สร้างผู้นำ ทำงานเก่ง เป็นคนดี


กราบขอบพระคุณพี่อุไรวรรณ อยู่ชา อาจารย์ผู้เป็น Great Mentor ให้ผมได้ความรู้เรื่อง HR อย่างดีต่อใจเสมอมา ขอบพระคุณข้อมูลดีงามจาก HR Monday กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ที่กรุณาเสริมกระบวนการถอดบทเรียนเพื่อนำสุขภาวะทุกช่วงวัย

Credit ข้อมูลจาก HR Monday พบว่ง องค์กรจะสนับสนุนคนทำงานที่มีศักยภาพสูงแค่ 5-10% ให้เป็นผู้บริหาร แต่คนเก่งปานกลางอีก 80% องค์กรจะพัฒนาได้อย่างไร ซึ่งสอดคล้องกับภาพที่ผมถอดบทเรียนมาจากองค์กรแห่งหนึ่ง

Inherent Talented Person to Talented Teamwork via Flexible Learning Development 

ขอบพระคุณพี่อุไรวรรณ ที่ทำให้ผมได้ไอเดียหัวข้อบันทึกครั้งนี้และพี่อุไรวรรณยังได้แนะนำสูตรปุ๋ยบ่มเพาะผู้นำองค์กรด้วยความสำเร็จ (Learning Model) เพื่อวางแผนการพัฒนาคนทำงานรายบุคคล 70% ด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงาน 20% ด้วยการเรียนรู้จากระบบพี่เลี้ยงและผู้สอนงานที่ตั้งคำถามให้คิดเป็นระบบหรือโค้ช และ 10% ด้วยการเรียนรู้จากการอ่าน การเข้าชั้นเรียน และการอบรมต่างๆ ทั้งนี้การวัดคนดีในองค์กรจะประเมินจากพฤติกรรมที่แสดง Competency ทั้งเก่งและดีผสมกัน มีระบบ Talent รักษาคนเก่ง ปั้นคนดี มุ่งเป้าหมาย Great Leader ทำแบบใช้ได้จริง หากระบบ Talent ทำพลาดก็จะเกิดปัญหาตามมา หลายองค์กรทำแล้วเกิดปัญหา เพราะ 1.Talent ไม่เป็นที่ยอมรับ 2. การพัฒนาไม่ตอบโจทย์การปั้นผู้บริหารที่ต้องการ 3. คนที่เป็น Talent ไม่เห็นความสำคัญบางแห่งลาออกกลางคัน เพราะ ขาดระบบการดูแลรักษาทำเพียงพัฒนาจ้า ดังนั้น ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์จะช่วยได้ แถมทิ้งท้ายว่า คนดีหมดไฟ วิเคราะห์หาสาเหตุให้เจอ จะจุดไฟได้ 

“ขอบคุณ ดร. Pop ที่ให้เกียรติค่ะ”

จากการวิเคราะห์รูปข้างบนที่ส่งมา พบว่า กรณีผ่าน Process ที่ 1 คือ การคัดเลือกTalent จากคุณสมบัติที่กำหนดไว้แล้ว และตัวจริงเสียงจริง โดยเอ่ยชื่อปุ๊บทุกคนยอมรับ "ใช่เลย" สามารถขึ้นรถของ อ.pop พัฒนาตามเรื่องหรือหัวข้อที่กำหนดได้เลยครับ เพียงเพิ่มการทบทวนว่า เนื้อหาดังกล่าว สามารถปั้นให้ Talent เป็นผู้บริหารที่เก่งและดีในอนาคตได้หรือยัง กรณียัง ควรเพิ่มสมรรถนะ (competency ) ใดค่ะ นอกจากพัฒนาแล้ว ควรดูแลรักษา Talent ไว้ให้อยู่กับองค์กรด้วยใจผูกพันอย่างไร

ทำให้ผมนำมาเชื่อมโยงบทเรียนจากคนไข้ที่มีภาวะย้ำคิดวิตกกังวลกับหัวหน้างาน ที่ผมฝึกทักษะการเรียนรู้เพื่อประกอบอาชีพอย่างน้อย 45-66 วัน ด้วยกระบวนการปรับความความคิดให้ยืดหยุ่นด้วยสื่อการรับรู้สติแห่งตน อันเป็นสื่อการรักษาแรกทางกิจกรรมบำบัด ดังภาพ

Therapeutic Use of Self-Conscious to Self-Acceptance in Life Balance 

 สิ่งสำคัญที่น่าสนใจคือ ความเชื่อมั่นในสมรรถนะแห่งตน ระหว่าง “กำลังเป็นคนเก่ง คนดี หรือทั้งเก่งทั้งดี” เพราะประสบการณ์ของคนทำงานที่กำลังเกิดภาวะหมดไฟนั้นมาจาก 3 สาเหตุ คือ คาดหวังสูง กลัวผิดพลาด โดนเปรียบเทียบกับคนที่เก่งกว่า ด้วยการวัดภาระหน้าที่การทำงานเพียง 2 รอบต่อปีจากคะแนนพอใช้ ดี ดีเยี่ยม ทำให้การประเมินความดีด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ตลอดชีวิตการทำงานนั้นไม่เป็นที่ประจักษ์ ดังรูปที่เกิดปัญหาภาวะย้ำคิดวนแข่งขันกับคนอื่นจนลืมสื่อการรักษาทางกิจกรรมบำบัดตัวที่สอง คือ การปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาวะทางจิตสังคมของการทำงานเป็นทีมด้วยสติแห่งความไว้วางใจ (ความรักความเข้าใจ + เอาใจเขามาใส่ใจเรา) 

Potential People & Powerful Performance Patterns: Map of Consciousness & Transformative Competency 

   นอกเหนือจากสื่อทางกิจกรรมบำบัดตัวที่สามที่เน้นกระบวนการรับฟังและพร้อมที่จะเรียนรู้สังคมอารมณ์อย่างไหลลื่น (คิดน้อย ๆ เปิดใจเยอะๆ) ดังรูป 

Social Emotional Learning Flow of Unthinking & Freedom in Health as Wealth  

 ตัวอย่างกระบวนการประยุกต์สื่อทางกิจกรรมบำบัดตัวที่สามนี้ ขอบคุณ Netflix ทำให้ผมเห็นตัวอย่างที่ชัดเจน

ถอดบทเรียนจาก the good doctor จงเชื่อมั่นในคุณค่าของคนและให้โอกาสเรียนรู้ด้วยการรับฟังโดยไม่ตัดสินมาตราฐานใด "Accepting failure makes you stronger, your goal is love...Send my love to everyone". เวลามีค่า อย่ามัวถูกผิด จงรักตัวเองและดูแลคนที่รักเรา

นี่คือความดีงามระหว่างลูกศิษย์ที่เสนอไอเดียที่นอกกรอบกับอาจารย์พี่เลี้ยงที่เปิดโอกาสทดลองหลายรอบเพื่อพิสูจน์ความเป็นไปได้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง จนวางใจให้นำไปแก้ปัญหาในหัตถการผ่าตัดช่วยชีวิตคนไข้อย่างมั่นใจ แต่ในเวลาจริง การระดมทำงานเป็นทีมด้วยจิตไว้ใจกันนั้นเกิดสุขสำเร็จ สื่อสาร สร้างสรรค์อย่างโชคดี … ผมน้ำตาไหลเมื่อได้ชมภาพยนตร์ตอนนี้ Good Doctor ตั้งแต่คำขอร้องให้โอกาสคุณหมอผ่าตัดอัจฉริยะผู้มีความฝันอยากลบปมชีวิตที่ไม่สามารถช่วยเหลือพี่ชายได้ในวัยเด็ก ถ้าเขาผ่าตัดช่วยชีวิตคนไข้ได้ คนไข้เหล่านี้ก็จะเติบโตเป็นผู้มอบความรักความเข้าใจให้กับลูกและคนรอบตัวได้อย่างสงบสุข ทำให้เรารู้จัก Savant Syndrome อัจฉริยะออทิสติกด้านมิติสัมพันธ์ ความจำดีเลิศ เชื่อมโยงภาพเร็วมาก พูดตรง ไม่โกหก ไม่เห็นแก่ตัว ไม่สบตา ไม่ชอบคนซักถา ก้าวร้าวเร่งแก้ปัญหาให้จบทันที ใช้คำว่าขอบคุณแทนคำพูดลบ ไม่ปฏิเสธงานเล็ก ๆ ไม่ต้องการชื่อเสียง ปิดทองหลังพระ สุดท้ายอาจารย์พี่เลี้ยงก็จบชีวิตด้วยความประมาท ทุ่มเทกับงานด้วยความสมบูรณ์แบบจนไม่รีบรักษาอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยคิดไปเองว่าบาดเจ็บเล็กน้อย ทั้ง ๆ ที่ลูกศิษย์ก็เตือนแล้ว ซึ่งวิเคราะห์กระบวนการคิดลบได้ดังรูปนี้

WE relearn 3F: Freedom of Flow, Flexibility, and Fear of Failure; unlearn 2P: Procrastination and Perfectionist 

อีกเรื่องหนึ่ง Kotaro lives alone เพิ่มคติชีวิตคิดบวกว่า “เราเกิดมาทำไม เป็นภาระ หรือ เป็นพลัง” สะท้อนให้เห็นน้ำใจในเพื่อนข้างห้องของเด็กวัยห้าขวบที่ตั้งใจฝึกฝนนิสัยอันแข็งแกร่ง โดยเฉพาะการไม่พูดโกหกและการเป็นผู้ไว้ใจให้คุณค่าแก่คนรอบตัว 

คำถาม WHY ของเด็กวัย 2-6 ขวบสะกิดใจให้ผู้ใหญ่ได้ระลึกถึงนิสัยที่กำลังโกหกตนเองและโมโหคำตำหนิจากพ่อแม่จนจำฝังใจ...เกิดภาวะหลับง่ายจากความเครียด หรือ Excessive Daytime Sleepiness กว่าจะคิดปรับตัวได้ คือ เปิดใจ ยอมรับ และให้อภัยกัน ก็ย่างเข้าสู่วัย 35 ปี บางรายก็เกิน 50 ปี

ทำให้ผมคิดถึงสื่อการรักษาทางกิจกรรมบำบัดตัวที่สี่และห้าประกอบกัน คือ กระบวนการสอนและการเรียนรู้ด้วยสัมพันธภาพบวกบวก ดังรูป

How People Learn from Failure; Keep in Mind & Wellbeing for Life Balance 

ขออนุญาตนำประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากท่านอาจารย์วิรัตน์ มาสรุปท้ายบันทึก ด้วยความขอบพระคุณอย่างยิ่ง

ร่วมแลกเปลี่ยนด้วยครับอาจารย์ป็อป ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด และหลังสถานการณ์ กระทั่งในอนาคตต่อๆไป ที่ต้อง WFH - LFH จะเห็นแนวโน้มแล้วว่า ระบบและโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งนวัตกรรมการศึกษาในชุดวิทยาการใหม่ๆนั้น นวัตกรรมห้องเรียน หลักสูตรจัดชั้นเรียน หนังสือตำราเรียน สื่อ เทคโนโลยีการศึกษา แบบอิงชุดความรู้มาตรฐานเดียวกัน การสอบวัดผลเลื่อนชั้นปี การเรียนตามมาตรฐานองกลุ่มอายุ พากันไปให้ได้พร้อมๆกันแบบแพ้คัดออก เหล่านี้ จะมีบทบาทน้อยลงและทำได้ยากมากยิ่งๆขึ้น อีกทั้ง ทั้งโรคระบาด ธรรมชาติอย่างใหม่ของคนรุ่นใหม่ ความจำเป็นในชีวิตและการเลี้ยงชีพ และสภาพแวดล้อมอันหลากหลาย ก็เป็นโจทย์และข้อตกลงเบื้องต้น ให้ทำหลายอย่างแบบเดิมไม่ได้

ขณะเดียวกัน นวัตกรรม ระบบ และโครงสร้างพื้นฐาน ที่กดดันให้ต้องไปจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน เชื่อมโยงกับทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไม่จำกัดด้วยวิทยาการและเทคโนโลยีการสื่อสารเรียนรู้ดิจิตัล เชื่อมต่อกับภาคปฏิบัติการ พิสูจน์ และตรวจสอบ กับโลกความเป็นจริง บนเงื่อนไขแวดล้อมหลากหลาย ที่ผู้เรียนทุกคนจะสามารถตัดสินใจและจัดการกับแหล่งการเรียนรู้ในชีวิตของตนเองได้มากยิ่งๆขึ้น

แนวโน้มเหล่านี้ จะทำให้นวัตกรรมการออกแบบและจัดกระบวนการเรียนรู้ ของครู กระบวนกร สุนทรียปัญญากร บุคลากรการศึกษา ตลอดจนผู้อำนวยการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ จะไม่ใช่หน่วยประสบการณ์และหน่วยเนื้อหาความรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ แต่จะเป็นการประเมินเสริมพลัง การถอดบทเรียบนเสริมพลัง เพื่อสำรวจขอบข่ายชีวิตและขอบข่ายทุนประสบการณ์ และมวลประสบการณ์ของผู้เรียน ว่าอยู่ตรงไหน ขอบข่ายในสาระสำคัญของชีวิต จะสามารถเสริมการเรียนรู้ พาเข้าสู่การเรียนรู้ ขยายความกว้างขวาง เพิ่มพูน และเสริมย้ำความเข้มแข็ง ให้ได้อย่างไรบ้าง

เลยขอเสริม ตัวอย่างขององค์ประกอบเพื่อการออกแบบและดำเนินการอย่างที่ว่านี้ ดังในมุมขวาล่างแน่ะอาจารย์ เรื่องนี้จำเป็นมากครับ เมื่อก่อนเคยพาชาวมหิดลและเครือข่ายจัดการความรู้ทำ รวมทั้งพาชุมชนพัฒนาเวทีการเรียนรู้รว่มกันของชุมชนในแนวทางนี้ เพราะเห็นแนวโน้มมานานแล้วว่าสักวันหนึ่งสังคมจะต้องมี Learning Literacy แบบนี้ และตอนนี้ก็มาถึงแล้วละ แต่เราละทิ้งการสร้างทักษะเชิงกระบวนการแบบนี้ของอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักสื่อสารการศึกษา และกลุ่มคนทำงานกลุ่มต่างๆในองค์กรและกหน่วยจัดการความรู้ ดังเช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียน สถานศึกษา องค์กรการสื่อสาร องค์กรชุมชน ฯลฯ ทำให้เสียโอกาสการทำงานเชิงรุก และต้องมาตั้งรับหลายวิกฤติ อย่างไม่เป็นกระบวน อาจารย์ป็อปเป็นมือดีคนส่วนน้อย ที่จะสามารถพาคนหาทางออกไปในแนวทางนี้นะครับ เลยขอร่วมแลกเปลี่ยนและเสริมพลังคิดกันครับ

“เป็นการสะสม เผยแพร่ แบ่งปัน พัฒนาการเรียนรู้เพื่อการใช้ประโยชน์ของสาธารณชน และมีแง่มุมที่เป็นวางรากฐานพหุวิทยาการกิจกรรมบำบัดของประเทศ ที่ค่อยๆศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลปฏิบัติการ สื่อสารเพื่อสำรวจทรรศนะวิพากษ์และการเปิดแนวพินิจจากหลายแขนง แล้วก็ใช้การบันทึกข้อมูลทั้งภาษาภาพและภาษาการพรรณาความ ที่มีคุณค่ามากอย่างยิ่งครับอาจารย์ป๊อป”

หมายเลขบันทึก: 691685เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2021 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2021 08:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท