GotoKnow

คัมภีร์

BM.chaiwut
เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2549 02:58 น. ()
แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2555 22:05 น. ()
คัมภีร์

คัมภีร์ เป็นคำบาลี ซึ่งมีใช้อยู่ทั่วไปในภาษาไทย และเดียวนี้บางครั้งก็แปลงสัญชาติมาเป็น คำภีร์ ซึ่งเราก็ให้ความหมายในทำนองว่า ลึกซึ้ง สุขุม หรือบางครั้งก็ยกย่องตำราหนังสือระดับยากๆ ว่าเป็นคำภีร์ ...

ตามบาลี คำภีร์ แยกศัพท์ได้ว่า คัม+ภีร์

คัม มาจากรากศัพท์ว่า คมะ แปลว่า ไป. ถึง.

ภีร์ มาจากรากศัพท์ว่า ภี แปลว่า กลัว (ร.เรือ เป็นปัจจัย)

วจนัตถะ  ตตฺถ คจฺฉนฺตา ภายนฺตีติ คมฺภีโร ชนทั้งหลายเมื่อไปอยู่ในที่นั้นย่อมกลัว ดังนั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า คัมภีร์ (เป็นที่เมื่อคนไปก็กลัว)

ศัพท์ว่า คัมภีร์ นี้ ท่านอธิบายเพิ่มเติมว่า หมายถึง ที่ลึกๆ ของแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ทะเล หรือมหาสมุทร เพราะเมื่อคนค่อยๆ เดินไป ซึ่งค่อยๆ ลึก คนก็ย่อมค่อยๆ เกิดความกลัว ดังนั้น ความหมายเดิมของคำนี้ จึงแปลว่า ที่ลึกๆ ซึ่งบางครั้งเราก็หยั่งไม่ถึง ทำนองนี้ ...

ส่วนความหมายอื่นๆ เป็นไปด้วยอำนาจ รุฬหิศัพท์ คืองอกเงยขึ้นมาด้วยการเปรียบเทียบ เช่น ตำราที่ยากแก่การเข้าใจ ผู้ศึกษารู้สึกกลัว หรือเบื่อหน่ายที่จะศึกษาเล่าเรียน เค้าก็ให้จัดเป็นระดับคำภีร์ ซึ่งภาษาบาลีก็ใช้ทำนองนี้ด้วยเช่นกัน

หมายเหตุ

รุฬหิศัพท์ คือ คำที่มีความหมายงอกเงยเพิ่มเติมขึ้นมาจากความหมายเดิมประการหนึ่งประการใด เช่นในภาษาไทย ปรกติคำว่า ประเทือง น่าจะหมายถึง พอใจ สบายใจ เป็นที่ยินดี ...ประมาณนี้ ต่อมาด้วยอิทธิพลของบทเพลงหนึ่ง ทำให้คำว่า ประเทือง ได้ความหมายใหม่ว่า กะเทย ...ทำนองนี้

ประเทือง ในความหมายใหม่ว่า กะเทย ก็อาจจัดเป็นรุฬหิศัพท์ได้เช่นด้วยกัน 5 5 5

คำสำคัญ (Tags): #คัมภีร์ 


ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย