การเป็นครูที่ดี”


การเป็นครูที่ดี ไม่ใช่จะเป็นได้ง่าย ๆ เพราะเป็นวิชาชีพ ชั้นสูง มีกฎหมายครูโดยเฉพาะ มีสถาบันผลิตครูเป็นการเฉพาะ ต้องผ่านการรับรองให้มีใบประกอบวิชาชีพจากคุรุสภาก่อนที่จะมาประกอบอาชีพครูได้ ครูดึจึงต้องมีความรู้ดีอย่างต่ำต้องจบปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า ซึ่ง ก.ค.ศ.รับรอง มีความประพฤติดี และสอนดี มีศาสตร์และศิลป์ในการถ่ายทอดความรู้

พูดคุยกันเบา ๆ สบายหู สบายใจ 

เรื่อง “การเป็นครูที่ดี”

ดร. ถวิล อรัญเวศ

      แม้จะเกษียณอายุราชการแล้ว ในฐานะที่มีความผูกพัน

กับวิชาชีพที่เคยปฏิบัติ ก็อยากจะพูดคุยเรื่องการเป็นครูที่ดี

เพราะอาชีพครู เป็นอาชีพที่มีเกียรติไม่แพ้อาชีพอื่น ๆ และ

สถานะปัจจุบันกำหนดให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง คงไม่มีใครจะ

คิดเปลี่ยนแปลงแนวคิดนี้ เพราะปราชญ์ทางการศึกษา 

และรัฐสภาได้ยอมรับแนวคิดนี้ และได้ออกกฎหมาย

เกี่ยวกับวิชาชีพครูเป็นการเฉพาะแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. 2488 

(พระราชบัญญัติครู) พ.ศ.2546 (พระราชบัญญิติสภาครูฯ)  และ พ.ศ.2547 (พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูฯ) ทำให้วิชาชีพครูจึงมีกฎหมายที่ใช้หลายฉบับ

      ครู เป็นจิตวิญญาณชีวิต การเป็นครู เป็นสิ่งที่คนในสังคม

มีความคาดหวังสูงมาก เพราะครูเป็นเสมือนผู้สร้างคน จากคน

ไม่รู้ให้เป็นผู้รู้ จากคนที่ไม่กล้า ให้เป็นคนกล้า จากคนที่ไม่มีเหตุ

มีผล ให้เป็นคนมีเหตุมีผล ฯลฯ ด้วยเหตุผลดังวกล่าว คนจะมาเป็นครูจึงต้องมีความรู้มาก เพราะเป็นผู้สอนคน สร้างคน ต้อง

จบการศึกษาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า ซึ่ง กคศ.รับรอง จึงจะเข้ามาเป็นครูได้ ครูจึงเป็นวิชาชีพชั้นสูง ( Profession) เพราะเป็นอาชีพที่ต้องใช้วิชาความรู้ที่ได้ฝึกฝนมาเล่าเรียนมาเป็นการเฉพาะ ผสมผสานศาสตร์หลายศาสตร์ เพราะเป็นผู้สร้างคน อาศัยความรู้ทั้งด้านภาษาศาสตร์

จิตวิทยา สังคมศาสตร์ ศาสนศาสตร์หรือศีลธรรม จรรรยาบรรณ

 มีความเป็นมืออาชีพในด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะ 

 

วิชาชีพครู

           พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒) ๒๕๔๕ ถือว่าเป็นกฎหมายแม่บททางการศึกษาได้บัญญัติไว้ว่า     

        ครู คือ บุคลากรวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ  ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน  

       พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา

พุทธศักราช ๒๕๔๖ ได้บัญญัติไว้ว่า

      ครูคือ บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้นการเรียน

การสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา ที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน

        วิชาชีพครู ถือว่าเป็น วิชาชีพชั้นสูง ดังที่ศาสตราจารย์ดรดร. วิจิตร  ศรีสอ้าน ได้สรุปคุณลักษณะวิชาชีพเพื่อเป็นเกณฑ์พิจารณาวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงไว้ ๖ ประการ คือ                                                                                                                                                  

  1.  วิชาชีพชั้นสูงจะต้องมีการบริการที่ให้แก่สังคมที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงและจำเป็น 

         อาชีพครู ใช้กิจกรรมการสอนเป็นกิจกรรมทางปัญญา

การออกแบวิธีการถ่ายทอดความรู้วัฒนธรรมทักษะและความรู้ให้กับเยาวชนครูต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ แห่งวิชาชีพอันเป็นวิชาการเฉพาะด้านละต้องใช้สติปัญญาในการถ่ายทอดความรู้แต่ละสิ่งละอย่างให้กับศิษย์

  1.  วิชาชีพชั้นสูงจะต้องใช้วิธีการแห่งปัญญาใน

การให้บริการ อาชีพครูเป็นอาชีพที่ให้บริการแก่สังคมในด้าน

การถ่ายทอดทักษะทางสังคมค่านิยมตลอดจนวิชาการต่าง ๆ ให้แก่สังคมตามที่สังคมพึงประสงค์เป็นการให้บริการที่เฉพาะสาขาวิชาที่ต่างจากวิชาชีพอื่น 

    ๓. วิชาชีพชั้นสูงจะต้องได้รับการอบรมให้มีความรู้กว้างขวาง ลึกซึ้งโดยใช้ระยะเวลานานพอสมควร   

       อาชีพครูก็ต้องใช้เวลาเล่าเรียนและฝึกฝนในสถาบันสถานศึกษาและต้องใช้เวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๔ ปีจึงจะสำเร็จการศึกษาออกไปทำการสอนได้ และมีการฝีกประสบการณ์ 1 ปี

รวมเป็น 5 หลักสูตรครู 5 ปี    

       ๔ วิชาชีพชั้นสูงจะต้องมีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานของวิชาชีพ     

        ในการประกอบวิชาชีพครูนั้นผู้ประกอบวิชาชีพจะ

มีเอกสิทธ์ในการตกลงใจและตัดสินใจที่จะใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาการสอนแต่ละครั้งแต่ละวิชา ครูย่อมมีเอกสิทธิ์ ที่จะกำหนดวิธีการสอนและกิจกรรมการสอนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดในหลักสูตร           

       ๕.วิชาชีพชั้นสูงจะต้องมีจรรยาบรรณ     

         วิชาชีพครูก็มีจรรยาบรรณ ซึ่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๐ มาตรฐานการปฏิบัติตน ให้กำหนดไว้ว่าเป็นข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณต่อประกอบด้วย   จรรยาบรรณต่อตนเอง  จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และจรรยาบรรณต่อสังคม                                                                                                                                                                        ๖.วิชาชีพชั้นสูงจะต้องมีสถาบันวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์ จรรโลงมาตรฐานของวิชาชีพ

       การเป็นครู จึงไม่ใช่เป็นเพียงแต่สอนเขา แต่สอนตัวเราเอาไว้ จะอำนวยผล      เกียรติศักดิ์ของครู บูชาในสากล    เพราะเป็นผู้อุทิศตน ชี้นำทำได้จริง

        ครูดีที่สังคมคาดหวังอย่างน้อย คือ

        1.  ความรู้ดี 

        2.  ประพฤติดี

        3.  สอนดี

         ความรู้ดี  อย่างต่ำต้องจบปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า ซึ่ง ก.ค.ศ. รับรอง 

        ประพฤติดี ต้องเป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่มีมลทิน

มัวหมองด้านศีลธรรม จริยธรรม จนเป็นที่รังเกียจของสังคม

ยึดมั่นในจรรยาบรรณ และศรัทธาในอาชีพครู

         สอนดี มีเทคนิคและจิตวิทยาในการสอน สอนให้มีความรู้คู่คุณธรรม ปลูกฝังระเบียบวินัยสมรรถนะของผู้เรียน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดแก่ผู้เรียน

         ครูที่ดีตามหลักคำสอนพระพุทธศาสนา

คุณลักษณะของครูที่ดีตามหลักคำสอนพระพุทธศาสนาคือ

ครูที่แสดงออกทาง “กัลยาณมิตตาธรรม”  7 ประการ ดังนี้

  1. ปิโย 

ทำตนให้น่ารัก หมายความว่า บุคคลใดที่เป็นครูนั้น

จะต้องเป็นผู้ที่น่ารักศิษย์ได้พบเห็นแล้วอยากเข้าไปพบ สบายใจเมื่อได้พบปะกับอาจารย์ผู้นั้น สำหรับแนวทางกระทำตนให้น่ารักของศิษย์นั้นสามารถกระทำได้ดังนี้

         1.1. มีเมตตาหวังดีต่อเด็กเสมอ

         1.2. ยิ้มแย้ม แจ่มใส ไม่บึ้งตึงทั้งเวลาสอนและ

นอกเวลาสอน

         1.3. ให้ความสนิทสนมกับศิษย์ตามควรแก่กาลเทศะ

         1.4. พูดจาอ่อนหวานสมานใจ

         1.5. เอาใจใส่อบรมสั่งสอนศิษย์ให้เกิดความรู้

อย่างแท้จริง

         1.6. เป็นเพื่อนในสนามกีฬา เป็นครูที่สง่าใน

ห้องเรียน

         1.7  เมื่อเด็กมีความทุกข์  ครูให้ความเอาใจใส่คอย

ปลอบประโลมให้กำลังใจ

  1. ครุ

น่าเคารพ หนักแน่น  บุคคลที่เป็นครูนั้นต้องเป็น

ผู้ประพฤติตนเหมาะสมแก่ฐานะของความเป็นครู กระทำตนเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ทั้งพฤติกรรมทางกาย วาจา   จิตใจหนักแน่น มั่นคง 

  1. ภาวนีโย 

น่าเจริญใจหรือน่ายกย่อง  กระทำตนให้เป็นที่เจริญน่า

ยกย่องของศิษย์และบุคคลทั่วไป  มีความรู้และภูมิปัญญาอย่างแท้จริง  มีคุณธรรมควรแก่การกราบไหว้บูชาของศิษย์เสมอ เปิดรับความรู้ใหม่ ๆ เชื่อกฎแห่กรรม เป็นผู้รักษาศีล  ควบคุมจิตด้วยสมาธิ

         4.วัตตา

         มีระเบียบแบบแผน ต้องกระทำตนให้เป็นบุคคลที่เคารพกฎระเบียบ มีระเบียบแบบแผน ขณะเดียวกันก็อบรมตักเตือนศิษย์ให้เป็นผู้มีระเบียบ

          5. วจนักขโม 

           อดทนต่อถ้อยคำ ครูจะต้องอดทนต่อคำพูดของศิษย์ที่มากระทบความรู้สึก  ครูต้องพร้อมรับฟังข้อซักถาม ให้คำปรึกษาหารือ  แนะนำ  ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว

           6. คัมภีรัญจะ กถัง กัตตา 

              แถลง ชี้แจงเรื่องได้อย่างลึกซึ้ง มีความสามารถในการสอน ใช้คำพูดในการอธิบายเรื่องราวต่างๆได้อย่างแจ่มแจ้ง มีความรอบรู้ในเรื่องที่จะพูด

 

 

 

           7. โน  จัฏฐาเน  นิโยชเย 

               ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางเสื่อม หมายความว่า ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางที่ต่ำทรามใดๆ สิ่งใดเป็นความเสื่อมโทรมทางจิต จะไม่ชักนำศิษย์ไปทางนั้น ในขณะเดียวกันครูต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอบายมุขทั้งปวง

           ดังนั้น การเป็นครูที่ดีจึงเป็นสิ่งที่ทำได้โดยยาก เมื่อสังคมมีความคาดหวังในครูสูง จึงมีกฎหมายครูเป็นการเฉพาะและ

ระบบบริหารงานบุคคลครูเป็นการเฉพาะ มีบทลงโทษที่หนัก

ครูต้องมีใบประกอบวิชาชีพเช่นเดียวกับวิชาชีพชั้นสูงอื่น ๆ 

และถ้าทำผิดจะถูกเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ และไม่สามารถ

ประกอบวิชาชีพครูได้ในขณะที่ถูกเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ

การเป็นครูที่ดี จึงต้องมีความรู้ดี ประพฤติดี และก็สอนดีด้วย

มีศาสตร์และศิลป์ในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์

สรุป

       

 นอกจากนี้แล้วควรมีกัลยาณมิตรตามหลักพุทธศาสนา คือ ทำตนให้เป็นที่รัก หนักแน่น น่ายกย่องชมเชย ยึดมั่นในระเบียบแบบแผน อดทนต่อถ้อยคำที่ทำให้เจ็บใจได้ สามารถพูดเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้คนฟังเข้าใจได้ง่าย แถลงเรื่องซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่าย และไม่ชักนำศิษย์ไปในทางเสื่อมเสียหรืออบายมุข อนาคตของชาติอยู่ในกำมือของเด็กและเยาวชน แต่อนาคตของเด็กและเยาวชน อยู่ในกำมือครู ตลอดทั้งผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ฉะนั้น ครู

จึงต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ เพราะแบบอย่างที่ดีมีค่ามากยิ่ง

กว่าคำสอนหลาย ๆ เท่า การเป็นครูที่ดีจึงเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ง่าย 

ต้องเสงี่ยม เจียมตัวเสมอทั้งความรู้และคุณธรรมจริยธรรม จีงจะได้ชื่ว่าเป็นครูที่ดีนั้นเอง

หมายเลขบันทึก: 691022เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2021 02:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2021 02:05 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท