การพัฒนาสาระการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” จังหวัดสุรินทร์


ชื่อเรื่อง          :  การพัฒนาสาระการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทาง

   วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” 

   จังหวัดสุรินทร์

ผู้วิจัย   :  สุภาพร  ศรีศิลา, โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์   

               ปีการศึกษา  2562.

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการประยุกต์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  2) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  3) ทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 และ 4) ประเมินผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 มีขั้นตอนในการวิจัย  ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการประยุกต์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ -คณิตศาสตร์ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความต้องการเนื้อหาสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย  (

ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และค่าร้อยละ (Percentage) 

ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของนวัตกรรมการเรียนรู้  และนักเรียนจำนวน 43 คน เพื่อศึกษาประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80 นวัตกรรมและเครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (

) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (

การหาค่า IOC และการหาประสิทธิภาพโดยการใช้สูตร 

/

 

 

ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้การทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 29 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบประเมินทักษะความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อการปฏิบัติงาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (

) และ ค่าร้อยละ (Percentage) 

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวันชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (

) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)   

ผลการวิจัย พบว่า

1. นักเรียนต้องการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร  สารที่จำเป็นต้องใช้ทำความสะอาดบ้านของเรา  การใช้จุลินทรีย์ในการหมักอาหาร  การย้อมหมี่มัดไหมผ้าพื้นเมืองสุรินทร์ การประดิษฐ์เครื่องฉีดน้ำอเนกประสงค์(เครื่องพ่นยาในนาข้าว) และการอนุรักษ์ดินเพื่อการปลูกข้าวหอมมะลิสุรินทร์และเสนอแนะให้จัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติงานและเนื้อหาความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน

2. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีจำนวน 12 แผน 24 ชั่วโมง กำหนดขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 2 รูปแบบคือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและเน้นพัฒนาความรู้ ความเข้าใจสาระการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ซี่งแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมอในระดับมากที่สุดและมีองค์ประกอบสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ที่กำหนดทุกด้านและมีประสิทธิภาพ  81.52/81.17 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

3.  นักเรียนมีทักษะความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ พฤติกรรมของนักเรียนระหว่างเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

4.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #วิทยาศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 692345เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2021 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2021 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท