วัยรุ่น...ความกังวลกับการค้นหาตัวตน


“เปิดเทอมหน้า ก็ต้องขึ้น ม. 3 แล้ว ต้องเลือกแล้วว่าจะเรียนอะไรดี?”

“แม่ช่วยเลือกให้ได้ไหม ว่าให้เรียนอะไร คิดไม่ออก”

“Youtuber นี่รวยนะแม่ ได้เงินเยอะเลย” 

“แม่ วิศวะแบบป๊า นี่เรียนอะไรบ้าง ?”

ฯลฯ

.

.

หลากหลายคำพูดที่ลอยออกมาจากใจเรื่อยๆ

ตั้งแต่ม.2 เทอมปลายของลูกชายวัยรุ่น

.

.

ทุกครั้งก็รับฟังด้วยใจ สะท้อนความรู้สึกและได้คุยกันบ้าง 

ดูจังหวะที่ลูกอยากคุย หรือหากไม่แน่ใจก็ใช้การถามค่ะว่า 

"ลูกอยากคุยกับแม่เรื่องนี้ต่อไหม? "

ใช้การสังเกตแววตา ท่าที ใส่ใจฟังเสียงของลูกด้วยใจ

.

.

ล่าสุด เมื่อได้อยู่ม.3 ก็มีคำพูดคล้าย ๆกันนี้อีก

.

.

คืนหนึ่งก็เจริญมรณะสติก่อนนอน

แล้วก็ได้เห็นว่าตัวเองมีความต้องการสื่อสารกับลูกในประเด็นนี้แบบจริงจัง

.

.

ถามตัวเองว่า สิ่งที่เราอยากคุยนี้เพื่อใคร

เพื่อให้ตัวเองสบายใจ

หรือเพื่อลูกมากกว่ากัน

เมื่อได้คำตอบชัดๆ ว่าเราปรารถนาดูแลใจเขามากกว่าดูแลใจตัวเอง

.

.

จุดนี้สำคัญมากค่ะ สำหรับแม่ดาว

เรียกได้ว่า มันเป็นจุดเริ่มต้น

ที่เป็นจุดเปลี่ยนของผลลัพธ์เลยว่าก็ได้

เวลาที่เราทำเพื่อเขา พูดเพื่อเขา

อย่างจริงใจ ไม่ได้พูดเพื่อตัวเอง

ผลลัพธ์ที่ได้มักต่างกันมากจากประสบการณ์

.

.

ก็เลยหาโอกาส ดูจังหวะ และโยนคำถาม

ถามทางของใจ ว่าลูกจะสะดวกใจคุยกันไหม และได้รับโอกาสลูกเปิดประตูใจต้อนรับค่ะ 

.

.

เปิดประเด็นว่า

แม่ “แม่สังเกตว่า มีมากกว่า 3 ครั้ง(จำไม่ได้ว่ากี่ครั้ง) 

ที่ลูกพูดเรื่องการเรียนต่อ ล่าสุดวันก่อนลูกก็พูดประเด็นนี้อีก

เหมือนลูกมีความกังวลใจมากหรือเปล่า”

ลูก “ก็ไม่นะ แต่ก็มีความกังวลอยู่บ้างไม่มากเท่าไหร่”

แม่ “อืม...แม่เป็นห่วงความรู้สึกลูกแหละ แต่รู้แบบนี้ก็ดีใจที่ลูกดูแลอารมณ์ตัวเองได้ดี”

"แล้วตอนนี้คิดออกหรือยัง ว่าจะเลือกเรียนอะไร อย่างไร?"

ลูก .............................................................................เล่าความคิดตัวเอง

แม่ “น่าสนใจ ขอบคุณที่เล่าให้แม่ฟัง รู้สึกชื่นชมเลยที่ลูกมีความคิดในแบบของตัวเอง สมัยแม่อายุเท่าลูก แม่ยังไม่มีความคิดอะไรแบบนี้เลยโล่งๆ มาก มีคุณยายนี่แหละที่คิดให้แม่หมด 

.

.

ว่าแม่ควรเรียนอะไร แม่เลยไม่ได้คิดอะไรเองสักเท่าไหร่ แม่ก็รู้สึกขอบคุณคุณยายนะ มีแม่วันนี้ได้ก็เพราะมีคุณยายนี่แหละ แต่ก็มีเสียดายเหมือนกันนะที่ไม่ตั้งใจฟังเสียงความรู้สึก ความต้องการของตัวเอง จริงๆ มันมีแหละเสียงเบามากกกกก แม่ไปใส่ใจฟังเสียงข้างนอกมากกว่าเสียงตัวเอง” 

“รู้สึกกดดันไหม หรือรู้สึกอย่างไร เหมือนเด็กยุคนี้ต้องรีบค้นหาตัวเองให้เจอ”

ลูก “ก็ไม่กดดันนะ กังวลนิดหน่อย ส่วนใหญ่ก็เฉยๆ” 

แม่ “ก็มีกังวลบ้างเนาะ ในยุคแม่ วัยรุ่นตอนนั้นหลายคนก็หาตัวเองไม่เจอหรอก แต่แม่ก็เห็นว่าเพื่อนๆ ก็ไม่ได้กดดันอะไรมากนัก มีบางคนแหละที่จริงจัง เครียด แม่น่ะก็ชิวมาก กว่าแม่จะหาตัวเองเจอ รู้ว่าตัวเองชอบอะไรจริงๆ แบบที่เรียกว่าเป็น Passion ที่สมัยนี้เขาฮิตพูดกันก็แก่แล้วอะ เพราะมีลูกแม่ถึงค้นพบตัวตนของตัวเอง อันนี้ต้องขอบคุณลูกเลยแหละ"

“แล้วลูกเห็นว่าตัวเองมีคุณสมบัติทีดีอะไรบ้าง” ต้องการโพยไหม?

(คำศัพท์นี้ใช้กับลูกได้ ลูกรู้จักผ่านแม่ปูทางมาบ้างแล้ว)

ลูก “เอาก็ดี มีน้ำใจ ใจดี แบ่งปัน มีอิสรภาพ ร่าเริง มองโลกในแง่ดี มีความความคิดสร้างสรรค์”

แม่ “ว้าว เยอะมากเลย แม่เห็นด้วยทุกข้อเลย และแม่ก็เห็นลูกมีคุณสมบัติที่ดีมากกว่านี้ เช่น ลูกมีทักษะการสื่อสารที่ดี รับฟัง อ่อนโยน พึ่งพาได้ มีไหวพริบ รับผิดชอบ แก้ปัญหาตัวเองเป็น เป็นนักกลยุทธ์ ฯลฯ” (แม่ไม่ดูโพย พูดจากใจ)

ลูก “เยอะขนาดนั้น?”

แม่ “ใช่จริงๆ แม่เห็นเยอะกว่านี้อีกนะ” แต่แม่เห็นลูก ก็ไม่สำคัญเท่าลูกเห็นตัวเองหรอก มันสำคัญที่ลูกแหละว่าจะเห็นตัวเองว่าเป็นอย่างไร 

.

สำหรับแม่นะ การที่เราจะหาตัวเองเจอ ค้นพบความชอบว่าตัวเราอยากจะเป็นอะไร อยากเป็นใคร

.

ก็มาจากการรู้จักตัวเองนี่แหละ รู้จักความรู้สึก ความต้องการของตัวเอง มันเป็นแผนที่พาเราไปพบสิ่งที่เรารักที่เราชอบได้ การรู้ว่าตัวเองไม่ชอบอะไร ก็เป็นการค้นพบตัวเองอีกแบบ 

.

แล้วลูกคิดว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้เราได้เจอความชอบ ความใช่ สิ่งที่เรารักอยากทำ?”

ลูก “ก็ไม่รู้อะ ยังคิดไม่ออก”

แม่ “ขอบคุณครับ ตอนแม่อายุเท่าหนูก็คิดไม่ออก แม่ขอแบ่งปันจากประสบการณ์ความแก่ของแม่เนาะ (ดูหน้าลูกด้วย ดูเปิดรับก็ไปต่อ)

.

แม่เจอสิ่งที่แม่รักที่จะทำ ก็ตอนมีลูก การได้ลองทำ ลงมือทำ แม่จึงเจอเรื่องที่แม่รัก ทำแล้วมีความสุขสนุกเป็นพลังชีวิตเลย 

.

อย่างที่แม่เขียนเรื่องราวในเฟซบุ๊ค การได้รับฟังความทุกข์ของผู้คน เพราะแม่ได้ทำ แม่จึงรู้สึกถึงพลังความสุข 

.

บางเรื่องนะแม่เคยคิดว่าแม่ไม่ชอบ เรียกว่าเกลียดมากๆ อย่างเรื่องศิลปะ วาดรูป ระบายสี ทำสักระยะซึ่งก็เป็นปีนะนานพอสมควรเลย(ซึ่งลูกเห็นแม่ใช้ชีวิตแทบตลอด) 

.

ก็เห็นว่าความรู้สึกเกลียดหายไป แต่ยังเห็นความรู้สึกไม่ชอบอยู่ พอรอบนี้แม่ได้กลับมาลองทำอีก แม่เห็นว่า แม่มีความเบาสบาย มีความชอบมากขึ้น สนุกมากขึ้น สำหรับแม่การได้ลองทำและทำนานพอก็จะเห็นตัวเอง และการที่เห็นตัวเองแล้วในอดีต อนาคตก็อาจเปลี่ยนแปลงได้เหมือนกัน”

.

ลูก “อืม....พอเข้าใจแล้ว...เล่นเกมแล้วนะ อันนี้ชอบ”

แม่

+

หลายคนมักบอกว่า "ลูกแม่ดาวโชคดีที่มีแม่ดาวเป็นแม่" ขอบคุณจากใจค่ะ

ด้วยความจริงจากใจ

"แม่ดาวต่างหากที่โชคดีได้มีลูกชายคนนี้เป็นลูก"

+

หมายเหตุ นานมากๆ แล้วค่ะ ที่แม่ดาวไม่ได้นั่งคุยกันยาวๆ แบบนี้ ปกติกับลูกวัยรุ่นจะพูดไม่เยอะ ขำให้เยอะ ฟังให้แยะ(ลูกชอบความสนุกขำขัน) แต่เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ลูกใส่ใจ เขาเลยดูสนใจฟังได้นาน

ขอบคุณภาพจากแม่โอ๋ค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 691438เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2021 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2021 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท