วิธีการที่ภาษาไทยก่อให้เกิดการแบ่งชั้นและดำรงไว้ซึ่งการแบ่งแยกทางสังคม


ถึงแม้ว่าจะไม่เคยได้รับการศึกษาในประเทศไทย แต่ธัญญารัตน์ (ไม่ใช่ชื่อจริง) เติบโตขึ้นมาด้วยความเชื่อว่าเธอภาคภูมิที่จะเป็นไทย---โดยการเกิดและการเลี้ยงดู

อย่างไรก็ตาม ความคิดอันนั้นในไม่ช้าก็ถูกท้าทายในสัปดาห์แรกของการเรียนในวิทยาลัย

กระโปรงเรียบ, รองเท้าสีขาว, มัดผมเรียบร้อย, ตาโตพร้อมที่จะเรียนรู้ ท่ามกลางพวกปี 1 ที่แต่งตัวมาอย่างเธอทุกคน ---เธอได้รับการแนะนำตัวว่าเป็นคนไทยในระหว่างการรับน้องใหม่

“นี่คือคณะ คณะเป็นเหมือนกับครอบครัว” เสียงต้อนรับของพวกปี 2 ระหว่างการประชุม “และในคณะนี้ เราต้องดูแลซึ่งกันและกัน รุ่นพี่จะช่วยดูแลรุ่นน้อง และช่วยแนะนำให้ประพฤติตัวในช่วงนี้”

ตอนนั้นเธอไม่มีความรู้ มาพร้อมกับเสียงรับน้องที่เข้ามาเรื่อยๆ และบางทีสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือกฎ ซึ่งเป็นสิ่งที่ธัญญรัตน์ต้องต่อสู้ตลอด 4 ปีที่ต่อจากนี้

“ในครอบครัว เด็กรุ่นใหม่ต้องเคารพรุ่นที่แก่กว่า” ธัญญรัตน์ทบทวน “นั่นหมายความว่าฉันต้องทักรุ่นพี่ที่ฉันเจอในวิทยาเขตด้วยการไหว้ และเรียกพวกว่ารุ่นพี่ ถึงแม้ว่าจะแก่กว่าฉันแค่ปีเท่านั้น”

ในบางส่วน สิ่งนี้คือประเพณีที่เก่าแก่และมีลักษณะเฉพาะตน ที่บางครั้งมันจำเป็นต่อสมาชิกที่จะปฏิบัติ สำหรับธัญญรัตน์ นี่คือเขตแดนที่อนุญาตให้กลุ่มของคนแปลกหน้าที่ยังเป็นเยาวชนมีอำนาจเหนือเธอ แม้ว่าจะ “ไม่ทำอะไรเพื่อได้มันก็ตาม”

“ใน 2-3 อาทิตย์ของการรับน้อง ดูเหมือนว่าฉันต้องการจะตะโกน โดยเด็กที่แก่กว่าฉันไม่กี่ปี” ธัญญรัตน์ พูด “พวกเขาพยายามที่จะบอกว่าอะไรที่ควรทำ และพยายามจะให้ฉันเชื่อว่ารักคณะคือสิ่งดี, ไหว้พวกเขา, เคารพพวกเขา, และเรียกพวกเขาว่าพี่ ทั้งๆที่เข้ามาก่อนฉัน”

“ฉันพบว่านั่นไม่จำเป็น และน่ารำคาญ มันไม่มีความหมายอะไรกับฉัน ทุกๆคนเสมอภาคกับฉัน และนั่นก็เพียงพอแล้ว ฉันถูกประเมินว่าเป็นคนคิดต่าง และไม่ต้องการที่จะทำตามประเพณี”

สถานการณ์แบบนี้เป็นสิ่งที่คนไทยรู้เรื่องมานานแล้ว มันถูกจารึกไปทุกๆที่ ตั้งแต่โต๊ะทานอาหารในบ้าน, หอประชุมโรงเรียน, ร้านค้า, และภัตตาคาร, สิ่งที่เราเห็นและได้ยินทางสื่อ, เรื่องเล่าที่ทรงอำนาจที่ปรากฏในประเทศทุกวันนี้, คำสรรพนามที่เราใช้เรียกพวกเราเอง, และทุกๆสิ่งที่คนไทยเรียนรู้ และเป็นแผนการในดำเนินชีวิต ไม่ว่าพวกเขาจะชอบหรือไม่ก็ตาม

ระบบครอบครัวที่สลับซับซ้อน ในสังคมที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง 

Rikker Dockum ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาไทย/ไต และเป็นศาสตราจารย์เชื้อเชิญในวิทยาลัย Swarthmore กล่าวว่า “สิ่งนี้ต้องอ้างอิงระบบเครือญาติ สมาชิกในครอบครัวสำหรับคนไทยแล้วคือเครือญาติ ระบบเครือญาติเป็นประเพณีที่เก่าแก่มาก ไม่ว่าจะเป็นทางประวัติศาสตร์ หรือทางธรรมชาติ และเหมือนกับวัฒนธรรมอื่นๆ ยิ่งสังคมที่มีโครงสร้างผ่านร้อนผ่านหนาวมามากเท่าใด ก็ยิ่งมีระบบสังคมที่ซับซ้อนและแบ่งชั้นมากขึ้นเท่านั้น”

พลเมืองไทยจะถูกแบ่งประเภท และถูกรวมไปตามกลุ่มทางสังคม และชั้นที่แบ่งชั้นเป็นลำดับ โดยดูจากอายุ, เพศ, ลำดับชั้นในครอบครัว, ชั้นทางสังคม หรือสถานภาพ, และลำดับที่ทางการงาน ในกฎทางวัฒนธรรม, สังคม, การแบ่งชั้นนี้ จะมีการแบ่งประเภทของบทบาทในพฤติกรรมทางสังคม, พลวัตความสัมพันธ์, และการมีปฏิสัมพันธ์ทางการพูด

Tuptim Malakul Lane ที่เป็นนักเขียยไทย และนักวิพากษ์ทางสังคม กล่าวว่า “เมื่อเธอเกิดในครอบครัวไทย เธอจะต้องรับบทบาทของสมาชิกที่เล็กที่สุด เธอจะได้รับการบอกจากพวกพี่ๆนี่คือลุง นี่คือป้า และคุณต้องเรียกเขาอย่างว่าด้วย”

เช่นในระบบเครือญาติไทย อายุเท่ากับสถานภาพและอำนาจ และก็เป็นวัฒนธรรมทั่วเอเชีย ยิ่งแก่กว่า ก็จะยิ่งมีความยิ่งใหญ่, อาวุโส, และอำนาจที่เหนือกว่าคนที่อยู่ใต้คุณด้วย โดยเฉพาะคนที่อายุน้อยกว่า

ดังนั้นคนไทยจะต้องเรียนรู้ ตั้งแต่ยังเด็ก เกี่ยวกับความแตกต่างทางสังคม และระดับทางสังคมด้วย ที่แยกหรือแตกต่างระหว่างปัจเจก คนไทยต้องเรียนรู้ในเรื่องระบบที่สลับซับซ้อนของฉาก, รหัส, และพฤติกรรมทางสังคม เพื่อเข้าใจที่ทางของตนในสังคม และประพฤติให้เหมาะสมกับสิ่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นช่วงชั้นในบ้าน, โรงเรียน, สำนักงาน, หรือชุมชนเอง

เมื่อสังคมไทยมีการแบ่งเป็นช่วงชั้น ภาษาจึงมีช่วงชั้นด้วย

Dockum กล่าวว่า “ส่วนหนึ่งของเหตุผลที่ทำไมคำบางคำจึงกลายเป็นคำไม่สุภาพ เพราะสังคมเปลี่ยนแปลง และยิ่งซับซ้อนขึ้นทุกที เธอมีระดับความสุภาพที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่คนที่เราจะพูดด้วย”  

ยิ่งเธอมีสถานภาพสูงขึ้นเท่าใด คำที่สุภาพและน่านับถือจะถูกใช้กับคุณมากขึ้นเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม ยิ่งคุณมีสถานภาพน้อยลงเท่าใด คำที่ใช้กับคุณก็ยิ่งไม่สุภาพมากขึ้นเท่านั้น นี่คือเหตุผลว่าทำไมคำสรรพนามในภาษาไทยจึงแตกต่างเพียงนิด, เปิดกว้าง, และสลับซับซ้อน

“คำสรรพนามในภาษาไทยจึงมีความแตกต่างกัน เมื่อเธอเจอใครบางคน เธอจะต้องถอยห่างกันทางสังคม เธอต้องคิดอยู่เสมอว่า ฉันมีสถานภาพที่แก่กว่า อ่อนกว่า สูงกว่า หรือต่ำกว่า?

การรู้ภาษาเป็นอย่างดียังไม่เพียงพอ ผู้พูดภาษาไทยต้องวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ และพิจารณาว่าจะพูดอะไร พูดเมื่อไร พูดอย่างไร และคนที่พูดด้วยคือใคร จะมีเส้นแบ่งในการแยกแยะว่าสิ่งนี้เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม

คำสรรพนามของช่วงชั้นและความไม่เสมอภาค

คนสามารถเรียนรู้ได้มากมายถึงความไม่เสมอภาคทางสังคม โดยดูจากการใช้คำสรรพนาม

คำสรรพนามในภาษาไทยมีการเน้นการยกระดับบุคคลและทำให้กลุ่มอื่นๆเป็นคนชายขอบ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม คำสรรพนามสามารถยกตัวคุณ หรือทำให้คุณต่ำต้อย และนั่นขึ้นอยู่กับว่าคุณตกในช่วงชั้นแบบไหน

ในหลายๆกรณี คำสรรพนามยังขึ้นกับเพศอีกด้วย

คำว่า “ผม” มี 2 ความหมายที่แตกต่างกัน อันแรกคือคำที่ใช้แทนชายไทยทุกคน และเป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่อยู่บนหัว

Dockum กล่าวว่า “นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ผมเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่บนหัว เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย”

ในทางตรงกันข้าม หญิงไทยมักจะแทนตนเองว่า ดิฉัน, ฉัน, เรา, หนู ในฐานะแทนตนเอง

ลองมาดูคำว่าดิฉันเป็นตัวอย่าง คำนี้เป็นคำสรรพนามใช้แทนตนเอง แต่ผู้หญิงส่วนไทยและคนไทยยังไม่รู้คำๆนี้มาจากคำใด

ดิฉันที่เป็นคำสรรพนามนั้นกัดกร่อนไปตามประวัติศาสตร์ แต่รากฐานของดิฉันมาจากคำว่าดิรัจฉาน ซึ่งมีความหมายว่าเป็นสัตว์ป่าหรือสัตว์

อีกสักหนึ่งคำ นั่นคือคำว่าหนู ที่มีความหมายตรงๆ เมื่อเธอแทนตนเองว่าหนู เธอกำลังแทนตนเองว่าหนู (สัตว์ชนิดหนึ่ง)

Tuptim กล่าวว่า “ทำไมแทนตนเองถึงระดับนั้น? เธอไม่ใช่หนู ไม่ว่าจะหวาน หรือเหมือนสักปานใด มันเป็นการใช้ที่ผิด และเป็นการใช้น่ารังเกียจจริงๆ”

เมื่อเธอแทนตนเองด้วยคำสรรพนาม เธอกำลังแสดงตัวตน, คุณค่า, และอำนาจของคุณ ว่าคุณยืนอยู่ที่ตรงไหนในสังคม

ดำรงซึ่งความไม่เสมอภาคทางสังคม?

Dockum กล่าวว่า “บางทีมันไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ผู้หญิง, ผู้ชาย, เด็ก, คนแก่ มีความเสมอภาคที่แตกต่างกัน และมันก็ส่งผลต่อระบบช่วงชั้นด้วย”

ช่วงชั้นทางสังคมในประเทศไทยได้สร้างโครงสร้างของคำที่สลับซับซ้อนโยงใยเป็นเครือข่าย และผู้พูดต้องรู้เองว่าตนอยู่ในช่วงชั้นไหนและทำให้ถูกต้อง และโดยนัยยะเดียวกันตัวภาษาไทยก็กระตุ้นและดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่แบ่งเป็นช่วงชั้นในไทยแบบลึกซึ้ง มันเป็นห่วงที่ยากที่จะต้านทาน และไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้

ทัศนะที่แตกต่าง ผลกระทบที่แตกต่าง 

Kaewmala ที่เป็นนักเฟมมินิสต์ชาวไทย กล่าวว่า “ภาษามีบริบท มันเกิดขึ้น เพราะว่ามันมีอยู่”

จะมีระดับของความคาดหวัง และความเหมาะสม สำหรับทุกๆสิ่งที่เราทำ

“และเมื่อเราวางมันไว้บนความเหมาะสมและความถูกต้อง ทุกอย่างจึงเป็นเรื่องสัมพัทธ์หรือโดยเทียบเคียง”

Kaewmala เสนอว่า “ภาษาเป็นสิ่งสร้างทางวัฒนธรรมและเป็นเครื่องมือ มันไม่ใช่หน้าที่ของฉันในการบอกกับคนอื่นๆว่าควรปฏิบัติตนเองอย่างไร ---มันอยู่กับเราในการเลือกคำในการใช้ ที่เรามองว่าเหมาะสมในการใช้ ฉันรู้ว่าเธอมีอำนาจในการเลือกว่าเธอจะใช้มันได้อย่างไร เช่นในเรื่องใดและระดับใด และขึ้นอยู่กับว่าเธอต้องการใช้มันส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไร”

ภาษาไทย ก็เหมือนกับวัฒนธรรม คือเป็นบางสิ่งที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามขณะในกาลเวลา บางทีอาจเปลี่ยนไปตอนเราพูดอยู่นี้ก็ได้

Dockum กล่าวว่า “เราสอนภาษาไทยเหมือนกับว่ามันเป็นสิ่งจริง แต่จริงๆแล้วมันเป็นโครงสร้าง ภาษาเป็นสังคม มันเป็นผลร่วมกันว่าผู้คนจะใช้มันอย่างไร”

การเปลี่ยนแปลงในสังคมไม่ได้เป็นเส้นตรง แต่แน่นอนการเปลี่ยนแปลงต้องเกิดขึ้น

Kaewmala อธิบายว่า “เมื่อเธอโตขึ้น เธอจะเข้าใจความซับซ้อนของสิ่งต่างๆ และตระหนักว่ามีหลายสิ่งอาจเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเธอเป็นคนขี้แพ้และไม่บ่นอะไรเลย”

“ภาษาสามารถสร้างความสับสน เมื่อเธอเข้าใจมันได้ระดับหนึ่ง เธอจะต่อสู้, ประพฤติในวิถีทางที่ถูกต้อง, นำเสนอความคิด, และส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง”

  แปลและเรียบเรียงจาก

Pear Maneechote. How Thai language reinforces hierarchy and perpetuates social divides.

https://www.thaienquirer.com/8487/how-thai-language-reinforces-hierarchy-and-perpetuates-social-divides/

หมายเลขบันทึก: 691266เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2021 19:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มิถุนายน 2021 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท