แนวคิดและทฤษฎีประจักษประมาณในปรัชญานยายะ


จากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีประจักษประมาณในปรัชญาปรัชญานยายะ พบว่า ความรู้ทุกประเภท คือ เป็นความจริง
และมีข้อเท็จจริงปรากฏ 2 ทาง คือ ทางประสาทสัมผัสหรืออายตนะและทางอารมณ์หรือวัตถุที่ถูกรู้ นยายะ เห็นว่า ความรู้
ย่อมเป็นสิ่งที่เปิดเผยทั้งผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้ 2 ชนิด คือ “ปรมา” ความรู้ที่มีเหตุผล และ “อปรมา” ความรู้ไม่มีเหตุผล นยายะ
มองว่า ความรู้เป็นสภาวะกลาง ๆ ไม่จริงและไม่เท็จ คือ รู้ถูกกับรู้ผิดที่มีหน้าที่เปิดเผย 3 อย่าง คือ เปิดเผยตัวผู้รู้ เปิดเผยสิ่งที่รู้และเปิดเผยตัวความรู้ ซึ่งเป็นบ่อเกิดความรู้ที่ถูกต้อง 4 ประการ คือ ประจักษประมาณ อนุมาน อุปมาน ศัพทะ ความรู้ทั้ง 4 นี้ยังแบ่งออกเป็น สามัญลักษณะ ชญาณลักษณะ โยคชะ ซึ่งเป็นบ่อเกิด แนวคิดและทฤษฎีทางประจักษประมาณของปรัชญานยายะ และมีการรับรองว่า ความรู้ที่แท้จริง คือ ความรู้ที่ได้จากการสัมผัสระหว่างอายตนะภายในกับอายตนะภายนอกที่เกี่ยวกับสิ่งที่เรารับรู้ ที่ปรากฏแก่ประสาทสัมผัสโดยตรง เป็นความรู้ที่เปิดเผยทั้ง “ผู้รู้” และ “สิ่งที่ถูกรู้” เป็นแหล่งที่ให้ความรู้อันถูกต้องจากความจริง ซึ่งเป็นความรู้ที่เขาสื่อให้เกิดความเข้าใจในความรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 691478เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2021 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2021 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท