การเล่นแร่แปรธาตุของความใจบุญ: ว่าด้วยชนชั้นและพุทธศาสนาในภาคเหนือของประเทศไทย ตอนที่ 4


กระบวนทัศน์ความร่ำรวย: ข้อจำกัดของผู้ให้

นอกจากนี้การมองข้างสังกัปของหมู่บ้านเรื่องความเหมาะสมของผู้รับ หรือกระบวนทัศน์ของการทำบุญในพุทธศาสนาทำให้นิยามของหมู่บ้านของผู้ให้แคบลง นั่นคือการพลาดในการพิจารณาถึงความร่ำรวยโดยเทียบเคียงกับความสามารถที่จะให้ Stanley Tanbiah และ Howard Kaufman ได้จัดลำดับการกระทำที่เป็นกุศล Tambuah ได้จัดลำดับสิ่งดังกล่าวโดยดูที่การกระทำนั้นน่าชมเชยหรือน่าสรรเสริญหรือไม่ การกระทำเหล่านั้นจะเกี่ยวข้องกับเงินเป็นด้านหลัก เช่น ให้เงินแก่วัด ไม่ว่าจะเป็นพระหรือให้ลูกชายบวชพระ บริจาคเงินเพื่อซ่อมสิ่งต่างๆภายในวัด หรือทำกฐิน ถวายอาหารให้แก่พระในทุกๆวัน พยายามรักษาศีล 5 ถึงแม้ว่าจะเขียนกันคนละพื้นที่ แต่ Kaufman ได้จัดลำดับคล้ายๆกัน

การจัดลำดับดังกล่าวคือสมมติฐานส่วนกลางในกระบวนทัศน์ของการทำบุญ ชาวบ้านทุกคนสามารถรักษาศีล ถวายอาหารแก่พระ หรือแม้กระทั่งสร้างวัดโดยเท่าเทียมกัน แต่มีเกณฑ์ที่สำคัญเพียงอย่างเดียวในการแยกผู้ให้คือเขามีจิตศรัทธาในการให้หรือไม่? ยิ่งไปกว่านั้นการจัดลำดับดังกล่าวคือการทึกทักไว้ล่วงหน้าเชิงจริยธรรมกับการกระทำเพียงอย่างเดียว เช่น การสร้างวัดให้มีอำนาจเหนือคนที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพุทธะในชีวิตประจำวัน ผู้ให้ส่วนใหญ่ หากนิยามตามการครอบครองสิ่งของ จะเป็นคนส่วนน้อยที่สุดในหมู่บ้าน การเน้นไปที่จำนวนของสิ่งของที่จะให้ และไม่ได้กล่าวถึงความสามารถที่จะให้โดยเปรียบเทียบ ดังนั้นกระบวนทัศน์ที่ดำรงอยู่จึงเปิดโอกาสให้กับคนรวยในตอนนี้และคนรวยในอนาคต ชาวบ้านคนอื่นๆที่ยากจนแทบจะไม่เคยกล่าวถึงเลย

การจัดลำดับให้การสร้างวัดเป็นการกระทำกุศลที่ใหญ่ที่สุดทำให้ความแตกต่างทางชนชั้นถูกปิดลง อันดับแรก Tambiah ได้ชี้ให้เห็นว่าการสร้างวัดกระทำโดยคนรวย อันดับสอง ถึงแม้ว่าต้นทุนในการสร้างวัดจะเหมาะกับคนรวย แต่เราต้องไม่ลืมว่าในการสร้างวัดต้องอาศัยจากคนทุกชั้น บางคนอาจบริจาคเงิน บางคนอาจบริจาคแรงกาย บางคนอาจบริจาคเป็นวัตถุในการสร้างก็ได้ อันดับสามการสร้างหรือซ่อมวัดบางครั้งอาจไม่ได้คำชมเชยเสมอไป ในหมู่บ้านที่ฉันอาศัยอยู่ ชนชั้นสูงในหมู่บ้านได้รื้อวัดเก่า และสร้างวัดใหม่ ภายใต้การกดดันจากเจ้าอาวาส และหมู่ญาติของเขา คนจนหลายคนคัดค้านการตัดสินใจ หลายๆคนต้องการจะอนุรักษ์วัดที่ทำจากไม้สักที่เป็นวัดเก่า และอีกหลายๆคนเชื่อว่าประเด็นอื่นๆต้องถูกนำมาคิดก่อนที่จะทำ

ความแตกต่างทางชนชั้นส่งผลอันหลากหลายในการบวชเป็นพระ ในอดีต ชนชั้นสูงเท่านั้นที่มีแนวโน้มว่าจะได้บวช De Young ได้ทำการสำรวจหมู่บ้านในภาคเหนือ และผลปรากฏว่าครึ่งหนึ่งของผู้ชายในหมู่บ้านล้วนแล้วแต่เป็นเด็กวัด “คนที่ไม่ได้เป็นเด็กวัด เกิดมาจากครอบครัวที่จำเป็นต้องใช้เด็กชายในการทำสวนหรือทำนา” จากการศึกษาของชาวบ้านที่เป็นผู้นำจำนวน 36 คน ในปี 1953-54 Kingshill สรุปว่า “70% ของผู้นำชาวบ้านครั้งหนึ่ง หรือในช่วงเวลาหนึ่ง ต้องเป็นพระ หรือสามเณร” ทุกวันนี้ ลูกชายของชนชั้นนำน้อยมากๆที่จะบวช เพราะพวกเขามีเงินในการเรียนการศึกษาทางโลกมากกว่า เด็กวัด สามเณร และพระในทุกวันนี้โดยปกติแล้วมาจากครอบครัวที่ยากจนที่สุดทั้งสิ้น ซึ่งครอบครัวเหล่านี้มีปากหลายปากต้องเลี้ยง และมีโอกาสทำงานได้น้อยมากๆ

ความมั่งมีไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อผู้บวชเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อการสนับสนุน และรูปแบบของพิธีกรรมอีกด้วย ถึงแม้ว่าความหมายของการสนับสนุนจะเปลี่ยนแปลงไป เพราะว่ามีลูกชายของชนชั้นสูงบวชน้อยลง “แต่ต้นทุนของการรับและพิธีกรรมกลับกีดกันคนยากจนจากการขอเป็นแรงสนับสนุน” คนยากจนในหมู่บ้าน ถ้าอยากจะบวช ก็ต้องทำ 2 วิธีนี้ให้ได้ กล่าวคือ 1. ขอให้คนรวยมาสนับสนุน หรือไม่ก็ 2 เก็บเงินหรือสิ่งอื่นๆจากญาติสนิทและเพื่อนบ้าน ในกรณีเกิดขึ้นในกรณีที่ 2 พิธีกรรมของเขาต้องประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย

การถวายอาหารให้กับพระจึงเป็นการสร้างกุศลที่มีธรรมดาที่สุด แม้แต่ Tambiah ยังดูถูกความสำคัญของมัน

“การให้อาหารแก่พระทุกๆวันเป็นเรื่องที่เกือบๆทุกครอบครัวในหมู่บ้านจะทำ เพราะมันเป็นเพียงแค่แยกอาหารออกไปจากอาหารที่คนในครอบครัวรับประทาน เพราะว่ามันเป็นการกระทำประจำวัน และถูกโดยเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น และเพราะว่าเกือบทุกๆครอบครัวสามารถหาข้าวให้พระได้ มันจึงเป็นการกระทำศุลที่ต่ำมากๆ”

อย่างไรก็ตาม การอ่านที่ระมัดระวังให้มากขึ้นกลับแสดงให้เห็นว่าการแบ่งแยกชนชั้นก็ส่งผลต่อการกระทำที่เรียบง่ายและสามัญสำนึกที่สุดเช่นกัน ดังที่ De Young ได้เขียนไว้ “ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสดกับครอบครัวชาวสวนส่งผลต่อการกระทำกุศลที่มีอย่างหลากหลายภายใต้สถานภาพทางเศรษฐกิจ ความเลื่อมใสศรัทธาของครอบครัว และเหตุการณ์พิเศษอื่นๆ บางครอบครัวที่ยากจนมากก็ไม่ได้ทำบุญ และอาจไม่เข้าไปในวัดด้วย เพราะว่า “พวกเขาไม่มีเงินสักบาทในการใส่กล่องทำบุญ” ถึงแม้ว่าข้อมูลของ Tambiah เองก็ยังเสนอว่า ความแตกต่างที่สำคัญในความสามารถของชาวบ้านในการให้อาหารแก่พระ การสำรวจของเขากับครอบครัว 106 แห่งยังบ่งชี้ว่า ถึงแม้ว่าจะมี 59% ของครอบครัวที่ให้อาหารแก่พระอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่อย่างน้อยมี 41% ไม่เคยถวายอาหารให้พระ หรือถวายอาหารให้พระในวันที่ไม่สำคัญพิเศษอันใด ระหว่างวันเข้าพรรษา หากทำความเข้าใจถึงบริบทของความยากจนที่เรื้อรังมานาน มันจึงไม่น่าแปลกใจอันใดที่ครอบครัวส่วนใหญ่ไม่สามารถให้อาหารแก่คนอื่นๆ นอกจากในครอบครัวได้ ความผิดพลาดในการซาบซึ้งกับความยากจนส่งผลต่อการดูเบาการบูชายัญที่เกี่ยวข้องกับชาวบ้านที่ยากจนในการให้อาหารกับคนอื่นๆได้

การตีความของการทำบุญมีนัยยะว่ายิ่งให้เงินมากเท่าไร ก็จะได้บุญมากขึ้นเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม พวกคนจนจำนวนมากยังคงมีความเครียดเรื่องความคาดหวัง และความสามารถโดยเปรียบเทียบในการให้ ในการศึกษาปี 1948 ของหมู่บ้านสัน ปง De Young บันทึกถึงจำนวนเงินและของถวายว่ามีอย่างหลากหลาย “จากสูงที่สุดคือ 1,000 บาท จนมาถึงต่ำเพียง 15 บาทเท่านั้น ในขณะที่ครอบครัวโดยเฉลี่ยจะบริจาคประมาณ 25% ของรายจ่ายทั้งหมดในการทำบุญ แต่จำนวนจะอยู่ที่ 7% ถึง 84% ถึงแม้ว่า De Young จะเสนอว่าครอบครัวที่ร่ำรวยจะให้สิ่งของมากกว่า (ทั้งระดับสูงที่สุดและโดยเปรียบเทียบ) แต่คนยากจนในหมู่บ้านที่ฉันอยู่จะยืนยันว่าพวกคนจนให้สัดส่วนที่มากกว่าเพราะมีความสามารถให้ได้แค่นั้นและมากว่าคนรวยเสียด้วยซ้ำในขณะที่พวกเขายืนยัน ชาวบ้านที่ไม่มีที่ดินทำกินที่ให้ 1 บาทจากรายได้ทั้งหมด 5 บาทก็ยังสุภาพมากกว่าคนรวยที่ให้เงิน 500 บาท โดยที่ยังไม่ได้คิดว่ารายได้ของเขาจะมีเพียง 5,000 หรือ 10,000 บาท เพราะว่าคนจนให้ของทำบุญตามความต้องการด้านปัจจัย 4 ในขณะที่คนรวยเสียสละเงินเพื่อความสะดวกสบายเท่านั้น

นิยามของการทำบุญโดยพื้นฐานจะอยู่ที่การสร้างวัด การบวช หรือถวายของให้แก่วัดนั้นจะเอียงข้างด้านชนชั้นสูง พวกเขาต้องการให้คนจนด้วยความหวังที่ว่าจะเป็นชาวพุทธที่ดี ดังที่ Charles Keyes เขียนไว้ “คนยากจนไม่เพียงทุกข์ทรมานที่ตรงนี้และที่นี่เท่านั้น แต่ยังขาดโอกาสในการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของเขาหรือหล่อนในลำดับชั้นสูงต่ำทางจริยธรรมในอนาคตอีกด้วย” นิยามดังกล่าวจึงเหมาะสำหรับคนรวย แต่ก่นด่าคนจนในเรื่องความยากจน จริงๆแล้ว ชาวบ้านก็ตระหนักรู้ถึงลำดับขั้นอย่างกว้างของการกระทำกุศล ดังเช่นขอทานที่ยากจนที่สุดสร้างกุศลโดยการขอบิณฑบาต เป็นต้น    

แปลและเรียบเรียงจาก

Katherine A. Bowie. The Alchemy of Charity: Of Class and Buddhism in Northern Thailand.

หมายเลขบันทึก: 690951เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2021 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2021 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท