ทำไมต้องยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี


ทำไมต้องยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

25 มิถุนายน 2564

หลากหลายมุมมองเกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” (พ.ศ.2561-2580) ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2560-2564 ที่เพิ่งประกาศใช้ 

เกี่ยวกับการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ซึ่งมีบางส่วนเสนอให้ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มาฟังรวมความเห็นในทัศนะของคนท้องถิ่น (อปท.)

(1) วิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” (20 ปี) อาจใช้ไม่ได้ เพราะสังคมโลก disruptive เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก กลัวเจ๊งเหมือนฟิล์มโกดัก ที่ต้องมีความยืดหยุ่น จึงมั่วเหมือนเดิมไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
(2) หากกลัดกระดุมเม็ดแรกติดผิด ก็จะผิดไปตลอด
(3) แผนยุทธศาสตร์ชาติที่ไม่ได้นำไปสู่การลงมือพัฒนา ต่อยอด และสานต่อที่แท้จริง ก็ไม่ต่างอะไรกับแค่ตัวหนังสือในกระดาษ มองว่าเป้าหมายระยะไกล ระยะกลาง ระยะใกล้ อย่างไรก็ควรต้องมีไว้ แต่ประเด็นคือมันถูกดิสรัปกันเองด้วยกลุ่มก๊วนทางการเมือง ประเทศชาติฉิบหายก็ไม่ต้องสนใจ เพราะฉัน (กู) ลอยตัวแล้ว
(4) ยุทธศาสตร์ชาติมีได้แต่อย่ายาวนัก และตายตัว (rigid, not flexible) และปิดล็อก ยุทธศาสตร์แค่ 5 - 10 ปีก็หรูแล้ว เพราะว่า ไม่มีใครวิเศษเกินกว่ามนุษย์ที่หยั่งรู้อนาคตได้ถึง 20 ปี แถมคนร่างคนเขียนก็เป็นคน generation baby boomer (เกิดปี 1944-1964) เก่าพวกตกยุควัยหลังเกษียณทั้งนั้น คนคิดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คิดไว้ให้คนรุ่นหลัง generation Z (เกิดปี 1995- 2015) แล้วตายก่อนคนรุ่นหลังที่ต้องมาแบกรับภาระ และแก้ไข ในประเด็นแห่งความสำเร็จตามยุทธศาสตร์จึงเป็นไปไม่ได้ คิดอย่างง่ายคนรุ่นเก่าใช้ไอโฟนได้เพียงใด เปิดคอมพิวเตอร์ ท่องโลกออนไลน์และใช้โปรแกรมต่างๆ คล่องเพียงใด เอาแค่แผนพัฒนาสามปีสี่ปีห้าปียังยากคิดเป็น
(5) พม่าเคยทำแบบนี้มาก่อน ถึงขนาดปิดประเทศ แล้วเราไปเลียนแบบเขาได้อย่างไร ให้ดูพม่ายุคใช้ยุทธศาสตร์ชาติ ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดไวมาก ยุทธศาสตร์ชาติจึงเสมือนเป็นกฎหมายที่ล่ามโซ่การพัฒนาชาติเอาไว้
(6) หากเข้าใจปรัชญาความหมายดีว่าแผน (Planning) คืออะไร ก็คงไม่มีประเด็น​ปัญหาเหล่านี้ ถามว่าในอดีตแผนยุทธศาสตร์​ท้องถิ่นเคยทำไว้เพียง 5 ปี และวิสัยทัศน์ 10 ปี แต่ปัญหาคือ ผู้บริหารท้องถิ่น (อปท.) เปลี่ยนบ่อย มีปัญหาความเป็นไปได้และ การปฏิบัติตามแผน มันจึงไม่ต่อเนื่องและทำไม่ได้ กรณี อปท.แค่ทำงานรายปีก็ยังจะไปไม่รอด เพราะทำไม่ถูกทำมั่ว มีประโยชน์ทับซ้อน ทุจริต ประชานิยม ระบบอุปถัมภ์ ฯ คิดได้ไงถึง 20 ปี
(7) เป็นไปตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์โลก หากมีแล้วทำไม่สำเร็จก็ค่อยปรับปรุงแก้ไขต่อยอด แต่หากไม่มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีไว้ก็จะมองไม่เห็นอนาคต ไม่มีเป้าหมายการพัฒนาที่จะไปถึง แต่ปัญหาที่เกิดคือ เพียงด้านแรกของเป้าหมายก็สอบตกแล้ว อย่าให้ครบกระจกหกด้านเลย มันเลยไม่ผ่านสักด้าน 
(8) ไม่อยากให้ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ เพราะควรมีไว้ ควรกันมาพิจารณาที่ “ที่มาของยุทธศาสตร์ชาติ” นี่แหละ ที่ควรมาจากรัฐบาล และตรวจสอบโดยรัฐสภา หรือตั้งโดยรัฐสภาและตรวจสอบโดยรัฐสภาก็ได้ ไม่ใช่มาจากกลุ่มก๊วนการเมือง หรือทหาร หรือกลุ่มชนชั้นนำ (elite) เพียงไม่กี่กลุ่ม ที่ต้องฟังเสียงฝ่ายค้าน หรือเสียงส่วนน้อยด้วย
(9) หากยุทธศาสตร์ชาติมันผิดทาง มันล้าหลังไป และหรือไร้อนาคต หลงไปตามทางที่เขาบอก แต่มันลงเหวพาคุณไปตายคุณจะเลือกไปทางใหม่หรือว่าไปตายพร้อมเขา 
(10) เพียงแค่การบริหารจัดการแก้ไขปัญหา COVID 19 เช่น เรื่องวัคซีน การปิดล็อกเมือง ฯลฯ ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง disruptive ของโลกที่ไวมากๆ ก็ตามหลังเขาเกือบสองปีแล้ว วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม วัฒนธรรม ฯ 20 ปี ยังคิดว่าตามโลกเขาทันอีกหรือ 
(11) ยุทธศาสตร์ชาติมีไว้อย่างเดิมดีแล้ว แต่ต้องหลายภาคส่วนเขียนช่วยกัน ไม่ใช่เอาไดโนเสาร์หัวโบราณมาเขียนยุทธศาสตร์
(12) แท้จริงแล้วเป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ ยุทธศาสตร์ชาติไม่มีอะไร แค่เพียงกระดาษที่เขียนสวยๆ เอาไว้ แปลหลอกต่างชาติ เข้ามาลงทุน มาท่องเที่ยว ฯ เช่นเดียวกับ พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจของ อปท. ยุทธศาสตร์ชาตินั้น หากใครเข้ามามีอำนาจ ก็ไปแก้ไขยุทธศาสตร์ชาติได้

(13) สำหรับกระบวนการของงบประมาณ การพิจารณาตั้งงบประมาณ ข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2565 นั้น อบจ. เทศบาล และ อบต. ต้องมีความเชื่อมโยงโดยสอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) แผนยุทธศาสตร์จังหวัด และแผนพัฒนาท้องถิ่น ด้วย

เป็นรวมๆ ความเห็นในช่วงวันที่ 24-25 มิถุนายน 2564 คงสะท้อนมุมมองของคนท้องถิ่นได้เพียงระดับหนึ่ง  

อ้างอิง : 


(1) หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท 0808.2/ว1095 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 ตั้งแต่ หน้าที่ 98-105 

กระบวนการของงบประมาณ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาตั้งงบประมาณ ข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2565 การจำแนกแผนงานตามรูปแบบงบประมาณของ อปท. โดยให้ใช้แบบ งป.1.งป.2 และ งป.3 โดยให้เจ้าหน้าที่งบประมาณ แจ้งแบบดังกล่าวนี้ ให้สำนักกองดำเนินการ

http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2021/5/25505_2_1622441218207.pdf?time=1622602951663

& https://drive.google.com/file/d/1_8daJ_lQf-FAiLp_bJwrUZoz7brAUuPc/view?fbclid=IwAR33OymvGFs1VvMBCNFm7Nh5VAIL0DYdZ-OLK0UXKNEx5Dpg0B6WmrvZwro 

(2) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี : อนาคตไทยอนาคตเรา (our country our future) : thainationalstrategy

 

(3) ร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ ที่กำลังเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร โดยคณะทำงาน ส.ค.ค.ท. และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาภาคประชาชน  ที่มีตัวแทนองค์กรครู ทั้งรัฐและเอกชน มีเป้าหมายสำคัญที่สุดที่จะดำรงหน้าที่ ครู ปกป้องไม่ใครผู้ใดมีอำนาจสามารถมาสั่งการบังคับให้ครู ทำหน้าที่อื่นที่ไม่ใช่การเรียนสอนการสอนนักเรียน เพื่อทำให้ผู้ที่บังคับบัญชาสั่งการครู หมดอำนาจการสั่งการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนลงและให้เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน เพื่อให้ผู้สอนทำหน้าที่สอนอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น ให้เห็นผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อการเรียนรู้ของเด็กไทย

ดู แบบสอบถามและเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ... ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว เรื่องเสร็จที่ 660/2564 เรียนท่านสมาชิก สคคท. ที่เคารพ ขอให้ท่านแสดงความคิดเห็นทีละประเด็น เพื่อทีมงานจะได้รวบรวมประกอบการยกร่างกฎหมายต่อไป : 25 มิถุนายน 2564

https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSd4xRLiZKwGFUAdsAPEiyYo4J4udXEqMYiAsbgrfGDv3o5jgQ/viewform?fbclid=IwAR0sUpgPGLQB2kESkRS5ks0JZy_07i6bAjcir1Svhlcq3AX1V6BGaF5jK3U


(4) กรุณาใช้ดุลยพินิจ และใคร่ครวญ : ไทร์ ฉายจำนัส, ในสืบสานปฏิรูปตำรวจ (ส.ป.ตร.), 2 กันยายน 2561 ยุติคอร์รัปชั่น แยกงานสอบสวนออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รากเหง้าของวิกฤตการณ์  ติดยึดอยู่กับความคิดที่ล้าสมัยจนเกิดทางตัน 

(5) งานเสวนาวิชาการเรื่อง “ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ... ประชาชนได้อะไร ?” ในวันพุธที่ 24 มีนาคม 2564 เวลา 09.00 น. -12.30 น. ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล (The Sukosol) ห้องรัตนโกสินทร์ : สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ดำเนินรายการโดย นายสมชาย หอมลออ อดีตคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) และที่ปรึกษามูลนิธิผสานวัฒนธรรม

(6) ร่างประมวลกฎหมายท้องถิ่น ข่าววันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 นายพิพัฒน์ วรสิทธิดำรง นายกสมาคมข้าราชการส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย นำคณะกรรมการสมาคมฯ เข้าชี้แจงแสดงความคิดเห็นต่อร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับ คณะอนุกรรมาธิการรูปแบบและโครงสร้างฯ ในคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา ณ ห้องประชุมกรรมาธิการห้อง 309 อาคารรัฐสภา เกียกกาย กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้แทนจากสมาคม อบจ.แห่งประเทศไทย เข้าร่วมชี้แจงด้วย

(7) กกต.และมหาดไทยหารือเตรียมเลือกตั้ง อบต.ปลายพ.ย.นี้ ข่าวเมื่อ 17 มิถุนายน 2564 กกต.แจ้งว่า เลขาธิการ กกต.นำทีมรองเลขาฯและผู้รับผิดชอบเลือกตั้งท้องถิ่นประชุมหารือร่วมกับผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ซึ่งคาดว่า น่าจะเป็นวันอาทิตย์ที่ 28 พ.ย. หรือวันอาทิตย์ที่ 20 พ.ย. 2564 สอดรับที่นายกรัฐมนตรีประกาศเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวใน 120 วันข้างหน้า (ประมาณต้นเดือน พ.ย.64) 

หมายเลขบันทึก: 691236เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2021 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2021 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท