อัตถิภาวนิยมที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาทเชิงอภิปรัชญา


บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่อง “อัตถิภาวนิยมที่ปรากฏในพุทธปรัชญาเถรวาทเชิงอภิปรัชญา” พบว่า อัตถิภาวนิยมกล่าวถึงการมีเสรีภาพและความรับผิดชอบในการเลือกที่จะยอมรับหรือปฏิเสธต่อปรากฏการณ์ของชีวิตที่มนุษย์ต้องเผชิญหน้าด้วยความเป็นตัวของตัวเอง โดยการยอมรับผลที่เกิดขึ้นแก่ตนเองและสังคม                    ส่วนพุทธปรัชญาเถรวาทมีคุณลักษณะเฉพาะของที่แต่ละบุคคลจะมีความสามารถปฏิบัติเพื่อแสวงหาความจริงของชีวิตตามแนวคิดและวิถีของตนเอง ในการพัฒนาความเป็นอิสระทางจิตที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในวัตถุและรู้เท่าทันความเป็นจริงของชีวิตและสังคมแบบมีปฏิสัมพันธ์อย่างสอดคล้องซึ่งกันและกันที่ให้ความสำคัญในความเป็นมนุษย์ที่มิใช่เพียงแค่มีชีวิตอย่างเดียว แต่ให้ดำรงอยู่อย่างมีสติรู้เท่าทันปรากฏการณ์ดำรงอยู่อย่างมีคุณค่าแก่มนุษย์สองลักษณะ ก็คือ (1) ลักษณะในเชิงอภิปรัชญาที่กล่าวถึงสิ่งมีอยู่แน่นอนโดยไม่ขึ้นกับสิ่งใด มีอยู่อย่างเป็นปรวิสัยที่เป็นหลักการสากลเหนือความเป็นไปของสิ่งทั้งปวง และมีอยู่อย่างเป็นอัตวิสัยเป็นสิ่งมีอยู่ในสิ่งเฉพาะคือขันธ์ 5 และ (2) ลักษณะของความเป็นมนุษย์ มีอยู่จริงในสองลักษณะด้วยกัน ได้แก่ จริงแบบสมมติ (อัตตาเชิงบัญญัติ) กับจริงแบบปรมัตถ์ (พระนิพพาน)          พุทธปรัชญาเถรวาทกับแนวคิดเรื่องอัตถิภาวนิยมมีความเข้มข้นในด้านความมีเสรีภาพโดยไม่สนใจผู้อื่น ซึ่งต่างจาก พุทธปรัชญาเถรวาทที่แสดงถึงการพัฒนาตนเองและพร้อมที่จะช่วยเหลือคนอื่น โดยอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจตนเอง และเข้าใจผู้อื่นด้วยและพร้อมเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์

 

หมายเลขบันทึก: 691476เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2021 08:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2021 08:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท