊อกวูด (Boxwood)

ข้าวตอกพระร่วง

บ๊วยน้ำ

ไทรช้อนเงินช้อนทอง

หลินซาม

เบญจมาศเงิน หรือ มังกรเงิน

โพธิ์ 7 สี

โมกหนูลา

สนอิโตกาว่าซิมปากุ

Itogawa shimpaku

โพธิ์ 7 สี

สนจูนิเปอร์

เบญจมาศเงิน

เชอรี่แคระ

ว่านมหารวย

บ๊วยน้ำในหินฟองน้ำ

ชาปัตตาเวีย

สนจูนิเปอร์

แส้หางม้า

หลินซาม

ชาปัตตาเวีย

บ๊วยน้ำ

โพธิ์ขาว

ชาปัตตาเวีย

เชอรี่แคระ

ชวนชม

โมกหนูซ้อน

หลินซาม

โพธิ์ขาว

หบินซาม

เข็มพิกุล

หมากใบเมเปิล

โพธิ์ขาว

สนจูนิเปอร์

กวักมรกตยอดทอง

เข็มพิกุล

แก้วพวงมณีแคระ

ปอทะเล หรือ โพธิ์ฮาวาย

ข้าวตอกพระร่วง

โพธิ์

คลาสซูล่า หรือ เบี้ยเศรษฐี

ไทรช้อนเงินช้อนทอง

สนจูนิเปอร์

ชาปัตตาเวีย

สนดำญี่ปุ่น

ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต และ Bonsai story

 

หมายเลขบันทึก: 692342เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2021 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2023 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท