การเล่นแร่แปรธาตุของความใจบุญ: ว่าด้วยชนชั้นและพุทธศาสนาในภาคเหนือของประเทศไทย ตอนที่ 3


กระบวนทัศน์ความยากจน: ว่าด้วยพระสงฆ์และขอทาน

โดยปกติแล้ว การทำบุญจะหมายถึงการให้ของขวัญกับพระสงฆ์และวัดเป็นด้านหลัก การให้ของขวัญนับตั้งแต่การให้อาหารกับสร้างตึกใหม่ให้กับวัด การเน้นในเชิงวิชาการเกี่ยวกับความเป็นพระสงฆ์จะสอดคล้องต้องกันกับการตีความแบบอนุรักษ์นิยมของลัทธิพุทธเถรวาท ดังที่ Frank Reynolds อธิบาย “ลัทธิเถรวาท...จะเน้นหนักไปในทางคุณธรรมของความใจกว้าง” แต่รูปแบบที่อภิปรายในวรรณกรรมของวัดและหลังจากบทบัญญัติ,... จะเห็นได้ชัดเจนว่า “ชนิดของการให้ที่ได้ผลที่สุดและสำคัญที่สุดคือตัวพุทธเจ้าและพระสงฆ์” โดยแท้ เรื่องสั้นที่เขียนโดย Surasinghsaruam Shimbanao เล่าเหตุการณ์ที่เจ้าอาวาสที่มีชื่อเสียงรู้ว่าหญิงป่วยพยายามสร้างกุศลโดยให้ทานกับขอทาน เจ้าอาวาสร้องออกมาด้วยความโมโห “อะไรนะ?” “นั่นไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องในการทำกุศลให้แก่พ่อของเธอ การสร้างกุศลให้แก่คนตาย เธอต้องไปวัดเท่านั้น”

ตรงกันข้ามกับการตีความแบบลัทธิที่คับแคบที่เสนอให้มีแต่พระสงฆ์หรือพุทธะเท่านั้นที่มีมีความสามารถที่จะรับของให้ทานได้ ชาวบ้านส่วนใหญ่มีสังกัปในการให้มากกว่านั้นมาก กล่าวคือพวกเขาสามารถทำทานหรือสร้างกุศลโดยการบริจาคให้คนยากจนด้วย โดยปกติแล้ว ชาวบ้านจะใช้คำว่า “ทำบุญ”  กับการกระทำที่ดีในชีวิตประจำวัน โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันใดๆ การกระทำในการช่วยเหลือชาวบ้านที่ไฟไหม้บ้านไปจนถึงให้อาหารแก่นักมานุษยวิทยาล้วนเป็นการกุศลทั้งสิ้น ดังที่ชาวบ้านคนหนึ่งที่ Kingshill สัมภาษณ์อธิบายว่า

“พระรูปหนึ่งบอกกับพวกเราว่าพุทธะสอนเราว่าหากให้ของขวัญแก่สัตว์โลก ไม่จำเป็นต้องเป็นพระ แต่รวมถึงคนอื่นๆที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือแม้แต่กับสัตว์ ดังนั้นการสร้างกุศลคือการให้ของขวัญกับทุกๆคน และทุกๆสิ่ง”

ความเหนือว่าของการตีความการกุศลแบบเสรีนิยมปรากฏในการสัมภาษณ์เชิงสำรวจของฉันจากหัวหน้าครัวเรือนจำนวน 90 คนในปี 1978-79 เมื่อฉันถามชาวบ้านว่าพวกเขาเชื่อหรือไม่ว่าการให้ของขวัญกับวัดจะสร้างกุศลมากกว่าการให้กับโรงเรียนหรือโรงพยาบาล มีเพียง 14% (จำนวน 13 คนจาก 90 คน) บอกว่าการกุศลมากกว่า 46% บอกว่าการให้กับโรงเรียนกับโรงพยาบาลให้กุศลมากกว่า มีเพียง 40% เท่านั้นบอกว่าทั้งสองให้กุศลเท่าๆกัน ฉันถามต่ออีกว่าหากผู้คนไปวัดจะได้กุศลมากกว่าคนที่ไม่ไป 42% บอกว่าได้กุศลมากกว่า เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่จะสร้างวัดสวยๆแลแพงๆ 42% ไม่เห็นด้วย อีก 52% เห็นว่าพระควรช่วยเหลือสิ่งของทางโลกให้แก่ชาวบ้านมากกว่าเอาแต่หลุดพ้นจากกิเลส เมื่อถามว่าศาสนาพุทธเน้นในเรื่องการหลุดพ้นมากกว่าปรับปรุงสังคมใช่หรือไม่? 59% ไม่เห็นด้วย สำหรับชาวบ้านส่วนใหญ่แล้ว การปฏิบัติเชิงพุทธไม่ใช่ต้องเกี่ยวข้องกับทางศาสนา ที่พระเป็นผู้ดำเนินการและมีส่วนร่วมเท่านั้น

บางครั้งจะไม่มีการกระทำของชาวบ้านคนใดจะแสดงให้เห็นถึงสังกัปของความเมตตามากไปกว่าการปฏิบัติต่อคนยากจนที่สุดในหมู่พวกเขาคือพวกขอทานอีกแล้ว ในการใช้ชีวิตในชนบทของฉันมานานหลายปี ฉันไม่เคยได้ยินชาวบ้านพูดแบบเสียหายต่อขอทานในชุมชนของเขา คำอธิบายของ Kingshill ถึงพวกขอทานขนานไปกับประสบการณ์ของฉัน

“วันหนึ่ง ในขณะที่เราไปหากำนัน จู่ๆก็มีเด็กหญิงคนหนึ่งปรากฏอยู่ตรงหน้า เพื่อขอข้าวสาร โดยปราศจาการคิด กำนันบอกให้ลูกสาวนำข้าวสารมาให้ เธอมาจากอำเภอใกล้ๆกับลำพูน เธอออกมาแต่เช้าพร้อมๆกับชาวบ้านในตัวอำเภอ พวกเขาเป็นคนยากจนถึงขนาดไม่มีข้าวเหลือให้ใช้ได้ตลอดปี ในเวลาเดียวกัน ฤดูการเก็บเกี่ยวยังไม่มาถึง ดังนั้นผู้คนจึงออกมาข้างนอกมาขอทาน”

ขอทานมักจะเดินทางไปขอไกลจากบ้านของตนเอง โดยมากจะเป็นคนแปลกหน้าในชุมชนนั้น ส่วนหนึ่งต้องการปิดบังสถานภาพต่อเพื่อนในหมู่บ้าน อีกส่วนหนึ่งต้องการจะให้ชาวบ้านที่ไปขอให้ความน่าเชื่อถือ แต่ส่วนที่สำคัญก็คือชาวบ้านในหมู่บ้านของตัวขาดแคลนข้าวเหมือนๆกัน ในการอธิบายอันน่าเจ็บปวดของอดีตขอทานที่ได้บรรยายว่าเธอและสามีจำเป็นต้องขอทานไป 4-5 วันเพื่อขอข้าว เธอจำได้ว่าได้แค่ข้าวจำนวนเล็กน้อย เพราะพวกเขาต้องพาลูกที่แทบไม่มีแรงเดินทางไปขอด้วย ตรงกันข้ามกับข้อสังเกตของ Sahlin กับสังคมแบบต่างตอบแทน (generalize reciprocity) ในสังคมแบบเรียบง่าย ก็คือ การทำทานในศาสนาพุทธอาจไม่เกี่ยวข้องกับญาติสนิท แต่เกี่ยวข้องกับคนแปลกหน้า

เพราะว่าการสอนในเถรวาทแบบโบราณเสนอว่าคุณค่าหรือความมีประสิทธิภาพของของขวัญย่อมขึ้นอยู่กับคุณค่าของผู้รับด้วย ดังนั้นนักวิชาการจึงมักจะพูดกันว่าพุทธะกับสังฆะเป็นบุคคลที่ทรงคุณค่าที่สุด โดยปกติแล้ว พระจะมีสถานภาพที่สูงที่สุดในชุมชนชาวพุทธ แม้กระทั่งกษัตริย์ยังก้มกราบสมาชิกของหมู่สงฆ์ ที่น่าสนใจก็คือการปฏิบัติของชาวบ้านให้คุณค่ากับพระสงฆ์และขอทานเหมือนๆกัน ที่น่าสนใจก็คือการให้อาหารแก่ขอทานมีลักษณะของความหมายแฝงเชิงศาสนาด้วย เมื่อขอทานมาที่หมู่บ้านที่ฉันอยู่ ไม่ว่าใครก็ตามที่อยู่ที่นั่นจะนำถาดใส่ข้าวจากในครัว ขอทานไม่เคยกล่าวขอข้าวเลย เขาเพียงแต่ยืนนิ่งๆหน้าประตู ก้มหน้าลง จนกระทั่งมีการสังเกตว่ามีเขาอยู่ตรงนั้น หากเขาทำตัวกร่างๆ เขาจะดึงความสนใจของผู้คน ก่อนที่ชาวบ้านจะใส่ข้าวลงในถุงย่ามของเขา เขาจะถอดรองเท้า เขาจะถือถาดเหนือศีรษะ และเขาจะนำข้าวใส่ในย่าม ในขณะที่สายตายังคงหรุบต่ำ เขาจะยกมือไหว้เพื่อแสดงอาการขอบคุณ และให้พรปิดท้าย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กับขอทาน ก็คล้ายๆกับพิธีกรรมในการถวายข้าวให้กับพระสงฆ์ มีข้อยกเว้นอยู่อย่างเดียวก็คือพระสงฆ์ไม่ไหว้คฤหัสถ์ ความคล้ายคลึงระหว่างคนที่มีสถานภาพสูงสุดก็คือพระสงฆ์กับคนที่มีสถานภาพต่ำลงมาคือคฤหัสถ์เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งจริงๆ

ภาษาที่ใช้ในการขอทานก็เหมือนกับคนยากจนกำลังทำบุญโดยการขอคนที่มีวัตถุมากกว่า และปฏิบัติแบบไม่มีอัตตา คล้ายๆกับพระที่บรรยายตนเองว่า “เป็นเนื้อนาบุญ” สำหรับผู้ให้ทาน วลีที่สามัญที่สุดคือคำว่า “ขอทาน” , “ทาน” ก็เหมือนกับของขวัญนำมาถวายพระ พวกขอทานโดยมักจะใช้วลีว่า “กำลังจะไปเอาของขวัญ” ก็คล้ายๆคำที่พระใช้ หญิงคนหนึ่งต้องการให้พระสวดเพื่อแผ่เมตตา เพราะได้ถวายของให้พระไปแล้ว ที่น่าสนใจก็คือ ไม่ว่าจะเป็นภาษาสันสกฤตหรือบาลี คำว่าภิกขุ แปลว่า ขอทาน

แน่นอนว่าวัดไทยมีความสัมพันธ์กับเศรษฐศาสตร์การเมืองของความยากจนโดยแท้ วลีที่ใช้โดยทั่วไปสำหรับการขอคือ ขอข้าวจากวัดและชุมชนแถบวัด ดังที่ De Young สังเกต อาหารที่พระได้ในตอนเช้าจะถูกส่งกลับไปที่วัดเพื่อเลี้ยงเด็กวัด ขอทาน และหมา ขอทานจะหายไปในช่วงงานที่สำคัญของวัดแต่จะปรากฏขึ้นอีกทีหลังจากงานวัดเลิก โดยมากจะมาจากสถานที่ห่างไกล บางคนจะมองหาถาดที่ใส่อาหารที่อยู่ภายนอกวัด ซึ่งคอยแยกเทียนและเหรียญเล็กๆออกจากถาดที่ใส่อาหาร หลังจากพระทานข้าวเสร็จ ต่อมาก็เป็นพวกคนจนมาทานหรือไม่ก็พาอาหารนั้นกลับไปบ้าน โดยมากจะเป็นของที่เน่าย่อยสลายได้ ระหว่างประเพณีสลาก ซึ่งเป็นประเพณีของทางเหนือ ขอทานจะเดินทางวัดหนึ่งไปอีกวัดหนึ่ง กระบวนทัศน์ของการทำบุญจะละทิ้งปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลกหน้ากับโลกนี้ พระจะได้ของขวัญมากกว่าคฤหัสถ์

แปลและเรียบเรียงจาก

Katherine A. Bowie. The Alchemy of Charity: Of Class and Buddhism in Northern Thailand.

หมายเลขบันทึก: 690902เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2021 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2021 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you for this insightful series of articles.

And thanks to the author for showing deep and convoluted issues of survival in rural Thailand.

As a lay buddhist, I am concerned with ‘dāna’ and its consequences on givers and receivers. Perhaps a more scholarly buddhist would care to respond to this issue.

Thank you for this insightful series of articles.

And thanks to the author for showing deep and convoluted issues of survival in rural Thailand.

As a lay buddhist, I am concerned with ‘dāna’ and its consequences on givers and receivers. Perhaps a more scholarly buddhist would care to respond to this issue.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท