ทำพลาดให้เร็ว ล้มไปข้างหน้า คุ้มค่ากว่ามานั่งรอ


Agile (#อไจล์) คือ  กรอบแนวคิด และวิธีการทำงานอย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว เพื่อปรับเปลี่ยนให้สามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็วในสภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง

.

แนวคิดนี้ จะทำให้#ทุกคนในทีมหันมาเน้นการสื่อสารกันมากขึ้น

กล้าเสี่ยงที่จะลองทำสิ่งใหม่ๆ ทั้งๆที่ไม่สามารถที่จะการันตีผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นได้

เรียนรู้จากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ไปพร้อมกับการปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอ

.

หลายๆองค์กรเอาแนวคิดนี้ เข้าไปประยุกต์ใช้ในองค์กรเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีคิดและแนวการทำงาน ให้สามารถปรับตัวได้เร็วขึ้น และตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้พึงพอใจขึ้น

.

Agile  เริ่มจากผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ ต้องการปรับกระบวนการให้คล่องแคล่วทันยุค #Digital #Transformation จึงร่วมกันออกแบบ “#คำประกาศ(#Manifesto)”  ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสินค้า/บริการ/กระบวนการอื่นที่ต้องการความคล่องตัวเช่นกัน ซึ่งคำประกาศนั้น มี 4 ข้อ คือ

.

1.Individuals and interactions over processes and tools

การให้ความสำคัญกับตัวผู้ทำงานและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำงาน มากกว่าขั้นตอนวิธีการหรือเครื่องมือ

.

2. Working software* over comprehensive documentation

การสร้างซอฟต์แวร์ (หรือผลิตภัณฑ์/บริการ/กระบวนการทำงาน)ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง มากกว่าเอกสาร คู่มือ หรือการใช้เวลาในการวางแผนเอกสารงาน

.

3. Customer collaboration over contract negotiation

การทำงานร่วมกับลูกค้า มากกว่าการต่อรองสัญญากับลูกค้า

.

4. Responding to change over following a plan

การยอมรับปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ (หรือผลิตภัณฑ์/บริการ/กระบวนการทำงาน)ตามความเปลี่ยนแปลงของความต้องการของลูกค้า มากกว่าการทำตามแผนการเพียงอย่างเดียว

.

วิธีการดังกล่าวจะเปลี่ยนจาก ทำงานแบบแยกตามหน่วยงาน(Silo) เป็น  ทีมข้ามสายงาน(Cross Function Team) ทำงานใกล้ชิดกับลูกค้า  เปลี่ยนจาก เน้นไอเดียที่มีคุณภาพ เป็น  เน้นปริมาณไอเดีย  เปลี่ยนจาก ทำงานตามลำดับขั้นตอนใหญ่ๆแบบน้ำตกไหลลงมาเป็นชั้นๆ(Waterfall Model) เป็น  รอบการทำงานสั้นๆ(Sprint) ประกอบด้วย Discover Design Develop Test เพื่อให้ทีมงานสามารถส่งมอบงานย่อยคร่าวๆที่พอใช้การได้ให้ลูกค้าดูได้อย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ เพื่อจะได้รับ Feedback มาจากลูกค้าได้รวดเร็ว ส่งผลให้

·         Fail Fast  ถ้าผิดพลาด ก็ได้แก้ไขแต่เนิ่นๆ

·         Fail Cheap  เสียหายไม่มากเพราะยังไม่ได้ทำถึงขั้นสมบูรณ์แบบ

·         Fail Forward  นำความผิดพลาดเป็นบทเรียนเพื่อเรียนรู้และปรับปรุงให้ดีขึ้น

เพื่อที่จะนำ Feedback เหล่านั้นกลับมา ปรับจูน(Refinement)  และนำกลับไปเข้าวงจร Discover Design Develop Test  ต่อไป

.

หลักการที่สนับสนุนการทำงานแบบ Agile

·         ยึดความต้องการลูกค้าเป็นที่ตั้ง

·         ไม่เบื่อที่จะแก้ไขงาน เพื่อผลงานที่ใช้ได้จริง

·         ส่งมอบงานสม่ำเสมอด้วยรอบเวลาที่สั้นลง

·         สร้างทีมที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลาย เชื่อมั่นว่าทุกคนมีศักยภาพในการทำงาน

·         ทีมที่มีพลัง สื่อสารภายในทีม รับผิดชอบตัวเอง และปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่อง

.

ข้อแนะนำในการพิจารณานำไปประยุต์ใช้

·         วิธีการทำงานแบบนี้ อาจไม่เหมาะกับทุกองค์กร ควรจะนำไปทดลองกับทีมหรือโครงการเล็ก ๆ เสียก่อน และหากมีแนวโน้มที่ดี จึงค่อยขยายผลทดลองกับทีมหรือโครงการที่ใหญ่ขึ้นต่อไป    

·         เหมาะกับการทำงาน โครงการที่ต้องการความคล่องตัว เนื่องจาก

o   การเปลี่ยนแปลง Requirement ตลอดเวลา

o   ลูกค้าเองก็ยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วตัวเองต้องการอะไร

o   ลูกค้าอยากได้ระบบที่ใช้งานได้เร็วที่สุด (ยังไม่ครบฟังก์ชันก็ได้)

o   ไม่รู้ว่าคนอื่นภายในทีมกำลังทำอะไรกันอยู่

            ถ้าเป็นแบบนี้ ก็จะได้ผลงานที่ #คล่องแคล่ว #ว่องไว #ตรงใจลูกค้า

·         ถ้าลูกค้า หรือรูปแบบการทำงานขององค์กรคุณเป็นแบบนี้  การใช้ Agile อาจไม่ work ก็ได้

o   Requirement ชัด ไม่เปลี่ยนแปลงง่ายๆ

o   ต้องการความเป็นทางการ ความสมบูรณ์แบบ

o   ต้องการตรวจยืนยันตามขั้นตอน

ถ้าเป็นแบบข้างต้น กรณีที่คุณส่งงานที่ “พอใช้การได้” เพื่อขอ Feedback มาปรับปรุงต่อ ทางลูกค้าหรือเจ้านายของคุณอาจไม่พอใจ และคิดว่า คุณส่งงาน “ชุ่ยๆ”มาให้ได้ยังไง?  แบบนี้ก็ต้องระวัง อาจเสียความน่าเชื่อถือได้

.

.

 

วันชัย ตันจารุพันธ์

เพจ : แผนธุรกิจ

[email protected]

คำสำคัญ (Tags): #agile
หมายเลขบันทึก: 691542เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2021 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2021 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท