ศพที่หอมหวน: กระบวนการทำให้เป็นสินค้าของศพพระที่มีบารมีในสังคมไทย ตอนที่ 6


กรณีศึกษา 2 ตัวอย่าง

2. ครูบาชัยวงศ์

ครูบาชัยวงศ์ (1913-2000) หรือ วงศ์ เกิดในจังหวัดลำปางทางภาคเหนือของประเทศไทย ถึงแม้ว่าครอบครัวเขาจะเป็นคนยากจน แต่แม่ของเขากลับเป็นปกาเกอะญอชาวพุทธที่มีศรัทธามากคนหนึ่ง เธอจะพาเขาไปที่วัดทุกวันพระ มีรายงานว่าการเล่นของวงศ์แตกต่างจากเด็กชายโดยทั่วไป ในขณะที่เพื่อนๆของเขาชอบปั้นรูปสัตว์ แต่เขาชอบปั้นรูปพระพุทธมากกว่า ทั้งในแง่ความบันเทิงกับการเคารพบูชา เขาต้องการจะช่วยพ่อแม่โดยการทำงานในไร่นา รวมถึงงานอื่นๆด้วย ตั้งแต่เขาอายุได้ 5 ปี เมื่ออายุได้ 12 ปี เขาบวชเป็นสามเณรโดยครูบาชัยลังกา ซึ่งเป็นหนึ่งนักบุญในตอนนั้น ตามประวัติของพระครูชัยวงศ์ ตลอดชีวิตของเขา ก่อนการบวช หลังจากเป็นสามเณรแล้ว รวมทั้งตอนได้เป็นพระ เป็นเรื่องยากไร้เป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าจะไม่พูดถึงความยากไร้ ตามความเห็นของฉัน มีจุดมุ่งหมายตรงที่ความอดทนของเขา นี่คือขั้นตอนอันเป็นจุดเริ่มในการเข้าถึงตำแหน่งผู้นำที่มีอาณาบารมี

ครูบาชัยวงศ์เริ่มเดินธุดงค์เมื่อตอนอายุ 20 ปี ต่อมาเขามาพักที่หมู่บ้านปกาเกอะญอ Pagakeyor หรือ S’gaw ซึ่งย้ายจากพม่ามาถึงลำพูน ศาสนาของชาวปกาเกอะญอเป็นพวกนับถือผีในตอนนั้น เขาสั่งสอนพวกปกาเกอะญอโดยการให้ถือศีล 5 ศีลทั้ง 5 ดูเหมือนจะสอดคล้องกับวิถีชีวิต ยกเว้นข้อแรก ซึ่งพวกเขาต้องงดเว้นจาการทำร้ายและกินพวกเนื้อ ชัยวงศ์เป็นคนทางมังสวิรัติตั้งแต่ตอนเขาอายุ 12 ไม่มีคำอธิบายที่น่าเป็นเหตุเป็นผลใดว่าทำไมพวกชาวปกาเกอะญอจึงเห็นมาเป็นพวกมังสวิรัติเหมือนเขา อย่างไรก็ตาม ชาวปกาเกอะญออาจเห็นและศรัทธาในการปฏิบัติของเขา เช่น กินเจ ใช้แต่ผ้าจีวร แทนที่จะเป็นชุดธรรมดา และความสามารถที่เดินธุดงค์คนเดียวในป่า กล่าวคือพวกชาวบ้านเชื่อว่าเขาเป็นคนอัศจรรย์หรือมีอาณาบารมี อย่างไรก็ตาม พวกชาวปกาเกอะญอในบ้านห้วยต้มหลังจากเป็นลูกศิษย์ของครูบาชัยวงศ์ก็เป็นคนทานมังสวิรัตินับแต่นั้น

ในปี 1925 ครูบาศรีวิชัย (1878-1938) และชัยวงศ์ ที่เป็นผู้ช่วย กำลังสร้างถนนไปดอยสุเทพในจังหวัดเชียงใหม่ นี่เป็นกรณีที่สำคัญในการแสดงให้เห็นถึงพระที่มีอาณาบารมีมาก ในสายตาของคนทั่วไปแล้วจะมีอำนาจมากกว่าอำนาจของรัฐอีก ศรัทธาในพระเหล่านี้ก่อให้เกิดข้อดีหลายประการในจังหวัด ในปี 1926 เขาถูกบังคับให้สึก เพราะเป็นลูกศิษย์ของครูบาศรีวิชัย ในตอนนั้นเขาถูกเรียกไปที่กรุงเทพฯ เพื่อปรับทัศนคติเพราะว่าเขาบวชเป็นพระโดยที่ไม่มีการอนุญาตจากสังฆมณฑล อย่างไรก็ตาม ชัยวงศ์ไม่ต้องการที่จะสึก และสวมใส่ชุดขาว ซึ่งถูกปฏิบัติโดยครูบาขาวปี และมองว่าตนเองเป็นพระสงฆ์ หมู่บ้านล้านนา (ทางเหนือ) ในตอนนั้นมีสุภาษิตว่า “พระที่ห่มเหลืองเป็นของรัฐ แต่ที่นุ่งขาวเป็นของพวกเรา” จากตัวอย่างนี้ขัดแย้งกับความเชื่อที่ว่าพุทธจะสนับสนุนชนชั้นสูง จริงๆแล้ว พุทธศาสนาจะปรับตนเองให้เข้ากับท้องถิ่นเป็นหลัก มีครอบครัวปกาเกอะญอ 600 ครอบครัว หรือประมาณ 3,000 คนรอบๆวัดพระพุทธบาท ซึ่งเป็นวัดของชัยวงศ์เอง ในปี 1947 ครั้งแรกชาวปกาเกอะญอจะเชิญให้ชัยวงศ์เข้ามาและตั้งหมู่บ้านใหม่ใกล้ๆกับวัดของเขา ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าวัดจะถูกปรับปรุง สนับสนุน และพัฒนาโดยชาวปกาเกอะญอ ชัยวงศ์เริ่มต้นสร้างโรงเรียนมัธยมในวัดของเขา และได้เชิญเด็กชายชาวปกาเกอะญอมาบวชเป็นสามเณร และสนับสนุนพวกเขาในด้านการศึกษา

ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งที่บทบาทในชีวิตของท่านที่ให้กับชาวปกาเกอะญอในแง่จิตวิญญาณไม่ใช่มีเพียงแค่นั้น แต่ยังเป็นตัวเชื่อมระหว่างกลุ่มทางชาติพันธุ์ต่างๆด้วย ในปี 1972 มีกลุ่มปกาเกอะญออีกกลุ่มย้ายเข้ามาในลำพูน ระหว่างทนทุกข์เพื่อการยอมรับในฐานะที่เป็นปกาเกอะญอกลุ่มหนึ่ง และขาดเครื่องมือเครื่องใช้ในทางวัตถุ พวกเขาได้รับการสนับสนุนจากครูบาชัยวงศ์ หรืออาจเรียกกันง่ายๆว่าเป็นครูบาชาวปกาเกอะญอด้วยซ้ำ ศรัทธาในพระที่มีอาณาบารมีลบพรมแดน (boundary) ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆไปเกือบหมด เมื่อท่านมรณภาพในปี 2000 ร่างของเขาถูกเก็บในโลงแก้ว ร่างของเขาถูกชำระล้างและปิดด้วยทองคำเปลว และเปิดให้สาธารณะเข้ามากราบไหว้ ในปี 2014 กษัตริย์ถวายจีวรให้เขา พิธีกรรมมีการประดับอย่างโอ่อ่า และสาวกของเขาต่างใจจดจ่อ เหตุการณ์นี้มีการบริจาคมากมาย ทุกวันนี้ การบูชาประจำวันต่อศพและการขายพระเครื่องได้รับกำไรเป็นจำนวนมาก ทั้งจากนักท่องเที่ยวและคนในชุมชน ที่น่าตื่นตาตื่นใจไปกว่านั้นคือพระประมาณ 200 กว่ารูป และสามเณรที่เคยเป็นนักเรียนในโรงเรียนมัธยมของเขาจัดการเรื่องวัด และสนับสนุนกระบวนการทำให้เป็นสินค้ากับศพของครูบาชัยวงศ์ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ จำเป็นต้องบันทึกไว้ด้วยว่า ในปี 1995 ชัยวงศ์ได้สร้างเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งอยู่ที่ประเทศพม่า ใกล้ๆกับวัดของเขา เจดีย์นี้สูงประมาณ 7 เมตร และกว้าง 40 เมตร ซึ่งสุดยอดของเจดีย์ประดับด้วยทองคำ จุดประสงค์ของเขาคือเมื่อชาวปกาเกอะญอต้องไปนมัสการเจดีย์ชเวดากองในพม่าทุกปี ดังนั้นการบูชาเจดีย์ในพื้นที่ของตนเองย่อมดีกว่า ในการสร้างสามารถถูกตีความได้อย่างหนึ่งว่าชาวปกาเกอะญอไม่อยากเสียเวลาในการเดินทาง แต่ก็สามารถตีความได้อีกอย่างหนึ่งว่าเขาลดทอนอัตลักษณ์ของชาวพม่าลงโดยการสร้างพื้นที่ทางการศาสนาใหม่ให้กับพวกเขา อย่างไรก็ตาม ชื่อของเจดีย์นี้ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “พระบรมธาตุเจดีย์ ศรีเวียงชัย” ซึ่งเป็นชื่อใหม่ที่เสนอโดยสังฆมณฑล

ดังที่กล่าวมาข้างต้น ผู้นำที่มีอาณาบารมีไม่จำเป็นต้องบ่งชี้ตนเองกับสังกัปเรื่องการกลับชาติมาเกิดใหม่ของเจ้าหรือเทพบางองค์ ชาวปกาเกอะญอไม่ได้รับรู้ว่าครูบาชัยวงศ์เป็นดั่งโพธิสัตว์ที่ลงมาสร้างบารมีจนกลายมาเป็นพุทธะองค์ต่อไป จริงๆแล้ว พวกเขาเชื่อว่าเขาเป็นอรหันต์มากกว่า ซึ่งหมายความว่าจะไม่มีการเกิดใหม่ของเขาอีกต่อไป ดังที่บทสวดมนต์ที่วัดแนะนำให้สวดบูชาศพของท่าน

จากการสังเกตในช่วงเดือนพฤษภาคม วันที่ 16-17 ปี 2007 ซึ่งเป็นวันครบรอบการมรณภาพของครูบาชัยวงศ์ จะมานำเสนอที่นี่ ในการส่วนของถวายอาหารใส่บาตร จะมีถ้วยวางหน้ารูปเคารพ สาวกและพระปฏิบัติราวกับว่าท่านยังมีชีวิต ภาษาสามภาษา เช่น ภาษากลาง ภาษาเหนือ และภาษาปกาเกอะญอจะมีถูกใช้ คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนปกาเกอะญอจะไม่สวมใส่รองเท้าตอนเข้าวัด พวกเขาจะมีประคำและริสแบนด์สีขาวที่ได้รับจากทางวัด คนหลายคนร้องไห้เมื่อเห็นศพของครูบาชัยวงศ์ผ่านไป ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสันพันธ์ระหว่างครูบากับชาวปกาเกอะญอ ซึ่งถูกผลิตซ้ำโดยผ่านพิธีกรรม ทุกๆวันพระ จะมีการถวายอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ที่วัด ผักทุกชนิดที่ได้รับการถวายจะเก็บเพื่อปรุงอาหารภายใน 1 สัปดาห์ จากคำบอกกล่าวของพระมาลี เมื่อก่อนนี้ผู้คนจะถวายด้วยพืชผักของตนเอง แต่ตอนนี้พวกเขากลับเป็นพวกใช้การจักสานมากกว่าเป็นชาวสวนและส่วนหนึ่งเป็นนักท่องเที่ยว ดังนั้นเพื่อการรักษาประเพณีโบราณ ตลาดผักจะเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มสาวกที่หลากหลาย ขั้นตอนนี้แสดงว่าวัฒนธรรมทางศาสนาสามารถถูกกระทำให้เป็นสินค้าและการอนุรักษ์โดยการเทคนิคใหม่ๆของการตลาด

รูปครูบาชัยวงศ์สามารถถูกแจกจ่ายและซื้อขายเหมือนพระเครื่องในหลายๆแบบ การกระทำที่เอาสินค้าทางศาสนาจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าผู้คนสามารถครอบครองวัตถุทางศาสนาเพียงแค่จ่ายเงินเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การเก็บศพจะไม่ถูกวิจารณ์เพราะเป็นการตัดสินใจของครูบาชัยวงศ์เอง จากการสัมภาษณ์ในสนามพร้อมกับกิตตินันท์ในปี 201 พบว่าก่อนการมรณภาพ เขาบอกกับลูกศิษย์ว่าจะปลงศพเขาเพื่อที่ว่าศพจะสามารถเลี้ยงพระและสามเณรไดหมดวัด ยิ่งไปกว่านั้นการเก็บศพก็ไม่ใช่สิ่งที่ทำโดยทั่วไปในหมู่พระ แต่การเก็บรักษาศพกับพระที่มีอาณาบารมีจะเป็นที่เคารพศรัทธาเพราะไม่มีใครเหมือน จริงๆแล้ว สิ่งนี้เป็นตัวล่อหรือเครื่องมือในการนำคนให้มาเที่ยวและทำบุญ ที่น่าสนใจยิ่งก็คือศพดังกล่าวสามารถสร้างสิ่งอัศจรรย์ได้ จากคำบอกกล่าวของชาวบ้าน ศพเหล่านั้นไม่บุบสลายไป โดยไม่มีการใช้สารเคมี เส้นผมและเล็บงอกขึ้นอีกครั้งหลังจากการตาย ปรากฏการณ์อันนี้ดึงดูดและมีการโฆษณาต่อคนที่เชื่อในเรื่องไสยศาสตร์

แปลและเรียบเรียงจาก

Jesada Buaban. Fragrant Corpses: Commodification of Charismatic Monk’s Corpses in Thai Society.

หมายเลขบันทึก: 690684เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2021 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2021 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท