Three-Track Mind กับการฆ่าตัวตาย


ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบทั้งหมดโดยรวมทั่วโลก ทำให้ประชาชนมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตมากขึ้นจนไปถึงขั้นการฆ่าตัวตาย จากความเครียดในทุกๆด้านที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลนั้นส่งผลให้พวกเขามีอาการซึมเศร้า ทำให้เกิดการแปรปรวนของสารสื่อนำประสาท ทำให้คิดว่าตนเองผิด รับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ รู้สึกไร้ค่า และพวกเขาคิดว่า สิ่งที่สามารถบรรเทาอาการหรือแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ คือ การฆ่าตัวตาย ซึ่งความคิดนี้เกิดมาจากการคิดที่ไม่เป็นระบบ แล้วการคิดเป็นระบบนั้นคืออะไร เราจะมาแนะนำให้คุณรู้จัก Three-Track Mind (TTM)

Three-Track Mind(TTM) หรือ Systematic Thinking

  • Interactive reasoning (why) การให้เหตุผลเชิงปฏิสัมพันธ์ หรือการตั้งคำถามว่า ทำไม ประกอบไปด้วย

-Need Assessment :ความต้องการ ความจริง ความเข้าใจรวมถึงความไม่รู้ ทำให้เรานั้นสามารถรู้จุดประสงค์ต่างๆนั้นได้

-Impact Assessment :การประเมิณผลกระทบต่อความสุขและความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต

-Occupational Profile Assessment :การประเมิณกิจกรรมการดำเนินชีวิต โดยกล่าวถึงทั้งตัวบุคคล สิ่งแวดล้อใและกิจกรรมการทำเนินชีวิตของผู้รับบริการได้

  • Conditional Reasoning (Because) การให้เหตุผลเชิงเงื่อนไข โดยต้องสมดุลในความคิดสร้างสรรค์ (Creative)และการมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เพื่อเกิดการคิดเป็นระบบ หรือ Systemic Thinking
  • Procedural Reasoning การให้เหตุผลเชิงขั้นตอน คือการนำความคิดที่ได้มาออกแบบเป็น Design Thinking เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่ง Three-Track Mind ที่เราได้อธิบายมานั้นเราจะมาปรับใช้ในการวิเคราะห์สถิติการฆ่าตัวตายที่ผ่านมา

ที่มา https://www.healthline.com/health/suicide-and-suicidal-behavior

โดยในปัจจุบันนี้มีจำนวนการฆ่าตัวตายแบบสำเร็จมีมากขึ้นทุกปี โดยส่วนมากมักจะเกิดขึ้นในผู้ที่อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่ใหญ่ในหลายประเทศ เนื่องจากมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้นทุกปี(จากกราฟ)

ที่มา https://www.cdc.gov/nchs/products/databriefs/db309.htm

ทำไมคนอายุเกินกว่า45ถึงคิดฆ่าตัวตาย?(Why)

          พฤติกรรมการฆ่าตัวตายในวัยผู้สูงอายุนั้น ส่วนมากสาเหตุมักเกิดจากความเครียด เช่น ความรู้สึกการขาดติดต่อจากสังคม การบกพร่องทางระบบประสาท ตลอดจนการเจ็บป่วยทางกายระยะยาว(เช่น โรคมะเร็ง)หรือการมีปัญหาทางด้านการเงิน ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงของพฤติกรรมการฆ่าตัวตายที่มีหลากหลาย แต่ปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่ คือ ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด , การอาศัยอยู่ตัวคนเดียว , และผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมหรือมีภาวะหดหู่

  • ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด โดยส่วนมากเกิดแก่ผู้ที่กำลังจะเป็นหม้าย ซึ่งเกิดจากการที่คู่ครองเสียชีวิตหรือมีการหย่า
  • การอาศัยอยู่ตัวคนเดียวหรือการแยกออกจากสังคม การที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่คนเดียว หากไม่มีใครคอยสนใจ ดูแลเท่าที่ควร จะเกิดโรคเครียดสะสมขึ้นมาได้ เพราะผู้สูงอายุมักจะคิดฟุ้งซ่าน ย้ำคิดย้ำทำกับเรื่องเดิมๆ ที่ส่งผลกับสภาพจิตใจ เครียดจากความรู้สึกที่อึดอัด อาจเกิดมาจากการเกษียณอายุหรือการหย่าร้างนั่นเอง
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม ยิ่งอายุมากขึ้นการทำงานของระบบในร่างกายเราก็จะเสื่อมลง ส่งผลให้เซลล์สมองถูกทำลาย อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมาก ซึ่งผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมนั้นจะก็มีความหดหู่รวมไปถึงมีโรคสมองเสื่อมร่วมด้วย
ที่มา https://qbi.uq.edu.au/dementia/dementia-causes-and-treatment


ทำอย่างไรจึงจะไม่รู้สึกอยู่ตัวคนเดียว? (How to)

          เนื่องด้วยสถานการณ์โควิดทำให้ส่วนมากอาศัยอยู่แต่ภายในบ้านทั้งบุคคลทั่วไปและผู้สูงอายุ เราจึงต้องมีวิธีรับมือกับความเหงาในการอยู่คนเดียว เพื่อลดความเครียดหรือความกดดันของตนเองหรือลดอาการซึมเศร้าที่จะเกิดขึ้น

  • เชื่อมต่อกับโลกรอบตัวคุณมากขึ้น พยายามลองค้นหาสถานการณ์ที่คุณอยู่แล้วรู้สึกสบายใจ เรียนรู้โดยมองลึกเข้าไปข้างในและสำรวจความรู้สึกที่โดดเดี่ยว
  • ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเหงา เราควรทำความเข้าใจความหมายของความเหงา รวมทั้งหาว่าแตกต่างจากการอยู่คนเดียวอย่างไร คุณอาจจะหยิบโทรศัพท์เพื่อโทรหาใคาสักคน ซึ่งเป็นการทำให้พวกเขารับรู้ว่า เรากำลังพยายามดิ้นรนกับสิ่งที่พบเจออยู่ หรือการลองนั่งคิดอยู่กับตนเอง ซึ่งการที่เรานั่งคิดอยู่กับตัวเองนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย มันอาจจะรู้สึกว่าทนไม่ได้ ทำไมฉันต้องทำอย่างนี้ ซึ่งกุญแจที่สำคัญในการรับมือกับความเหงา คือ วิธีจัดการกับมันนั่นเอง เมื่อเราค้นหาวิธีเจอแล้วก็จะทำให้เราพบเจอกับความรู้สึกสบายใจมากขึ้น แต่ถ้าเราผลักไสความเหงาออกไป เราก็ยิ่งไม่เข้าใจความรู้สึกเหล่านั้น ความเหงาก็จะยังคงอยู่กับตัวเราไปตลอด
  • การตั้งสมาธิเพื่อการต่อสู้กับความเหงา หากคุณรู้สึกอ้างว้างจากความเหงา การหยุดสละเวลา 1 นาที หายใจเข้าลึกๆและหายใจออก ซัก2-3 นาทีอาจช่วยให้คุณผ่อนคลายขึ้นได้
  • การทำให้เวลาที่คุณอยู่คนเดียวมีความหมายมากขึ้น  หลายคนอาจไม่รู้ว่า เราจะใช้เวลาการอยู่คนเดียวมีความหมายได้อย่างไร คุณสามารถทำให้มันมีประโยชน์ได้ โดยการฝึกสมาธิควบคู่กับการออกกำลังกายและจัดเวลาตามใจตนเพื่อประสิทธิผล  ซึ่งการนั่งสมาธิกับตัวเองทำให้คุณค่อยๆ เริ่มปลดปล่อยจิตใจ เรียนรู้การเห็นอกเห็นใจตนเอง เข้าใจความหมายของการเป็นอิสระมากขึ้น และรักษาความคิดที่เยือกเย็นไว้รอบ ๆ ความเหงา

วิธีทำให้คนรอบข้างมีความสุข (How to)

  • หมั่นให้กำลังใจแก่ผู้อื่นเสมอ เพื่อเพิ่มการยอมรับให้แก่ตัวเขาและเสริมสร้างความมั่นใจ
  • การให้ความรัก พยายามเอาใจใส่ให้บุคคลรอบข้าง ซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกดีๆมากมายทั้งผู้รับและผู้ให้
  • ยิ้มให้กันบ่อยๆ การยิ้มเป็นภาษาทางกายจะช่วยเปลี่ยนอารมณ์ให้กับเราได้และคนรอบข้างก็จะรู้สึกสบายใจเมื่ออยู่ใกล้เรา
  • ไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์ การวิจารณ์นั้นทำให้คนรอบข้างรู้สึกไม่พอใจ เหมือนเป็นการซ้ำเติม เราควรตักเตือนเขาด้วยคำพูดดีๆหรืออาจหาคำพูดที่เหมาะสม ทำให้เราและคนรอบข้างนั้นมีความสุขมากขึ้นด้วย
  • พูดคุยแต่เรื่องดีๆ การพูดคุยแต่เรื่องดีๆนั้นส่งผลให้ความคิดของเราและคนรอบข้างเป็นความคิดในแง่ดีเสมอและเขาจะรู้สึกสบายใจเวลาได้คุยกับคุณ
  • มีอารมณ์ขัน อารมณ์ขันถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งเพราะจะช่วยสร้างเสียงหัวเราะและช่วยผ่อนคลายความเครียดที่มีอยู่ในตัวบุคคลนั้นได้
ที่มา http://www.rdpb.go.th/th/King/หลักการทรงงาน-c24/๖-มีความสุขในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น-v9186

อ้างอิง :

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5916258/

https://www.headspace.com/stress/how-to-deal-with-loneliness?gclid=Cj0KCQjw7MGJBhD-ARIsAMZ0eetRp5TlbY6gKdXAeiYpB7NxW7PWltB-PjFje_VKv0dH_6l-_hHTMI8aAmgpEALw_wcB

http://18.138.140.78/2019/11/10/11-วิธีเพิ่มความสุขให้คน/

https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=516

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 692233เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2021 01:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2021 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท